ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    สตีเฟ่น ฮอว์กิ้ง อัจฉริยะร่างพิการ จักรวาลวิทยา และอนาคต

    ลำดับตอนที่ #6 : ธุรกิจบนอวกาศบูมใหญ่ ไม่เว้นแม้แต่ “บริการลอยอังคาร” นอกโลก

    • อัปเดตล่าสุด 15 มิ.ย. 49


    ธุรกิจบนอวกาศบูมใหญ่ ไม่เว้นแม้แต่ “บริการลอยอังคาร” นอกโลก
    โดย ผู้จัดการออนไลน์ 22 กุมภาพันธ์ 2549 14:36 น.
    แคปซูลน้อยๆ ที่จะบรรจุอัฐิของผู้เสียชีวิตที่ญาติๆ ของพวกเขาต้องให้นำขึ้นไปปล่อยลอยไว้ในอวกาศ
                  เอพี – แม้กิจการการบินสู่อวกาศในภาคเอกชนยังเป็นแค่ความฝันที่นับวันใกล้จะจริง แต่ธุรกิจที่เกี่ยวกับ “อวกาศ” ก็กำลังบูมขึ้นอย่างมากในสหรัฐฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการฝากสิ่งของขึ้นสู่อวกาศ ทั้งของที่ระลึกและชิ้นส่วนต่างๆ ของมนุษย์ ไม่เว้นแม้แต่การ “ลอยอังคาร” นำอัฐิของผู้ตายไปปล่อยไว้ในห้วงสุญญากาศ
           

           หลังจาก 2 บริษัทใหญ่อย่างเวอร์จิน กาแลกติก (Vergin Galactic) และสเปซ แอดเวนเจอร์ (Space Adventer) ประกาศจะเอาจริงเอาจังกับการจัดทัวร์พานักท่องเที่ยวสู่ขอบอวกาศด้วยราคาหลายล้านบาทต่อเที่ยว ซึ่งแน่นอนว่าย่อมกลายเป็นเรื่องของมหาเศรษฐีและเศรษฐีที่จะใช้เวลาว่างและเงินที่เหลือเฟือไปกับการท่องเที่ยวนอกโลก
           
           ขณะเดียวกัน ก็มีอีกหลายบริษัทเล็งจับตลาดที่กว้างกว่าด้วยการขายแนวคิดที่ว่าแม้จะไม่รวยพอจ่ายค่าตั๋วสำหรับทัวร์อวกาศ แต่ก็ยังสามารถจ่ายเงินเล็กๆ น้อยๆ ให้นำบางสิ่งบางอย่าง หรือบางส่วนของร่างกายไปลอยเท้งเต้งอยู่ในอวกาศบ้างก็เป็นพอ
           

           ไอเดียเด็ดสุดเห็นท่าน่าจะเป็นของ บริษัทสเปซ เซอร์วิส อิงค์ (Space Services Inc.) ที่กำลังจะนำเถ้าอัฐิของลูกค้า 185 รายติดไปกับจรวดเพื่อส่งออกไปลอยอังคารกลางอวกาศภายในเดือนมีนาคมที่จะถึงนี้ ซึ่งมีลูกค้าผู้ใช้บริการจากหลากหลายอาชีพไม่ว่าจะเป็นช่างเทคนิค พยาบาลหรือแม้แต่นักศึกษา ที่เหล่าญาติๆ ของผู้ตายยอมควักกระเป๋าจ่ายเงินประมาณ 40,000 – 200,000 บาท เพื่อให้เถ้ากระดูกของคนที่รักและอาลัยได้ล่องลอยอยู่ในห้วงอวกาศ
           

           ทั้งนี้ มีเถ้าอัฐิของคนดังอย่าง “เจมส์ ดูฮาน” (James Doohan) นักแสดงผู้รับบท “มอนต์โกเมอรี สก็อตต์” (Montgomery Scott) หัวหน้าวิศวกรคนสำคัญบน “สตาร์ เทรค” (Star Trek) ซึ่งภรรยาม่ายของดูฮานเปิดเผยว่า ที่เลือกใช้บริการนี้เพราะดูฮานแม้จะเป็นเพียงแค่นักแสดงที่รับบทอยู่บนยานอวกาศ แต่เขาก็หวังเสมอว่าสักวันจะได้ขึ้นไปสัมผัสอวกาศจริงๆ กับเขาบ้าง
           
           นอกจากนี้ ยังมีเถ้ากระดูกของนักบินอวกาศตัวจริงอย่าง “กอร์ดอน คูเปอร์” (Gordon Cooper) ที่เพิ่งเสียชีวิตไปเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา คูเปอร์อยู่ในโครงการเมอร์คิวรี (Mercury program) นับเป็นโครงการส่งมนุษย์สู่อวกาศเป็นครั้งแรกของสหรัฐฯ อเมริกา ซึ่งทั้งภรรยาและลูกสาวของคูเปอร์ก็อยากให้เขากลับขึ้นไปอีกครั้ง
           ส่วนแคที เมโย (Kathie Mayo) จากรัฐมินเนโซตาก็นำเถ้ากระดูกของ “ราเชล” ลูกสาววัย 19 ปีที่เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองตั้งแต่ 3 ปีก่อน มาใช้บริการของสเปซ เซอร์วิส ซึ่งเธอเชื่อแน่ว่าลูกสาวของเธอจะต้องชอบแนวคิดการนำเถ้ากระดูกไปลอยในห้วงอวกาศ เพราะราเชลฝันอยู่เสมอว่าเธออยากเป็นผู้หญิงคนแรกที่ได้ไปเหยียบดาวอังคาร
           
           นอกจากนี้ยังมีบริษัทอื่นๆ ที่เปิดบริการส่งของสู่อวกาศอีก เช่น ซีโรจี แอโรสเปซ อิงค์ (ZeroG Aerospace Inc.) ก็เตรียมการจะนำจรวดขึ้นฟ้าในเดือนหน้า เพื่อส่งของที่ระลึกเล็กๆ น้อยๆ ที่ลูกค้านำมาทำสัญลักษณ์ไว้สู่อวกาศ ด้วยสนนราคาค่าบริการเพียง 2,000 บาท
           

           บียอนด์-เอิร์ธ เอ็นเทอร์ไพรซ์ (Beyond-Earth Enterprises) เปิดบริการให้ลูกค้านำตัวอย่างเส้นผม เศษเล็บ เก็บลงเป็นแพคเกจในรูปแบบ “กล่องดีเอ็นเอ” (DNA kit) ด้วยราคากล่องละ 1,400 บาท และเตรียมจะส่งสู่อวกาศภายในเดือนตุลาคมที่จะถึงนี้ นอกจากนี้ทางบียอนด์-เอิร์ธยังรับนำส่งการวิจัยที่ต้องอาศัยพื้นที่นอกโลกด้วยราคาเที่ยวละเกือบ 100,000 บาท แต่ไม่อนุญาตให้นำสัตว์ขึ้นไปทดลองบนอวกาศโดยพลการ ซึ่งกิจการของบียอนด์-เอิร์ธมีลูกค้ามาใช้บริการยังมีไม่กี่ร้อยราย
           
           “ผมไม่มีทางจ่ายเงินเกือบ 8 ล้านบาทให้กับบรานสันเพื่อได้เที่ยวสัมผัสอวกาศเป็นเด็ดขาด ตราบเท่าที่ยังไม่สามารถสร้างบ้านหลังที่ 2 ให้กับภรรยาที่ร้องขอมานานหลายปี” โจ ลาเทรลล์ (Joe Latrell) ซีอีโอบียอนด์ เอิร์ธกล่าวถึงเหตุผลของคนทั่วไปว่าเงินเป็นล้านๆ น่าจะมีความจำเป็นไปใช้อย่างอื่นมากกว่า แต่ก็ชี้ว่ากลุ่มลูกค้าของเขาคือรุ่นประมาณคุณปู่ คุณย่าที่อยากจะส่งชิ้นส่วนของตัวเองส่งสู่อวกาศเพราะสภาพร่างกายที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการเดินทางอันแสนไกล


    ...................................
    เรื่องนี้ไม่เกี่ยวกับฮอว์กิ้ง แต่น่าสนใจเลยเก็บมาฝาก
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×