ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    สตีเฟ่น ฮอว์กิ้ง อัจฉริยะร่างพิการ จักรวาลวิทยา และอนาคต

    ลำดับตอนที่ #2 : เล่าเรื่อง "กาล" และ "เวลา" ย่อๆ ใน "ประวัติย่นย่อของกาลเวลา"

    • อัปเดตล่าสุด 15 มิ.ย. 49


    เล่าเรื่อง "กาล" และ "เวลา" ย่อๆ ใน "ประวัติย่นย่อของกาลเวลา"
    โดย ผู้จัดการออนไลน์ 17 ตุลาคม 2548 01:56 น.
    คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น
    สตีเฟน ฮอว์กิ้ง นักฟิสิกส์อัจฉริยะร่างพิการผู้เคยติดอันดับชายหนุ่มที่เซ้กซี่ 1 ใน 10

    ศ.ดรร.สุทัศน์ ยกส้าน นักฟิสิกส์ชั้นนำของไทย

           คงไม่ใช่เรื่องแปลกหากหนังสือวิทยาศาสตร์อย่าง “ประวัติย่อของกาลเวลา” ที่เขียนโดยนักฟิสิกส์ร่างพิการแต่สมองสมบูรณ์เกินร้อยเช่น "สตีเฟน ฮอว์กิง" จะได้รับความนิยมยาวนานนับ 17 ปี แม้หนังสือดังกล่าวจะเต็มไปด้วยทฤษฎีฟิสิกส์ยุ่งๆ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะฮอว์กิงได้พยายามตอบคำถามพื้นฐานที่สุดของมนุษยชาตินั่นคือ “เราเป็นใคร มาจากไหน และกำลังจะไปไหน” ในเอกภพนี้
           

           แม้ "ประวัติย่อของกาลเวลา" (A Brief History of Time) จะเป็นหนังสือที่ได้รับความนิยมอย่างสูง (ยอดพิมพ์น่าจะเลย 10 ล้านเล่มทั่วโลกไปแล้ว) แต่ก็ได้รับเสียงบ่นไม่น้อยจากผู้อ่านว่าเข้าใจยาก ทำให้ "เลียวนาร์ด มโลดินาว" (Leonard Mlodinow) อาจารย์จาก "คาลเทก" ( California Institute of Technology : Caltech) เจ้าของนิยายวิทยาศาสตร์เรื่องดัง "Star Trek: the Next Generation" และเป็นผู้ติดตามผลงานของฮอว์กิงอย่างใกล้ชิดจึงเสนอที่จะเรียบเรียงหนังสือขึ้นมาใหม่ให้อ่านง่ายขึ้น
           
           จากหนังสือประวัติย่อของกาลเวลา มโลดินาวได้ตัดทฤษฎีที่ทำให้หนังสือดูกลายเป็นตำรามหาวิทยาลัยออกและขยายความในบางบทเพื่อให้เป็นที่เข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้น แถมยังอัพเดทข้อมูลก้าวหน้าที่เกี่ยวข้องกับหัวใจสำคัญของหนังสือ จนได้เล่มใหม่ออกมาเป็น "A Briefer History of Time" โดยมีรอฮีม ปรามาทแปลเป็นภาคภาษาไทยโดยใช้ชื่อ “ประวัติย่นย่อของกาลเวลา” 
           
           ในขณะที่เลียวนาร์ดได้ย่นย่อประวัติของกาลเวลาลง เราก็มีความหมายที่ย่อย่นยิ่งกว่าของกาลเวลาจาก ศ.ดร.สุทัศน์ ยกส้าน ผู้เชี่ยวชาญพิเศษของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) และยังเป็นนักฟิสิกส์ชั้นแนวหน้าของเมืองไทยมาแสดงภาพรวมของกาลเวลาคร่าวๆ ซึ่ง ศ.ดร.สุทัศน์ได้อธิบายว่ากาลเวลาก็เป็นอีกมิติหนึ่งที่นอกเหนือไปจากมิติกว้างยาว สูงที่คนทั่วไปรู้จัก การจะนัดเวลาใครสักคนจึงไม่ใช่แค่ระบุตำแหน่งแต่ต้องระบุเวลาด้วย
           

           ในการศึกษาเรื่องเวลาในทางวิทยาศาสตร์เราคงเลี่ยงที่เอ่ยถึงอวกาศหรือเอกภพไปไม่ได้ ศ.ดร.สุทัศน์ได้ย้อนถึงความเข้าใจของปรากฏการณ์ในเอกภพที่มีนักฟิสิกส์พยายามอธิบาย อาทิ เซอร์ไอแซค นิวตัน (Sir Isaac Newton) ผู้ค้นพบแรงดึงดูดและบอกแก่โลกว่าของแต่ละอย่างดึงดูดกันและกัน แต่เขาไม่เคยบอกว่าดึงดูดกันอย่างไร จนกระทั่งอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein) บอกว่าแรงดึงดูดเป็นผลมาจากอวกาศโค้งซึ่งเหมือนกับการการเอาลูกโบว์ลิ่งวางบนแผ่นยาง ทำให้แผ่นยางบุ๋ม ซึ่งรอยบุ๋มจะดึงให้วัตถุเข้าใกล้ลูกโบว์ลิ่งมากขึ้น
           
           ศ.ดร.สุทัศน์กล่าวว่าไอน์สไตน์มองว่าเรขาคณิตเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้เข้าใจธรรมชาติ การโค้งของอวกาศก็ทำให้เข้าใจธรรมชาติ การโค้งของอวกาศก็ทำให้ดวงดาวต่างๆ โคจรไปรอบๆดวงอาทิตย์ และไอน์สไตน์ยังพบอีกว่าดวงดาวไม่โคจรซ้ำรอยเดิมทุกปี แต่จะใช้เวลาถึง 360,000 ปีจึงจะโคจรทับวงโคจรเดิม
           
           อีกเรื่องที่สำคัญในการศึกษากาลเวลาคือความเป็นไปได้ที่คนเราจะเดินทางข้ามเวลา ศ.ดร.สุทัศน์กล่าวว่านักทฤษฎีคิดได้แล้วการเดินทางย้อนเวลาเป็นไปได้ในระดับอิเล็กตรอนหรืออะตอมผ่าน “รูหนอน” (Worm Hole) หากแต่มนุษย์ซึ่งมีอิเล็กตรอนและอะตอมนับล้านยังไม่สามารถข้ามผ่านไปได้
           

           “ถ้าคนเราลงไปก็ตายอย่างเดียว” ศ.ดร.สุทัศน์กล่าว พร้อมทั้งให้เหตุผลว่าภายในรูหนอนจะมีแรงกระทำที่บีบรัดจนเราไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้ พร้อมกันนี้ยังตั้งคำถามว่าคนเราจะเดินทางย้อนเวลาไปทำไมกัน เพราบางครั้งอดีตก็เป็นเรื่องขมขื่น
           
           นอกจากนี้ ศ.ดร.สุทัศน์ ยังได้กล่าวถึงความฝันของนักฟิสิกส์ที่ต้องการจะมีทฤษฎีที่สามารถอธิบายทุกสิ่งในธรรมชาติได้ ซึ่งปัจจุบันมี 2 ทฤษฎีคือทฤษฎีสัมพัทธภาพที่อธิบายธรรมชาติในระดับจักรวาลกับทฤษฎีควอนตัมที่อธิบายธรรมชาติในระดับอิเล็กตรอน แต่ทฤษฎีทั้ง 2 ยังมีความขัดแย้งกันซึ่งเปรียบเหมือน “มด” กับ “ช้าง” ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะรวมทั้งสองอย่างเข้าด้วยกัน
           
           ศ.ดร.สุทัศน์ ยังได้ทิ้งท้ายถึงการเขียนหนังสือในเชิงวิทยาศาสตร์ว่า การจะเขียนหนังสือวิทยาศาสตร์ให้ดีนั้นต้องมี 2 คุณสมบัติที่สำคัญคือ 1.มีความรู้วิทยาศาสตร์อย่างลึกซึ้ง และ 2.มีความสามารถพิเศษในการถ่ายทอดซึ่งจะหาคนที่มีความสามารถทั้ง 2 อย่างพร้อมกันได้ยาก อย่างไรก็ดี เราต้องส่งเสริมให้มีการเขียนหนังสือวิทยาศาสตร์ให้มากเพราะเราไม่สามารถปล่อยให้ความงมงายเกิดขึ้นในสังคมเราได้อีกต่อไป
           
           "ประวัติย่นย่อของกาลเวลา" เป็นหนังสือวิทยาศาสตร์ใหม่แกะกล่องอีกเล่มหนึ่ง ในงานมหรกรรมหนังสือระดับชาติที่เพิ่งปิดตัวไปหมาดๆ เมื่อวานนี้ (16 ต.ค.) ยิ่งถ้าใครยังคงงงกับ "ประวัติย่อของกาลเวลา" ที่ฮอว์กิงเขียนมากว่า 10 ปี เชื่อว่าหนังสือ "ฉบับย่นย่อ" (และขยายรายละเอียดในบางตอน) อาจจะช่วยให้เราเข้าใจเรื่อง "กาล" และ "เวลา" เพิ่มขึ้นมา...ไม่มากก็น้อย

    โดย ผู้จัดการออนไลน์ 17 ตุลาคม 2548 01:56 น.
    คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น
    สตีเฟน ฮอว์กิ้ง นักฟิสิกส์อัจฉริยะร่างพิการผู้เคยติดอันดับชายหนุ่มที่เซ้กซี่ 1 ใน 10

    ศ.ดรร.สุทัศน์ ยกส้าน นักฟิสิกส์ชั้นนำของไทย

           คงไม่ใช่เรื่องแปลกหากหนังสือวิทยาศาสตร์อย่าง “ประวัติย่อของกาลเวลา” ที่เขียนโดยนักฟิสิกส์ร่างพิการแต่สมองสมบูรณ์เกินร้อยเช่น "สตีเฟน ฮอว์กิง" จะได้รับความนิยมยาวนานนับ 17 ปี แม้หนังสือดังกล่าวจะเต็มไปด้วยทฤษฎีฟิสิกส์ยุ่งๆ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะฮอว์กิงได้พยายามตอบคำถามพื้นฐานที่สุดของมนุษยชาตินั่นคือ “เราเป็นใคร มาจากไหน และกำลังจะไปไหน” ในเอกภพนี้
           

           แม้ "ประวัติย่อของกาลเวลา" (A Brief History of Time) จะเป็นหนังสือที่ได้รับความนิยมอย่างสูง (ยอดพิมพ์น่าจะเลย 10 ล้านเล่มทั่วโลกไปแล้ว) แต่ก็ได้รับเสียงบ่นไม่น้อยจากผู้อ่านว่าเข้าใจยาก ทำให้ "เลียวนาร์ด มโลดินาว" (Leonard Mlodinow) อาจารย์จาก "คาลเทก" ( California Institute of Technology : Caltech) เจ้าของนิยายวิทยาศาสตร์เรื่องดัง "Star Trek: the Next Generation" และเป็นผู้ติดตามผลงานของฮอว์กิงอย่างใกล้ชิดจึงเสนอที่จะเรียบเรียงหนังสือขึ้นมาใหม่ให้อ่านง่ายขึ้น
           
           จากหนังสือประวัติย่อของกาลเวลา มโลดินาวได้ตัดทฤษฎีที่ทำให้หนังสือดูกลายเป็นตำรามหาวิทยาลัยออกและขยายความในบางบทเพื่อให้เป็นที่เข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้น แถมยังอัพเดทข้อมูลก้าวหน้าที่เกี่ยวข้องกับหัวใจสำคัญของหนังสือ จนได้เล่มใหม่ออกมาเป็น "A Briefer History of Time" โดยมีรอฮีม ปรามาทแปลเป็นภาคภาษาไทยโดยใช้ชื่อ “ประวัติย่นย่อของกาลเวลา” 
           
           ในขณะที่เลียวนาร์ดได้ย่นย่อประวัติของกาลเวลาลง เราก็มีความหมายที่ย่อย่นยิ่งกว่าของกาลเวลาจาก ศ.ดร.สุทัศน์ ยกส้าน ผู้เชี่ยวชาญพิเศษของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) และยังเป็นนักฟิสิกส์ชั้นแนวหน้าของเมืองไทยมาแสดงภาพรวมของกาลเวลาคร่าวๆ ซึ่ง ศ.ดร.สุทัศน์ได้อธิบายว่ากาลเวลาก็เป็นอีกมิติหนึ่งที่นอกเหนือไปจากมิติกว้างยาว สูงที่คนทั่วไปรู้จัก การจะนัดเวลาใครสักคนจึงไม่ใช่แค่ระบุตำแหน่งแต่ต้องระบุเวลาด้วย
           

           ในการศึกษาเรื่องเวลาในทางวิทยาศาสตร์เราคงเลี่ยงที่เอ่ยถึงอวกาศหรือเอกภพไปไม่ได้ ศ.ดร.สุทัศน์ได้ย้อนถึงความเข้าใจของปรากฏการณ์ในเอกภพที่มีนักฟิสิกส์พยายามอธิบาย อาทิ เซอร์ไอแซค นิวตัน (Sir Isaac Newton) ผู้ค้นพบแรงดึงดูดและบอกแก่โลกว่าของแต่ละอย่างดึงดูดกันและกัน แต่เขาไม่เคยบอกว่าดึงดูดกันอย่างไร จนกระทั่งอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein) บอกว่าแรงดึงดูดเป็นผลมาจากอวกาศโค้งซึ่งเหมือนกับการการเอาลูกโบว์ลิ่งวางบนแผ่นยาง ทำให้แผ่นยางบุ๋ม ซึ่งรอยบุ๋มจะดึงให้วัตถุเข้าใกล้ลูกโบว์ลิ่งมากขึ้น
           
           ศ.ดร.สุทัศน์กล่าวว่าไอน์สไตน์มองว่าเรขาคณิตเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้เข้าใจธรรมชาติ การโค้งของอวกาศก็ทำให้เข้าใจธรรมชาติ การโค้งของอวกาศก็ทำให้ดวงดาวต่างๆ โคจรไปรอบๆดวงอาทิตย์ และไอน์สไตน์ยังพบอีกว่าดวงดาวไม่โคจรซ้ำรอยเดิมทุกปี แต่จะใช้เวลาถึง 360,000 ปีจึงจะโคจรทับวงโคจรเดิม
           
           อีกเรื่องที่สำคัญในการศึกษากาลเวลาคือความเป็นไปได้ที่คนเราจะเดินทางข้ามเวลา ศ.ดร.สุทัศน์กล่าวว่านักทฤษฎีคิดได้แล้วการเดินทางย้อนเวลาเป็นไปได้ในระดับอิเล็กตรอนหรืออะตอมผ่าน “รูหนอน” (Worm Hole) หากแต่มนุษย์ซึ่งมีอิเล็กตรอนและอะตอมนับล้านยังไม่สามารถข้ามผ่านไปได้
           

           “ถ้าคนเราลงไปก็ตายอย่างเดียว” ศ.ดร.สุทัศน์กล่าว พร้อมทั้งให้เหตุผลว่าภายในรูหนอนจะมีแรงกระทำที่บีบรัดจนเราไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้ พร้อมกันนี้ยังตั้งคำถามว่าคนเราจะเดินทางย้อนเวลาไปทำไมกัน เพราบางครั้งอดีตก็เป็นเรื่องขมขื่น
           
           นอกจากนี้ ศ.ดร.สุทัศน์ ยังได้กล่าวถึงความฝันของนักฟิสิกส์ที่ต้องการจะมีทฤษฎีที่สามารถอธิบายทุกสิ่งในธรรมชาติได้ ซึ่งปัจจุบันมี 2 ทฤษฎีคือทฤษฎีสัมพัทธภาพที่อธิบายธรรมชาติในระดับจักรวาลกับทฤษฎีควอนตัมที่อธิบายธรรมชาติในระดับอิเล็กตรอน แต่ทฤษฎีทั้ง 2 ยังมีความขัดแย้งกันซึ่งเปรียบเหมือน “มด” กับ “ช้าง” ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะรวมทั้งสองอย่างเข้าด้วยกัน
           
           ศ.ดร.สุทัศน์ ยังได้ทิ้งท้ายถึงการเขียนหนังสือในเชิงวิทยาศาสตร์ว่า การจะเขียนหนังสือวิทยาศาสตร์ให้ดีนั้นต้องมี 2 คุณสมบัติที่สำคัญคือ 1.มีความรู้วิทยาศาสตร์อย่างลึกซึ้ง และ 2.มีความสามารถพิเศษในการถ่ายทอดซึ่งจะหาคนที่มีความสามารถทั้ง 2 อย่างพร้อมกันได้ยาก อย่างไรก็ดี เราต้องส่งเสริมให้มีการเขียนหนังสือวิทยาศาสตร์ให้มากเพราะเราไม่สามารถปล่อยให้ความงมงายเกิดขึ้นในสังคมเราได้อีกต่อไป
           
           "ประวัติย่นย่อของกาลเวลา" เป็นหนังสือวิทยาศาสตร์ใหม่แกะกล่องอีกเล่มหนึ่ง ในงานมหรกรรมหนังสือระดับชาติที่เพิ่งปิดตัวไปหมาดๆ เมื่อวานนี้ (16 ต.ค.) ยิ่งถ้าใครยังคงงงกับ "ประวัติย่อของกาลเวลา" ที่ฮอว์กิงเขียนมากว่า 10 ปี เชื่อว่าหนังสือ "ฉบับย่นย่อ" (และขยายรายละเอียดในบางตอน) อาจจะช่วยให้เราเข้าใจเรื่อง "กาล" และ "เวลา" เพิ่มขึ้นมา...ไม่มากก็น้อย

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×