อีกมุมมองหนึ่งของคำว่าบุญ - อีกมุมมองหนึ่งของคำว่าบุญ นิยาย อีกมุมมองหนึ่งของคำว่าบุญ : Dek-D.com - Writer

    อีกมุมมองหนึ่งของคำว่าบุญ

    บุญคำที่พวกเราได้ยินมาบ่อย ๆ แต่จริง ๆ แล้วทำไปทำไม มีอะไรบ้าง ลองเข้ามาอ่านดู แล้วใครอ่านจบได้ก็ถือว่ามีความอดทนดีมากครับ

    ผู้เข้าชมรวม

    2,608

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    8

    ผู้เข้าชมรวม


    2.6K

    ความคิดเห็น


    2

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  4 พ.ย. 46 / 17:00 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ
      อีกมุมมองหนึ่งของคำว่าบุญ
              จะว่าไปแล้วคนส่วนใหญ่จะคิดว่าบุญ คือ การตักบาตร จนเรียกการตักบาตรว่าทำบุญ เช่น ตักบาตรทำบุญเป็นต้น แต่จริง ๆ แล้วนั้นการทำบุญไม่ใช่แค่นั้น บุญนั้นมาจากคำภาษาบาลี มีคนแปลหลายแบบ แต่ผมแปลว่า จิตสะอาด(เรื่องที่ผมเขียนนี้เอามาจากพุทธวิหาร ธรรมจักร นครนายก ที่ผมไปปฏิบัติธรรมมา) เดี๋ยวผมจะอธิบายให้ฟัง
              การทำบุญนั้นย่อ ๆ ไว้มีอยู่สามอย่าง คือ ทาน ศีล ภาวนา เริ่มแรกที่ทาน
              ทานคนส่วนใหญ่จะเข้าใจว่าเป็นวัตถุทานซะส่วนใหญ่ เช่น การให้เงิน การตักบาตร การบริจาคของต่าง ๆ จุดประสงค์ที่แท้จริงแล้วการให้ทานเนี่ย เป็นการล้างจิตชนิดนึง คือ ล้างความตระหนี่ เป็นต้น(แต่ต้องทำให้ถูกต้อง) แต่ทำไปพักนึง ไม่ทำสม่ำเสมอ เดี๋ยวความตระหนี่ก็มาอีกทำให้การให้ทานต้องทำบ่อย ๆ อภัยทานก็เป็นการล้างจิตเหมือนกัน คือ ล้างความพยาบาท เมื่อเราให้อภัยจิตเราก็จะคลายจากความพยาบาทจิตเราก็จะสะอาดขึ้น การให้ธรรมทานก็เป็นการล้างจิตให้สะอาดได้เช่นกัน หรือการทำงาน การทำงานอย่างถูกต้อง ก็ใช่ อย่างน้อยขจัดความขี้เกียจ แต่การให้ทานนี้ต้องทำให้สม่ำเสมอ ต้องทำให้บ่อย ๆ ไม่งั้นแป๊บ ๆ เดี๋ยวจิตมันก็ขุ่นอีกแล้ว
              การรักษาศีล จริง ๆ แล้วเป็นบุญที่เหนือกว่าการให้ทานอีก แต่คนไม่ค่อยสนใจ คือ การรักษาศีลนั้น ถ้าเรามองดูเป็นข้อ ๆ นะการที่เราไม่ทำผิดศีลนั้นเราจะละอารมณ์ที่ไม่ดีได้หลายอย่าง เข่น ข้อหนึ่ง เราสามารถละโทสะเบื้องต้นได้ เช่น ถ้าเราไม่ฆ่าสัตว์เราก็จะไม่มีโทสะบางส่วน(คือก่อนที่เราจะฆ่าใครมันต้องมีโทสะมาก่อนเราถึงฆ่าเขา แต่ไม่ได้หมายความว่าละจากโทสะได้หมด)  เป็นต้น ส่วนข้ออื่นลองไปคิดเอง จริง ๆ แล้วการไม่ทำ ก็เป็นบุญ ดีกว่าการทำทานถ้าเรารักษาให้ดี ๆ แล้ว ไม่ต้องใช้เงิน ไม่ต้องยุ่งยากนัก แต่ต้องรักษาศีลให้บริสุทธิ์ ยิ่งกว่าชีวิต ยอมตายดีกว่าศีลขาด(ประมาณเนี้ย) เอ้อ ศีลข้อสี่เนี่ย ยังมีคนเข้าใจผิดกันอยู่(คือส่วนใหญ่เขาจะผิดข้อสี่กัน) คือ ละเว้นจากการพูดไม่จริง เช่น ด่าคนเนี่ย ว่าไอ้คน ใครเขาจะโกรธ เพราะ เราก็เป็นคนกันทั้งนั้น แต่ด่าว่าไอ้ควาย(ไม่จริง เพราะเราเป็นคน) คนถึงจะโกรธ ดังนั้นผู้พูดจึงมีเจตนาพูดไม่จริง หลัก ๆ แล้ว คือ ห้ามพูดเท็จ(เจตนาให้เข้าใจผิด) ห้ามพูดคำหยาบ(เจตนาให้โกรธ) ห้ามพูดส่อเสียด(เจตนาให้แตกแยกกัน) ห้ามพูดเพ้อเจ้อ(เจตนาให้เชื่อ แบบหาหลักฐานแบบไม่จริง จะเรียกว่าเพ้อเจ้อ) จริง ๆ แล้วศีลทุกข้อน่ะมันมีความชัดเจนอยู่ในตัวแล้ว แต่ที่คนผิดกันส่วนมากก็เกิดจากการคิดผิด ๆ จะทำผิดซะอย่างก็เลยอ้างนู่นอ้างนี่ แต่จริง ๆ แล้วศีลขาดเรียบร้อย ผลที่ตามมาก็มีแต่ความทุกข์ ขอให้เข้าใจ
              การภาวนา การภาวนานี่เป็นบุญขั้นสูง แต่แยกให้เป็นสองส่วน คือ สมถกรรมฐาน และวิปัสนากรรมฐาน  อันแรก สมถกรรมฐาน เป็นการทำให้จิตสงบอย่างเดียว คือ เกิดจากการเราภาวนา หรือเพ่งอะไรนาน ๆ จนจิตเราล้า มันก็จะนิ่ง เช่น กำหนดพุทโธ เป็นต้น คือ ภาวนาอย่างเดียว อะไรมาก็ไม่สน ภาวนาอย่างเดียว ซักพักจิตก็จะนิ่ง พอจิตนิ่งปุ๊บ ใจเราก็จะถูกล้างไปชั่วขณะที่เราทำอยู่นั่นแหละ แต่อารมณ์อีกอันหนึ่งที่ยังไม่หายไปคืออารมณ์พอใจ พอเรานั่งสงบแล้วมันจะสบายอย่างบอกไม่ถูก แต่มันก็เหมือนกับหินทับหญ้านั่นแหละ พอออกมาจากสมาธิแล้ว เดี๋ยวจิตก็ขุ่นเหมือนเดิม คนส่วนใหญ่ที่ทำสมถกรรมฐานเหล่านี้จะหวังความสงบสบาย(แบบผมตอนแรก ๆ) แต่สมถกรรมฐานนี้ ถ้าทำจริง ๆ แล้วจะมีผล มากกว่าการ ทำทาน และการรักษาศีล(แต่ต้องทำจริง ๆ และถูกต้อง)  อีกอันหนึ่งคือการทำวิปัสนากรรมฐาน อันนี้ยิ่งมีผลยิ่งกว่าการทำทาน การรักษาศีล และการทำสมถกรรมฐาน เพราะว่าการทำวิปัสนากรรมฐานเนี่ย จะสามารถล้างความสกปรก ขุ่นมัวของจิตได้ทุกชนิด(แต่ต้องทำให้ถูกต้อง) เป็นการทำให้บรรลุอรหันต์ได้ ถ้าเราทำตามทางสายนี้ อ่านมาถึงขั้นนี้แล้วบางคนอาจจะบอกว่า เอ๊ะจริงหรือ  เดี๋ยวอธิบายให้ คือการทำวิปัสนากรรมฐานนั้น เราต้องคอยตามรู้ทุกอย่าง ทุกอารมณ์ โดยเราต้องมีอารมณ์หลักก่อน คือ การเคลื่อนไหว ของร่างกาย เช่น ถ้าเรานั่งสมาธิก็ พองหนอยุบหนอไป เราเดินจงกรมก็ ซ้ายย่างหนอ ขวาย่างหนอ  กินข้าวก็อาจจะเคี้ยวหนอ เป็นต้น แต่การทำวิปัสนานี้ไม่ได้มีแค่อารมณ์หลักแบบสมถกรรมฐาน คือ เราต้องตามรู้ตลอด เช่น ถ้าเกิดได้ยินเสียง ต้องกำหนดได้ยินหนอจนกว่าเสียงจะหายไป หรือถ้าเป็นเสียงที่ยาว ๆ ก็ต้องกำหนดพักนึง แล้วให้เสียงนั้นเป็นบรรยากาศไป แต่ถ้าจิตเราสนอีกก็ต้องกำหนดอีก การเห็น การได้กลิ่น การรู้รส การสัมผัสก็ต้องกำหนด แต่เราต้องย้ายจากอารมณ์หลักมาทันที คือ ปล่อยอารมณ์หลักไว้อย่างนั้นไม่ต้องสนใจ แล้วมากำหนดอารมณ์รองทันที หรือถ้าเรามีอาการเจ็บ ปวด เมื่อย มึน สบาย ฯลฯ ก็ต้องกำหนดอารมณ์พวกนั้นทันที อย่าปล่อยไว้  คราวนี้ ถ้ามีอารมณ์ โกรธ เบื่อ รำคาญ ชอบใจ พอใจ ก็ต้องกำหนด จนกว่ามันจะหาย หรือถ้าคิดเข้ามาก็ต้องกำหนด คิดหนอ คิดหนอ จนกว่าจะหายไป แต่บางทีระหว่างที่เรากำหนดอารมณ์รองเหล่านั้นอยู่ก็อาจจะมีอีกอารมณ์เข้ามาแทรกระหว่างกำหนด เช่น ได้ยินเสียง หรือไม่ก็อยากให้หาย ไม่อยากให้หาย เป็นต้น เราก็ต้องย้ายจากอารมณ์เหล่านั้นมาอีก กำหนดไปกำหนดมา เราต้องตามรู้ตลอด เห็น มันเกิดขึ้น เห็นมันกำลังอยู่ และเห็นมันดับไป พระพุทธเจ้าพระองค์ทรงตรัสไว้ว่า การทำวิปัสนาเนี่ย การกำหนดดูว่าคิดหนอคิดหนอ หรือโกรธหนอ โกรธหนอ จนหายไป แค่ขณะจิตเดียว ยิ่งกว่าการสร้างโบสถ์สร้างศาลา หมื่นเท่า ฟังแล้วอาจจะดูเวอร์ แต่เมื่อเราทำถูกตามหลักแล้ว เราจะสามารถทำความสะอาดจิตได้ทุกอย่างที่มันทำให้จิตขุ่นมัว(แม้แต่ความคิดก็ทำให้จิตขุ่นมัว อารมณ์พอใจก็ใช่) การให้ทานลดความตระหนี่  แต่การทำวิปัสนาสามารถลดความตระหนี่ได้ ด้วยการกำหนด เช่น ตระหนี่หนอ ตระหนี่หนอ จนกว่าตระหนี่จะหายไป ความสะอาดของจิตก็จะเกิด บุญก็จะเกิดตามด้วย ดังนั้นวิปัสนาจึงเป็นบุญขั้นสูง และวิปัสนาทำได้ตลอดเวลาแหละ เพียงแค่เราโกรธ เราก็เอาโกรธมาเป็นบุญได้ ด้วยการกำหนด ไม่ยากเลยใช่ไหม(จริง ๆ แล้วถ้าใครสนใจผมแนะนำว่าต้องลองไปปฏิบัติวิปัสนาดูก่อน คือ ไปหาอาจารย์ก่อน เพราะที่ผมพูดไปยังไม่ใช่ทั้งหมด ที่ผมไปปฏิบัติธรรมก็ใช่นะครับ เป็นศูนย์กลางการปฏิบัติวิปัสนากรรมฐาน มีหลักสูตรที่แน่นอน ก็ดีเหมือนกันครับ ใครสนใจก็ติดต่อผมได้ หรือไม่ก็หาที่ใกล้ ๆ บ้านก็ได้ครับ แต่ต้องเป็นวิปัสนานะครับไม่ใช่สมถ)
              การทำบุญนั้นอาจจะต้องทำควบคู่กันไป แต่ให้ทำตามกำลังของเรา ง่าย ๆ สำหรับว่าตอนนี้เรามีบุญหรือเปล่า ก็คือสำรวจดูว่าจิตใจเราสะอาดหรือยัง ทำแล้วเราพอจะล้างความขุ่นของจิตได้บางอย่างหรือเปล่า เอ้ออีกอย่าง อารมณ์ไม่ดี เช่น โกรธ เกลียด งอน อิจฉา โลภ อยากได้ ฯลฯ เปรียบเสมือนน้ำโคลน น้ำคลำ ทำให้จิตเราสกปรก แต่การให้ทาน การรักษาศีล การทำสมถกรรมฐานก็เปรียบเสมือน น้ำลอดช่องบัวลอย คือ คนชอบกัน แต่ถ้ามันมาเลอะเสื้อเราก็ต้องซัก แต่วิปัสนากรรมฐาน เปรียบเสมือนน้ำสะอาด คือ ทำความสะอาดจิตได้จริง ๆ  แต่ถ้าตอนนั้นเราไม่มีน้ำสะอาด เราก็สามารถใช้น้ำลอดช่องบัวลอยล้างก่อนได้ อย่างน้อย ๆ ก็พอจะดับความเหม็นของน้ำโคลน น้ำคลำได้ แต่ซักพักเดี๋ยวก็เน่า ก็ต้องทำสม่ำเสมอ วิปัสนาก็เหมือนกันต้องทำสม่ำเสมอ เพราะจิตเรายังไม่สามารถสะอาดตลอดเวลาได้ แต่การทำวิปัสนานั้นถ้าทำถูกต้องและทำตลอด ไม่ขาดช่วงแล้ว สุดท้ายมันก็จะสะอาดหมดจด หรือที่ว่าบรรลุพระอรหันต์ ไม่มีกิเลส(สิ่งที่ทำให้ใจขุ่น)เหลือในจิตอีกแล้ว พ้นจากวัฏจักรสังสาร(ไม่รู้เขียนถูกหรือเปล่า) ตอนนั้นแหละเราถึงจะเห็นว่านิพพานเป็นอย่างไร คนที่อ่านมาถึงขั้นนี้แล้วก็คงพอจะรู้เรื่องบุญบ้างไม่มากก็น้อย ขอให้คุณนำไปปฏิบัติเพื่อความสะอาดของดวงจิต ตรงไหนที่อ่านแล้วงง ๆ ไม่เข้าใจก็ต้องลองปฏิบัติดูก่อน แล้วพอถึงขั้นนึงแล้วก็จะอ้อมันเป็นอย่างนี้นี่เอง ผมขออนุโมทนาบุญที่คุณได้กระทำแล้ว ถ้าบทความนี้ผิดพลาดอะไรผมขออภัยด้วยครับ ผมยอมรับข้อติเตียนครับ

      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×