แอบแมน มาปิ๊งบาส! (Kogareru Basuketto!) - นิยาย แอบแมน มาปิ๊งบาส! (Kogareru Basuketto!) : Dek-D.com - Writer
×

    แอบแมน มาปิ๊งบาส! (Kogareru Basuketto!)

    โดย Lucious

    เมื่อซารุโกะต้องเข้าไปเรียนในรร.ชายล้วน เพราะโดนพี่ชายสุดหล่อทั้ง 4 บังคับให้เล่นบาส การแข่งบาสที่มันส์ ฮา และชาวาบจึงเกิดขึ้น มาอัพQuarter1 ตอนที่3-7 แว้ว!!! ขอโทษที่หยุดไปนานจ้า~

    ผู้เข้าชมรวม

    7,826

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    20

    ผู้เข้าชมรวม


    7.82K

    ความคิดเห็น


    205

    คนติดตาม


    53
    จำนวนตอน : 12 ตอน
    อัปเดตล่าสุด :  26 ส.ค. 50 / 04:05 น.

    อีบุ๊กจากนิยาย ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

                                                     
    แนะนำตัวละคร

    คุโด เซย์ (17)     : พี่ชายคนโต โหดง่ะ
    คุโด ไซกิ (17)    : พี่ชายคนที่สอง เหลี่ยมว่ะ
    คุโด ไทจิน(17)   : พี่ชายคนที่สาม ยักษ์อ่ะ
    คุโด ไทเคย์ (17) : พี่ชายคนที่สี่ บ้าล่ะ

    และ

    คุโด ซารุโกะ(15) : น้องสาวสุดท้อง สวยจ้ะ


    โอ๊ย!  พวกพี่ปาอะไรมาเนี่ย กรี๊ดดดดดดดดดด!!!!


          แผนผังครอบครัวคุโด (Kudo's Family Chart)

     




    สวัสดีจ้า จะมาอธิบายเกี่ยวกับบาสอย่างคร่าวๆน่อ (ถ้าผิดพลาดประการใดก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ค่ะ)


     

    ก่อนอื่นอย่างที่รู้ๆกันอยู่ บาสเป็นกีฬาที่ต้องเล่น 5 คน และมีตัวผู้เล่นสำรองที่อยู่ข้างสนามไม่เกิน 12 คน ในกติการของอินเตอร์ไฮญี่ปุ่นนั้น แบ่งการแข่งขันเป็น 4 ควอเตอร์ๆละ 10 นาที และมีการพักครึ่งหลังจาก 2 ควอเตอร์แรกจบลงเป็นเวลา 15 นาทีจ้า

     

    ส่วนเรื่องฟาล์วนั้นจะค่อยๆอธิบายเมื่อเนื้อเรื่องดำเนินมาถึงนะคะ ตอนนี้ที่สำคัญก่อนเลย เพราะจะเริ่มเข้าสู่การแข่งขันในตอนต่อไปแล้ว ก็คือ

     

    ตำแหน่งในการเล่นบาส

     

    โดยปกติแล้ว ตำแหน่งผู้เล่น(Player)ของบาสนั้นจะมีเพียงแค่ 3 ประเภทง่ายๆคือ

     

    1.เซ็นเตอร์ (Center) ซึ่งเป็นผู้เล่นที่มีความสูงที่สุดและบึกบึนที่สุดในทีม มักอยู่ในตำแหน่งบริเวณใต้แป้น ทั้งนี้ทั้งนั้นก็เพื่อทำการรีบาวน์ดในขณะเป็นทีมรับ และเป็นตัวเปิดทางให้ผู้เล่นคนอื่นเข้าไปชู้ตได้ง่ายๆในขณะที่เป็นทีมรุก นอกจากนี้จะชู้ตก็ได้จ้า

     

    2.ฟอร์เวิร์ด (Forward) ผู้เล่นที่มักมีความสูงรองลงมาจากเซ็นเตอร์ มักอยู่ใต้แป้นบาส หรืออาจคุมไปถึงตำแหน่งปีก(wing) และมุมสนาม (conner) เลยก็ได้ ฟอร์เวิร์ดก็แบ่งย่อยออกเป็น

                    -เพาเวอร์ฟอร์เวิร์ด (Power Forward)  อันนี้เป็นตำแหน่งวงในของทีม มักช่วยเซ็นเตอร์ในการรีบาวน์ด หรือบล็อกลูกจากการชู้ตของฝ่ายตรงข้าม นอกจากนี้ยังสามารถทำคะแนนด้วยการชู้ตจากวงใน และยังเป็นตำแหน่งที่ต้องปะทะกันด้วยพลังล้วนๆพอๆกับตำแหน่งเซ็นเตอร์

                    -สมอลฟอร์เวิร์ด (Small Forward) เป็นตำแหน่งวงนอกของทีม หน้าที่หลักของตำแหน่งนี้เลยก็คือ การทำคะแนนให้กับทีม

     

    3.การ์ด (Guard)  เป็นผู้เล่นที่ต้องมีความคล่องตัวสูง เลี้ยงลูกเจ๋ง ส่งบอลจ๊าบ ตำแหน่งนี้อยู่วงนอกของทีม เรื่องการตั้งรับก็เป็นส่วนหนึ่งที่ตำแหน่งการ์ดต้องคล่องด้วย โดยเฉพาะการขโมยลูก ในบางทีมที่ชื่นชอบการบุก โดยเฉพาะก็จะใช้วิธี three guard offense แทนที่ฟอร์เวิร์ดหนึ่งคน ซึ่งตำแหน่งการ์ดใน three gurad offense นั้น แบ่งย่อยออกเป็น

                    -พ้อยน์ทการ์ด (Point Guard) หรือ การ์ดจ่าย เป็นตำแหน่งสำคัญมากในทีม เพราะคนที่เล่นตำแหน่งนี้ก็เปรียบเสมือนกับป้อมปราการหลักในการบัญชาการรบ บางครั้งพ้อยน์ทการ์ดก็จำเป็นต้องเป็นโค้ชในสนาม เพื่อนำพาลูกทีมสู่ชัยชนะด้วยแผนการเล่น สุดยอดลูกจ่าย

     

                    -ชู้ตติ้งการ์ด (Shooting Guard) เป็นผู้เล่นในตำแหน่งวงนอก มันคุมผู้เล่นวงนอกที่เก่งของทีมฝ่ายตรงกันข้าม เต็มไปด้วยความเร็ว แม่น และสมชื่อเลย มักชู้ตเก่ง โดยเฉพาะลูกสามแต้ม ชู้ตติ้งการ์ดบางคนที่มีรูปร่างสูงใหญ่ ก็สามารถเล่นสลับเป็นสมอลฟอร์เวิร์ดได้ด้วย ในกรณีที่ชู้ตติ้งการ์ดเล่นสลับเป็นสมอลฟอร์เวิร์ดในการบุกเช่นนี้ จะถูกเรียกว่า สวิงแมน

     

                    -สมอลการ์ดพ้อยน์ทเก็ตเตอร์ (อันนี้เป็นความรู้จากอ่านการ์ตูนอ่ะ แต่ตำแหน่งนี้มีจริงๆนะจ๊ะ) เป็นกรณีที่ทีมเอาฟอร์เวิร์ดออก (ในที่นี้หมายถึง ไม่มีสมอลฟอร์เวิร์ด แต่มีสมอลการ์ดแทน) เป็นคนที่มีความไวที่สุดในทีม เพราะหน้าที่หลักก็คือการกวาดแต้ม นอกจากนี้ยังต้องมีทักษะในการเลี้ยง ป้องกัน และพลังกระโดดที่ยอดเยี่ยมไว้เป็นดี (หัวเราะ)

     

    ส่วนแผนการเล่นตั้งรับ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญนั้น แบ่งออกเป็น 2 แผนใหญ่ๆ คือ


    1.แบบโซน (
    Zone defense) เป็นแผนเล่นตั้งรับโดยกำหนดตัวให้ผู้เล่นในแต่ละตำแหน่งป้องกันผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามในโซนที่ตนรับผิดชอบอยู่  Zone defenseนั้นมีรูปแบบหลากหลาย ผลของโซนดีเฟ้นซ์คุ้มค่ามาก หากการจะใช้ให้ได้ผลนั่นจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องรู้ข้อมูลของฝ่ายตรงข้ามให้ทะลุเสียก่อน พูดง่ายๆคือ รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อย รู้ผ่านๆมีแต่พลาดกับเจ๊ง

     

    2.แบบตัวต่อตัว (Man-to-man defense) เป็นแผนเล่นตั้งรับพื้นฐานเลยที่นักบาสทุกคนต้องเป็น 80-90% จะเล่นแบบแมนทูแมนมากกว่าโซนดีเฟ้นซ์ และตามชื่อเลย แบบแมนทูแมนเป็นการป้องกันคู่ต่อสู้ที่ตัวเองเลือกไว้โดยเฉพาะ ไม่ให้อีกฝ่ายเข้าทำแต้มหรือผ่านไปได้ หรือมันก็คือการดวลตัวต่อตัวนั่นแล

     

    turn over นั้นเป็นคำที่บ่งบอกว่า ทีมรับนั้นสามารถแย่งลูกจากทีมรุกได้ และทำการบุกกลับจ้า ยิ่งจำนวน turn over ในแต่ละควอเตอร์มากเท่าไหร่ ยิ่งเท่ากับว่าฝ่ายของทีมรับนั้นสามารถป้องกันได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด เพราะการรับที่ดีที่สุดก็คือการบุกนั่นเอง

     

     

    ศัพท์อื่นๆที่ใช้เป็นมุข

     

    Seme (หรือที่เราพิมพ์สั้นๆว่า เมะ) เป็นศัพท์ที่ใช้แทนฝ่ายรุกในกรณี YAOI (ศึกชายปะทะชาย) ถ้าอยากให้อธิบายต่อบอกมา(ก๊าก)

    Uke  (หรือที่เราพิมพ์สั้นๆว่า เคะ) เป็นศัพท์ที่ใช้แทนฝ่ายรับในกรณี YAOI (ศึกชายปะทะชาย) อันนี้ก็เหมือนกัน อยากให้อธิบายต่อบอกม๊า

     






    รูปซารุโกะจ้า (วาดคอมยากจัง T-T)



    คุโด ไทเคย์


    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    คำนิยม Top

    ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

    คำนิยมล่าสุด

    ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

    ความคิดเห็น