ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ดาวพลูโต

    ลำดับตอนที่ #6 : ลดชั้นพลูโตวุ่น! ปรับตำราไม่ทัน-ครูต้องบอกปากเปล่า

    • อัปเดตล่าสุด 27 ส.ค. 49


    ลดชั้นพลูโตวุ่น! ปรับตำราไม่ทัน-ครูต้องบอกปากเปล่า
    โดย ผู้จัดการออนไลน์ 26 สิงหาคม 2549 17:01 น.

    มติลดชั้น "พลูโต" ทำให้วงการศึกษาต้องปรับความรู้ให้ทันต่อสิ่งที่เปลี่ยนแปลง

    คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น
    อ.ดวงสมร คล่องสารา

    ร.ท.วิเชียร เสียงใส

    พ.ต.ท.สัมพันธ์ ปทุมธนรักษ์

    นายชาคริต ไพรเกษตร

    น.ส.ธนนันท์ ปรูกระโทก

           สสวท.ชี้กรณี “พลูโต” ถูกลดชั้น เป็นบทบาทครูที่ต้องบอกนักเรียน ส่วนตำราพิมพ์ไปแล้วแต่จะแก้ทันทีเมื่อสั่งพิมพ์ใหม่ โดยตอนนี้ทำได้เพียงใส่เนื้อลงคู่มือครูที่ยังไม่ได้ตีพิมพ์และประกาศลงเว็บไซต์ ขณะที่ท้องฟ้าจำลองแจงครูต้องบอกปากเปล่าไปก่อนเพราพิมพ์ตำราแล้ว ด้าน อพวช.ประสาน ผอ.สวดช.ขอข้อมูลละเอียดเพื่อเผยแพร่ผ่านสื่อ และเขตการศึกษาทั่วประเทศ
           
           หลังจากที่นักดาราศาสตร์จาก 75 ประเทศ ซึ่งเข้าร่วมประชุมสมาพันธ์ดาราศาสตร์สากล หรือไอเอยู (International Astronomical Union: IAU) มีมติลดชั้น “ดาวพลูโต” จาก “ดาวเคราะห์” เป็น “ดาวเคราะห์แคระ” ไปเมื่อวันที่ 24 ส.ค.นี้ ทำให้ความรู้เกี่ยวกับดวงดาวในระบบสุริยะต้องเปลี่ยนไป จากที่เคยมีดาวเคราะห์ 9 ดวงก็จะเหลือเพียง 8 ดวง แล้วคนในวงการศึกษาวิทยาศาสตร์จะรับการเปลี่ยนแปลงนี้อย่างไร
           
           ในความเห็นของ อาจารย์ดวงสมร คล่องสารา หัวหน้าสาขาวิทยาศาสตร์มัธยมศึกษา สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(สสวท.) กล่าวว่า เบื้องต้นต้องเป็นบทบาทของครูผู้สอนที่จะบอกนักเรียนว่าความรู้ได้เปลี่ยนไปแล้ว เพราะในส่วนของตำราเรียนได้ตีพิมพ์ไปแล้วและจะแก้ไขอีกทีเมื่อมีการพิมพ์ใหม่ ซึ่งจะมีการปรับปรุงและแก้ไขเล็กๆ น้อยๆ ทุกครั้ง ทั้งนี้จะได้แก้ไขทันทีเมื่อสำนักพิมพ์สั่งพิมพ์ใหม่ แต่สิ่งที่ทำได้ทันทีตอนนี้คือใส่ข้อมูลชี้แจงลงเว็บไซต์ สสวท. และแทรกเนื้อหาลงในครูมือครูซึ่งยังไม่ได้ตีพิมพ์ เพื่อให้ครูได้บอกนักเรียน ส่วนครูจำเป็นต้องติดตามข้อมูล ข่าวสาร และรับความรู้ใหม่ๆ ตลอดเวลาเพื่อนำเป็นข้อมูลไปบอกนักเรียนด้วย
           
           ทางด้าน ดร.พิชัย สนแจ้ง ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) กล่าวว่าขณะนี้ได้ประสานไปยัง รศ.บุญรักษา สุนทรธรรม ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (สวดช.) เพื่อขอข้อมูลละเอียด และอยากนำเสนอให้ได้อย่างรวดเร็วที่สุด ทั้งในรูปแบบนิทรรศการและการจัดสัมมนาที่พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ คลองห้า ปทุมธานี อีกทั้งในฐานะที่เป็นองค์กรหลักในการสร้างความตระหนักให้กับประชาชน ก็จะนำข้อมูลที่ได้มาจัดการให้สื่อสารเข้าใจง่าย และส่งต่อไปทั้งสื่อมวลชน และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศ
           
           ฝ่ายที่มีหน้าที่ให้ความรู้แก่ประชาชนอีกหน่วยงานคือ ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาแห่งชาติ (ท้องฟ้าจำลอง กรุงเทพฯ) นั้น อาจารย์สมชาย ปัญจวัฒน์ ผู้อำนวยการส่วนวิชาการ ท้องฟ้าจำลอง กล่าวว่าการประชุมของไอเอยูเป็นมติสุดท้ายที่ประเทศสมาชิกต้องยอมรับ ซึ่งเมื่อทราบข่าวแล้วก็จะต้องเปลี่ยนส่วนต่างๆ ทั้งนิทรรศการและการแสดงที่เกี่ยวข้องกับจักรวาล โดยในส่วนของการแสดงดวงดาวในห้องแสดงนั้น สามารถให้ผู้ประกาศให้ข้อมูลใหม่ได้เลย แต่ส่วนของนิทรรศการต้องใช้เวลาสักระยะ
           
           “ในส่วนของการเปลี่ยนแปลงตำราเรียน เชื่อว่าไม่ทัน เพราะข่าวสารยุคใหม่และความรู้ใหม่มีมากมาย ไม่เช่นนั้นต้องมีการแก้ไขใหม่ไปเรื่อยๆ แต่ในการเรียนการสอนมีการตั้งหลักสูตร กว่าจะเขียนหลักสูตรขึ้นมา และนำเสนอ จนตีพิมพ์ออกมาเป็นตำรานั้นต้องใช้เวลา ในเรื่องแบบนี้ครูอาจจะสอนปากเปล่าไปก่อน แต่เวลาสอบจะมีปัญหาว่า สุดท้ายต้องยึดตามตำรา หรือตามการเปลี่ยนแปลงแบบใหม่” อ.สมชายกล่าว พร้อมชี้แจงว่าการเปลี่ยนความรู้เรื่องระบบสุริยะนั้น ควรมีหน่วยงานหลักมากำหนดทิศทาง โดยอาจเป็นกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีหรือกระทรวงศึกษาธิการก็ได้
           
           ขณะที่ผู้บริหารในระดับโรงเรียนมัธยมศึกษาอย่าง พ.ต.ท.สัมพันธ์ ปทุมธนรักษ์ ครูใหญ่โรงเรียนพระราชทานนายาว อ.สนามชัยเขต จ.ฉะเชิงเทรา ให้ความเห็นว่า เป็นหน้าที่ครูที่จะต้องบอกนักเรียน และคิดว่าคงไม่มีปัญหาอะไร เพราะทางโรงเรียนมีอินเทอร์เน็ตให้ครูและนักเรียนเข้าไปค้นคว้าข้อมูลได้ ขณะที่หนังสือในห้องสมุดก็พอจะค้นคว้าได้ แต่ก็ยอมรับว่าคงไม่สามารถที่จะทราบข้อมูลวิทยาศาสตร์ที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาไปเสียทุกเรื่อง
           
           ส่วนผู้บริหารโรงเรียนระดับประถมอย่าง ร.อ.วิเชียร เสียงใส ครูใหญ่โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านนายาว ยอมรับว่าไม่ทราบเรื่องดังกล่าวเลย และคงเป็นเรื่องยากที่จะให้นักเรียนได้เข้าถึงข้อมูลเรื่องดังกล่าว ทั้งนี้คงต้องอาศัยสื่อต่างๆ ช่วยเหลือ
           
           ทางด้านครูผู้สอนอย่าง น.ส.ธนนันท์ ปรูกระโทก อาจารย์วิชาฟิสิกส์ โรงเรียนพระราชทานนายาว กล่าวว่าทราบข่าวจากทางโทรทัศน์ว่าดาวพลูโตถูกปลดออกจากการเป็นดาวเคราะห์ในระบบสุริยะแล้ว ซึ่งก็จะได้บอกนักเรียนถึงข้อมูลดังกล่าว และจะให้ข้อมูลเกี่ยวดาวพลูโตด้วยว่าเป็นดาวที่อยู่ไกลจากโลกมาก และเป็นดาวที่เย็นมาก
           
           ในส่วนของนักเรียน นายชาคริต ไพรเกษตร นักเรียนชั้น ม.6 โรงเรียนพระราชทานนายาว กล่าวว่าเขาทราบมาประมาณ 2-3 ปีแล้วว่าดาวพลูโตอาจจะถูกตัดออกจากการเป็นดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ และมาทราบว่ามีมติตัดออกจริงจากข่าวทางโทรทัศน์

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน
    นิยายแฟร์ 2024

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×