กระแสชื่นชม "เจ้าชายจิกมี" และเรื่องน่ารู้ของเจ้าชาย - กระแสชื่นชม "เจ้าชายจิกมี" และเรื่องน่ารู้ของเจ้าชาย นิยาย กระแสชื่นชม "เจ้าชายจิกมี" และเรื่องน่ารู้ของเจ้าชาย : Dek-D.com - Writer

    กระแสชื่นชม "เจ้าชายจิกมี" และเรื่องน่ารู้ของเจ้าชาย

    กระแสชื่นชม "เจ้าชายจิกมี" และเรื่องน่ารู้ของเจ้าชาย มกุฎราชกุมารจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก แห่งราชอาณาจักรภู ฏาน His Royal Highness Crown Prince Jigme Khesar Namgyel Wangchuck of Bhutan) ผู้แทนพระองค์สมเด็จพระราชาธิบดี จิกมี ซิงเย วังชุก แห่งภูฏาน

    ผู้เข้าชมรวม

    1,369

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    0

    ผู้เข้าชมรวม


    1.36K

    ความคิดเห็น


    0

    คนติดตาม


    0
    หมวด :  รักอื่น ๆ
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  8 ม.ค. 50 / 13:24 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น
    นิยายแฟร์ 2024
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ


      งานฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ของพระบาทสมเด็จพระ เจ้าอยู่หัว ที่มีทั้งงานพระราชพิธี รัฐพิธี และกิจกรรมเฉลิม พระเกียรติ ที่ดำเนินมาเป็นวันสุดท้ายนี้ ต้องถือเป็นหนึ่งในหน้าประวัติศาสตร์ที่ทั่วโลกต้องจารึกไปอีกนานว่าเป็นงานที่มีพระ ประมุขและพระราชวงศ์จากทั่วโลกเสด็จพระราชดำเนินมารวมกันมากที่สุดในโลก รวมถึง 25 ราชวงศ์ และที่ได้รับความ สนใจจากชาวไทยอย่างมากหนึ่งในนั้นคือราชวงศ์แห่งภูฏาน

      สำหรับการเสด็จมาร่วมงานของพระราชอาคันตุกะในครั้งนี้ได้รับความสนใจของประชา ชนชาวไทยอย่างมาก ส่วนใหญ่เฝ้าติดตามงาน พระราชพิธีตลอดช่วง 4-5 วันนี้ รวมถึงติดตาม ชมภาพการเสด็จพระราชดำเนินไปยังสถานที่ ต่างๆ ของหลายๆ พระองค์ ซึ่งมีพระราชอา คันตุกะหลายพระองค์ที่ชาวไทยให้ความสนใจ อย่างมาก หนึ่งในนั้นคือ มกุฎราชกุมารจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก แห่งราชอาณาจักรภู ฏาน His Royal Highness Crown Prince Jigme Khesar Namgyel Wangchuck of Bhutan) ผู้แทนพระองค์สมเด็จพระราชาธิบดี จิกมี ซิงเย วังชุก แห่งภูฏาน

      เนื่องจากพระองค์ทรงมีพระชนมายุน้อยที่สุดในบรรดาพระประมุขและมกุฎราชกุมาร ที่เสด็จมา และยังทรงมีพระสิริโฉมงดงามและ พระจริยวัตรงดงาม โดยเฉพาะเมื่อทรงฉลองพระองค์ในชุดประจำชาติพร้อมพระภูษาสีส้ม ขณะเข้าเฝ้าฯพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นครั้งแรก ในการถวายพระพรชัยมงคลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม

      ทำให้มีกระแสชื่นชมในตัวเจ้าชายจิกมีขยายวงกว้างขึ้นเรื่อยๆ และมีการสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับประเทศภูฏานและพระราชประวัติของมกุฎราชกุมารพระองค์นี้มาเผยแพร่ในเว็บไซต์จำนวนมาก รวมทั้งประชาชนชาวไทยส่วนหนึ่งเฝ้าติดตามพระราชกรณียกิจของเจ้าชายจิกมีด้วยความสนใจ โดย วานนี้พระองค์ได้ทรงทอดพระเนตรโขน "พระจักราวตาร" เป็นการส่วนพระองค์ ซึ่งจัดเทิดพระเกียรติ 60 ปี แห่งการครองสิริราชสมบัติ ณ ศาลาเฉลิมกรุง มีประชาชนชาวไทยที่ชื่นชมพระสิริโฉมให้การต้อนรับเป็นจำนวนมาก

      ในวโรกาสนี้ยังมีหมายกำหนดการเสด็จเยือนจังหวัดภูเก็ต เป็นการส่วนพระองค์ ในวันที่ 16 มิ.ย.นี้ เวลา 09.25 น. ด้วยเครื่องบินของบริษัทการบินไทย เที่ยวบิน TG 921 และเสด็จกลับในวันที่ 18 มิ.ย. 2549 เวลา 18.55 น. ด้วยเครื่องบินบริษัทการบินไทย เที่ยวบิน TG218 มกุฎกุราชมารจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก แห่งภูฏาน โปรดที่จะทรงกีฬาพาราเซลลิ่งและตกปลาในขณะที่ประทับที่จังหวัดภูเก็ต นอกจากนั้นยังสนพระทัยที่จะศึกษาดูงานในเรื่องของเด็กและเยาวชน รวมทั้งสิ่งแวดล้อม


      ทรงจบการศึกษาจากอ็อกซ์ฟอร์ด

      สำหรับ มกุฎราชกุมารจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก แห่งภูฏาน เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี ซิงเย วังชุกและ สมเด็จพระราชินีอาชิ เธอริง เสด็จพระราช สมภพ เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2523 มี พระชนมายุ 26 พรรษา ยังไม่ทรงอภิเษกสมรส

      พระองค์ทรงสำเร็จการศึกษาระดับอนุ ปริญญา จาก Oxford Foreign Service Programme มหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด สหราช อาณาจักร ทรงสำเร็จด้านการเมืองและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จากมหาวิทยาลัย
      อ็อกซ์ฟอร์ด สหราชอาณาจักร

      และทรงสำเร็จการศึกษาหลักสูตรการป้อง กันประเทศ จาก National De fence College กรุงนิวเดลี สาธารณรัฐอินเดีย และหลักสูตร Innovations in Governance จาก Kennedy School of Governance มหาวิทยาลัย ฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกา เมื่อปี 2548 ทรงสนพระทัยในงานศิลปะ ภาพวาด การถ่ายภาพ กีฬา และการอ่านหนังสือ

      เคยเสด็จพระราชดำเนินเยือนราชอาณา จักรไทยเป็นการส่วนพระองค์หลายครั้ง โดยทรงสนพระทัยในเรื่องการพัฒนาชนบท และมี โอกาสได้เยือนราชอาณาจักรไทยระหว่างวันที่ 14-22 มีนาคม พ.ศ.2546 ได้ทอดพระเนตร โครงการหลวงที่จังหวัดเชียงใหม่ และเข้าเฝ้าฯ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ณ พระ ตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์มาแล้วครั้งหนึ่ง

      นอกจากมกุฎราชกุมารจิกมี เคเซอร์ นัม เจล วังชุก ทรงสนพระทัยเกี่ยวกับการพัฒนา ชนบทของราชอาณาจักรภูฏาน โดยเสด็จไป ยังท้องถิ่นชนบทเพื่อดูแลทุกข์สุขและรับฟังปัญหาและความเดือดร้อนของประชาชนแล้ว ยังทรงรับฟังความเห็นของประชาชนเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับแรกของราชอาณาจักรภูฏาน ที่จะเปลี่ยนแปลงการปกครองไปเป็นประชาธิป ไตยโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข

      คติประจำพระองค์ คือ คิดถึงคนอื่นก่อน คิดถึงตนเอง และต้องการให้ประเทศประสบความสำเร็จหรือรุ่งเรืองมากที่สุด "Service before self" และ "My ambitions and goals are lodged within those of my country."


      ปี 2551 เจ้าชายเสด็จขึ้นครองราชย์

      อย่างไรก็ตาม ในปี 2551 มกุฎราชกุมาร จิกมี เคเซอร์ นัมเจล วังชุก จะทรงเป็นพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญพระองค์แรกของราชอาณาจักรภูฏาน ตามการประกาศของ สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี ซิงเย วังชุก เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2548 เพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ไปสู่ระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ ซึ่งพระ องค์จะสละราชบัลลังก์ให้กับมกุฎราชกุมาร จิกมี เคเซอร์ นัมเจล วังชุก ในปีดังกล่าว

      จากการประกาศสละราชบัลลังก์ของพระราชาธิบดีจิกมี ซิงเย วังชุก ภายในปี 2551 ได้สร้างความตะลึงให้กับชาวภูฏานเป็นอย่างมาก กระนั้นชาวภูฏานยังคงเชื่อมั่นและศรัทธาในกษัตริย์และมกุฎราชกุมารจิกมี เคเซอร์ นัมเจล วังชุก ซึ่งได้ประกอบพระราชกรณียกิจร่วมกับพระราชาธิบดีมาโดยตลอด

      แม้ว่าประชาชนส่วนใหญ่ยังต้องการให้ภูฏานปกครองด้วยระบอบสมบูรณาญาสิทธิ ราชย์ต่อไป เพราะเกรงว่าประชาธิปไตยอาจก่อ ให้เกิดปัญหาความวุ่นวาย และการฉ้อราษฎร์ บังหลวงภายในประเทศเหมือนกับประเทศเพื่อนบ้าน

      การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในลักษณะ ค่อยเป็นไปของภูฏานดังกล่าว เกิดขึ้นเนื่อง จากการที่ภูฏานจำเป็นต้องปรับตัวให้สอดคล้อง กับสภาพแวดล้อมโลกและปัญหาท้าทายใหม่ๆ พร้อมทั้งสามารถตอบสนองกับกระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก


      ภูฏานดินแดนแห่งมังกรผู้รักสันติ

      ภูฏาน (เดิมชื่อภูฐาน) เป็นดินแดนแห่งความลี้ลับ หากใครคิดจะเดินทางไปเที่ยวภูฏาน ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย เนื่องจากประเทศตั้งอยู่บนเทือกเขาหิมาลัย ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูงสลับซับซ้อน และเพิ่งเปิดประเทศได้ไม่นาน เมื่อปี 2513 และเป็นที่ทราบกันว่า การขอวีซ่าเข้าประเทศเป็นเรื่องยากลำบาก เพราะภูฏานมีนโยบายจำกัดจำนวนนักท่องเที่ยวในแต่ละปี นอกจากนั้นนักท่องเที่ยวแต่ละคนยังต้องเสียภาษีท่องเที่ยววันละ 200 ดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้เพื่อจำกัดไม่ให้นักท่องเที่ยวเข้าประเทศมากเกินไป จนส่งผลทำลายสภาพแวดล้อม

      ภูฏานตั้งอยู่บนแนวเทือกเขาหิมาลัย ระหว่างทิเบต หรือตะวันตกของจีน กับแคว้นอัสสัม หรือตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย มีพื้นที่เพียง 47,000 ตารางกิโลเมตร มี "ทิมพู" เป็นเมืองหลวง และ "พาโร" เป็นที่ตั้งท่าอากาศยาน ปกครองโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นพระประมุข มีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาล มีประชากรราว 700,000 คน ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธสายวัชรยาน หรือพุทธแบบทิเบต

      ภาษา "ซอง" (Dzong) เป็นภาษาราชการ ซึ่งแต่เดิมเป็นภาษาท้องถิ่นแถบตะวันตกของภูฏาน ต่อมากลายเป็นภาษาประจำชาติ และใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อกลาง มักจะแต่งกายชุดประจำชาติในชีวิตประจำวัน แม้กระทั่งพระมหากษัตริย์ภูฏาน ก็ทรงฉลองพระองค์ด้วยชุดประจำชาติ

      ด้วยพื้นที่ส่วนใหญ่ของภูฏานส่วนใหญ่เต็มไปด้วยภูเขาสลับซับซ้อน เป็นที่ราบสูงกว่า 2,000 เมตร และภูเขาสูงชันกว่า 7,000 เมตร ในฤดูหนาวหิมะจะโปรยปรายปกคลุมไปทั้งเขา จึงเป็นที่มาของชื่อ ภูฏาน ซึ่งแปลว่า ดินแดนบนที่สูง หรืออาณาจักรบนฟ้า แต่ชาวภูฏานเรียกประเทศตนเองว่า "ดรุกยุล" หรือดินแดนแห่งมังกรผู้รักสันติ เรียกเผ่าพันธุ์ตนว่า "ดรุกปา" หรือชาวมังกรสันติ

      ประชากรส่วนใหญ่เป็นกลุ่มดรุกปาส ซึ่งแบ่งออกเป็นสองกลุ่มคือ พวกเชื้อสายทิเบต รูปร่างหน้าตาคล้ายคนไทย และพวกซังลา ส่วนอีกกลุ่มเป็นเนปาลีอยู่ทางทิศใต้ของประเทศ

      และยังติดอันดับประเทศยากจนแห่งหนึ่งของโลก มีรายได้ต่อหัวเดือนละไม่ถึง 5,000 *** คิดเป็นลำดับที่ 191 จาก 226 ประเทศทั่วโลก แต่ชาวภูฏานทุกคนจะมีที่ ดินทำกินที่รัฐบาลจัดสรรให้ 10 ไร่ ภายใต้การปกครองของสมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี ซิงเย วังชุก ทรงมีพระปรัชญาในการพัฒนาประเทศ เน้นความสุข มวลรวมประชา ชาติ มุ่งการพัฒนาให้ประ ชาชนมีความสุขและความ พึงพอใจมากกว่าการวัดการพัฒนาด้วยผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ

      เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมของโลก ภูฏานได้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับแรกแล้วเสร็จเมื่อต้นปี 2548 และในปี 2551 ภูฏานจะจัดให้มีการเลือกตั้งภายใต้ระบอบประชาธิปไตยเป็นครั้งแรก ซึ่งรัฐธรรมนูญกำหนดอำนาจหน้าที่ของพระมหากษัตริย์ และอำนาจบริหารประเทศของคณะรัฐมนตรี มีระบบรัฐสภาที่มีเพียง 2 พรรคการเมืองสำคัญ ประกอบด้วยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 75 คน และวุฒิสภา 25 คน

      และในปีเดียวกัน พระราชาธิบดีจิกมี ซิงเย วังชุก จะสละราชสมบัติให้มกุฎราชกุมาร อันเป็น การเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไปสู่ระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ

      ในศตวรรษที่ 17 ก่อนที่ภูฏานจะมีพระมหากษัตริย์ปกครองประเทศ นักบวชซับดุง นาวัง นำเยล ได้รวบรวมภูฏานให้เป็นปึกแผ่น แล้วก่อตั้งเป็นประเทศ บริหารประเทศสองระบบคือ แยกเป็นฝ่าย ฆราวาสและฝ่ายสงฆ์

      หลังจากนั้นภูฏานเกิดสงครามกลางเมืองระหว่างสองนครกลางหุบเขาปาโรและตองชา จนในที่สุด ค.ศ.1907 (พ.ศ.2450) พระราชาธิบดีอูเก็น วังชุก (Ugyen Wangchuck) ขณะนั้นเป็นผู้ปกครองเมืองตองซา ปกครองด้วยระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ โดยเป็นทั้งประมุขของรัฐและหัวหน้ารัฐบาล

      จนต่อมาพระราชาธิบดีจิกเม ซิงเย วังชุก เสด็จขึ้นครองราชสมบัติขณะมีพระชนมายุได้เพียง 16 พรรษา เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2517 (ค.ศ.1974) เป็นสมเด็จพระราชาธิบดีองค์ที่ 4 แห่งราชวงศ์วังชุก ประมุขคนปัจจุบัน

      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×