ทางสายกลางของอริสโตเติล ความเหมือนและความแตกต่างในมัชฌิมาของ
ทางสายกลางของอริสโตเติล ความเหมือนและความแตกต่างในมัชฌิมาของพระพุทธเจ้า
ผู้เข้าชมรวม
4,148
ผู้เข้าชมเดือนนี้
0
ผู้เข้าชมรวม
เนื้อเรื่อง
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
เมื่อเราพูดถึงทางสายกลางเราคงจะนึกถึงหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา มีน้อยคนจะทราบว่าคำสอนเรื่องทางสายกลางนี้มีอยู่ในปรัชญาด้วย อริสโตเติล คือนักปรัชญาที่ได้กล่าวถึงทางสายกลางในปรัชญาที่ว่าด้วยเรื่องคุณธรรมของเขา ในทัศนะเรื่องคุณธรรมของอริสโตเติล เขาได้แบ่งคุณธรรมออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. คุณธรรมด้านพุทธิปัญญา หมายถึงความสามารถในการใช้เหตุผลเพื่อแสวงหาความรู้เกี่ยวกับสิ่งสากลและเพื่อการคำนวณในวิชาคณิตศาสตร์
2. คุณธรรมด้านศีลธรรม หมายถึงความสามารถในการเลือกทำความดีซึ่งเกิดจากการฝึกปฏิบัติจนเป็นนิสัย1
1 พระราชวรมุนี (ประยูร ธมฺมจิตฺโต),ปรัชญากรีก : บ่อเกิดปรัชญาตะวันตก, กรุงเทพฯ : ศยาม, 2544
ทางสายกลางของอริสโตเติลถือว่าจัดอยู่ในคุณธรรมด้านศีลธรรม เพราะทางสายกลางเกิดขึ้นจากการปฏิบัติจนเป็นนิสัย อริสโตเติลได้นิยามความหมายของทางสายกลางไว้ว่า เป็นหลักคุณธรรมความดีที่เป็นกลาง อยู่ระหว่างความสุดโต่ง คือความเกินพอดี และขาดความพอดีหรือหย่อนยาน
องค์ประกอบของของทางสายกลาง ซึ่งอริสโตเติลได้ให้องค์ประกอบของทางสายกลางไว้ 5 ประการคือ
1. เวลาที่เหมาะสม หมายถึง โอกาสในการแสดงพฤติกรรม มาว่าจะเป็นทางกาย วาจา หรือใจ
2. จุดหมายดี หมายถึงเป้าหมายที่จะต้องไปให้ถึง ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
คือ จุดหมายระหว่างทาง และจุดหมายปลายทาง จุดหมายระหว่างทางคือจุดหมายเฉพาะหน้าที่เราต้องการเพื่อผ่านไปสู่จุดหมายสูงสุด เช่น เราไปเลือกตั้งเพราะเราต้องการ สส. จุดหมายสูงสุดก็คือเราจะเอา สส.ไปทำงานบริหารประเทศนั่นเอง
ส่วนจุดหมายปลายทางก็คือ จุดหมายที่มีจุดจบในตัวของมันเอง เช่น จุดหมายสูงสุดของการปฏิบัติธรรมคือการได้มาซึ่งพระนิพพาน เป็นต้น
3. คนดี หมายถึง ผู้ที่ปฏิบัติชอบในทางทั้งสาม คือ กาย วาจา และใจ
4. แจงจูงใจ หมายถึงแรงปรารถนาซึ่งเป็นพลังอย่างหนึ่งที่ผลักดันให้คนเรา
กระทำความดีและความชั่ว แรงจูงใจของอลิสโตเติลนั้นยังรวมถึง ความปรารถนา การเลือก จุดประสงค์ ความกระหาย และความต้องการ
5. วิธีถูกต้อง หมายถึง แนวทางปฏิบัติที่เป็นที่ยอมรับ และเป็นไปตามขั้นตอนที่เป็นระเบียบ
ตามทัศนะของอลิสโตเติล เขาได้กล่าวว่าทางสายกลางนั้นไม่สามารถมีเกณฑ์ที่มาตรฐานมาวัดทางสายกลางของทุกๆคนได้แต่ทางสายกลางจะขึ้นอยู่กับเวลาและสถานที่ตามภาวะแวดล้อม และยังถูกกำหนดด้วยหลักเหตุผลอันเป็นหลักที่บุคคลผู้มีปัญญาภาคปฏิบัติกำหนดขึ้น เราจึงสรุปได้ว่า ไม่มีทางสายกลางที่จะแน่นอนและตายตัวที่ใช้ได้กับทุกคน ทางสายกลางของแต่ละคนก็ต้องขึ้นอยู่กับการกำหนดของบุคคลคนนั้น แต่ถึงอย่างไรการกำหนดทางสายกลางก็ต้องเป็นไปตามหลักเหตุผล ไม่ใช่ความรู้สึก นั่นคือต้องวัดจากสถานการณ์และบุคคลที่เข้ามาเกี่ยวข้อง ส่วนหลักเหตุผลดังกล่าวนั้นต้องอาศัยประสบการณ์เข้ามาเป็นเครื่องช่วยตัดสินใจ
ความสำคัญของทางสายกลาง ทางสายกลางนั้นมีความสำคัญต่อชีวิตมาก ที่ว่าสำคัญก็เพราะว่าทางสายกลางของอลิสโตเติลนั้น เป็นทางแห่งความดี คนเราทุกคนล้วนมีอารมณ์ความรู้สึกที่ดีและไม่ดีแตกต่างกันออกไป แต่นอกจากจะมีอารมณ์แล้วคนเรายังมีเหตุผลที่จะคอยช่วยดูแลและควบคุมให้สามารถตัดสินใจหรือเลือกกระทำการได้อย่างถูกต้อง อย่างที่สองคือ เป็นหลักตัดสินพฤติกรรม หลักทางสายกลางถือเป็นหลักการตัดสินการกระทำต่างๆของคนเราและเป็นหลักที่จะนำมาสร้างความสุขให้แก่ชีวิตเราได้ ผลของการกระทำนั้นไม่ว่าจะออกมาดีหรือว่าออกมาร้าย สิ่งที่ควรเราทุกคนควรที่จะมีก็คือความรับผิดชอบในการกระทำของตัวเราเอง ประการสุดท้ายก็คือเป็นทางแห่งความสุข หลักทางสายกลางเป็นหลักที่เกี่ยวกับการกระทำต่างๆ การที่คนเรารู้จักพอดีจะมุ่งไปสู้ความมีสุขของชีวิต ถึงแม้ว่าทางสายกลางของอลิสโตเติลกับทางสายกลางของพระพุทธเจ้าจะมีชื่อเรียกที่เหมือนกัน แต่ทางสายกลางสองอันนี้ยังมีความเหมือนและความแตกต่างที่เราจะได้มาพูดถึงต่อไปนี้
ข้อเปรียบเทียบทางสายกลางของอลิสโตเติลและของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าได้ตรัสเรื่องทางสายกลางไว้โดยในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาเราจะเรียกว่ามัชฌิมาปฏิปทา ในประเด็นที่เหมือนกันระหว่างทางสายกลางของอริสโตเติลและของพระพุทธเจ้าคือ ทั้งสองนี้มีคำสอนที่ให้งดเว้นการปฏิบัติที่ตึงเกินไปและหย่อนยานเกินไป สอนให้รู้จักความพอดี ซึ่งความพอดีนั้นจะแบ่งได้เป็นสามประการ ก็คือ
1.ความพอดีภายนอก คือการมีวัตถุสิ่งของที่พอสำหรับความต้องการในชีวิตประจำวัน
2.ความพอดีทางจิตใจ คือความมีจิตใจที่ดีงาม คิดดี มีเหตุผล คุณธรรมและจริยธรรม
3.ความพอดีทางร่างกาย คือการมีสุขภาพที่สมบูรณ์ แข็งแรงไม่มีโรคภัย
อีกประเด็นหนึ่งที่เหมือนกันก็คือการเน้นที่เจตนาเหมือนกัน อริสโตเติล กล่าวว่า เมื่อคนเรามีเจตนาที่ดีแล้วการกระทำก็จะดีตามเจตนา ส่วนพระพุทธเจ้าก็ตรัสไว้ว่า เมื่อคนเรานั้นมีเจตนาที่ดีแล้ว เขาก็จะกระทำแต่กรรมที่เป็นกุศล แต่ถ้าเขามีเจตนาร้าย เขาก็จะกระทำกรรมชั่ว
ส่วนประเด็นที่แตกต่างกันก็คือ องค์ประกอบนั้นต่างกัน อริสโตเติลนั้นได้จักองค์ประกอบของทางสายกลางไว้ 5 ประการดั่งที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นแล้ว ส่วนพระพุทธเจ้าทรงได้จัดองค์ประกอบไว้ทั้งหมด 8 ประการ ที่เรียกกันว่า มรรค 8 หรือมรรคมีองค์8 อันได้แก่ ความเห็นชอบ ความดำริชอบหรือคิดชอบ ความเจรจาชอบ การงานชอบ การประกอบอาชีพสุจริต ความเพียรพยายาม การละลึกชอบ และการใจมั่นชอบ
ทางสายกลางของอริสโตเติลไม่มีมาตรฐานใดๆที่จะมาวัดให้ตายตัวได้ คนแต่ละคนที่จะกำหนดทางสายกลางของตัวเองได้ การกำหนดนั้นอาศัยเหตุผลเป็นตัวควบคุม
แต่ในทางพระพุทธศาสนา ทางสายกลางไม่ได้ถูกกำหนดด้วยเหตุผลหรือความพอใจของแต่ละคน ทางสายกลางมีกฎเกณฑ์ที่แน่นอน ตายตัว จะเห็นได้จากการที่พระพุทธเจ้านั้นได้สอนเรื่องอริยสัจ 4 คือทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค์ โดยวางเป้าหมายคือนิโรธ ไว้ก่อนมรรคอันเป็นทางสายกลาง
ถึงแม้ว่าจะมีบางข้อของทางสายกลางของอริสโตเติลและของพระพุทธเจ้าที่ไม่เหมือนกัน แต่โดยรวมแล้วทั้งสองนี้จะมีจุดหมายที่คล้ายๆกันคือต้องการให้คนทุกคนเป็นคนดี มีคุณธรรม เพื่อที่จะเป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคมต่อไป
ผลงานอื่นๆ ของ จ้าวปอย ณ.วันนี้ ดูทั้งหมด
ผลงานอื่นๆ ของ จ้าวปอย ณ.วันนี้
ความคิดเห็น