ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เรื่องควรรู้สำหรับนักเขียนแนวอีโรติก

    ลำดับตอนที่ #2 : กระทรวงวัฒนธรรมสับสนเรื่องเกย์

    • อัปเดตล่าสุด 13 พ.ค. 51


    เนื้อหา : บทความโดย ไพศาล ลิขิตปรีชากุล/อิณ แปล
    เมื่อวันที่: 23-09-2007 09:24
    ความคิดเห็น: (0)
    คะแนน:
    จาก นสพ.เดอะ เนชั่น ฉบับวันที่ ๘ มิย. ๒๕๔๗


    กระทรวงวัฒนธรรมสับสนเรื่องเกย์


    คนรักเพศเดียวกับไม่ได้หมายความว่าจะแสดงกิริยาอาการท่าทางว่าเป็นพวกรักเพศเดียวกันเสมอไป


    ถึงแม้ว่ากระทรวงวัฒนธรรมจะรีบจัดงานแถลงข่าวเพื่อป้องกันไม่ให้สถานการณ์ลุกลามไปมากกว่านี้
    โดยการพยายามชี้แจงและกึ่งปฏิเสธรายงานข่าวก่อนหน้านี้เกี่ยวกับโครงการที่จะรณรงค์ต่อต้านเกย์
    แต่ก็ยังไม่สามารถตอบปัญหาในเรื่องของความเห็นที่เป็นอคติที่ได้แสดงไว้ก่อนหน้านี้ได้


    ทางกระทรวงคงจะเพิ่งรู้สึกได้ว่า การประกาศจุดยืนดังกล่าวนั้น ขัดต่อหลักรัฐธรรมนูญ จึงได้ออกมาปฏิเสธ แผนการที่จะแบนเกย์จากการทำงานราชการ โดยอ้างว่า เจ้าหน้าที่ของกระทรวงถูกนำไปอ้างผิด ๆ โดยนักข่าว (นักข่าวตีความผิด) โดยทางกระทรวงได้เปรียบเทียบกรณีคล้ายกัน

    ในต่างประเทศเมื่อปีที่แล้วที่นายกรัฐมนตรีของสิงคโปร์ได้ถูกนักข่าวตีความผิดไปเมื่อออกมายอมรับว่าข้าราชการ
    ที่เป็นเกย์เป็นส่วนหนึ่งที่ได้ทุ่มเททำงานให้รัฐบาลสิงคโปร์

    แต่ทั้งนี้ กระทรวงวัตนธรรมยังไม่สามารถอ้างอิงหลักฐานใด ๆที่จะมาสนับสนุนว่าสิ่งที่ได้กล่าวออกไปแล้วล่วงหน้านั้น เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วจริง ๆ ไม่ว่าจะเป็น “การแสดงความรักต่อกันอย่างไม่เหมาะสมในที่สาธารณชน”,“เหตุการณ์ รุนแรง ที่เกิดขึ้น ในหมู่เกย์วัยรุ่น” หรืออธิบายถึงที่มาได้ว่า ทำไมทางกระทรวงจึงไปเปรียบเทียบในเชิงกล่าวหา ให้เสียหายได้ ระหว่างความเป็นเกย์ และ ผู้เผยแพร่สื่อลามก ดังที่หนังสือพิมพ์ท้องถิ่นฉบับหนึ่ง ได้ยกคำพูดของคน ในกระทรวงไปอ้างไว้

    ยิ่งไปกว่านั้น รองปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ดร. กล้า สมตระกูล ยังออกมายืนยันถึงเจตนาเดิม ของกระทรวงที่จะ รณรงค์ ต่อต้านภาพของบุคคลรักเพศเดียวกันในสื่อทางโทรทัศน์อีกด้วย โดยทางกระทรวงฯจะได้ออก หนังสือภายใน อาทิตย์นี้ เพื่อขอให้สถานีโทรทัศน์ทั้งหลาย ไม่ให้ออกอากาศสิ่งที่เรียกว่า “พฤติกรรมเบี่ยงเบนทางเพศของพวก รักร่วมเพศ” ซึ่งทางกระทรวงเห็นว่ามีอิทธิพลในแง่ลบกับเยาวชนของชาติ

    การประกาศเช่นนี้ของกระทรวงวัฒนธรรมได้บ่งบอกถึงความที่ไม่มีความรู้ความเข้าใจและความตระหนักในเรื่องของ บุคคลที่รักเพศเดียวกันอย่างหลายระดับทีเดียว เพราะเมื่อไม่นานมานี้ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
    ได้ออกแถลงการณ์ที่ชัดเจนมาแล้วว่า การรักเพศเดียวกัน เป็นพฤติกรรมทางเพศที่ปกติและเป็นธรรมชาติอย่างหนึ่ง
    และบุคคลรักเพศเดียวกันก็ไม่ได้เป็นผู้ที่มีความ “เบี่ยงเบน” ทั้งนี้ เป็นความเห็นที่สอดคล้องกับสิ่งที่ องค์การ อนามัยโลก (แห่งสหประชาชาติ) และ องค์กรด้านสุขภาพทั่วโลกได้ประกาศมาแล้วนานหลายสิบปี...

    ไม่เพียงแต่กระทรวงวัฒนธรรมไม่มีความรู้ หรือไม่ยอมรับเรื่องนี้เท่านั้น กระทรวงวัฒนธรรมยังไม่สามารถแยกแยะ ความแตกต่างระหว่าง บุคคลที่รักเพศเดียวกัน กับพฤติกรรมที่กระทรวงมองว่าเป็น “พฤติกรรม รักร่วมเพศ” อีกด้วย

    เกย์จำนวนมากไม่ได้แสดงกริยาอาการในขั้นที่เรียกว่าควบคุมไม่ได้เหมือนที่ทางกระทรวงกล่าวอ้างไว้ ความจริง แล้วบทบาทที่มีการแสดงพฤติกรรมในขั้นควบคุมไม่ได้ดังกล่าวในโทรทัศน์นั้นส่วนใหญ่เป็นการแสดงของนักแสดง
    ที่เป็นชายจริงหญิงแท้

    การเรียกพฤติกรรมดังกล่าวว่าเป็น “รักร่วมเพศ” และห้ามออกอากาศนั้น จะทำให้กลุ่มผู้รักเพศเดียวกัน ตกเป็น เหยื่อ(จากสังคม)มากกว่า จะเป็นการห้ามการเผยแพร่พฤติกรรมดังกล่าวตามเจตนารมณ์ของกระทรวง...

    นอกเหนือจากการใช้คำที่ไม่ได้เรื่องแล้ว การแบนดังกล่าวก็ถูกคิดขึ้นมาอย่างไม่มีเหตุผลอีกด้วย เป็นที่เห็นได้ชัดขึ้น เรื่อย ๆ ว่า กระทรวงวัฒนธรรมซึ่งมีวิสัยทัศน์ที่แคบนั้น มองตัวเองว่าเป็นผู้มีอำนาจเต็มแต่ผู้เดียว และเป็นเจ้าของ “วัฒนธรรมไทย” ซึ่งในความจริงแล้ว เป็นสมบัติของประชาชนทั้งประเทศ...


    การแบนนี้เป็นสิ่งที่ไม่เคารพสิทธิในการแสดงออก ซึ่งเป็นรากฐานของความก้าวหน้าทางศิลปะ และ วัฒนธรรม
    อีกทั้งยังอาจส่งผลให้การแสดงออกทางศิลปวัฒนธรรมอีกหลายอย่างต้องหมดไปอีกด้วย

    การกระทำที่เป็นเผด็จการเช่นนี้มีให้เห็นแล้วก่อนหน้านี้ในแผนการดำเนินงานที่บ่งบอกถึงวิสัยทัศน์ที่คับแคบของกระทรวง อันได้แก่ การขึ้นบัญชีดำเพลงต่าง ๆ การเซ็นเซอร์แฟชั่นโชว์ การบังคับเสื้อผ้าที่ประชาชนควรใส่ในวันสงกรานต์ และอื่น ๆ อีกมาก...

    ถึงแม้ทางกระทรวงจะออกมากล่าวอ้างแบบลอย ๆ ไม่มีอะไรสนับสนุนว่า “พฤติกรรมรักร่วมเพศ” สามารถเปลี่ยน พฤติกรรมทางเพศของเด็กได้ แต่การวิจัยทางวิทยาศาสตร์ได้พิสูจน์แล้วว่า พฤติกรรมทางเพศ ส่วนใหญ่เป็น สิ่งที่กำหนดไว้แล้วล่วงหน้าในยีนและบางส่วนจากลักษณะการเจริญเติบโตของสมองในช่วงเวลาสองสามปีแรกหลังจากเกิด ซึ่งทั้งหมดนี้ไม่มีอะไรเกียวกับการรับรู้จากโทรทัศน์แต่อย่างใด...

    ถ้าทางกระทรวงมีเจตนาจริงจังที่จะตอบสนองต่อความกังวลของพ่อแม่เด็กในเรื่องของ “พฤติกรรมรักร่วมเพศ” แล้ว ส่งที่กระทรวงวัฒนธรรมสามารถทำได้ แทนที่จะไปจำกัดการแสดงออกทางศิลปะ ก็คือการให้ความรู้กับประชาชนว่า
    ถึงแม้การแสดงออกอาจจะเหมือนเสื้อผ้าที่ใส่ได้ถอดได้ แต่ทางเลือกในเรื่องเพศของแต่ละบุคคลเป็น เสมือนสีผิว ที่ไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้ตามใจชอบ...

    ในขณะเดียวกัน ทางกระทรวงจะสามารถช่วยสังคมได้มากทีเดียวในการช่วยให้วัยรุ่นที่เป็นบุคคล รักพวกเดียวกัน ให้มีความมั่นใจในตนเองไม่สับสนได้ในการสนับสนุนภาพลักษณ์ในด้านบวกของบุคคลที่รักพวกเดียวกันผ่านทาง
    สื่อโทรทัศน์ ถึงแม้ว่านี่จะเป็นสิ่งที่ไม่อาจจะคาดหวังได้เลยก็ตาม เนื่องจากแนวคิดว่า “เกย์คือผู้เบี่ยงเบน” ที่มีอยู่ในปัจจุบันนี้...

    ดังนั้น ความรับผิดชอบจึงตกอยู่กับสังคมไทยโดยรวม ที่จะออกมาถกกันว่า จะยอมสูญเสียความเป็นอิสระ เท่าไหร่เพื่อ ยอมรับ “มาตรการด้านวัฒนธรรม” ที่กระทรวงยุติธรรมประกาศออกมาเช่นนี้ และอย่าลืมด้วยว่า
    พฤติกรรมรักร่วมเพศ นั้นเป็นแค่ส่วนหนึ่งในลิสต์อันยาวเหยียดที่อยู่ในบัญชีดำองกระทรวง ซึ่งหมาย ความว่า กระทรวงฯ จะไม่หยุดอยู่เพียงแค่เรื่องนี้อย่างแน่นอน...


    ..................

    Culture Ministry is confused about gays

    Published on Jun 8, 2004, ‘The Nation’


    Homosexuals do not necessarily indulge in what it describes as 'homosexual behaviour'

    Although the Ministry of Culture swiftly held a "damage-control" press conference to clarify and partly refute an earlier report about its anti-gay campaign, much of its homophobic rhetoric is still unaccounted for.

    Sensing that such a move might be unconstitutional, it denied that it had a plan to ban gays from government posts, saying ministry officials had been "misquoted". (Compare this to a speech last year by Singapore's prime minister that acknowledged the contributions of gay
    civil servants.) But it has yet to produce any evidence for the contradictory claim of "inappropriate public displays of affection" and violence among gay teens, or to explain its demeaning comparison between gays and pornographic distributors, as quoted in the local
    press.

    Moreover, deputy permanent secretary for Culture Dr Kla Somtrakul confirmed his ministry's intent to pursue its campaign against "homosexual presence" on television. This week it will send a letter requesting television stations not to air "sexually deviant homosexual" messages, which allegedly influence youths negatively.

    In doing so, the ministry is showing multiple levels of ignorance about homosexuality. Not very long ago, the Department of Mental Health made a clear statement that homosexuality is a normal, natural form of human sexuality and gay people are not "deviants", echoing
    what the World Health Organisation and international health community have emphasised for decades.

    Not only did the ministry fail to note this, it also fell short of making distinctions between gay people and what it perceives as "homosexual behaviour". Many gay people do not display such
    unrestrained behaviour as the ministry described. In fact, most of such behaviour on television is played by heterosexual actors. By branding such behaviour "homosexual", the ban will end up victimising gay people rather than discouraging certain acts as it intends.

    In addition to being sloppily-phrased, the ban is ill-conceived to begin with. It is increasingly obvious that the ministry - with its narrow-mindedness - sees itself as the sole authority and owner of "Thai culture", which in fact belongs to every Thai citizen.

    It shows little regard for freedom of expression - the basis for evolving arts and cultures as opposed to ones on the brink of extinction. This authoritarian tendency has previously been observed in the ministry's narrow-minded plans to blacklist songs, censure fashion shows, dictate Songkran dress codes, and so on.

    Despite the ministry's flimsy claim that this "homosexual behaviour" can alter a child's sexual orientation, scientific research shows that sexual orientation is largely determined by genetics and to a small extent by different pathways in brain development in the first few years of life - nothing to do with television.

    If the ministry is serious about addressing parental concerns regarding "homosexual behaviour", what it can do, instead of infringing on artistic freedom, is educate the public that while behaviour is like a costume that can be put on and grown out of, sexual orientation is like skin that doesn't change at will.

    On the other hand, the ministry could do much good in helping to shape well-balanced gay teens by encouraging a positive image of gay people on television - although this seems far-fetched in its current "gay equals deviant" mindset.

    Now the responsibility lies with Thai society to debate how much liberty can be sacrificed in exchange for the ministry's imposed "cultural order". Remember that "homosexual behaviour" is just one item on this busybody ministry's list, and it doesn't stop there.

    As for the gay community, it must now take up the battle against homophobia, as the vicious cycle doesn't entirely start and end with homophobes. It's easy to perpetuate the lie that gays are mentally ill and have a negative influence on society when there are not enough well-balanced gay public figures in view.

    This is regrettable, because there are plenty of successful gay people in our society, many of them famous artists, who have yet to come out publicly.

    Naturally, this isn't helped by the institutional homophobia now made evident, ironically, by the Ministry of Culture itself.

    In Thailand, gay rights are often said - even among gays - to be an individual's private rights, as it's easier to defend oneself from behind a wall. But to fight institutional homophobia, gay rights need to step out of the bedroom. The more gay people come out, the harder it will be to maintain the lie. Then and only then can the gay community reclaim its rightful share of the culture to which it contributes.

    Paisarn Likhitpreechakul
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×