คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #1 : ประวัติของ อัลเบิร์ท ไอน์สไตน์
อัลเบิร์ท ไอน์สไตน์ เป็นหนึ่งในนักวิทยาศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่ของโลก เขาเกิดมาในครอบครัวชาวยิวในเยอรมัน เมื่อปี ค.ศ.1879 ในวัยเด็ก เขาไม่ชอบไปโรงเรียน แต่เขาศึกษาวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ที่บ้าน |
| |
เขาได้ไปศึกษาในวิทยาลัยที่ซูริค ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ในด้านฟิสิกส์ในปี 1905 เขาได้ตีพิมพ์ทฤษฎีใหม่เกี่ยวกับธรรมชาติของจักรวาล ทฤษฎีพิเศษว่าด้วยความสัมพันธ์ ทฤษฎีดังกล่าวอธิบายว่าสสาร พลังงาน และเวลาสัมพันธ์กันอย่างไร ทฤษฎีสัมพันธ์ดังกล่าวทำให้ไอน์สไตน์มีชื่อเสียงก้องโลก และในปี 1921 เขาก็ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ ไอน์สไตน์ เสียชีวิตในปี ค.ศ.1955 อัตเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein) เกิดเมื่อวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2422 ที่เมืองโฮล์ม ทางภาคใต้ของเยอรมัน บิดาของเขาเปิดร้านค้าขายเล็กๆ น้อยๆ เกี่ยวกับเครื่องยนต์กลไก เมื่อปี พ.ศ. 2423 บิดาของเขาได้ย้ายบ้านไปอยู่ที่มิวนิค ซึ่งเป็นเมืองสำคัญทางภาคใต้ของเยอรมัน อัลเบิร์ต เป็นเด็กที่เคร่งขรึมเหมือนมารดา หัวเราะยาก เขาไม่ชอบการเล่นทหารที่สุด เขาเกลียดทหารมากแต่รักความอ่อนโยนและต้องการเหตุผล เมื่อเด็กๆ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ไม่ชอบการเรียนหนังสือ เพราะครูบังคับให้เขาท่องจำต่าง ๆ เขาต้องการเหตุผลว่าเหตุใดจึงต้องทำในทุกกรณี ดังนั้นเมื่อครูไม่ให้คำตอบ อัลเบิร์ตจึงเบื่อหน่ายในการเรียน อัลเบิร์ตเป็นคนยิว วันหนึ่งเมื่อครูสอนศาสนาได้นำตะปูมาสองตัว และบอกว่าตะปูนี้และที่ชาวยิวได้ใช้ตรึงพระเยซู ตั้งแต่นั้นเพื่อน ๆ พากันชิงชังอัลเบิร์ต ไม่ยอมคบหาสมาคมด้วย ต่อมาอัลเบิร์ต จึงไปเข้าโรงเรียนมัธยมศึกษามูนิคยิมนัสเซียม แต่เขาก็ต้องผิดหวังเพราะที่โรงเรียนแห่งนี้เป็นการสอบแบบเก่า ท่องจำในสิ่งที่ไม่เข้าใจราวกับนกแก้วนกขุนทองมีระเบียบวินัยเคร่งครัดจนเกินไป อัลเบิร์ตปรารถนาที่จะได้ถามคำถาม และต้องการคำตอบที่ชอบด้วยเหตุผล เขาอยากให้นักเรียนได้แสดงทัศนะความคิดเห็นของตนเองต้องการฟังเรื่องราวที่น่าสนใจเขาชอบถกปัญหาต่าง ๆ ที่ได้ไตร่ตรองคิด นอกจากนั้นเขายังต้องการหาความรู้เพื่อเข้าใจชีวิตอย่างถูกต้อง ทางสู่วิทยาศาสตร์ของอัลเบิร์ตเริ่มต้นเมื่อเห็นเพื่อนบ้านชาวรุสเซียให้เขายืมหนังสือชุด "วิทยาศาสตร์ว่าด้วยเรื่องธรรมชาติ" (Euclid) 12 > อัลเบิร์ต สนใจวิชาคณิตศาสตร์มาก เขานำหน้าเพื่อนร่วมชั้นไปได้ไกล แต่วิชาอื่นเขาได้อันดับสุดท้าย ต่อมาบิดาของเขาต้องปิดโรงงานนั้นเสียเพราะขาดทุนและย้ายไปอยู่ที่มิลาน อิตาลี อัลเบิร์ตได้ตามไปด้วย และภายหลังเขาก็ย้ายต่อไปเมืองน่าเวีย อัลเบิร์ตสอบเข้ามหาวิทยาลัยโปลิเทคนิคในสวิตเซอร์แลนด์ เขาสอบตกทุกวิชา แต่ได้เกียรตินิยมทางคณิตศาสตร์ ครูใหญ่ของโปลิเทคนิคจึงแนะนำให้ไปเรียนที่โรงเรียนอาเทแคนโทแนล ที่นั่นเป็นโรงเรียนที่ดีมาก นักเรียนทุกคนได้รับอิสระเสรีในการเรียน อัลเบิร์ตเข้ากับเพื่อนๆ ได้ดี เมื่อเขาสอบได้ประกาศนียบัตรก็สามารถเรียนต่อในโปลิเทคนิคได้ ฐานะของบิดาของอัลเบิร์ตค่อนข้างยากจน ดังนั้นอัลเบิร์ตจึงใช้จ่ายเงินอย่างประหยัดเขาจำเป็นต้องอยู่ที่ห้องเช่าหรูหราราคาแพง เพราะในซูริคในสมัยนั้นไม่มีห้องเช่าราคาถูก ๆ เลย อัลเบิร์ตต้องรับประทานอาหารมื้อเดียวเพื่อเก็บเงินไว้ซื้อหนังสือ เมื่ออัลเบิร์ตเรียนจบได้ทำงานเป็นครูของเด็กสองคนชื่อหลุยส์และริลลี่ซาฟาฟาเซนบนฝั่งแม่น้ำไรน์ แต่ต่อมาเขาถูกไล่ออกเพราะไปสอนคณิตศาสตร์ชั้นสูงให้กับเด็กและในสมัยนั้นมีการกีดกันเชื้อชาติในสวิส อัลเบิร์ต ได้เข้าทำงานในบริษัทของนายฮอลเลอร์ที่กรุงเบิร์น และหลังจากนั้นเขาก็ได้สมรถกับมิเลวา มริทา (มารี) ชาวฮังการี (บางฉบับว่าเปอร์เซีย) ซึ่งชอบพอกันมาแต่สมัยเรียนในโปลิเทคนิค อัลเบิร์ต ได้ประดิษฐ์เครื่องมือการบันทึกการวัดกระแสไฟฟ้าเล็ก ๆ ชิ้นหนึ่งและระหว่างนั้นเขาได้จัดตั้งกลุ่มก้าวหน้าขึ้น เพื่อนสนิทของเขา คือ ไมเคิล เบสโซ เป็นคนแรกที่ได้ยินทฤษฎีแห่งความสัมพัทธ์ (Theory of Relativity) ซึ่งจัดพิมพ์ใน พ.ศ. 2448 | ||
ทฤษฎีนี้ได้อธิบายไว้อย่างละเอียดแต่มีผู้คนที่เข้าใจในทฤษฎีนี้น้อยมากแม้แต่อัลเบิร์ตเองก็กล่าวว่ามีบุคคลที่มีชีวิตอยู่เพียง 12 คนเท่านั้นที่เข้าใจในทฤษฎีของเขาแม้จะมีหนังสือกว่า 900 เล่ม ได้เขียนขึ้นเพื่อพยายามอธิบายว่าทฤษฎีนี้คืออะไร อัลเบิร์ตเองก็เคยอธิบายเรื่องความสัมพัทธ์อย่างง่าย ๆ ว่าเมื่อท่านนั่งอยู่กับสุภาพสตรีที่มีเสน่ห์น่ารัก และคุยกันอย่างสนุกสนานในเวลา 1 ชม. ท่านจะคิดว่าเวลาผ่านไปเพียง 1 วินาที แต่ท่านนั่งลงบนเตาไฟร้อน ๆ เพียง 1 นาที ท่านจะคิดว่าเป็น 1 ชม. นี่แหละคือความสัมพัทธ์ หลังจากนั้น ชื่อเสียงของชาวยิวผู้นี้ก็เลื่องลือไปไกลจนเขาได้เข้าประชุมวิทยาศาสตร์ธรรมชาติที่เมืองซาลซาบูร์กสวิสเซอร์แลนด์ และในเวลาต่อ ๆ มา อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ก็เริ่มได้ตำแหน่งดี ๆ ทางมหาวิทยาลัยและระหว่างนั้นเขาต้องเผชิญกับปัญหาเรื่องผิวมีคนกล่าวหาว่าเขาเป็นผู้นำของคนชาวยิว เมื่ออัลเบิร์ตได้รับตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการของ Kaiser Wilhem Physical Institute ในกรุงเบอร์ลิน มิเลว่าไม่ปรารถนาจะอยู่ในเยอรมัน ก็ยื่นคำขาดว่าเธอจะไม่ไปเบอร์ลินทั้งสองคนทะเลาะกันระหองระแหงตลอดมา ในที่สุด พ.ศ. 2457 อัลเบิร์ตก็หย่าขาดจากมิเลว่า เขามีลูกชายกับเธอชื่อ เอ็ดดวด พ.ศ. 2457 เขาแต่งงานกับญาติชื่อ เอลซ่า ไอน์สไตน์ ซึ่งเป็นปีที่เกิดสงครามโลกนั่นเอง เมื่อสงครามสงบเขาได้เดินทางไปสหรัฐอเมริกา ในขณะนั้นคนเยอรมันก็เกลียดชังคนยิวมาก พวกยิวถูกลงโทษว่าทำให้เศรษฐกิจตกต่ำ แม้แต่อัลเบิร์ตก็โดนทั้งๆ ที่ความมีสติปัญญาทางวิทยาศาสตร์ของเขาเป็นสิ่งที่ช่วยเขยิบฐานะของชาวเยอรมันให้สูงขึ้นในสายตาของคนชาติอื่นๆ ในปี พ.ศ. 2464 สถาบันวิชาการของสวีเดนได้มอบรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ให้กับอัลเบิร์ต ซึ่งถือว่าเป็นเกียรติสูงสุดแห่งวิทยาศาสตร์นานาชาติ พ.ศ. 2475 ฮินเดนเบอร์กได้ชนะการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดี และตั้งอดอฟฮิตเล่อร์เป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดอัลเบิร์ตทราบว่าฮิตเล่อร์เกลียดชาวยิวเอามาก เขาจึงย้ายไปเบลเยี่ยมและต่อจากนั้นก็ย้ายไปเป็นศาสตราจารย์ในทางคณิตศาสตร์ที่ Institite of Advance Studios ในมหาวิทยาลัย Princeton มลรัฐนิวเจอร์ซี สหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ. 2479 ภรรยาของเขาถึงแก่กรรม ทำให้อัลเบิร์ตเศร้าโศกมาก เมื่อสงครามโลกอุบัติขึ้น หลังจากการที่ประชุมนักฟิสิกส์จากมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย อัลเบิร์ตได้ตัดสินใจเขียนจดหมายถึงประธานาธิบดีแฟรงคลิน ดี. รุสเวลท์ ว่าทางสหรัฐฯ ควรจะเร่งสร้างระเบิดปรมาณูได้แล้ว ในสมัยนั้นเป็นก้าวแรกที่ใช้วิทยาศาสตร์เข้าช่วยการทำสงครามอับเบิร์ตทราบดีว่าเยอรมันก้าวหน้านำสหรัฐฯ ไปมากในความรู้ด้านนี้ ไอน์สไตน์ นีลบอห์ และนักวิทยาศาสตร์อื่นๆ ได้มาพบปะกันและเริ่มค้นคว้าต่อไปในเรื่องนี้ นักวิทยาศาตร์ ชื่อเอริโก เฟอร์มมิได้ชักชวนให้นักวิทยาศาาสตร์อื่น ๆ ใช้ปรมาณูแบบปฏิกิริยาลูกโซ่อีกด้วย ได้มีการทดลองกันอย่างลับ ๆ เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม ค.ศ. 1945 ที่ฐานทัพอากาศอลาโมกอร์โด มลรัฐนิวแมกซิโกต่อมาในวันที่ 6 สิงหาคม ค.ศ. 1945 เครื่องบินทิ้งระเบิด B. 29 ของสหรัฐฯ ก็ได้ทิ้งระเบิดลูกหนึ่งชื่อ "ไอ้อ้วน" ลงไปที่เมืองฮิโรชิมาซึ่งเมื่อระเบิดเกิดควันเป็นรูปดอกเห็ดพุ่งขึ้นสูงถึง 8 ไมล์ จากลูกระเบิดปรมาณูนี้เอง ได้ยุติสงครามโลกครั้งที่ 2 ให้เร็วขึ้น เมื่อสงครามเลิก อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ก็ลงนามในสัญญาที่ขอให้ยุติการใช้ระเบิดปรมาณุและให้หันมาใช้ปรมาณูเพื่อสันติแทน เขาเขียนในสัญญาว่า "แน่นอนเราทุกคนมีความคิด ความรู้สึกไม่เหมือนกันแต่เราก็มีฐานะเป็นมนุษย์เช่นกัน เราควรจดจำไว้เสมอว่าถ้าการเกี่ยวข้องระหว่างตะวันออกกับตะวันตกถูกตัดสินออกมาในรูปการณ์ใดก็ตามอันจะนำมาซึ่งความพึงพอใจมาสู่ทั้งสองฝ่ายไม่ว่าจะเป็นคอมมิวนิสต์ หรือต่อต้านคอมมิวนิสต์(โลกเสรี)ก็ตาม ผลแห่งการตัดสินใจไม่ควรออกมาในรูปของสงคราม" บั้นปลายของชีวิตนั้น อัลเบิร์ตสนใจกับงานทางวิทยาศาสตร์และการเล่นไวโอลินซึ่งเขามีฝีมืออยู่บ้าง ระหว่างปี พ.ศ. 2495 ชาวยิวได้เลือกให้ไอน์สไตน์เป็นประธานาธิบดีของปาเลสไตน์ (อิสราเอล) แต่อัลเบิร์ตปฏิเสธ โดยกล่าวว่าเขาไม่มีความรู้ทางการปกครองเลย อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ถึงแก่กรรม เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2498 พิธิฝังศพของเขาเป็นไปอย่างเงียบสบงตามความปรารถนาของเขา |
ความคิดเห็น