ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เนื้อหารายงาน การผ่าตัด

    ลำดับตอนที่ #17 : นรีเวช

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 816
      1
      15 ส.ค. 51

    คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดทางนรีเวชกรรม

    การผ่าตัดทางนรีเวชกรรม ประกอบด้วยการผ่าตัดเปิดทางหน้าท้อง การผ่าตัดทางหน้าท้องโดยการส่องกล้องและการผ่าตัดทางช่องคลอด ถ้าผู้ป่วยได้รับการเตรียมตัวและปฏิบัติตัวได้ถูกต้องทั้งก่อนและหลังการผ่าตัด จะช่วยให้ปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อนและสามารถฟื้นคืนสู่สภาพปกติได้รวดเร็ว ส่วนใหญ่แพทย์จะอนุญาตให้กลับบ้านในเวลา 3 - 5 วันหรือไม่เกิน 7 วัน นับจากวันผ่าตัด

    การปฏิบัติตัวและการเตรียมตัวก่อนการผ่าตัด

    การตรวจทางห้องปฏิบัติการ ได้แก่ การตรวจเลือดป ปัสสาวะ เอกซเรย์ทรวงอก ตรวจคลื่นหัวใจและอื่นๆ ตามที่แพทย์จะเห็นสมควร เพื่อประเมินความพร้อมของสภาพร่างกายสำหรับการผ่าตัด

    ถ้ากินหมากและสูบบุหรี่ให้งดอย่างน้อย 1 วันก่อนการผ่าตัด

    ฝึกหัดสูดลมหายใจเข้า - ออกยาวๆ ลึกๆ

    ฝึกหัดไอเพื่อขับเสมหะออกจากลำคอ โดยสูดหายใจเข้าให้เต็มปอด ใช้มือประคองหน้าท้องไว้แล้วไอออกมาให้เต็มที่

    รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ มื้อเย็นก่อนวันผ่าตัด ควรรับประทานอาหารอ่อนที่ย่อยง่าย

    งดน้ำและอาหารทุกชนิดทางปาก ก่อนการผ่าตัด 8 - 12 ชั่วโมง ปกติให้เริ่มงดตั้งแต่ 24.00 น. ของคืนก่อนวันผ่าตัดเพื่อให้กระเพาะอาหารว่าง ป้องกันการอาเจียนหรือสำลักเศษอาหารในระหว่างการดมยาสลบ หรือภายหลังการผ่าตัด

    รักษาความสะอาดของร่างกาย ได้แก่

    ความสะอาดทั่วไปโดยอาบน้ำ สระผม รักษาช่องปากและฟัน ล้างสีทาเล็บออกและตัดเล็บให้สั้น

    ความสะอาดเฉพาะที่ คืนวันก่อนผ่าตัดและเช้าวันผ่าตัด เจ้าหน้าที่จะเตรียมทำความสะอาดให้ดังนี้

    * เตรียมผิวหนัง บริเวณที่จะทำผ่าตัดโดยฟอกสบู่และโกนขนออก

    * ส่วนล้างช่องคลอด (เฉพาะบางราย) เพื่อให้ปลอดภัยจากการติดเชื้อภายหลังการผ่าตัด ยกเว้นขณะมีระดุหรือมีเลือดออกทางช่องคลอด

    * สวนอุจจาระ เพื่อลดจำนวนแบคทีเรียในลำไส้และป้องกันอาการท้องอืดหลังการผ่าตัด

    การพักผ่อน ควรพักผ่อนนอนหลับให้เพียงพออย่างน้อยวันละ 6 - 8 ชั่วโมง เพื่อไม่ให้ร่างกายอ่อนเพลีย แพทย์อาจพิจารณาให้ยานอนหลับ

    ถอดเครื่องประดับและของมีค่าออกจากตัว เพราะอาจเป็นสื่อนำไฟฟ้าขณะทำผ่าตัดและก่อนไปห้องผ่าตัดต้องถอดฟันปลอม หรือกายอุปกรณ์ทุกชนิดให้หมด เช่น แว่นตา คอนแทคเลนส์ เครื่องช่วงฟัง เป็นต้น

    ถ่ายปัสสาวะก่อนไปห้องผ่าตัด

    การปฏิบัติตัวภายหลังการผ่าตัด 24 ชั่วโมงแรก

    หลังการผ่าตัด ผู้ป่วยจะได้รับการตรวจร่างกาย เช่น วัดอุณหภูมิ ตรวจการหายใจ ตรวจชีพจร วัดความดันโลหิต และอยู่ในการดูแลของแพทย์หรือพยาบาลวิสัญญีทุกๆ 15 - 30 นาที ในห้องพักฟื้นนานประมาณ 1 - 2 ชั่วโมง จนอาการเป็นปกติจึงส่งกลับตึกรักษาพยาบาล

    เมื่อถึงตึกรักษาพยาบาลให้ผู้ป่วยนอกพักบนเตียง 8 - 12 ชั่วโมง อาจหนุนหมอนหรือไม่หนุนหมอน ขึ้นอยู่กับอาการและการให้ยาสลบขณะทำการผ่าตัด และพยายามเปลี่ยนอิริยาบถบ่อยๆ

    งดน้ำและอาหารทุกชนิดทางปากต่อจนกว่าลำไส้จะเริ่มทำงาน โดยแพทย์จะให้สารน้ำทดแทนประมาณ 24 - 48 ชั่วโมง

    สูดลมหายใจเข้า - ออก ยาวๆ ลึกๆ (ตามที่ได้ฝึกไว้ก่อนการผ่าตัด) เพื่อให้ปอดขยายตัวได้ดี

    ถ้ามีเสมหะพยายามขับออกด้วยการไอ (ตามที่ได้ฝึกไว้ก่อนการผ่าตัด) เพื่อป้องกันการอุดตันของทางเดินหายใจ

    ถ้ามีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ให้นอนตะแคงหน้าไปข้างใดข้างหนึ่ง เพื่อป้องกันการสำลักเศษอาหาร

    ถ้าปวดแผลมากให้บอกพยาบาลซึ่งจะได้รับยาบรรเทาอาการปวด

    การปฏิบัติตัวหลังการผ่าตัด ภายหลัง 24 ชั่วโมง

    ลุกนั่งบนเตียง เมื่อไม่มีอาการเวียนศรีษะให้ลงนั่งข้างเตียง และเดินรอบๆ เตียง

    เมื่อแพทย์เริ่มให้รับประทานอาหาร จะเริ่มด้วยการจิบน้ำ อาหารเหลว เช่น น้ำข้าว น้ำหวาน น้ำผลไม้และโจ๊กตามลำดับ วันต่อไปเมื่อระบบการย่อยอาหารทำงานดีขึ้นจะเปลี่ยนเป็นอาหารอ่อน เช่น ข้าวต้ม และข้าวสวยมื้อต่อไป อาหารประเภทนมสดควรรับประทาน เมื่อกลับไปพักฟื้นที่บ้าน เพราะอาจทำให้ท้องอืดได้

    ดื่มน้ำให้เพียงพอ วันละประมาณ 2,000 - 3,000 ซี.ซี. หรือประมาณ 8 - 12 แก้ว โดยเฉพาะผู้ที่มีสายสวนปัสสาวะ เพื่อขับสิ่งคั่งค้างออก

    อาจมีเลือดเก่าๆ หรือสิ่งคัดหลั่งที่คั่งค้างออกทางช่องคลอดให้ชำระล้างด้วยน้ำและสบู่ ซับให้แห้งด้วยผ้าสะอาดและใส่ผ้าอนามัยไว้

    เมื่อต้องการเข้าห้องน้ำด้วยตนเองควรระวังการลื่นหกล้ม เมื่อรู้สึกหน้ามืดให้หาที่จับยึดแล้วค่อยๆ นั่งลงทันที

    หลังผ่าตัดวันที่ 3 ผู้ป่วยจะได้รับการทำความสะอาดแผลและปิดทับด้วยพลาสเตอร์ใสกันน้ำ เพื่อให้อาบน้ำได้ ปกติแผลจะแห้งและติดภายใน 5 - 7 วัน

    การปฏิบัติตัวเช่นเดียวกัน แต่มีข้อปฏิบัติเพิ่มเติม ดังนี้

    ใส่สายสวนปัสสาวะนานประมาณ 3 - 5 วัน ควรหิ้วถุงปัสสาวะให้ต่ำกว่าระดับสะโพก เพื่อป้องกันการไหลย้อนกลับของปัสสาวะเข้ากระเพาะปัสสาวะ

    พยาบาลจะทำความสะอาดแผลฝีเย็บด้วยน้ำสะอาดผสมน้ำยาฆ่าเชื้อโรค และอบไฟให้ทุกเช้าและเย็น จนกว่าแผลจะแห้งและติดดี เมื่อผู้ป่วยเข้าห้งอน้ำได้เองให้ทำความสะอาดด้วยน้ำและสบู่โดยราดน้ำจากด้านหน้าไปด้านหลัง และซับให้แห้งด้วยผ้าสะอาดทุกครั้งที่อุจจาระ ปัสสาวะ หรือมีสิ่งคัดหลั่งออกทางช่องคลอด

    ไม่ควรให้ท้องผูกหรือเบ่งอุจจาระแรงเกินไป

    ฝึกบริหารกล้ามเนื้อบริเวณช่องคลอด โดยการขมิบช่องคลอด อย่างน้อยวันละ 200 -300 ครั้ง

    เมื่อถอดสายสวนปัสสาวะออกต้องพยายามปัสสาวะเองถ้าปัสสาวะได้ปกติ แพทย์จะอนุญาตให้กลับบ้านได้

    การปฏิบัติตัวเมื่อกลับบ้าน

    การพักผ่อนและการทำงาน ผู้ป่วยควรหยุดพักการทำงาน ประมาณ 30 - 45 วัน แต่สามารถทำกิจวัตรหรืองานบ้านเบาๆได้ ไม่ควรยกของหนัก

    อาหาร ควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์เพื่อเสริมสร้างร่ายกายและการหายของแผลและดื่มน้ำให้เพียงพอ

    ยา ควรรับประทานยาที่จัดให้ตามขนาดและเวลาที่กำหนดเท่านั้น

    การรักษาความสะอาดและการดูแลแผล สามารถอาบน้ำได้ตามปกติ และซับบริเวณแผลให้แห้งด้วยผ้าสะอาด

    ป้องกันการซึมของน้ำ เมื่อครบ 10 วัน นับตั้งแตวันผ่าตัด ให้แกะพลาสเตอร์ออกได้

    การมีเพศสัมพันธ์ ควรงดหลังการผ่าตัด 4 - 6 สัปดาห์

    อาการผิดปกติที่ควรสังเกต ได้แก่ มีออาการปวดบริเวณท้องน้อย มีสิ่งคัดหลั่งเป็นหนองหรือน้ำออกมาทางแผลหรือช่องคลอด มีกลิ่นเหม็น แผลมีลักษณะบวม แดง ร้อน มีไข้สูงให้รีบมาพบแพทย์ทันที ไม่ต้องรอจนถึงวันนัด

    มาตรวจตามนัดถ้าอาการทั่วไปปกติดี เพื่อตรวจดูการกลับคืนสู่สภาพปกติและติดตามดูความผิดปกติอื่นๆ

     


    การปฏิบัติตัวในระยะ 2 ชั่วโมงแรกหลังคลอด

             หลังคลอด 2 ชั่วโมงแรกเป็นระยะที่อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญ คือ  การตกเลือดหลังคลอดได้

    ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจาก   มดลูกหดรัดตัวไม่ดี

    คุณแม่สามารถดูแลตนเองเพื่อป้องกันการเกิดภาวะ

    ตกเลือดหลังคลอดได้ดังนี้

    การปฏิบัติตัวในระยะ 2 ชั่วโมงแรกหลังคลอด

    1. สังเกตการหดรัดตัวของมดลูก

    ปกติ มดลูกจะแข็งกลม  ตัวมดลูกนุ่มและใหญ่

    ควรคลึงกระตุ้นโดยวางมือข้างที่ถนัด  บริเวณยอดมดลูกและคลึงเบาๆด้วยปลายนิ้ว  จนกว่ามดลูก    จะหดรัดตัวดี

    2. สังเกตจำนวนเลือดที่ออกจากช่องคลอด 

    ถ้ารู้สึกว่ามีเลือดออกจากช่องคลอดมากให้    แจ้งเจ้าหน้าที่ทราบ

      

    3. สังเกตอาการปวดบริเวณแผลฝีเย็บและอาการ  ปวดมดลูกซึ่งเกิดจาก  การหดรัดตัวของมดลูก

    คุณแม่สามารถขอยาแก้ปวดรับประทานได้    ทุก  4-6  ชั่วโมง

    ถ้าบริเวณแผลฝีเย็บมีอาการ  ปวดมาก, บวม  ตึง  และขยายขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ      ซึ่งอาจเกิดอาการบวมเลือดคุณแม่ต้องรีบแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบทันที

    4. คุณแม่ควรพยายามถ่ายปัสสาวะทุก  3-4 ชั่วโมง

    เพราะถ้ากระเพาะปัสสาวะเต็ม  จะดันให้มดลูก    ลอยตัวสูงขึ้นและหดรัดตัวไม่ดี

    5. ทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกและแผล

    ฝีเย็บ

    โดยใช้น้ำสะอาด  และทำความสะอาดทุกครั้ง

    ที่ถ่ายอุจจาระ   ปัสสาวะ  หรือเปลี่ยนผ้าอนามัย   โดยล้างจากข้างหน้าไปข้างหลังเพื่อป้องกันการปนเปื้อน   จากทวารหนักและซับแผลให้แห้ง

    6.   การใช้ผ้าอนามัย 

    ผ้าอนามัย   ที่ใช้ในโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่   จะเป็นผ้าอนามัยแบบห่วง

    6.1  ควรเปลี่ยนผ้าอนามัยทุกครั้งเมื่อเลือดชุ่ม  หรืออย่างน้อย 4 ผืน ต่อวัน  เพื่อป้องกันการติดเชื้อ ที่แผล

    ฝีเย็บ

    6.2 การจับผ้าอนามัยและการใส่ผ้าอนามัย  ไม่ควรจับต้องผ้าอนามัยบริเวณที่จะสัมผัสกับอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก

    6.3 สายผ้าอนามัย  ให้นำห่วงที่เลื่อนไม่ได้ไว้ด้านหน้า  ห่วงที่เลื่อนได้ไว้ด้านหลัง

    7.  การนอนพักผ่อนบนเตียง

    ควรนอนพักบนเตียง 6- 8 ชั่วโมง เพราะมารดาจะเหน็ดเหนื่อยและเสียพลังงาน  หลังจากนั้นควรลุกจากเตียง  เพื่อช่วยให้ร่างกายฟื้นฟูสู่ภาวะปกติได้เร็ว  โดยก่อนลุกจากเตียงให้สังเกตอาการเวียนศีรษะ  หน้ามืดตาลาย  ถ้ามีอาการดังกล่าวให้นอนพักบนเตียงต่อก่อน

     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×