กฎหมายวิชาชีพพยาบาล - กฎหมายวิชาชีพพยาบาล นิยาย กฎหมายวิชาชีพพยาบาล : Dek-D.com - Writer

    กฎหมายวิชาชีพพยาบาล

    รวบรวามเนื้อหาเอาไว้อ่านอ่ะนะ ไม่มีรัย

    ผู้เข้าชมรวม

    3,048

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    0

    ผู้เข้าชมรวม


    3.04K

    ความคิดเห็น


    2

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  9 ส.ค. 51 / 20:47 น.


    ข้อมูลเบื้องต้นของเรื่องนี้

    การประกอบวิชาชีพการพยาบาล เป็นการกระทำต่อร่างกายและจิตใจของผู้รับบริการโดยตรง ซึ่งอาจก่อให้เกิดทั้งผลดี และผลเสียขึ้นมาได้ ผลดีหมายถึงผู้รับบริการทุเลาจากอาการหรือการเจ็บป่วย ผลเสียหมายถึงนอกจากจะไม่ทุเลาจากอาการหรือการเจ็บป่วยแล้วยังก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย อนามัย ทรัพย์สิน สิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดแก่ผู้ป่วยอีกต่างหาก หากเกิดผลเสียดังกล่าวขึ้น คุณพยาบาลทั้งหลายย่อมจะต้องมีความรับผิดตามกฎหมาย เช่นกฎหมายอาญา กฎหมายแพ่ง หรือกฎหมายวิชาชีพซึ่งเป็นกฎหมายเฉพาะ ห้องเรียนนี้จึงจะเปิดขึ้นเพื่อเป็นแหล่งแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของ พยาบาล นิสิต นักศึกษาสาขาวิชาการพยาบาล และสาขาที่เกี่ยวข้องกับการประกอบวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับการแพทย์ การพยาบาล การสาธารณสุข รวมทั้งสาขาวิทยาสุขภาพอื่นๆ ทั้งนี้เพื่อจะได้เรียนรู้วิธีการ แนวทางในการป้องกันมิให้เกิดปัญหาทางกฎหมายต่างๆ อันเนื่องมาจากการประกอบวิชาชีพดังกล่าว

    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ
      สิทธิขั้นพื้นฐานของเด็กตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
      แค่รู้ว่ามีชีวิต มนุษย์คนหนึ่งก็ควรได้รับการเคารพ ด้วยเกียรติ และศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์

      สิทธิขั้นพื้นฐานของเด็กตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
      (Convention on the Rights of the Child)

       

      อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก เป็นข้อตกลงระหว่างประเทศที่กำหนดขึ้นตามหลักการของกฎบัตรแห่ง สหประชาชาติ ที่ว่าด้วยศักดิ์ศรีและคุณค่าของมนุษย์ที่เท่าเทียมกัน โดยการไม่เลือกปฏิบัติ โดยระลึกว่าเด็กมีสิทธิพิเศษที่จะได้รับการดูแลช่วยเหลือ และคุ้มครองทั้งจากครอบครัวและสภาพแวดล้อมอื่นๆ ประเทศไทยได้ลงนามเข้าเป็นภาคีเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2535 และอนุสัญญามีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ.2535

      หลักการของอนุสัญญา

      อนุสัญญานี้มีทั้งสิ้น 54 ข้อ โดย 40 ข้อแรกมีสาระสำคัญเกี่ยวกับสิทธิพื้นฐานของเด็ก 4 ประการ ส่วนอีก 14 ข้อนั้นเป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการที่จะทำให้เกิดการตามพันธกรณีที่ระบุไว้ในอนุสัญญา ตลอดจนสิทธิหน้าที่ของรัฐภาคีที่ร่วมลงนามในสนธิสัญญาฉบับนี้ โดยจะมีอยู่ 3 ส่วน ดังนี้

      อนุสัญญานี้มีทั้งสิ้น 54 ข้อ โดย 40 ข้อแรกมีสาระสำคัญเกี่ยวกับสิทธิพื้นฐานของเด็ก 4 ประการ ส่วนอีก 14 ข้อนั้นเป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการที่จะทำให้เกิดการตามพันธกรณีที่ระบุไว้ในอนุสัญญา ตลอดจนสิทธิหน้าที่ของรัฐภาคีที่ร่วมลงนามในสนธิสัญญาฉบับนี้ โดยจะมีอยู่ 3 ส่วน ดังนี้
      ส่วนที่ 1 สิทธิขั้นพื้นฐานของเด็กที่จะต้องได้รับจากรัฐและครอบครัว ข้อ 1 ถึง ข้อ 41
      ส่วนที่ 2 ส่วนของรัฐที่จะต้องดำเนินการตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ข้อ 42 ถึง ข้อ 45
      ส่วนที่ 3 ส่วนของการลงนามระหว่างประเทศ ข้อ 46 ถึง 54

      โดยจะเน้น หลักการคุ้มครองจากการเลือกปฏิบัติ เพื่อประโยชน์สูงสุดของเด็ก การเคารพในสิทธิหน้าที่ของบิดามารดา และการปกป้องสิทธิเด็กด้วยมาตรการทางนิติบัญญัติ เนื้อหาของอนุสัญญาแต่ละข้อ ผมจะนำมาโพสต์ในอนาคตครับ

      เด็กตามความหมายของอนุสัญญาฉบับนี้หมายถึง มนุษย์ทุกคนที่อายุต่ำกว่าสิบแปดปี เว้นแต่จะบรรลุนิติภาวะ ก่อนหน้านั้นตามกฎหมายที่บังคับใช้แก่เด็กนั้น

       

      โดยพอที่จะสรุปสิทธิขั้นพื้นฐานของเด็กได้ 4 ประการ ดังนี้
      1. สิทธิที่จะมีชีวิตและอยู่รอด (Rights to Survival)
      2. สิทธิที่จะได้รับการปกป้องและคุ้มครอง (Rights to Protection)
      3. สิทธิที่จะได้รับการพัฒนา (Rights to Development)
      4. สิทธิที่จะได้รับการมีส่วนร่วม (Rights to Participation)

       

      วันนี้ผมจะขอพูดถึงสิทธิที่จะมีชีวิตและอยู่รอด ก่อนที่จะไปถึงสิทธิข้ออื่นๆ

      สิทธิที่จะมีชีวิตอยู่และอยู่รอดนั้น เด็กคงจะมีไม่ได้ ถ้าเด็กขาดโภชนาการที่ดี ความรักความเอาใจใส่จากครอบครัวและสังคม การบริการด้านสุขภาพ ให้ทักษะชีวิตที่ถูกต้อง ให้การศึกษา ให้ที่อยู่อาศัยการเลี้ยงดู และปัจจัยสี่ รัฐต้องรองรับการมีชีวิตรอดหรือส่งเสริมการมีชีวิตของเด็ก

       

      ไอ้ที่กล่าวมาทั้งหมด อาจจะเป็นแค่ตัวหนังสือที่อยู่ในอนุสัญญาฯ หรือในกฎหมาย ที่มีการกำหนดไว้ ผมไม่ค่อยจะเชื่อหรอกนักว่า เด็กจะได้รับสิทธิขั้นพื้นฐานเหล่านี้จากรัฐทั้งหมดหรอกครับ อาหารการกินนั้นพ่อแม่อาจจะหามาให้เด็กกินได้พออิ่ม บ้านที่ร่ำรวยก็คงกินกันอย่างสำราญบานตะไท แต่ในส่วนของบ้านไหนที่ยากจน ยากไร้ ก็ยังคงต้องอดมื้อกินมื้อต่อไป ตราบใดที่หน่วยงานรัฐที่มีส่วนรับผิดชอบยังไม่มีการลงไปปฏิบัติงานโดยถึงตัวเด็กและครอบครัวอย่างทั่วถึงจริง ๆ

      จะสังเกตง่าย ๆ จากบ้านพักเด็กอ่อนต่าง ๆ เจ้าหน้าที่พอหรือไม่? อาหารเด็กพอหรือไม่ในแต่ละวัน? สารอาหารที่เด็กแต่ละคนได้รับนั้นเพียงพอต่อความต้องการของร่างกายรึเปล่า? ผมไม่อยากตัดสินหรอกครับ ว่าเป็นอย่างไร แต่จากที่เห็น ผมเป็นห่วงเด็ก ๆ ที่กำลังจะเติบโตเหล่านั้น จะเติบโตขึ้นมาอย่างไม่ค่อยจะสมบูรณ์นัก ใครที่สมบูรณ์ดีอยู่แล้วก็คิดกันเอาเองครับ

      ยิ่งเรื่องความรักความเอาใจใส่จากครอบครัว นี่ไม่ต้องพูดถึงเลยครับ ถ้าพ่อแม่ไม่มีเวลามาสั่งสอนลูกจะเป็นยังไง หลายครอบครัวใน กทม. ยิ่งในสภาพชุมชนแออัด ที่พ่อแม่ไม่มีเวลาสอนลูกหลาน ต้องทำงานแข่งกับเวลาเพื่อหาเลี้ยงปากเลี้ยงท้อง และเลี้ยงลูกหลาน แค่นี้วัน ๆ นึงก็หมดเวลาแล้ว จะไปสอนใครได้ ช่วยเหลือตัวเองยังจะไม่รอดเลยครับ

      เรื่องทักษะชีวิตน่ะเหรอ ถ้าไม่ใช่ครอบครัวที่พอจะมีจะกินพอมีการมีงานดี ๆ ส่งลูกไปเรียนโรงเรียนดี ๆ หรือโอกาสของครอบครัวในการที่จะสอนลูกด้วยเหตุผล สิ่งเหล่านี้จะหาได้รึเปล่าในครอบครัวที่ยากจนและครอบครัวที่อยู่ในชนบท ท่านผู้อ่านก็ลองคิดดูก็แล้วกัน

       

      การบริการด้านสุขภาพ ถ้าจะให้รัฐมาจัดให้อย่างทั่วถึงเหรอมันคงไม่ทั่วหรอกครับ ผมเคยคุยกับแพทย์ และพยาบาลหลายๆท่าน แต่ละท่านก็บอกว่าเวลาที่จะรักษาพยาบาลเด็ก ๆ เด็กไร้สัญชาติ เด็กชาวเขา เด็กแรงงานต่างด้าว เด็กเร่ร่อน หรือเด็กด้อยโอกาสอื่น ๆ ผู้ให้บริการสาธารณสุขเหล่านั้น ท่านก็รักษาให้เด็ก ๆ ฟรีด้วยจรรยาบรรณของผู้ให้บริการ แต่ถ้าถามถึงเรื่องของงบประมาณที่จะลงไปให้เด็ก ๆ เหล่านั้นในการรักษาพยาบาลน่ะเหรอ ไม่มีหรอกครับ

      ตัวบทกฎหมายเองก็บอกว่าต้องเป็นเด็กไทยมีเลขบัตรประชาชน 13 หลักถึงจะมีงบนะ ถ้าไม่ใช่เด็กไทย ใครรักษาก็เรื่องท่าน ไม่เห็นจะมีองค์กรไหนรับรองหรอกนะ จะมีบ้างก็บางองค์กรที่ทำงานกับเด็ก ๆ ที่ออกเงินให้เด็กเอง (นี่รับฟังมาจากองค์กรที่ทำงานกับเด็กองค์กรหนึ่งที่ภาคเหนือ ที่ออกเงินค่ารักษาพยาบาลให้เด็กเอง) ทั้ง ๆ ที่ตัวอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กก็บอกไว้โทนโท่ว่า เด็กทุกคนต้องได้รับบริการสาธารณสุขที่ดีที่สุดเท่าที่จะจัดหาได้แก่เด็กนั้น และรัฐจะต้องมีระบบที่ประกันว่า สิทธิเหล่านี้จะเข้าถึงทุกคนบนแผ่นดินนี้ แล้วมันมีหรือยัง??? มันครอบคลุมแล้วหรือยัง นี่อาจจะเป็นคำถามที่เด็ก ๆ เหล่านั้นเองก็คงรอคอยคำตอบหน่วยงานที่รับผิดชอบอยู่

      โอ๊ย ผมพูดไป เขียนไป ก็จะว่ามากความ หาว่าเรียกร้องนู่นนี่อีก แต่ถามจริง ๆ เถอะว่า รัฐบาลไทยทำได้จริงแค่ไหน ทำได้มากเท่าใด เรื่องการบริการด้านสุขภาพ และการทำให้เด็กคนนึงอยู่รอดและเติบโตอย่างสมบูรณ์พูนสุขทั้งกายและใจ มันคงเป็นเรื่องที่เราคงไม่ต้องรอหวังจากรัฐบาลหรอกครับ ช่วยกันเองจะดีกว่า และเห็นผลกว่าเยอะครับ ผมหวังว่าเรื่องการเจริญเติบโตของเด็ก การทำให้เค้าอยู่รอดได้ในสังคมนี้จะดีขึ้น แม้ว่ามันอาจจะเป็นเรื่องยาก เรื่องใหญ่สำหรับใครบางคน แต่หากไม่มีการแก้ไขเรื่องเหล่านี้ก็จะเป็นปัญหาต่อไป ถ้าไม่มีใครกล้าที่จะก้าวออกมาเพื่อที่ช่วยเหลือเด็ก ๆ

      รัฐบาล ผู้เกี่ยวข้อง และพวกเราทุกคน คงต้องเก็บมาคิดเป็นการบ้านแล้วละครับ ไม่อย่างนั้นก็คงต้องคอยดูกันต่อไปว่าเด็กไทยจะเข้าถึงการอยู่รอด และการมีชีวิตอยู่มากน้อยแค่ไหน

       

      นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      คำนิยม Top

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      คำนิยมล่าสุด

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      ความคิดเห็น

      ×