ลำดับตอนที่ #5
คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #5 : (พิเศษ) ขอเชิญพบกับ TW 4 สี่นักเขียนรุ่นใหม่ไฟแรงแห่งค่ายสยามอินเตอร์!
*TW 4 มีชื่อเต็มๆ ว่า Teen Writers Four เป็นอีกหนึ่งโครงการที่สยามอินเตอร์บุ๊คส์ หวังจะช่วยผลักดัน ให้วัยรุ่นมีความกล้าที่จะเขียนหนังสือ และสร้างผลงานมาประดับวงการเพิ่มมากขึ้น
“แป้ง” ชนิกานต์ โอภาสพิมลธรรม |
เจ้าขอบหนังสือเรื่อง Fifteen Spy! วัย 14 ปี (ปัจจุบัน16 ปี) โดยใช้นามปากกาว่า Icy_Lee
เธอกล่าวว่า
“แป้งชอบ เรื่อง ‘มิเกะเนะโกะ โฮล์มส์ แมวสามสียอดนักสืบ’ ของ ‘อาคากาว่า จิโร่’ ชอบที่คนเขียนเขามีความรู้สึกสองด้านที่ชัดเจน เขาสามารถแต่งให้เนื้อเรื่องน่ากลัว เคร่งเครียด ขณะเดียวกันก็แต่งให้มีความขบขันแทรกอยู่ด้วย เหมือนกับเขาเดาใจคนอ่านได้ว่า ถ้าถึงตรงนี้จะเครียดจนเกินไปนะ ต้องผ่อนคลายแล้วนะ ถ้าให้เครียดตลอดทั้งเล่มก็คงไม่ไหว”
แป้งให้เหตุผลต่อไปว่า นวนิยายของเธอแตกต่างจากแนวสืบสวนสอบสวนอื่นๆ ตรงที่ ไม่ค่อยมีความเคร่งเครียดแฝงอยู่ในเนื้อเรื่องสักเท่าใด
“หนังสือของแป้ง อ่านแล้วไม่เครียดอะไรมากนัก เพราะแป้งอยากให้เป็นหนังสือที่เด็กอ่านได้ ไม่เบื่อ ผู้ใหญ่เองก็อ่านได้ ในอนาคตอาจให้มีความลึกลับหรือเนื้อหาเข้มข้นกว่านี้ แต่ตอนนี้ยังไม่ใช่แบบนั้น"
"คงเพราะรู้สึกว่า แบบนั้นยังไม่เหมาะกับเรา แป้งยังทำไม่ได้ถึงขั้นนั้น ยังคิดวางขั้นตอนให้ซับซ้อนมากไม่ได้ แต่สัญญาว่าทุกคนจะได้เห็นพัฒนาการของเนื้อเรื่องและตัวละครในภาคต่อๆ ไป ตัวละครจะโตไปพร้อมๆ กับแป้ง เหมือนเป็นตัวแทนของเรา”
“แป้งชอบ เรื่อง ‘มิเกะเนะโกะ โฮล์มส์ แมวสามสียอดนักสืบ’ ของ ‘อาคากาว่า จิโร่’ ชอบที่คนเขียนเขามีความรู้สึกสองด้านที่ชัดเจน เขาสามารถแต่งให้เนื้อเรื่องน่ากลัว เคร่งเครียด ขณะเดียวกันก็แต่งให้มีความขบขันแทรกอยู่ด้วย เหมือนกับเขาเดาใจคนอ่านได้ว่า ถ้าถึงตรงนี้จะเครียดจนเกินไปนะ ต้องผ่อนคลายแล้วนะ ถ้าให้เครียดตลอดทั้งเล่มก็คงไม่ไหว”
แป้งให้เหตุผลต่อไปว่า นวนิยายของเธอแตกต่างจากแนวสืบสวนสอบสวนอื่นๆ ตรงที่ ไม่ค่อยมีความเคร่งเครียดแฝงอยู่ในเนื้อเรื่องสักเท่าใด
“หนังสือของแป้ง อ่านแล้วไม่เครียดอะไรมากนัก เพราะแป้งอยากให้เป็นหนังสือที่เด็กอ่านได้ ไม่เบื่อ ผู้ใหญ่เองก็อ่านได้ ในอนาคตอาจให้มีความลึกลับหรือเนื้อหาเข้มข้นกว่านี้ แต่ตอนนี้ยังไม่ใช่แบบนั้น"
"คงเพราะรู้สึกว่า แบบนั้นยังไม่เหมาะกับเรา แป้งยังทำไม่ได้ถึงขั้นนั้น ยังคิดวางขั้นตอนให้ซับซ้อนมากไม่ได้ แต่สัญญาว่าทุกคนจะได้เห็นพัฒนาการของเนื้อเรื่องและตัวละครในภาคต่อๆ ไป ตัวละครจะโตไปพร้อมๆ กับแป้ง เหมือนเป็นตัวแทนของเรา”
”น้อง” อภิญญา สุรเชษฐ์พงศธร อภิญญา สุรเชษฐ์พงศธร
เจ้าของผลงาน เกมร้อยวิญญาณ โดยใช้นามปากกา ข้าเจ้า ซึ่งตอนนี้ได้รับการติดต่อซื้อลิขสิทธิ์ไปเป็นภาพยนตร์เรียบร้อยแล้ว ปัจจุบันผู้เขียนอายุ 17 ปี โดยเกมร้อยวิญญาณได้มีออกมาถึง 3 เล่มแล้ว (ผู้เขียนเองติดเรื่องนี้งอมเเงมเช่นกันและสร้างสถติให้ตัวเองคือเป็นหนังสือชุดแรก ที่อ่านจบในคืนเดียว ...หมายถึงเล่มละคืนเดียว)
โดยที่เธอได้กล่าวถึงแรงบันดาลใจไว้ว่า
“โดยส่วนตัวแล้ว เป็นคนกลัวผีมาก แต่เราชอบฟังและชอบศึกษาเรื่องพวกนี้อยู่แล้ว ก็เลยอยากถ่ายทอดจินตนาการเกี่ยวกับเรื่องภูตผี และวิธีต่างๆ ที่จะทำให้เห็นผีได้ นอกจากเนื้อเรื่องที่คิดขึ้นจากจินตนาการแล้ว บางส่วนก็นำมาจากเรื่องที่เพื่อนๆ เล่า วิธีเห็นผีก็สอบถามใครหลายๆ คน ค้นข้อมูลในอินเตอร์เนตด้วย”
ไม่ใช่แค่สนองจินตนาการของตนเอง แต่น้อง บอกว่า เธอแฝงข้อคิดเรื่องการทำความดีไว้ด้วย
“เป็นเรื่องของความเชื่อในเรื่องการทำความดีและการช่วยเหลือคนอื่น คือ จะมีตัวละครอยู่ตัวหนึ่ง ที่เขาสามารถมองเห็นผีได้ นั่นเพราะเขาสั่งสมบุญบารมีมาเยอะ จึงเห็นผีและคอยช่วยเหลือผู้ที่ถูกผีทำร้าย รวมทั้งช่วยเหลือและปลดปล่อยผี หรือวิญญาณให้ไปสู่สุคติ”
"บอล" พิสิทธิ์ ล้วนประวัติ
“M.Frederic”
เจ้าของหนังสือชุด ประตู...ระทึกขวัญ ซึ่งออกมาด้วยกัน2 เล่ม ปัจจุบันอายุ 17 ปี
โดยที่เขาได้กล่าวถึง The Door ไว้ว่า
สำหรับบอล จินตนาการที่เกิดขึ้น มาจากการอ่านหนังสือ
“ เมื่อได้อ่านงานเขียนของนักเขียนแต่ละท่าน เราก็จะเกิดจินตนาการขึ้นมาเอง เป็นเนื้อเรื่องของเราเอง ที่ผูกขึ้นเป็นเรื่องเป็นราว”
เมื่อให้พูดถึงเรื่อง The Door บอลกล่าวว่า
“ เรื่องนี้จะมีทั้งหมดสามภาคครับ ภาคสองใกล้จะเสร็จแล้ว สำหรับเรื่องนี้ผมคิดพล๊อตขึ้นตอนที่ไปดูภาพยนตร์แนวสยองขวัญ ไซไฟ เรื่อง
เรสสิเดนท์ อีวิล ชอบพวก ซอมบี้ หรือ ผีดิบ ด้วย แต่เนื้อเรื่องทั้งหมดก็เกิดจากจินตนาการของผมครับ”
นอกจากนี้ บอลยังกล่าวถึงข้อคิดที่ผู้อ่านจะได้จากเรื่องของเขา
“ เนื้อเรื่องของเดอะดอร์ ก็คือ ถ้าหากคุณข้ามฟากไป คุณจะได้พบกับปิศาจมากมายที่รออยู่ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ปิศาจไม่ใช่สิ่งที่ชั่วร้ายที่สุด จิตใจของมนุษย์เองต่างหากที่น่ากลัว และอันตรายกว่า” เป็นข้อคิดจากเด็ก วัย 15 ที่เหน็บแนมสังคมอยู่ในที
"แอ็ค" ปวิชนนท์ มโนธัม
ปิดท้ายกันด้วยนักเขียนหนุ่มวัย 20 ปี เเอ็ค นักเขียนชื่อดัง ที่ผลงานการันตีด้วยคุณภาพที่รับประกันด้วยการได้เป็นหนังสืออ่านเรื่องเเรกในโทรศัพท์ มือถือ ซึ่งเรื่องนั้นคือ เเฮ็คเกอร์ และผลงานอีกเรื่องของเขาคือ บทเพลงสุดท้ายเเห่งดินแดนฟรอสเซ็น
ซึ่งเขาใช้ถึง 2 นามปากกาด้วยกันคือ Mr. Axe และ อารัลเฟล
เเอ็คได้กล่าว กับผลงานทั้งสองเรื่องว่า“ เรื่องแฮกเกอร์ฯ ผมเขียนตอนอายุ 14 ส่วน ฟรอสเซ็น เขียน เมื่อตอนอายุ 16 ปี”
ไม่ใช่เพียงความแตกต่างในเรื่องของระยะเวลาเท่านั้น เนื้อหาก็เช่นกัน
“ทั้งสองเรื่องนี้ เป็นอารมณ์สองด้านของผม ที่แบ่งแยกกันออกไป
สำหรับแฮกเกอร์ฯ เป็นอารมณ์เศร้า เหงา ไปจนถึงความหวาดกลัว ส่วน บทเพลงสุดท้ายแห่งดินแดนฟรอสเซ็น เป็นอารมณ์ของเด็กผู้ชาย ที่ฝันว่าอยากต่อสู้กับสัตว์ร้าย อยากท่องเที่ยว ผจญภัย เป็นความรู้สึกแบบนี้ล่ะครับ”
ข้อมูลจาก www.blogth.com/blog/
เก็บเข้าคอลเล็กชัน
ความคิดเห็น