คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #7 : มารู้จักดาวพลูโตกันเถอะ
ดาวพลูโต (Pluto)
ดาวพลูโตเป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างไกลจาก ดวงอาทิตย์ มากที่สุด และมีขนาด เล็กกว่า ดวงจันทร์ 7 ดวงในระบบสุริยะ ( ดวงจันทร์ของโลก, ไอโอ, ยูโรปา, กันนึมมีด, คัลลิสโต, ไททันและ ทายตัน)
วงโคจร: 5,913,520,000 ก.ม. (39.5 หน่วยดาราศาสตร์) จากดวงอาทิตย์ (โดยเฉลี่ย)
เส้นผ่านศูนย์กลาง: 2274 ก.ม.
มวล: 1.27 คูณด้วย x 1022 ก. ก.
ในเทพนิยายโรมาน พลูโตเป็นเทพเจ้าแห่งเมืองบาดาล (กรีก: ฮาเดส ) ดาวพลูโตได้ชื่อนี้ คงเป็นเพราะมันอยู่ห่างไกลจากดวงอาทิตย์มากและได้รับแสงน้อย หรือบางทีอาจเป็นเพราะตัวอักษร "PL" ย่อมากจาก Percival Lowell (ก่อนหน้านี้มีการตั้ง ชื่อดาวเคราะห์ดวงใหม่นี้ต่าง ๆ นานา)
ด าวพลูโตถูกค้นพบในปี พ.ศ.2473 โดยบังเอิญ มีการคำนวณหาตำแหน่งดาวเคราะห์ดวงใหม่ถัดจาก ดาวเนปจูนโดยใช้ฐานข้อมูลการเคลื่อนที่ของ ดาวยูเรนัสและดาวเนปจูน แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ จนกระทั่ง ไคลด์ ทอมแบจแห่งหอดูดาว โลเวล ในรัฐอริโซน่าได้ทำการสำรวจท้องฟ้าและพบดาวเนปจูนในที่สุด
หลังจากที่ได้ค้นพบดาวพลูโตแล้ว นักวิทยาศาสตร์ยังคงถกเถียงกันว่า ขนาดของดาวพลูโตเล็กเกินกว่าที่จะรบกวนวงโคจรของดาวเคราะห์ดวงอื่นได้ จะต้องมีดาวเคราะห์ดวงอื่นที่มีขนาดใหญ่กว่า จึงจะรบกวนดาวเนปจูนได้ ดังนั้นการค้นหา ดาวเคราะห์ X จึงมีขึ้นต่อไป แต่ก็ไม่มีสิ่งใดถูกค้นพบเพิ่มเติม จนกระทั่ง ยานวอนเอเจอร์ 2 ได้ข้อมูลด้านมวลสารของดาวเนปจูนเพิ่มเติม ข้อถกเถียงดังกล่าวจึงหมดไป โดยไม่จำเป็นต้องมีดาวเคราะห์ดวงที่ 10
ดาวพลูโตเป็นดาวเคราะห์เพียงดวงเดียวที่ไม่เคยมีการส่งยานอวกาศไปสำรวจ แม้แต่ กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล ยังทำการสำรวจรายละเอียดได้เพียงรูปซ้ายมือ และรูปด้านบน
โชคดีที่ดาวพลูโตมีบริวารชื่อ แครอน ซึ่งค้นพบในปี พ.ศ.2521 ก่อนที่ระนาบวงโคจรของมันจะหันเข้ามาในระบบสุริยะ เราได้ข้อมูลต่าง ๆ จากการสังเกตการณ์และการคำนวณ การเคลื่อนที่บังกัน (transit) คาบความสว่าง และสังเกตความสว่างและความมืดคล้ำของพื้นผิวทั้งสองดวง
เรายังไม่ทราบขนาดรัศมีของที่แท้จริงดาวพลูโต NASA ประมาณว่าเท่ากับ 1,127 ก.ม. บวก/ลบ หนึ่งเปอร์เซนต์
แม้ว่าเราจะพอทราบมวลรวมของพลูโตและแครอน (พิจารณาจากการวัดคาบและรัศมีวงโคจรของแครอน ประกอบกับกฏข้อที่ 3 ของเคปเล่อร์) แต่การที่จะได้ค่ามวลสารของแต่ละดวง ทำได้ยากมาก เนื่องจากจะต้องพิจารณาการวงโคจรรอบกันและกันโดยมีศูนย์กลางมวลร่วมของระบบ ซึ่งต้องการการวัดที่ระเอียดมาก ซึ่งดาวทั้งสองทั้งเล็กและไกลมาก แม้จะดูด้วย กล้องอวกาศฮับเบิล ก็ตาม อัตราส่วนระหว่างมวลของดาวทั้งสองอยู่ระหว่าง 0.084 และ 0.157; อย่างไรก็ตามเรายังไม่มีข้อมูลที่เที่ยงตรง จนกว่าจะส่ง ยานอวกาศขี้นไปสำรวจ
ดาวพลูโตเป็นเทห์วัตถุที่มีสีผิดแผก (contrast) เป็นอันดับที่ 2 รองระบบสุริยะ (รองจาก ดวงจันทร์ไอเอปพิทุส) สาเหตุเป็นเพราะเหตุใดคงต้องรอการสำรวจจากโครงการ พลูโต เอ๊กเพรส
นักวิทยาศาสตร์บางคนคิดว่า เราควรจะจัดประเภทของดาวพลูโตเป็นดาวเคราะห์น้อยหรือดาวหาง มากกว่าที่จะเป็น ดาวเคราะห์บางคนก็ว่าเราควรจะพิจารณามันเป็นวัตถุที่ใหญ่ที่สุดใน แนวเข็มขัดคุยเปอร์ (หรือที่รู้จักในนาม Trans-Neptune objects) อย่างไรก็ตามในปัจจุบันเรายังถือว่า ดาวพลูโตเป็นเทห์วัตถุประเภทดาวเคราะห์ อย่างเช่นเคย
วงโคจรของดาวพลูโตรีมาก ขณะที่มันเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ มันจะอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าดาวเนปจูน (นับตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ.2522 จนถึงกุมภาพันธ์ พ.ศ.2542) ดาวพลูโตหมุนรอบตัวเองในทิศทางที่ตรงข้ามกับดาวเคราะห์ดวงอื่น
คาบวงโคจรของดาวพลูโตมีอัตราส่วนการกำทอน 3:2 (resonance) กับดาวเนปจูน นั่นคือดาวพลูโตโคจรรอบดวงอาทิตย์ใช้เวลานาน 1.5 เท่าของดาวเนปจูน และวงโคจรของมันเอียงมากกว่าดาวเคราะห์ดวงอื่น แม้อาจจะดูเหมือนว่าวงโคจรของดาวพลูโตตัดกับวงโคจรของดาวเนปจูน แต่ความจริงแล้วดาวทั้งสองมิอาจชนกันเลย ( คำอธิบายเพิ่มเติม)
ระนาบศูนย์สูตรของดาวพลูโตทำมุมเฉียงกับระนาบของวงโคจรมาก ทำนองเดียวกับ ดาวยูเรนัส
อุณหภูมิที่พื้นผิวยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่ประมาณว่าอยู่ระหว่าง 35 - 45 เคลวิน (-228 to -238 C)
เรายังมิทราบองค์ประกอบของดาวพลูโตที่แน่ชัด แต่ค่าความหนาแน่นอยู่ที่ประมาณ 2 กรัม/ลูกบาศก์เซนติเมตร โดยอาจมีส่วนผสมเป็นหิน 70% น้ำแข็ง 30% คล้ายกับดวงจันทร์ทายตันของเนปจูน บริเวณพื้นที่สว่างอาจปกคลุมด้วยน้ำแข็งไนโตรเจน ผสมกับมีเทนและคาร์บอนโมนอกไซด์แข็ง บริเวณที่เป็นสีคล้ำยังไม่มีข้อมูล บางทีมันอาจจะเป็นองค์ประกอบของวัตถุในยุคแรก หรือปฏิกริยาโฟโต้เคมี ซึ่งถูกขับโดยรังสีคอสมิก
ดาวพลูโตมีบรรยากาศเล็กน้อย องค์ประกอบหลักอาจเป็นไนโตรเจน และมีคาร์บอนโมนอกไซด์และมีเทนจำนวนเล็กน้อย โดยมีความกดอากาศที่พื้นผิวเพียงไม่กี่ไมโครบาร์ บรรยากาศของดาวพลูโตอาจมีสถานะเป็นก๊าซ เฉพาะเวลาที่มันโคจรใกล้ เพอริฮีเลียน ; ซึ่งส่วนมากแล้วบรรยากาศจะแข็งตัวกลายเป็นน้ำแข็ง ขณะที่พลูโตเข้าใกล้เพอริฮีเลียน บรรยากาศของมันอาจระเหิดและฟุ้งไปในอวกาศ หรือบางทีบรรยากาศที่ฟุ้งไปนี้อาจถูกไครอนดึงดูดเข้ามา ในการนี้ภารกิจพลูโตเอ๊กเพรสได้ถูกวางแผนให้ไปถึงพลูโต ในเวลาที่น้ำแข็งระเหิดตัว
วงโคจรที่ไม่ธรรมดาของดาวพลูโตและ ดวงจันทร์ทายตัน กอปรกับขนาดและคุณลักษณะบางอย่างของดาวที่คล้ายคลึงกัน อาจแสดงว่าทั้งสองมีประวัติศาสตร์ที่สัมพันธ์กัน ครั้งหนึ่งในอดีตดาวพลูโตอาจเคยเป็นดวงจันทร์ของดาวเนปจูน ในทำนองกลับกัน ดวงจันทร์ทายตันครั้งหนึ่งอาจเคยเป็นดาวเคราะห์โคจรรอบดวงอาทิตย์ ดังเช่นดาวพลูโต แต่ต่อมาได้ถูกแรงโน้มถ่วงของดาวเนปจูนจับไว้เป็นบริวาร บางทีทั้ง ทายตัน พลูโต และแครอน อาจเป็นเทห์วัตถขนาดใหญ่ซึ่งถูกผลักออกมาจากเมฆออท ( Oort cloud) หรือในทำนองเดียวกับ โลกและ ดวงจันทร์ , แคเร็นอาจเป็นผลพวงจากการขนกระแทก ระหว่างดาวพลูโตกับเทห์วัตถุอื่น
เราสามารถมองเห็นดาวพลูโตได้ด้วยกล้องโทรทรรศน์ขนาดเล็ก มีเว็บไซต์หลายแห่งที่แสดงตำแหน่งปัจจุบันของดาวพลูโต (และดาวเคราะห์ดวงอื่น) บนท้องฟ้า; รายละเอียดต่าง ๆ สามารถจัดทำเป็นแผนที่ดาวด้วย โปรแกรมท้องฟ้าจำลองเช่น Starry Night
แครอน (Charon)
วงโคจร : 19,640 ก.ม.จากดาวพลูโต
เส้นผ่านศูนย์กลาง: 1,172 ก.ม.
มวล: 1.90 x 1021 ก. ก.
แครอน เป็นชื่อของตัวละครในเทพนิยาย ซึ่งศพลอยข้ามแม่น้ำสตี๊กซ์ ไปสู่เทพฮาเดส (เมืองบาดาล)
(แม้ว่าชื่อทางการจะตั้งตามตัวละครในเทพนิยาย ที่จริงแล้วอาจแผลงมากจาก "แครีน" ซึ่งตั้งเป็นเกียรติ์ตามชื่อภรรยาของผู้ที่ค้นพบ
แครอนถูกค้นพบเมื่อ พ.ศ.2521 โดย จิม คริสตี้ ซึ่งเมื่อก่อนนี้เราคิดว่าดาวพลูโตมีขนาดใหญ่กว่าปัจจุบัน เนื่องจากมองภาพโดยรวมซึ่งไม่ชัดของดาวทั้งสอง
แครอนจัดเป็นดวงจันทร์ขนาดใหญ่ที่สุด ในแง่ที่เปรียบเทียบขนาดกับดาวเคราะห์หลักของมัน บางคนคิดว่าพลูโตและแครอนควรจะเป็นดาวเคราะห์คู่ มากกว่าที่จะเป็นดาวเคราะห์กับดวงจันทร์
ข นาดของแครอนยังไม่เป็นที่ทราบแต่ชัด NASA ประเมินว่าควรจะอยู่ในราว 586 ก.ม. ผิดพลาด บวก/ลบ สองเปอร์เซนต์ และยังไม่มีข้อมูลด้านมวลสารและความน่าแน่น
แครอนหมุนรอบตัวเองและโคจรรอบพลูโตในลักษณะ synchronously ทั้งสองจะหันเพียงด้านเดียวเข้าหากันและกัน (ซึ่งทำให้ เสี้ยวข้างขึ้นข้างแรมของแคเร็น น่าสนใจมากเมื่อมองจากดาวพลูโต)
องค์ประกอบของแครอนยังไม่เป็นที่ทราบ แต่มันมีความหนาแน่นต่ำ เพียงในราว 2-3 กรัม/ลูกบาศก์เซนติเมตร ซึ่งคล้ายคลึงกับดวงจันทร์ก้อนน้ำแข็งของ ดาวเสาร์ (เช่น รีอา) พื้นผิวของมันดูเหมือนจะถูกปกคลุมด้วยน้ำแข็ง
แครอนไม่มีคุณสมบัติในการสะท้อนแสงได้ดีเหมือนพลูโต
แครอนอาจเป็นผลพวงจากการขนกระแทก ระหว่างดาวพลูโตกับเทห์วัตถุอื่น ในลักษณะเดียวกันกับการเกิด ดวงจันทร์ของโลกเรา
สภาพบรรยากาศของแคเร็นยังเป็นเพียงข้อสงสัย
ข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับพลูโตและแครอน
- ภาพถ่าย
- Pluto page จากมหาวิทยาลัยโคโรราโด้
- จาก ASU
- จาก LANL
- จาก JPL
- จาก StarDate
- จาก RGO
- จาก TPS
- the debate about Pluto's status จากองค์การดาราศาสตร์สากล
- Pluto, the Ninth Planet จาก Mark Buie (Mr. Pluto)
- Current Understanding about Pluto taken from the Pluto Express mission proposal
- The Struggles to Find the Ninth Planet โดย Clyde W. Tombaugh
- HOT SCIENCE ON A CRYOGENIC WORLD โดย Alan Stern
- จาก NASA Spacelink
- Planet X, a song about Pluto โดย Christine Lavin
- Is Pluto a planet? Yes!
- เว็บเพจเพิ่มเติม
ข้อคิด
- ยังไม่มีอะไรที่แน่นอน แม้กระทั่งข้อมูลพื้นฐานของมวล รัศมี และความหนาแน่นของพลูโตและแครอน
- ยังไม่มีการค้นพบวัตถุใน แถบเข็มขัดคุยเปอร์ ที่มีลักษณะคล้ายดาวพลูโต และมันจะมีวัตถุที่มีขนาดใหญ่เช่นนั้นหรือ?
- องค์ประกอบที่ทำให้บางพื้นที่บนดาวพลูโตเป็นสีคล้ำคืออะไร?
- สภาพทางธรณีวิทยาบนพลูโตและแครอนเป็นอย่างไร?
- โครงการ Pluto Express จะได้รับเงินทุนหรือไม่? ถ้าเราพลาดการสำรวจดาวพลูโตในขณะที่มันเช้าใกล้เพริฮีเลียนในครั้งนี้ ครั้งต่อไปต้องรอถึงคริสต์ศตวรรษที่ 23
- ฤดูกาลอันแสนยาวนานบนดาวพลูโตเป็นอย่างไร?
... ดวงอาทิตย์ ... เนปจูน ... เนรีด ... พลูโต/แคเร็น ... เทห์วัตถุขนาดเล็ก ...
Bill Arnett; last updated: 1999 Apr 27,น.ท.ฐากูร เกิดแก้ว แปล
www.kirdkao.org/edu/nineplanets/nineplanets/pluto2.html - 15k
...................................................................................................
ดาวพลูโต
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
| |||||||
การค้นพบ | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ค้นพบโดย | ไคลด์ ทอมบอห์ | ||||||
ค้นพบเมื่อ | 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2473 (ค.ศ. 1930) | ||||||
ลักษณะเฉพาะของวงโคจร (จุดเริ่มยุค J2000) | |||||||
กึ่งแกนเอก | 5,906,376,272 กม. 39.48168677 หน่วยดาราศาสตร์ | ||||||
เส้นรอบวงโคจร | 36.530 เทราเมตร 244.186 หน่วยดาราศาสตร์ | ||||||
ความเยื้องศูนย์กลาง | 0.24880766 | ||||||
ระยะจุดใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด | 4,436,824,613 กม. 29.65834067 หน่วยดาราศาสตร์ | ||||||
ระยะจุดไกลดวงอาทิตย์ที่สุด | 7,375,927,931 กม. 49.30503287 หน่วยดาราศาสตร์ | ||||||
คาบการโคจร | 90,613.3058 วัน (248.09 ปีจูเลียน) | ||||||
คาบซินอดิก | 366.74 วัน | ||||||
อัตราเร็วเฉลี่ยในวงโคจร | 4.666 กม./วินาที | ||||||
อัตราเร็วสูงสุดในวงโคจร | 6.112 กม./วินาที | ||||||
อัตราเร็วต่ำสุดในวงโคจร | 3.676 กม./วินาที | ||||||
ความเอียง | 17.141 75° (11.88° กับระนาบศูนย์สูตรดวงอาทิตย์) | ||||||
ลองจิจูดของจุดโหนดขึ้น | 110.303 47° | ||||||
ระยะมุมจุดใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด | 113.763 29° | ||||||
จำนวนดาวบริวาร | 3 | ||||||
ลักษณะเฉพาะทางกายภาพ | |||||||
เส้นผ่านศูนย์กลางตามแนวศูนย์สูตร | 2390 กม. (0.180×โลก) | ||||||
พื้นที่ผิว | 1.795×107 กม.2 (0.033×โลก) | ||||||
ปริมาตร | 7.15×109 กม.3 (0.0066×โลก) | ||||||
มวล | 1.25×1022 ก.ก. (0.0021×โลก) | ||||||
ความหนาแน่นเฉลี่ย | 1.750 กรัม/ซม.3 | ||||||
ความโน้มถ่วงที่ศูนย์สูตร | 0.58 เมตร/วินาที2 (0.059 จี) | ||||||
ความเร็วหลุดพ้น | 1.2 กิโลเมตร/วินาที | ||||||
คาบการหมุนรอบตัวเอง | 6.387 วัน (6 ชั่วโมง 9 นาที 17.6 วินาที) | ||||||
อัตรเร็วของการหมุนรอบตัวเอง | 47.18 km/h (ที่ศูนย์สูตร) | ||||||
ความเอียงของแกน | 119.61° | ||||||
ไรต์แอสเซนชัน ของขั้วเหนือ |
313.02° (20 ชั่วโมง 52 นาที 5 วินาที) | ||||||
เดคลิเนชัน | 9.09° | ||||||
อัตราส่วนสะท้อน | 0.30 | ||||||
อุณหภูมิเฉลี่ยที่ยอดเมฆ (เคลวิน) |
| ||||||
ลักษณะเฉพาะของบรรยากาศ | |||||||
ความกดบรรยากาศ | 0.15-0.30 กิโลปาสกาล | ||||||
องค์ประกอบ | ไนโตรเจน และ มีเธน |
ดาวพลูโต (โมโนแกรม: ♇) เป็นดาวเคราะห์แคระในระบบสุริยะ อยู่นอกวงโคจรของดาวเนปจูนออกไป ในบริเวณแถบไคเปอร์ มีขนาดเล็กกว่า ดวงจันทร์ 7 ดวงในระบบสุริยะ (ดวงจันทร์ของโลก ไอโอ ยุโรปา แกนีมีด คัลลิสโต ไททัน และไทรตัน) ดาวพลูโตมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 2390 กิโลเมตร มีดวงจันทร์บริวาร 3 ดวง ชื่อ ชารอน มีขนาดประมาณ 1/5 ของพลูโต , นิกซ์ และ ไฮดรา (2 ดวงหลัง ค้นพบเมื่อ พ.ศ. 2548)
ในเทพนิยายโรมัน พลูโตเป็นเทพเจ้าแห่งเมืองบาดาล หรือ ฮาเดส ในเทพนิยายกรีก ดาวพลูโตได้ชื่อนี้ คงเป็นเพราะมันอยู่ห่างไกลจากดวงอาทิตย์มากและได้รับแสงน้อย หรือบางทีอาจเป็นเพราะตัวอักษร "P-L" ย่อมากจาก Percival Lowell (ก่อนหน้านี้มีการตั้ง ชื่อดาวเคราะห์ดวงใหม่นี้ต่าง ๆ นานา)
ดาวพลูโตถูกค้นพบในปี พ.ศ. 2473 โดยบังเอิญ มีการคำนวณหาตำแหน่งดาวเคราะห์ดวงใหม่ถัดจาก ดาวเนปจูนโดยใช้ฐานข้อมูลการเคลื่อนที่ของดาวยูเรนัสและดาวเนปจูน แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ จนกระทั่ง ไคลด์ ทอมบอห์แห่งหอดูดาว โลเวล ในมลรัฐแอริโซนา ได้ทำการสำรวจท้องฟ้า และพบดาวพลูโตในที่สุด และถือว่าดาวพลูโตเป็นดาวเคราะห์ดวงที่ 9 ที่อยู่ห่างไกลจากดวงอาทิตย์มากที่สุด และเป็นดาวเคราะห์ดวงเล็กที่สุด เป็นเวลา 76 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2473 - 2549
หลังจากที่ได้ค้นพบดาวพลูโตแล้ว นักวิทยาศาสตร์ยังคงถกเถียงกันว่า ขนาดของดาวพลูโต เล็กเกินกว่าที่จะรบกวน วงโคจรของดาวเคราะห์ดวงอื่นได้ จะต้องมีดาวเคราะห์ดวงอื่นที่มีขนาดใหญ่กว่า จึงจะรบกวนดาวเนปจูนได้ ดังนั้นการค้นหา ดาวเคราะห์ X จึงมีขึ้นต่อไป แต่ก็ไม่มีสิ่งใดถูกค้นพบเพิ่มเติม จนกระทั่ง ยานวอยเอเจอร์ 2 ได้ข้อมูลด้านมวลสารของดาวเนปจูนเพิ่มเติม ข้อถกเถียงดังกล่าวจึงหมดไป โดยไม่จำเป็นต้องมีดาวเคราะห์ดวงที่ 10
เปลี่ยนสถานะเป็นดาวเคราะห์แคระ
เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2549 ที่ประชุมสหพันธ์ดาราศาสตร์สากล ที่กรุงปราก สาธารณรัฐเช็ก ซึ่งประกอบด้วยนักดาราศาสตร์กว่า 2500 คนจาก 75 ประเทศทั่วโลก ได้มีมติกำหนดนิยามใหม่ของดาวเคราะห์ ส่งผลให้ดาวพลูโตถูกปลดออกจากการเป็นดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ คงเหลือดาวเคราะห์เพียง 8 ดวง เนื่องจากดาวพลูโตไม่สามารถควบคุมแรงดึงดูดและวงโคจรของสิ่งต่างๆ ที่อยู่นอกระบบสุริยะ และให้ถือว่าดาวพลูโตเป็น ดาวเคราะห์แคระ ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับวัตถุขนาดเล็กในระบบสุริยะ
(และวัตถุในระบบสุริยะ(นอกจากดวงอาทิตย์)ได้ถูกจัดใหม่เป็น 3 ประเภท คือ ดาวเคราะห์ ดาวเคราะห์แคระ และวัตถุขนาดเล็กในระบบสุริยะ)
การประชุมเพื่อถกเถียงเรื่องสถานภาพของดาวพลูโต ใช้เวลากว่า 1 สัปดาห์
นักดาราศาสตร์จะได้ศึกษาดาวพลูโต และวัตถุในแถบไคเปอร์อย่างละเอียดในปี พ.ศ. 2558 เมื่อยานนิวฮอไรซันส์ ของนาซา ซึ่งถูกปล่อยเมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2549 เดินทางไปถึงวงโคจรของดาวพลูโต ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2558
ลิงก์ภายนอก
ข่าว
- “พลูโต” โดนโหวตออก ระบบสุริยะเหลือดาวเคราะห์เพียง 8 ดวง
- จัดระเบียบจักรวาลนิยามใหม่ “ดาวเคราะห์” - “ดาวเคราะห์แคระ”
- สถาบันดาราศาสตร์เตรียมแถลงแพร่ข้อมูลลดชั้น “พลูโต” สัปดาห์หน้า
ระบบสุริยะของเรา |
---|
ดาวเคราะห์: ดาวพุธ - ดาวศุกร์ - โลก - ดาวอังคาร - ดาวพฤหัสฯ - ดาวเสาร์ - ดาวยูเรนัส - ดาวเนปจูน |
ดาวเคราะห์แคระ: ซีรีส - พลูโต - 2003 ยูบี 313 |
อื่น ๆ: ดวงอาทิตย์ - ดวงจันทร์ - แถบดาวเคราะห์น้อย - ดาวหาง - แถบไคเปอร์ - เมฆออร์ต |
ความคิดเห็น