ลำดับตอนที่ #9
คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #9 : เทคนิคการเอาตัวรอดในห้องสอบ
เทคนิคการเอาตัวรอดในห้องสอบ
81. อย่างที่บอกไปแล้ว ทุกคะแนนมีค่า ยังไง ๆ เราก็ต้องโกยคะแนนให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ แม้ในยามจนตรอกก็ต้องโกยเท่าที่โกยได้ ถ้าไม่โกยด้วยเล่ห์ ก็ต้องโกยด้วยกล ถ้าไม่โกยด้วยมนต์ ก็ต้องโกยด้วยคาถา แน่นอนล่ะ เราคงไม่สามารถจะทำข้อสอบได้ทุกข้อหรอก จริงไหม? เวลาอยู่ในห้องสอบก็คงจะต้องมั่วกันบ้าง แต่จะมั่วแบบวัดดวงประเภทหมุนปากกา แล้วดูว่าหัวปากกาหันไปทางช้อยส์ไหนก็กาช้อยส์นั้น อันนี้ก็คงจะดูไม่ค่อยน่ารักสักเท่าไร เราลองมาดูเทคนิคการมั่วแบบน่ารัก ๆ แบบที่มั่วแล้วสมควรจะเอนท์ติดจะดีกว่าไหม
82. ก่อนที่จะมาดูวิชามาร เรามาตกลงกันก่อนนะว่า เราไม่ได้มีเจตนาจะส่งเสริมให้คุณมั่ว เพียงแต่เจตนาจะให้คุณสู้แม้ในยามจนตรอก มั่วอย่างมีเหตุมีผล เพื่อให้มั่วได้เจอคำตอบที่น่าจะถูกมากที่สุด อย่างน้อยก็ดีกว่าแบบหลับตาจิ้มก็แล้วกัน
ข้อตกลง “จนตรอก” หมายถึง ทำไม่ได้ หรือทำไม่ทันจริง ๆ กรุณาทำความเข้าใจกับข้อตกลงของคำว่า “จนตรอก” ให้ดี ๆ นะ เพราะวิชามารจะมีประสิทธิภาพก็ต่อเมื่ออยู่ในสถานการณ์จนตรอกเท่านั้น (ในสถานการณ์ที่ทำข้อสอบได้และยังมีเวลาเหลือเฟือ วิชามารเหล่านี้แทบไม่ได้ผลอะไรเลย)
83. conceptของวิชามารก็คือ ถ้าจะมั่ว ก็ควรจะมั่วด้วยเหตุผล มั่วโดยใช้ความรู้เท่าที่มีอยู่ และมั่วโดยวิเคราะห์ลักษณะการวางช้อยส์ เพื่อให้มีโอกาสถูกมากยิ่งขึ้น ถึงเราจะจนตรอกเราก็ต้องสู้นะ ต้องโกยคะแนนให้ได้มากที่สุด ไม่ควรจะมั่วโดยอาศัยดวง คิดเหรอว่าจะดวงดีเสมอไป เพื่อการประยุกต์ใช้ที่ได้ผลคุณควรทำความเข้าใจถึงเหตุผลในแต่ละวิชามารด้วยนะ
84. วิชามารที่1 : ข้อสอบอัตนัย คิดหรือว่าจะมั่วไม่ได้
ข้อสอบอัตนัย อย่างน้อย ๆ ถึงเราจะจนตรอก เราก็ควรจะตอบเลขที่สมเหตุสมผลมากที่สุด ลองดูตัวอย่างเป็นไกด์ไลน์นำทางก่อนละกัน ให้พอปิ๊งไอเดีย แล้วค่อยนำไปประยุกต์ใช้ในห้องสอบ
เคมี ตุลา46 นำไขมันประเภทไตรกลีเซอไรด์ชนิดหนึ่งหนัก 8.80g มาต้มกับสารละลายKOH เข้มข้น 1.00 mol.dm-3 ปริมาตร 50 cm3 จนเกิดปฏิกิริยาอย่างสมบูรณ์ แล้วนำของผสมที่ได้มาไทเทรตกับสารละลายHCl เข้มข้น 0.50 mol.dm-3 โดยใช้ฟีนอล์ฟทาลีนเป็นอินดิเคเตอร์ พบว่าที่จุดยุติใช้สารละลายHCl 40 cm3 ถ้ากรดไขมันเป็นชนิดเดียวกันทั้งหมด จงคำนวณความยาวของโซ่คาร์บอนของกรดไขมัน(รวมคาร์บอนในหมู่คาร์บอกซิลด้วยและปัดเศษเป็นเลขจำนวนเต็มในคำตอบสุดท้าย)
- สมมติว่าทำข้อนี้ไม่ได้จริง ๆ  ก็ควรจะตอบC18 เพราะกรดสเตียริกเป็นกรดไขมันที่พบมากและชอบออกข้อสอบเอนท์บ่อยด้วย (เห็นประโยชน์ของข้อสอบเก่ารึยัง) ถ้าตอบผิดก็ไม่เป็นไร เพราะเรามั่วนี้น่า แต่ถ้าเกิดมั่วถูกขึ้นมาอ่ะ 4 คะแนนเลยนะ แซงคนอื่นไป 4 พันคน เราไม่ได้มั่วแบบซี้ซัว แต่เรามั่วแบบมีเหตุผลนะ
ฟิสิกส์ มีนา47 วงกลมโลหะกลวง 2 ใบ มีผิวบางมาก มีรัศมี 2 และ 4 เซนติเมตร มีจุดศูนย์กลางร่วมกัน วงกลมอันนอกต่อกับดิน ซึ่งความต่างศักย์ไฟฟ้าเป็นศูนย์ ทรงกลมอันในมีประจุบวก 0.2 นาโนคูลอมบ์ ถามว่าจุดศูนย์กลางของวงกลมทั้งสองมีศักย์ไฟฟ้ากี่โวลต์ ถ้าระบบทั้งหมดอยู่ในสุญญากาศ
- ถ้าทำไม่ได้จริง ๆ น่าจะเอะใจนิด ๆ ว่า เขากำหนดเลข 10-9 (นาโนคูลอมบ์) มามันจะฝนคำตอบลงไปได้ยังไง แสดงว่ามันต้องเอาไปคูณกับค่าK(109) ก่อนสิ เลขยกกำลังถึงจะหายไป แล้วรัศมีเขาให้มาทำไม ลองคูณหรือหารดูจะได้คำตอบใกล้เคียงบ้างไหม พอจะเข้าใจไหมว่าคนออกข้อสอบเขาออกเป็นอัตนัยมาใช่ไหม เขาก็ต้องกำหนดตัวเลขให้มันคำนวณแล้วลงตัวสามารถฝนลงในกระดาษคำตอบได้ มั่วแบบมีเหตุผลแบบนี้ก็จะมีโอกาสถูกเพิ่มขึ้น
85. วิชามารที่2 : การตัดช้อยส์
ถ้าเราจนตรอกจริง ๆ อย่าเพิ่งฝนไปมั่ว ๆ หรือวัดดวงเอานะ อย่างน้อย ๆ เราควรจะลองตัดช้อยส์ที่มันผิดชัวร์ ๆ ก่อน ตัดออกไปเลย ก็จะมีโอกาสถูกเพิ่มขึ้น
86. ช้อยส์ทั้งหลายแหล่ที่เขาวางมานั้น เขาวางมาอย่างดีเลยนะ บางทีเราคิดผิดก็มีคำตอบรอไว้เลย ออกมาจากห้องสอบดีใจมีคำตอบทุกข้อ ทำได้ทุกข้อเลย แต่คะแนนออกมาไม่ดีก็เพราะเหตุนี้แหละ เมื่อเราจนตรอก ให้ลองวิเคราะห์การวางช้อยส์ดี ๆ คิดซะว่า ถ้าเราเป็นคนออกข้อสอบข้อนี้จะวางช้อยส์ยังไง สวมวิญญาณคนออกข้อสอบเลย ขอย้ำว่าวิชามารไม่สามารถจะนำไปใช้ในการทำข้อสอบได้ทุกข้อนะ เพียงแต่นำไปใช้ในการทำข้อสอบได้หลายข้อเท่านั้น วิชามารไม่มีรูปแบบที่ตายตัว ควรจะใช้การตัดช้อยส์ประกอบกันไปด้วยเพื่อที่จะได้ข้อที่ควรจะเป็นคำตอบมากที่สุด บางทีอาจจะตัดได้จนเหลือช้อยส์เดียวก็เป็นไปได้ ถ้าวิเคราะห์เก่ง ๆ  ต่อจากนี้ไปเป็นเพียงตัวอย่างการวิเคราะห์การวางช้อยส์เท่านั้นนะ ถ้าพอจะเป็นแล้ว ก็ลองไปฝึกวิเคราะห์การวางช้อยส์เอาเองยามจนตรอกในการซ้อมทำข้อสอบเก่า เพื่อจะได้ใช้จริงยามจนตรอกในห้องสอบ
87. วิชามารที่3 : ช้อยส์ที่ไล่จากเลขมากไปน้อย
คณิตศาสตร์1 ตุลา46     ก.4     ข.3    ค.2    ง.1       
(เฉลย ข.)
- เหตุผลและการวิเคราะห์ : โดยธรรมชาติมนุษย์ คนออกข้อสอบควรจะวางช้อยส์ไล่จากเลขน้อยไปมากถูกไหม แต่ไหงมันถึงไล่จากเลขมากไปหาเลขน้อยล่ะ น่าสงสัยนะ ถ้าเจอช้อยส์ที่เรียงเลขจากมากไปน้อยในลักษณะนี้ ขอแค่เรียงจากมากไปน้อยก็ผิดสังเกตแล้วล่ะ ช้อยส์ที่ควรจะเป็นคำตอบมากที่สุดคือ เลขมาก ก. หรือ ข. นั้นเอง
ฟิสิกส์ ตุลา44    ก. 1.0    ข. 0.50    ค. 0.25    ง. 0.12
- อธิบาย : ข้อนี้ก็เรียงจากเลขมากไปน้อยเช่นเดียวกัน ควรตอบเลข 1.0 หรือ 0.50 (เฉลย 1.0)
88. วิชามารที่4 : ช้อยส์ที่ลวงไว้เผื่อเด็กคิดเลขผิด
ฟิสิกส์ มีนา46    ก. 0.4    ข. 0.6    ค. 0.8    ง. 1.3
(เฉลย 0.8)
- เหตุผลและการวิเคราะห์ : ช้อยส์แบบนี้มีเยอะเลยแหละ อย่างที่บอกไปแล้วว่าคิดผิดก็มีคำตอบรออยู่ คนออกข้อสอบเขาจะเผื่อคำตอบที่เด็กอาจจะคิดเลขผิดไว้ก็ได้ เช่น ลืมหาร 2 ในข้อที่ให้หาค่าเฉลี่ย, ลืมคูณ 2 ในข้อที่หารัศมีได้แต่ถามเป็นเส้นผ่านศูนย์กลาง, คิดเลขทศนิยมพลาด ทำให้ได้ทศนิยมผิดตำแหน่ง, ย้ายข้างสมการพลาด ทำให้ได้เศษส่วนที่ผิด เป็นต้น ดังนั้นเราควรจะหัดสังเกตช้อยส์ที่อาจจะถูกวางไว้เป็นหลุมพรางให้เด็กที่คิดเลขผิดตกเล่นไว้บ้าง เพราะช้อยส์นั้น อาจจะเป็นคำตอบที่ถูกก็ได้
เคมี ตุลา45     ก. 2.5    ข. 25    ค. 75    ง. 85
- อธิบาย : ข้อนี้เผื่อว่าเด็กจะคิดเลขทศนิยมพลาด ควรตอบ 2.5 หรือ 25 (เฉลย 25)
89. วิชามารที่5 : ช้อยส์ที่มีตัวร่วมมาก ๆ
ชีววิทยา ตุลา45
ก. โมโนไซต์    เซลล์พลาสมา        นิวโทรฟิล        ลิมโฟไซต์ ที
ข. นิวโทรฟิล        ลิมโฟไซต์ ที        เซลล์พลาสมา    โมโนไซต์
ค. ลิมโฟไซต์ ที        นิวโทรฟิล    โมโนไซต์        เซลล์พลาสมา
ง. โมโนไซต์    นิวโทรฟิล    เซลล์พลาสมา    ลิมโฟไซต์ ที
(เฉลย ง.)
- เหตุผลและการวิเคราะห์ : ลักษณะการวางช้อยส์แบบนี้มีเจตนาเพื่อที่จะวัดความรู้ของเราให้มากที่สุดนั้นเอง สมมติว่า ตัวแรกเรารู้ว่าต้องตอบ “โมโนไซต์” เราก็ต้องคิดต่อไปอีกว่าตัวต่อไปจะตอบอะไร เพราะโมโนไซต์มีตั้ง 2 ช้อยส์แหนะ หรือว่า ถ้าเรารู้ว่าตัวที่สองต้องตอบ “นิวโทรฟิล” เราก็ต้องคิดต่อไปอีกเหมือนกันว่าน่าจะตอบช้อยส์ไหน เพราะมี “นิวโทรฟิล” ตั้ง 2 ช้อยส์เหมือนกัน จึงอาจสังเกตได้ว่าช้อยส์ไหนที่มีตัวร่วมของคำตอบมาก ๆ ช้อยส์นั้นควรจะเป็นผู้ต้องสงสัยว่าจะเป็นคำตอบมากที่สุด
เคมี ตุลา46
ก. สติบไนต์    สังกะสี    สฟาเลอไรต์        เซรามิกส์ทนไฟ
ข. เฮมิมอร์ไฟต์        ดีบุก        แคสสิเทอไรต์        อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
ค. สติบิโคไนต์        สังกะสี    เฮมิมอร์ไรต์        เซลล์สุริยะ
ง. สติบไนต์    แทนทาลัม    ตะกรันดีบุก        ชิ้นส่วนจรวด   
- อธิบาย : ช้อยส์ ก. มีทั้ง สติบไนต์ และสังกะสี ต้องสงสัยว่าจะเป็นคำตอบมากที่สุด (เฉลย ก.)
90. วิชามารที่6 : ช้อยส์คู่ขนาน
พื้นฐานทางวิศวกรรม ตุลา45
ก. แรงลอยตัวที่เกิดจากของไหลมีค่าคงที่
ข. ความเร่งของลูกกลมเหล็กลดลงจนมีค่าเท่ากับศูนย์
ค. แรงหนืดจะมีค่าเพิ่มขึ้นจนมีค่ามากที่สุด แล้วคงตัว
ง. แรงหนืดจะมีค่าลดลงจนมีค่าเท่ากับศูนย์
(เฉลย ง.)
เหตุผลและการวิเคราะห์ : เราจะเห็นได้ชัด ๆ ว่าช้อยส์คู่ขนานที่เป็นแฝดคนละฝานั้น มันขัดแย้งกันอยู่ชัด ๆ นี้แหละ เป็นที่น่าสงสัยว่าช้อยส์ไหนจะเป็นตัวจริงหรือตัวปลอม อาจสังเกตได้ว่าถ้าเราเจอช้อยส์ที่คู่ขนานแบบนี้ ไม่ช้อยส์ใดก็ช้อยส์หนึ่งนี้แหละ ที่ควรจะเป็นคำตอบ
สังคมศึกษา ตุลา46
ก. ระบบไพร่เป็นอุปสรรคต่อการยกเลิกระบบทาส
ข. ระบบไพร่เป็นอุปสรรคที่สำคัญในการปรับปรุงประเทศ
ค. มหาอำนาจตะวันตกบีบบังคับให้ไทยยกเลิกระบบไพร่
ง. พระมหากษัตริย์และพระราชวงศ์ไม่สามารถควบคุมไพร่ได้
- อธิบาย : ช้อยส์ ก. และ ข. เป็นช้อยส์ที่คู่ขนาดกัน และมีความขัดแย้งกันอย่างเห็นได้ชัด ช้อยส์ใดช้อยส์หนึ่งน่าจะเป็นคำตอบ (เฉลย ข.)
เคมี ตุลา42
ก. เมื่อสาร x ละลายในน้ำ อุณหภูมิของระบบเพิ่มขึ้น
ข. เมื่อสาร x ละลายในน้ำ อุณหภูมิของระบบจะลดลง
ค. การละลายของสาร x เพิ่มขึ้นตามอุณหภูมิ
ง. สาร x จะละลายน้ำได้ที่อุณหภูมิต่ำกว่าศูนย์องศาเซลเซียส
- อธิบาย : ช้อยส์ ก. และ ข. เป็นช้อยส์คู่ขนานและขัดแย้งกันชัด ๆ ช้อยส์ใดช้อยส์หนึ่งน่าจะเป็นคำตอบ (เฉลย ก.)
91. ไหน ๆ ก็เรียนรู้เทคนิควิเคราะห์การวางช้อยส์มาบ้างแล้ว จะลองวิเคราะห์เองดูบ้างไหมล่ะ แต่ก่อนที่จะลองวิเคราะห์เอง ควรจะศึกษาเหตุผลและการวิเคราะห์ให้ถ่องแท้ก่อนนะ ไม่อย่างนั้นจะเสียดายตัวอย่างที่หามาให้ ซึ่งจะคละแบบให้ เพื่อให้สมจริงสมจังกับสถานการณ์จนตรอกมากที่สุด และอย่าลืมว่าตอนที่เราจนตรอก ให้คิดซะว่า “ถ้าเราเป็นคนออกข้อสอบข้อนี้ จะวางช้อยส์ยังไง” อย่างน้อยที่สุดก็ควรจะเลือกช้อยส์ที่น่าจะเป็นคำตอบได้สัก 2 ช้อยส์ หรือบางข้ออาจจะตัดจนเหลือช้อยส์เดียวเลยก็เป็นไปได้ ถ้าทำไปสัก 6-7 ข้อแล้ว ชักจะหวั่น ๆ ไม่แน่ใจว่าเราวิเคราะห์ถูกรึเปล่า ก็ลองแอบดูเฉลยก่อนได้นะ เผื่อว่าอาจจะมีบางจุดที่ยังไม่เข้าใจแจ่มแจ้ง แล้วค่อยลองทำข้อที่เหลือกันต่อ (ตรวจสอบคำตอบได้จาก ข้อ 92. นะครับ)
I ฟิสิกส์ ตุลา45
ก. 48        ข. 75        ค. 288        ง. 2880
II เคมี ตุลา45
ก. เท่ากัน เนื่องจากสารละลายเข้มข้นเท่ากัน
ข. จุดเยือกแข็งของสารละลายกลูโคสต่ำกว่าของสารละลายน้ำตาลทรายประมาณ 10c
ค. จุดเยือกแข็งของสารละลายน้ำตาลทรายต่ำกว่าของสารละลายกลูโคสประมาณ 10c
ง. จุดเยือกแข็งของสารละลายกลูโคสจะต่ำกว่าของสารละลายน้ำตาลทรายประมาณเท่าตัวเสมอ ไม่ว่าความเข้มข้นจะเป็นเท่าใด
III ชีววิทยา ตุลา46
ก. สีเหลือง    มีตะกอน    สีน้ำเงิน        ไม่มีตะกอน    สีน้ำเงิน        ไม่มีตะกอน
ข. สีเหลือง    ไม่มีตะกอน    สีน้ำเงิน        ไม่มีตะกอน    สีเหลือง        ไม่มีตะกอน
ค. สีเหลือง    มีตะกอน    สีเหลือง        มีตะกอน    สีเหลือง        มีตะกอน
ง. สีเหลือง    มีตะกอน    สีเหลือง        มีตะกอน    สีน้ำเงิน        ไม่มีตะกอน
IV คณิตศาสตร์1 ตุลา46
ก. 5        ข. 4        ค. 3.5        ง. 2
V สังคมศึกษา ตุลา46
ก. เพื่อให้ประชาชนมีเสรีภาพ   
ข. เพื่อยกเลิกลัทธิพาณิชยนิยม
ค. เพื่อให้ประชาชนเลือกนับถือศาสนาได้
ง. เพื่อแก้ไขระบบการเลื่อนชั้นในสังคม
VI ฟิสิกส์ 40
ก. 0.7        ข. 1.4        ค. 1.5        ง. 1.7
VII เคมี ตุลา42
ก. -91    -8.8    32    98    -42    330
ข. -188    32    -91    -42    330    98
ค. -188    -91    32    -42    98    330
ง. 32    -91    -188    330    98    -42
VIII สังคมศึกษา ตุลา45
ก. 1,000 ล้านบาท    ข. 940 ล้านบาท        ค. 900 ล้านบาท        ง. 840 ล้านบาท
IX ฟิสิกส์ 39
ก. นิวตรอน
ข. โปรตอน
ค. ผลรวมของนิวตรอนและโปรตอน
ง. ผลต่างของนิวตรอนและโปรตอน
X เคมี ตุลา42
ก. 20        ข. 198        ค. 316        ง. 396
XI คณิตศาสตร์1 ตุลา46
ก. รูท8        ข. รูท7        ค. รูท6        ง. รูท5
XII ฟิสิกส์ 39
ก. 0.75        ข. 0.50        ค. 0.40        ง. 0.33
XIII เคมี มีนา43
ก. 19.3        ข. 40.4        ค. 59.6        ง. 80.7
XIV ชีววิทยา ตุลา46
ก. อะดรีนัลเมดัลลา        พาราไทรอยด์
ข. อะดรีนัลเมดัลลา        ไทรอยด์
ค. ต่อมใต้สมองส่วนหลัง        พาราไทรอยด์
ง. ไอส์เลตออฟแลงเกอร์ฮานส์    ไทรอยด์
XV สังคมศึกษา ตุลา46
ก. ส่งกองกำลังเข้าร่วมรบในสงครามเกาหลี
ข. ส่งกองกำลังเข้าร่วมรบในสงครามเวียดนาม
ค. ส่งกองกำลังเข้ารักษาความสงบในติมอร์ตะวันออก
ง. ส่งแพทย์สนามเข้ารักษาการในสงครามอ่าวเปอร์เซียครั้งแรก
XVI เคมี มีนา44
ก. Na    Zn    Cu    Ag
ข. Zn    Na    Cu    Ag
ค. Cu    Zn    Ag    Na
ง. Ag    Cu    Zn     Na
XVII พื้นฐานทางวิศวกรรม มีนา45    
ก. 126        ข. 120        ค. 114        ง. 100
92. ในยามจนตรอกในห้องสอบจริง ๆ อย่าลืมใช้วิธีการตัดช้อยส์ช่วยด้วยนะ เพราะมันจะทำให้เรามีโอกาสถูกยิ่งขึ้นยังไงล่ะ ทีนี้ลองมาดูเฉลยกันนะครับ
I ควรตอบ 288 หรือ 2880 (เฉลย 2880)
II ควรตอบช้อยส์คู่ขนาน ข. หรือ ค. (เฉลย ข.)
III ควรตอบช้อยส์ที่มีตัวร่วมมาก ๆ ก. หรือ ง. (เฉลย ง.)
IV ควรตอบเลขมาก 5 หรือ 4 (เฉลย 4)
V ควรตอบช้อยส์คู่ขนาน ก. หรือ ค. (เฉลย ก.)
VI ควรตอบ 0.7 หรือ 1.4 (เฉลย 1.4)
VII ควรตอบช้อยส์ที่มีตัวร่วมมาก ๆ  ค. ข้อนี้ชัดมาก (เฉลย ค.)
VIII ควรตอบเลขมาก 1,000 หรือ 940 (เฉลย 940)
IX ควรตอบช้อยส์คู่ขนาน ค. หรือ ง. (เฉลย ค.)
X ควรตอบ 198 หรือ 396 (เฉลย 198)
XI ควรตอบเลขมาก รูท8 หรือ รูท7 (เฉลย รูท7)
XII ควรตอบเลขมาก 0.75 หรือ 0.50 (เฉลย 0.75)
XIII ควรตอบ 40.4 หรือ 80.7 (เฉลย 80.7)
XIV ควรตอบช้อยส์ที่มีตัวร่วมมาก ๆ ก. หรือ ข. (เฉลย ก.)
XV ควรตอบช้อยส์คู่ขนาน ก. หรือ ข. (เฉลย ข.)
XVI ควรตอบช้อยส์ที่มีตัวร่วมมาก ๆ ก. ข้อนี้ชัดมาก (เฉลย ก.)
XVII ควรตอบเลขมาก 126 หรือ 120 (เฉลย 120)
93. สำหรับเทคนิควิเคราะห์การวางช้อยส์ก็เป็นทฤษฎีของผมที่ได้จากการสังเกตและวิเคราะห์อย่างเป็นเหตุเป็นผลนะครับ ถ้าจะถามว่าสามารถใช้ได้จริงไหม ก็ต้องแนะนำว่าควรใช้ในสถานการณ์จนตรอกเท่านั้น หรือถ้าจะบอกว่ามันไม่น่าจะสามารถใช้ได้จริง อันนี้ก็คงต้องหาทางอธิบายให้ได้ว่า ทำไมวิชามารดังกล่าวจึงสามารถใช้ได้กับข้อสอบเอนท์ในหลายวิชา และในหลาย ๆ ปีได้ มันก็เป็นเพียงแนวทางหนึ่งในการเอาตัวรอดในห้องสอบเท่านั้นนะครับ อันที่จริงแล้ว ยังมีวิชามารอีกเพียบเลย แต่อันนี้ต้องลองค้นคว้ากันเอาเองบ้างนะ วิชามารก็เหมือนดาบสองคมนะครับ จะมีประโยชน์หรือโทษก็ขึ้นอยู่กับผู้ที่นำไปใช้ว่ารู้จักที่จะใช้ประโยชน์จากมันมากน้อยแค่ไหน
81. อย่างที่บอกไปแล้ว ทุกคะแนนมีค่า ยังไง ๆ เราก็ต้องโกยคะแนนให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ แม้ในยามจนตรอกก็ต้องโกยเท่าที่โกยได้ ถ้าไม่โกยด้วยเล่ห์ ก็ต้องโกยด้วยกล ถ้าไม่โกยด้วยมนต์ ก็ต้องโกยด้วยคาถา แน่นอนล่ะ เราคงไม่สามารถจะทำข้อสอบได้ทุกข้อหรอก จริงไหม? เวลาอยู่ในห้องสอบก็คงจะต้องมั่วกันบ้าง แต่จะมั่วแบบวัดดวงประเภทหมุนปากกา แล้วดูว่าหัวปากกาหันไปทางช้อยส์ไหนก็กาช้อยส์นั้น อันนี้ก็คงจะดูไม่ค่อยน่ารักสักเท่าไร เราลองมาดูเทคนิคการมั่วแบบน่ารัก ๆ แบบที่มั่วแล้วสมควรจะเอนท์ติดจะดีกว่าไหม
82. ก่อนที่จะมาดูวิชามาร เรามาตกลงกันก่อนนะว่า เราไม่ได้มีเจตนาจะส่งเสริมให้คุณมั่ว เพียงแต่เจตนาจะให้คุณสู้แม้ในยามจนตรอก มั่วอย่างมีเหตุมีผล เพื่อให้มั่วได้เจอคำตอบที่น่าจะถูกมากที่สุด อย่างน้อยก็ดีกว่าแบบหลับตาจิ้มก็แล้วกัน
ข้อตกลง “จนตรอก” หมายถึง ทำไม่ได้ หรือทำไม่ทันจริง ๆ กรุณาทำความเข้าใจกับข้อตกลงของคำว่า “จนตรอก” ให้ดี ๆ นะ เพราะวิชามารจะมีประสิทธิภาพก็ต่อเมื่ออยู่ในสถานการณ์จนตรอกเท่านั้น (ในสถานการณ์ที่ทำข้อสอบได้และยังมีเวลาเหลือเฟือ วิชามารเหล่านี้แทบไม่ได้ผลอะไรเลย)
83. conceptของวิชามารก็คือ ถ้าจะมั่ว ก็ควรจะมั่วด้วยเหตุผล มั่วโดยใช้ความรู้เท่าที่มีอยู่ และมั่วโดยวิเคราะห์ลักษณะการวางช้อยส์ เพื่อให้มีโอกาสถูกมากยิ่งขึ้น ถึงเราจะจนตรอกเราก็ต้องสู้นะ ต้องโกยคะแนนให้ได้มากที่สุด ไม่ควรจะมั่วโดยอาศัยดวง คิดเหรอว่าจะดวงดีเสมอไป เพื่อการประยุกต์ใช้ที่ได้ผลคุณควรทำความเข้าใจถึงเหตุผลในแต่ละวิชามารด้วยนะ
84. วิชามารที่1 : ข้อสอบอัตนัย คิดหรือว่าจะมั่วไม่ได้
ข้อสอบอัตนัย อย่างน้อย ๆ ถึงเราจะจนตรอก เราก็ควรจะตอบเลขที่สมเหตุสมผลมากที่สุด ลองดูตัวอย่างเป็นไกด์ไลน์นำทางก่อนละกัน ให้พอปิ๊งไอเดีย แล้วค่อยนำไปประยุกต์ใช้ในห้องสอบ
เคมี ตุลา46 นำไขมันประเภทไตรกลีเซอไรด์ชนิดหนึ่งหนัก 8.80g มาต้มกับสารละลายKOH เข้มข้น 1.00 mol.dm-3 ปริมาตร 50 cm3 จนเกิดปฏิกิริยาอย่างสมบูรณ์ แล้วนำของผสมที่ได้มาไทเทรตกับสารละลายHCl เข้มข้น 0.50 mol.dm-3 โดยใช้ฟีนอล์ฟทาลีนเป็นอินดิเคเตอร์ พบว่าที่จุดยุติใช้สารละลายHCl 40 cm3 ถ้ากรดไขมันเป็นชนิดเดียวกันทั้งหมด จงคำนวณความยาวของโซ่คาร์บอนของกรดไขมัน(รวมคาร์บอนในหมู่คาร์บอกซิลด้วยและปัดเศษเป็นเลขจำนวนเต็มในคำตอบสุดท้าย)
- สมมติว่าทำข้อนี้ไม่ได้จริง ๆ  ก็ควรจะตอบC18 เพราะกรดสเตียริกเป็นกรดไขมันที่พบมากและชอบออกข้อสอบเอนท์บ่อยด้วย (เห็นประโยชน์ของข้อสอบเก่ารึยัง) ถ้าตอบผิดก็ไม่เป็นไร เพราะเรามั่วนี้น่า แต่ถ้าเกิดมั่วถูกขึ้นมาอ่ะ 4 คะแนนเลยนะ แซงคนอื่นไป 4 พันคน เราไม่ได้มั่วแบบซี้ซัว แต่เรามั่วแบบมีเหตุผลนะ
ฟิสิกส์ มีนา47 วงกลมโลหะกลวง 2 ใบ มีผิวบางมาก มีรัศมี 2 และ 4 เซนติเมตร มีจุดศูนย์กลางร่วมกัน วงกลมอันนอกต่อกับดิน ซึ่งความต่างศักย์ไฟฟ้าเป็นศูนย์ ทรงกลมอันในมีประจุบวก 0.2 นาโนคูลอมบ์ ถามว่าจุดศูนย์กลางของวงกลมทั้งสองมีศักย์ไฟฟ้ากี่โวลต์ ถ้าระบบทั้งหมดอยู่ในสุญญากาศ
- ถ้าทำไม่ได้จริง ๆ น่าจะเอะใจนิด ๆ ว่า เขากำหนดเลข 10-9 (นาโนคูลอมบ์) มามันจะฝนคำตอบลงไปได้ยังไง แสดงว่ามันต้องเอาไปคูณกับค่าK(109) ก่อนสิ เลขยกกำลังถึงจะหายไป แล้วรัศมีเขาให้มาทำไม ลองคูณหรือหารดูจะได้คำตอบใกล้เคียงบ้างไหม พอจะเข้าใจไหมว่าคนออกข้อสอบเขาออกเป็นอัตนัยมาใช่ไหม เขาก็ต้องกำหนดตัวเลขให้มันคำนวณแล้วลงตัวสามารถฝนลงในกระดาษคำตอบได้ มั่วแบบมีเหตุผลแบบนี้ก็จะมีโอกาสถูกเพิ่มขึ้น
85. วิชามารที่2 : การตัดช้อยส์
ถ้าเราจนตรอกจริง ๆ อย่าเพิ่งฝนไปมั่ว ๆ หรือวัดดวงเอานะ อย่างน้อย ๆ เราควรจะลองตัดช้อยส์ที่มันผิดชัวร์ ๆ ก่อน ตัดออกไปเลย ก็จะมีโอกาสถูกเพิ่มขึ้น
86. ช้อยส์ทั้งหลายแหล่ที่เขาวางมานั้น เขาวางมาอย่างดีเลยนะ บางทีเราคิดผิดก็มีคำตอบรอไว้เลย ออกมาจากห้องสอบดีใจมีคำตอบทุกข้อ ทำได้ทุกข้อเลย แต่คะแนนออกมาไม่ดีก็เพราะเหตุนี้แหละ เมื่อเราจนตรอก ให้ลองวิเคราะห์การวางช้อยส์ดี ๆ คิดซะว่า ถ้าเราเป็นคนออกข้อสอบข้อนี้จะวางช้อยส์ยังไง สวมวิญญาณคนออกข้อสอบเลย ขอย้ำว่าวิชามารไม่สามารถจะนำไปใช้ในการทำข้อสอบได้ทุกข้อนะ เพียงแต่นำไปใช้ในการทำข้อสอบได้หลายข้อเท่านั้น วิชามารไม่มีรูปแบบที่ตายตัว ควรจะใช้การตัดช้อยส์ประกอบกันไปด้วยเพื่อที่จะได้ข้อที่ควรจะเป็นคำตอบมากที่สุด บางทีอาจจะตัดได้จนเหลือช้อยส์เดียวก็เป็นไปได้ ถ้าวิเคราะห์เก่ง ๆ  ต่อจากนี้ไปเป็นเพียงตัวอย่างการวิเคราะห์การวางช้อยส์เท่านั้นนะ ถ้าพอจะเป็นแล้ว ก็ลองไปฝึกวิเคราะห์การวางช้อยส์เอาเองยามจนตรอกในการซ้อมทำข้อสอบเก่า เพื่อจะได้ใช้จริงยามจนตรอกในห้องสอบ
87. วิชามารที่3 : ช้อยส์ที่ไล่จากเลขมากไปน้อย
คณิตศาสตร์1 ตุลา46     ก.4     ข.3    ค.2    ง.1       
(เฉลย ข.)
- เหตุผลและการวิเคราะห์ : โดยธรรมชาติมนุษย์ คนออกข้อสอบควรจะวางช้อยส์ไล่จากเลขน้อยไปมากถูกไหม แต่ไหงมันถึงไล่จากเลขมากไปหาเลขน้อยล่ะ น่าสงสัยนะ ถ้าเจอช้อยส์ที่เรียงเลขจากมากไปน้อยในลักษณะนี้ ขอแค่เรียงจากมากไปน้อยก็ผิดสังเกตแล้วล่ะ ช้อยส์ที่ควรจะเป็นคำตอบมากที่สุดคือ เลขมาก ก. หรือ ข. นั้นเอง
ฟิสิกส์ ตุลา44    ก. 1.0    ข. 0.50    ค. 0.25    ง. 0.12
- อธิบาย : ข้อนี้ก็เรียงจากเลขมากไปน้อยเช่นเดียวกัน ควรตอบเลข 1.0 หรือ 0.50 (เฉลย 1.0)
88. วิชามารที่4 : ช้อยส์ที่ลวงไว้เผื่อเด็กคิดเลขผิด
ฟิสิกส์ มีนา46    ก. 0.4    ข. 0.6    ค. 0.8    ง. 1.3
(เฉลย 0.8)
- เหตุผลและการวิเคราะห์ : ช้อยส์แบบนี้มีเยอะเลยแหละ อย่างที่บอกไปแล้วว่าคิดผิดก็มีคำตอบรออยู่ คนออกข้อสอบเขาจะเผื่อคำตอบที่เด็กอาจจะคิดเลขผิดไว้ก็ได้ เช่น ลืมหาร 2 ในข้อที่ให้หาค่าเฉลี่ย, ลืมคูณ 2 ในข้อที่หารัศมีได้แต่ถามเป็นเส้นผ่านศูนย์กลาง, คิดเลขทศนิยมพลาด ทำให้ได้ทศนิยมผิดตำแหน่ง, ย้ายข้างสมการพลาด ทำให้ได้เศษส่วนที่ผิด เป็นต้น ดังนั้นเราควรจะหัดสังเกตช้อยส์ที่อาจจะถูกวางไว้เป็นหลุมพรางให้เด็กที่คิดเลขผิดตกเล่นไว้บ้าง เพราะช้อยส์นั้น อาจจะเป็นคำตอบที่ถูกก็ได้
เคมี ตุลา45     ก. 2.5    ข. 25    ค. 75    ง. 85
- อธิบาย : ข้อนี้เผื่อว่าเด็กจะคิดเลขทศนิยมพลาด ควรตอบ 2.5 หรือ 25 (เฉลย 25)
89. วิชามารที่5 : ช้อยส์ที่มีตัวร่วมมาก ๆ
ชีววิทยา ตุลา45
ก. โมโนไซต์    เซลล์พลาสมา        นิวโทรฟิล        ลิมโฟไซต์ ที
ข. นิวโทรฟิล        ลิมโฟไซต์ ที        เซลล์พลาสมา    โมโนไซต์
ค. ลิมโฟไซต์ ที        นิวโทรฟิล    โมโนไซต์        เซลล์พลาสมา
ง. โมโนไซต์    นิวโทรฟิล    เซลล์พลาสมา    ลิมโฟไซต์ ที
(เฉลย ง.)
- เหตุผลและการวิเคราะห์ : ลักษณะการวางช้อยส์แบบนี้มีเจตนาเพื่อที่จะวัดความรู้ของเราให้มากที่สุดนั้นเอง สมมติว่า ตัวแรกเรารู้ว่าต้องตอบ “โมโนไซต์” เราก็ต้องคิดต่อไปอีกว่าตัวต่อไปจะตอบอะไร เพราะโมโนไซต์มีตั้ง 2 ช้อยส์แหนะ หรือว่า ถ้าเรารู้ว่าตัวที่สองต้องตอบ “นิวโทรฟิล” เราก็ต้องคิดต่อไปอีกเหมือนกันว่าน่าจะตอบช้อยส์ไหน เพราะมี “นิวโทรฟิล” ตั้ง 2 ช้อยส์เหมือนกัน จึงอาจสังเกตได้ว่าช้อยส์ไหนที่มีตัวร่วมของคำตอบมาก ๆ ช้อยส์นั้นควรจะเป็นผู้ต้องสงสัยว่าจะเป็นคำตอบมากที่สุด
เคมี ตุลา46
ก. สติบไนต์    สังกะสี    สฟาเลอไรต์        เซรามิกส์ทนไฟ
ข. เฮมิมอร์ไฟต์        ดีบุก        แคสสิเทอไรต์        อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
ค. สติบิโคไนต์        สังกะสี    เฮมิมอร์ไรต์        เซลล์สุริยะ
ง. สติบไนต์    แทนทาลัม    ตะกรันดีบุก        ชิ้นส่วนจรวด   
- อธิบาย : ช้อยส์ ก. มีทั้ง สติบไนต์ และสังกะสี ต้องสงสัยว่าจะเป็นคำตอบมากที่สุด (เฉลย ก.)
90. วิชามารที่6 : ช้อยส์คู่ขนาน
พื้นฐานทางวิศวกรรม ตุลา45
ก. แรงลอยตัวที่เกิดจากของไหลมีค่าคงที่
ข. ความเร่งของลูกกลมเหล็กลดลงจนมีค่าเท่ากับศูนย์
ค. แรงหนืดจะมีค่าเพิ่มขึ้นจนมีค่ามากที่สุด แล้วคงตัว
ง. แรงหนืดจะมีค่าลดลงจนมีค่าเท่ากับศูนย์
(เฉลย ง.)
เหตุผลและการวิเคราะห์ : เราจะเห็นได้ชัด ๆ ว่าช้อยส์คู่ขนานที่เป็นแฝดคนละฝานั้น มันขัดแย้งกันอยู่ชัด ๆ นี้แหละ เป็นที่น่าสงสัยว่าช้อยส์ไหนจะเป็นตัวจริงหรือตัวปลอม อาจสังเกตได้ว่าถ้าเราเจอช้อยส์ที่คู่ขนานแบบนี้ ไม่ช้อยส์ใดก็ช้อยส์หนึ่งนี้แหละ ที่ควรจะเป็นคำตอบ
สังคมศึกษา ตุลา46
ก. ระบบไพร่เป็นอุปสรรคต่อการยกเลิกระบบทาส
ข. ระบบไพร่เป็นอุปสรรคที่สำคัญในการปรับปรุงประเทศ
ค. มหาอำนาจตะวันตกบีบบังคับให้ไทยยกเลิกระบบไพร่
ง. พระมหากษัตริย์และพระราชวงศ์ไม่สามารถควบคุมไพร่ได้
- อธิบาย : ช้อยส์ ก. และ ข. เป็นช้อยส์ที่คู่ขนาดกัน และมีความขัดแย้งกันอย่างเห็นได้ชัด ช้อยส์ใดช้อยส์หนึ่งน่าจะเป็นคำตอบ (เฉลย ข.)
เคมี ตุลา42
ก. เมื่อสาร x ละลายในน้ำ อุณหภูมิของระบบเพิ่มขึ้น
ข. เมื่อสาร x ละลายในน้ำ อุณหภูมิของระบบจะลดลง
ค. การละลายของสาร x เพิ่มขึ้นตามอุณหภูมิ
ง. สาร x จะละลายน้ำได้ที่อุณหภูมิต่ำกว่าศูนย์องศาเซลเซียส
- อธิบาย : ช้อยส์ ก. และ ข. เป็นช้อยส์คู่ขนานและขัดแย้งกันชัด ๆ ช้อยส์ใดช้อยส์หนึ่งน่าจะเป็นคำตอบ (เฉลย ก.)
91. ไหน ๆ ก็เรียนรู้เทคนิควิเคราะห์การวางช้อยส์มาบ้างแล้ว จะลองวิเคราะห์เองดูบ้างไหมล่ะ แต่ก่อนที่จะลองวิเคราะห์เอง ควรจะศึกษาเหตุผลและการวิเคราะห์ให้ถ่องแท้ก่อนนะ ไม่อย่างนั้นจะเสียดายตัวอย่างที่หามาให้ ซึ่งจะคละแบบให้ เพื่อให้สมจริงสมจังกับสถานการณ์จนตรอกมากที่สุด และอย่าลืมว่าตอนที่เราจนตรอก ให้คิดซะว่า “ถ้าเราเป็นคนออกข้อสอบข้อนี้ จะวางช้อยส์ยังไง” อย่างน้อยที่สุดก็ควรจะเลือกช้อยส์ที่น่าจะเป็นคำตอบได้สัก 2 ช้อยส์ หรือบางข้ออาจจะตัดจนเหลือช้อยส์เดียวเลยก็เป็นไปได้ ถ้าทำไปสัก 6-7 ข้อแล้ว ชักจะหวั่น ๆ ไม่แน่ใจว่าเราวิเคราะห์ถูกรึเปล่า ก็ลองแอบดูเฉลยก่อนได้นะ เผื่อว่าอาจจะมีบางจุดที่ยังไม่เข้าใจแจ่มแจ้ง แล้วค่อยลองทำข้อที่เหลือกันต่อ (ตรวจสอบคำตอบได้จาก ข้อ 92. นะครับ)
I ฟิสิกส์ ตุลา45
ก. 48        ข. 75        ค. 288        ง. 2880
II เคมี ตุลา45
ก. เท่ากัน เนื่องจากสารละลายเข้มข้นเท่ากัน
ข. จุดเยือกแข็งของสารละลายกลูโคสต่ำกว่าของสารละลายน้ำตาลทรายประมาณ 10c
ค. จุดเยือกแข็งของสารละลายน้ำตาลทรายต่ำกว่าของสารละลายกลูโคสประมาณ 10c
ง. จุดเยือกแข็งของสารละลายกลูโคสจะต่ำกว่าของสารละลายน้ำตาลทรายประมาณเท่าตัวเสมอ ไม่ว่าความเข้มข้นจะเป็นเท่าใด
III ชีววิทยา ตุลา46
ก. สีเหลือง    มีตะกอน    สีน้ำเงิน        ไม่มีตะกอน    สีน้ำเงิน        ไม่มีตะกอน
ข. สีเหลือง    ไม่มีตะกอน    สีน้ำเงิน        ไม่มีตะกอน    สีเหลือง        ไม่มีตะกอน
ค. สีเหลือง    มีตะกอน    สีเหลือง        มีตะกอน    สีเหลือง        มีตะกอน
ง. สีเหลือง    มีตะกอน    สีเหลือง        มีตะกอน    สีน้ำเงิน        ไม่มีตะกอน
IV คณิตศาสตร์1 ตุลา46
ก. 5        ข. 4        ค. 3.5        ง. 2
V สังคมศึกษา ตุลา46
ก. เพื่อให้ประชาชนมีเสรีภาพ   
ข. เพื่อยกเลิกลัทธิพาณิชยนิยม
ค. เพื่อให้ประชาชนเลือกนับถือศาสนาได้
ง. เพื่อแก้ไขระบบการเลื่อนชั้นในสังคม
VI ฟิสิกส์ 40
ก. 0.7        ข. 1.4        ค. 1.5        ง. 1.7
VII เคมี ตุลา42
ก. -91    -8.8    32    98    -42    330
ข. -188    32    -91    -42    330    98
ค. -188    -91    32    -42    98    330
ง. 32    -91    -188    330    98    -42
VIII สังคมศึกษา ตุลา45
ก. 1,000 ล้านบาท    ข. 940 ล้านบาท        ค. 900 ล้านบาท        ง. 840 ล้านบาท
IX ฟิสิกส์ 39
ก. นิวตรอน
ข. โปรตอน
ค. ผลรวมของนิวตรอนและโปรตอน
ง. ผลต่างของนิวตรอนและโปรตอน
X เคมี ตุลา42
ก. 20        ข. 198        ค. 316        ง. 396
XI คณิตศาสตร์1 ตุลา46
ก. รูท8        ข. รูท7        ค. รูท6        ง. รูท5
XII ฟิสิกส์ 39
ก. 0.75        ข. 0.50        ค. 0.40        ง. 0.33
XIII เคมี มีนา43
ก. 19.3        ข. 40.4        ค. 59.6        ง. 80.7
XIV ชีววิทยา ตุลา46
ก. อะดรีนัลเมดัลลา        พาราไทรอยด์
ข. อะดรีนัลเมดัลลา        ไทรอยด์
ค. ต่อมใต้สมองส่วนหลัง        พาราไทรอยด์
ง. ไอส์เลตออฟแลงเกอร์ฮานส์    ไทรอยด์
XV สังคมศึกษา ตุลา46
ก. ส่งกองกำลังเข้าร่วมรบในสงครามเกาหลี
ข. ส่งกองกำลังเข้าร่วมรบในสงครามเวียดนาม
ค. ส่งกองกำลังเข้ารักษาความสงบในติมอร์ตะวันออก
ง. ส่งแพทย์สนามเข้ารักษาการในสงครามอ่าวเปอร์เซียครั้งแรก
XVI เคมี มีนา44
ก. Na    Zn    Cu    Ag
ข. Zn    Na    Cu    Ag
ค. Cu    Zn    Ag    Na
ง. Ag    Cu    Zn     Na
XVII พื้นฐานทางวิศวกรรม มีนา45    
ก. 126        ข. 120        ค. 114        ง. 100
92. ในยามจนตรอกในห้องสอบจริง ๆ อย่าลืมใช้วิธีการตัดช้อยส์ช่วยด้วยนะ เพราะมันจะทำให้เรามีโอกาสถูกยิ่งขึ้นยังไงล่ะ ทีนี้ลองมาดูเฉลยกันนะครับ
I ควรตอบ 288 หรือ 2880 (เฉลย 2880)
II ควรตอบช้อยส์คู่ขนาน ข. หรือ ค. (เฉลย ข.)
III ควรตอบช้อยส์ที่มีตัวร่วมมาก ๆ ก. หรือ ง. (เฉลย ง.)
IV ควรตอบเลขมาก 5 หรือ 4 (เฉลย 4)
V ควรตอบช้อยส์คู่ขนาน ก. หรือ ค. (เฉลย ก.)
VI ควรตอบ 0.7 หรือ 1.4 (เฉลย 1.4)
VII ควรตอบช้อยส์ที่มีตัวร่วมมาก ๆ  ค. ข้อนี้ชัดมาก (เฉลย ค.)
VIII ควรตอบเลขมาก 1,000 หรือ 940 (เฉลย 940)
IX ควรตอบช้อยส์คู่ขนาน ค. หรือ ง. (เฉลย ค.)
X ควรตอบ 198 หรือ 396 (เฉลย 198)
XI ควรตอบเลขมาก รูท8 หรือ รูท7 (เฉลย รูท7)
XII ควรตอบเลขมาก 0.75 หรือ 0.50 (เฉลย 0.75)
XIII ควรตอบ 40.4 หรือ 80.7 (เฉลย 80.7)
XIV ควรตอบช้อยส์ที่มีตัวร่วมมาก ๆ ก. หรือ ข. (เฉลย ก.)
XV ควรตอบช้อยส์คู่ขนาน ก. หรือ ข. (เฉลย ข.)
XVI ควรตอบช้อยส์ที่มีตัวร่วมมาก ๆ ก. ข้อนี้ชัดมาก (เฉลย ก.)
XVII ควรตอบเลขมาก 126 หรือ 120 (เฉลย 120)
93. สำหรับเทคนิควิเคราะห์การวางช้อยส์ก็เป็นทฤษฎีของผมที่ได้จากการสังเกตและวิเคราะห์อย่างเป็นเหตุเป็นผลนะครับ ถ้าจะถามว่าสามารถใช้ได้จริงไหม ก็ต้องแนะนำว่าควรใช้ในสถานการณ์จนตรอกเท่านั้น หรือถ้าจะบอกว่ามันไม่น่าจะสามารถใช้ได้จริง อันนี้ก็คงต้องหาทางอธิบายให้ได้ว่า ทำไมวิชามารดังกล่าวจึงสามารถใช้ได้กับข้อสอบเอนท์ในหลายวิชา และในหลาย ๆ ปีได้ มันก็เป็นเพียงแนวทางหนึ่งในการเอาตัวรอดในห้องสอบเท่านั้นนะครับ อันที่จริงแล้ว ยังมีวิชามารอีกเพียบเลย แต่อันนี้ต้องลองค้นคว้ากันเอาเองบ้างนะ วิชามารก็เหมือนดาบสองคมนะครับ จะมีประโยชน์หรือโทษก็ขึ้นอยู่กับผู้ที่นำไปใช้ว่ารู้จักที่จะใช้ประโยชน์จากมันมากน้อยแค่ไหน
เก็บเข้าคอลเล็กชัน
ความคิดเห็น