ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    รู้เฟื่องเรื่องอียิปต์

    ลำดับตอนที่ #2 : ตอนที่2ฟาโรห์ในอียิปต์

    • อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 50


    ฟาโรห์

    หน้ากากฟาโรห์ (ฟาโรห์ตุตันคามุน)
    หน้ากากฟาโรห์ (ฟาโรห์ตุตันคามุน)
    ฟาโรห์ "Pr-Aa"

    ใน เฮียโรกลิฟอียิปต์
    O1
    O29

    ฟาโรห์ (Pharaoh แปลว่า บ้านใหญ่) คือคำที่ใช้เรียกพระมหากษัตริย์แห่งอียิปต์ในสมัยอียิปต์โบราณ ซึ่งถือเสมอเหมือนพระเจ้าบนดิน

    ชาวอียิปต์โบราณมีความเชื่อว่าฟาโรห์และพระราชโอรสและพระราชธิดาต่างเป็นเทพเจ้าหรือเทพีแห่งโลกทั้งสิ้นและถือว่าต่างเป็นคู่อภิเษกสมรสกัน พระราชโอรสที่ได้รับราชบัลลังก์ก็ทรงมีสิทธิที่จะเลือกอภิเษกสมรสกับพระเชษฐภคินี หรือพระกนิษฐาคนใดก็ได้ ในกรณีที่ไม่มีพระเชษฐภคินีหรือพระกนิษฐาร่วมพระครรภ์เดียวกันก็จะไม่มีสิทธิ์ขึ้นครองราชบัลลังก์ ส่วนพระราชธิดาที่พระราชบิดาทรงเลือกให้สืบราชสมบัติต่อไปก็ต้องทรงปฏิบัติเช่นเดียวกัน

    ฟาโรห์หญิงโซเบคเนฟรู

    ราชินีโซเบคเนฟรู เป็นฟาโรห์องค์สุดท้ายของราชวงศ์ที่ ๑๒ เป็นสตรีเพศ นามราชินีโซเบคเนฟรู พระนางอาจเคยได้ปกครองเป็นผู้สำเร็จราชการร่วมกับอเมเนมเฮตที่ ๔ มาก่อนที่จะได้ครองบัลลังก์โดยสมบูรณ์ ทรงมีพระสมัญญาว่า "นางเหยี่ยวผู้เป็นที่รักของเร" รูปสลักบางชิ้นเป็นภาพนางสวมเครื่องแบบบุรุษบ้างก็เป็นเครื่องทรงแบบสตรี แต่ใช่ว่านางจะเป็นฟาโรห์หญิงเพียงคนเดียวในประวัติศาสตร์อียิปต์เพราะมีฟาโรห์หญิงอีกคนที่ทรงอำนาจที่ลือชื่อมากกว่าราชินีโซเบคเนฟรู นั่นคือ ราชินีฮัตเชปซุต


    ฟาโรห์ตุตันคามุน

    หน้ากากของฟาโรห์ตุตันคามุน
    หน้ากากของฟาโรห์ตุตันคามุน

    ฟาโรห์ ตุตันคามุน (Tutankhamun) หรือ ตุตันคาเมน เป็นฟาโรห์องค์ที่ 12 ในราชวงค์ที่ 18 ของอียิปต์โบราณ ครองราชย์ระหว่าง 1325 - 1334 ปีก่อนคริสตกาล ก่อนหน้าขึ้นครองราชย์ใช้พระนามว่า “ตุตันคาเตน” อันหมายถึงเทพอาเตน หรือสุริยเทพอวตารลงมา การบริหารบ้านเมืองจึงตกอยู่กับวิซิเออร์ อัยย์ (Vizier Ay) ฟาโรห์ ตุตันคาเมนได้ครองราชย์ในรัชสมัยของพระองค์ช่วงสั้นๆ ราว 9 ปี ก็สิ้นพระชนม์เสียก่อน เป็นเพราะฟาโรห์ตุตันคาเมน สิ้นพระชนม์อย่างกะทันหัน วิซิเออร์ อัยย์จึงได้สร้างสุสานถวายแบบง่าย ๆ

    ราวสองร้อยปีต่อมา มีการสร้างสุสานของฟาโรห์รามเสสที่ 6 ทับสุสานของ ฟาโรห์ตุตันคาเมน ทั้ง ๆ ที่คนงานก็รู้แต่นึกว่าเป็นบุคคลธรรมดาจึงไม่ได้เสนอเบื้องบน จึงทำให้สุสานของฟาโรห์ตุตันคาเมนนี้ ปลอดภัยและนับเป็นสุสานที่สมบูรณ์ที่สุด

    ฟาโรห์ตุตันคามุนทรงได้เษกสมรสกับพระนางอันเคเซนามุน พระธิดาพระองค์ที่ 3 จากทั้งหมด 6 พระองค์ในพระนางเนเฟอร์ติติ ซึ่งเป็นมเหสีองค์แรกของฟาโรห์อาเมนโฮเทปที่ 4 เจ้าหญิงจากมิตันนี (Mitanni) ซึ่งเป็นอาณาจักรโบราณแห่งหนึ่งตั้งอยู่บริเวณทางเหนือของดินแดนเมโสโปเตเมีย

    ฟาโรห์ตุตันคาเมน สวรรคตอย่างฉับพลันโดยไม่ทราบสาเหตุ ทั้งๆ ที่ยังมีพระชนมายุยังไม่ครบ 19 ชันษา อีกทั้งไม่มีองค์รัชทายาท วิซิเออร์ อัยย์ จึงรีบฉวยโอกาสแต่งกับราชินีม่ายเพื่อจะได้ครอบครองดินแดนอียิปต์ต่อไป

    คำสาปของฟาโรห์ตุตันคาเมน

    ลอร์ด คาเนวอน ได้ว่าจ้างคณะสำรวจของนายโฮเวิร์ด คาร์เตอร์ เพราะต้องการให้มีการสำรวจสุสานฟาโรห์ เป็นคณะแรกที่ได้เข้าสู่สุสานของตุตันคาเมนในหุบผากษัตริย์ เมืองลักซอร์ ในวันที่ 4 พ.ย. 1922 โดยคาร์เตอร์ใช้เวลาถึง 10 ปี ในการขุดค้นสุสานและค้นพบห้องเก็บพระศพ โลงพระศพที่ทำด้วยทองคำบริสุทธิ์

    สำหรับสุสานฟาโรห์หนุ่มองค์นี้คือ คำสาป ที่นักบวชไอยคุปต์บรรจงสลักไว้ในสุสานของตุตันคาเมน “มรณะจักโบยบินมาสังหารสู่ผู้บังอาจรังควานสันติสุขแห่งพระองค์ฟาโรห์” ข้อความที่ขลังและเปี่ยมด้วยอาถรรพณ์นี้ ทำให้มีการตายอย่างน่าพิศวงซึ่งเชื่อกันว่าเกิดขึ้นเพราะฤทธิ์คำสาป

    ลอร์ด คาเนวอนก็เสียชีวิตขณะพักอยู่ที่โรงแรมในกรุงไคโร ประเทศอียิปต์ ในเวลาเดียวกันที่บ้านของลอร์ด คาเนวอนที่ประเทศอังกฤษมีสุนัขอยู่หนึ่งตัวซึ่งลอร์ด คาเนวอนได้เลี้ยงไว้ สุนัขตัวนี้ได้ส่งเสียงเห่าหอนในตอนดึกเหมือนกับว่าได้รู้ว่าลอร์ด คาเนวอนเสียชีวิตลงแล้ว หนึ่งปีผ่านไป คนงานในคณะสำรวจของคาร์เตอร์เสียชีวิตลง หลังจากนั้น 6 ปีได้มีการเปิดหลุมศพอีกครั้งแต่ในครั้งนี้ได้มีคนตายอีกถึง 12 คน

    ฟาโรห์ทุตโมสที่ ๒

    ฟาโรห์ทุตโมสที่ ๒

    ทุตโทสที่ ๒ ผู้สืบบัลลังก์ได้ครองอียิปต์อยู่ ๑๔ ปี แต่ดูเหมือนว่าจะทรงป่วยออดๆแอดๆ อยู่ตลอด ทุตโมสที่ ๒ จึงหาทางครองบัลลังก์อย่างมั่นคงด้วยการสมรสกับฮัตเชปซุตน้องสาวร่วมบิดาและธิดาของทุตโมสที่ ๑ คงหวังจะได้สายเลือดของฟาโรห์ทุตโมสที่ ๑ เข้ามาช่วยเพิ่มสิทธิธรรมในการปกครอง ราชินีฮัตเชปซุตนั้นนับเป็นบุคคลที่น่าสนใจมากที่สุด และอาจจะทรงเชี่ยวชาญด้านการปกครองยิ่งกว่าบุรุษส่วนมาก

    ก่นที่ฟาโรห์ทุตโมสที่ ๒ สวรรคตในราวปี ๑๔๗๙ ก่อนคริสตกาล ทรงได้แต่งตั้งทุตโมสที่ ๓ ซึ่งเป็นพระโอรสขอพระองค์กับสนมอีกนางหนึ่ง ให้ครองฐานะฟาโรห์องค์ต่อไป ถึงกระนั้นทุตโมสที่ ๓ยังทรงอ่อนเยาว์ไม่สามารถปกครองอาณาจักรได้ด้วยตนเอง ฮัตเชปซุตจึงอ้างวัยวุฒินี้เพื่อรั้งตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนทุตโมสที่ ๓ทว่านางกลับมีความมุ่งมั่นที่จะครองอาณาจักรโดยเป็นฟาโรห์เอง

    ฟาโรห์ทุตโมสที่ ๔

    ฟาโรห์ทุตโมสที่ ๔

    ฟาโรห์ทุตโมสที่ ๔ นำความเปลี่ยนแปลงมาสู่ระบอบการปกครองของอียิปต์ไม่น้อย ทรงส่งเสริมอำนาจของระบบราชการในส่วนกลางและเสริมระบบการป้องกันพรมแดนทั้งหมด พร้อมกันนั้นก็ไม่พลาดการสร้างอนุสาวรีย์ที่มีพระนามจารึกอยู่ขึ้นทั่วพระราชอาณาจักร นักประวัติศาสตร์ตีความเรื่องนี้ว่าบางทีการที่พระองค์ไม่ได้เป็นผู้สืบสายเลือดโดยตรงเป็นปมด้อยที่กดดันให้ทรงป่าวประกาศ และอ้างเรื่องพระนิมิตใต้เงามหาสฟิงซ์มาสร้างความชอบธรรมในการปกครองด้วย

    ตำนานเรื่องของฟาโรห์ทุตโมสที่ ๔ กับ สฟิงซ์

    แผ่นหินจารึกตรงหน้าอกของสฟิงซ์มีเรื่องราวของฟาโรห์ทุสโมสที่ ๔ พระองค์มีนิมิตว่าหากช่วยนำทรายที่กลบฝังสฟิงซ์ออกก็จะเป็นกษัตริย์ ตามตำนานพระองค์ได้ขึ้นครองราชย์หลังจากปฏิบัติตามนิมิตดังกล่าว

    ฟาโรห์ทุตโมสที่หนึ่ง

    ฟาโรห์ทุตโมสที่ ๑ในตลอดรัชสมัยของฟาโรห์ทุตโมสที่ ๑ ได้ทรงนำกองทัพรุกเข้าพิชิตเมืองใหญ่น้อยในเขตปาเลสไตน์และซีเรีย จากนั้นจึงได้บุกเข้าทำลายศูนย์อำนาจของชาวนูเบียที่ยู่ทางใต้จนราบคาบ แล้วจัดการกวาดต้อนแรงงานก่อนจะผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิอียิปต์

    ทุตโมสที่ ๑ได้ทรงยกทัพลึกลงไปกว่าฟาโรห์องค์ใดๆในสมัยก่อนหน้า และทรงกลับสู่อียิปต์โดยมีร่างไร้ชีวิตของผู้นำชาวนูเบียห้อยมากับหัวเรือ เป็นการประกาศพระราชอำนาจและเตือนสติผู้ที่หวังมาท้าทายพระองค์ไปในตัว ฟาโรห์ทุตโมสที่ ๑ สั่งให้สร้างอาคารและสลักพระนามแผ่นจารึกทั่วแผ่นดิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในดินแดนแถบนูเบียที่พระองค์ที่พึ่งจะพิชิตได้ ขณะเดียวกันก็ทรงประกาศความศรัทธาแด่เทพ อมุน-เร ด้วยการเสริมซุ้มประตูศิลามหึมาและลานกว้างของพระองค์เข้าไปยังมหาวิหารคาร์นัก

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×