ลำดับตอนที่ #7
คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #7 : 6 รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครา
“รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครา”
-สิ่งหนึ่งที่จะทำให้คุณได้คะแนนดี ๆ ก็คือการรู้แนวข้อสอบเป็นอย่างดี ซึ่งนั้นก็หมายความว่าคุณควรจะศึกษาข้อสอบเก่า หรือลองทำข้อสอบเก่า ๆ ดูบ้าง
-*อยากจะบอกว่าข้อสอบเก่านะ ดีมาก ๆ ๆ ๆ อ่านเยอะ ๆ ทำโจทย์เยอะ ๆ ไปหามาเลยนะ ประเภทที่รวมข้อสอบเอนท์ 10 พ.ศ. อะไรเงี่ย อาจจะซื้อหรือ อาจจะขอจากรุ่นพี่ก็ได้ แต่ควรจะเลือกซื้อเฉลยที่มันน่าเชื่อถือได้หน่อยนะ (ไว้จะคุยเรื่องการเลือกซื้อคู่มือในหัวข้อถัด ๆ ไปล่ะกัน)
-*ถึงข้อสอบจะไม่ออกซ้ำ แต่ที่แน่ ๆ แนวข้อสอบนะ ซ้ำเดิมทุกปีนะแหละ จะวิชาไหนก็เหอะ ถ้าทำข้อสอบเก่าดูจะรู้ว่า ในแต่ละปี ก็คล้าย ๆ เดิม จะทำให้เรารู้แนวข้อสอบ และรู้สั-ดส่วนการออกข้อสอบในแต่ละบท จะได้เปรียบคนอื่นเขานะ
<ตัวอย่างการได้เปรียบเมื่อรู้แนวข้อสอบ>
-โจทย์แนวที่ให้คำนวณค่าGDPก็ออกบ่อยเหมือนกัน ลองดูน่ะ
+สังคม ตุลา 45 : สมมติในปี พ.ศ.2545 สินค้าและบริการที่ผลิตขึ้นได้ทั้งหมดในประเทศไทยมีมูลค่า 1,000 ล้านบาท ในจำนวนนี้เป็นสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายมูลค่า 900 ล้านบาท ซึ่งต้องโอนให้เจ้าของในต่างประเทศ 100 ล้านบาท แต่คนไทยที่ไปทำงานต่างประเทศโอนรายได้กลับเข้าประเทศ 40 ล้านบาท ข้อใดระบุมูลค่าผลิตภัณฑ์ประชาชาติได้ถูกต้อง / / เดี๋ยวดูอีกข้อนึงน้า
+สังคม ตุลา 46 : ในปี 2545 ผลิตภัณฑ์ประชาชาติเบื้องต้นของประเทศหนึ่งเท่ากับ 500 ล้านบาท ในปีเดียวกันถ้ามีคนต่างชาติเข้ามาลงทุนในประเทศนี้ก่อให้เกิดผลผลิตมูลค่ารวม 50 ล้านบาท และคนของประเทศนี้ไปลงทุนในประเทศอื่นก่อให้เกิดผลผลิตคิดเป็นมูลค่ารวม 30 ล้านบาท ผลิตภัณฑ์ในประเทศเบื้องต้น (GDP) ของประเทศนี้จะเท่ากับเท่าใด / / เห็นมะ ห่างกันปีเดียวเอง แนวข้อสอบเหมือนกันอย่างกะแกะเลย
-ส่วนข้อนี้เห็นครั้งแรกนึกว่าเอาข้อสอบเก่ามาออกซะอีก ก็เล่นคล้ายกันซะปานนั้น ดูเอาล่ะกัน
+ฟิสิกส์ มีนา 46 : ในปฏิกิริยานิวเคลียร์ 73Li (p,a) 42He จะคายหรือดูดกลืนพลังงานเป็นจำนวนเท่าใด (กำหนดให้ มวลของลิเธียม-7เท่ากับ 1.0160u มวลของโปรตอนเท่ากับ 1.0078u มวลอนุภาคแอลฟาเท่ากับ 4.0026u และมวล1u เทียบเท่ากับพลังงาน 930MeV)
ก. คาย 17 MeV                ข. คาย 4 MeV
ค. ดูดกลืน 17 MeV                ง. ดูดกลืน 4 MeV
+ฟิสิกส์ มีนา 47 : ในปฏิกิริยาใน 73Li (p,a) 42He ถ้ามวลของสาร 73Li , 42He และ 11H เป็น 7.01600u , 4.00260u และ 1.00794u ตามลำดับ พลังงานที่เกี่ยวข้อในปฏิกิริยานี้เป็นตามข้อใด
ก. ดูดพลังงาน 8.6 MeV                ข. คายพลังงาน 8.6 MeV
ค. ดูดพลังงาน 17.4 MeV            ง. คายพลังงาน 17.4 MeV
-เห็นมะ แทบจะเหมือนกันเด๊ะเลย ทั้งโจทย์ ช้อยส์ และคำตอบ ถามจริงเหอะ 2 ข้อนี้มันต่างกันตรงไหนอ่ะ เรียกได้ว่า ถ้าใครเคยเจอ จะจำคำตอบได้เลย ทั้ง ๆ ที่เคยออกไปแล้ว ห่างกันปีเดียวเอง อย่างน้อย ๆ ถ้าจำคำตอบไม่ได้ ก็รู้วิธีคิดข้อนี้แหละ คิดเหมือนกันเด๊ะเลย ไม่เชื่อไปเช็กดูได้
-การแทรกสอดของแสง-สลิตก็ออกสอบบ่อย ถ้าไม่ถามความยาวคลื่น ก็ต้องถามระยะห่างจากผนัง หรือไม่ก็ถามอะไรสักอย่าง วนไปวนมาแค่นั้นแหละ เจอปั๊บก็รู้เลย ว่าต้องคิดยังไง เดี๋ยวมันจะถามอะไรต่อ
+ฟิสิกส์ ตุลา 42 : ใช้แสงมีความยาวคลื่น 400 nm ตกตั้งฉากผ่านสลิตเดี่ยวที่มีความกว้างของช่องเท่ากับ 50umจากการสังเกตภาพเลี้ยวเบนบนฉาก พบว่า แถบมืดแถบแรกอยู่ห่างจากกึ่งกลางแถบสว่างกลาง 6.0 mm ระยะห่างระหว่างสลิตเดี่ยวกับฉากเป็นเท่าใด / / / อันนี้ถามระยะห่างระหว่างสลิตกับฉากนะ เดี๋ยวดูอีกตัวอย่าง
+ฟิสิกส์ ตุลา 45 : ถ้าภาพการแทรกสอดจากสลิตคู่ที่ปรากฏบนฉากเป็นดังรูป ฉากอยู่ห่างจากสลิตเท่ากับ 1.20 เมตร ระยะระหว่างช่องสลิตเป็น 0.24 มิลลิเมตร ความยาวคลื่นของแสดงที่ใช้เป็นเท่าใด / / / เห็นไหมละ โจทย์แนวเดียวกันเลย แต่คราวนี้ให้ระยะห่างระหว่างสลิตกับฉากมา แต่กลับถามความยาวคลื่นแทน ถ้าเจอโจทย์แนวนี้อีกที คราวนี้ละ ข้อสอบเสร็จเราแน่
-ถ้าเมื่อไหร่ที่เราลองทำข้อสอบเก่าแล้วเรารู้สึกว่า  “เอ๊ะ คุ้น ๆ  นะ เหมือนปีนั้นเลย” หรือว่า “อ๋อ เดี๋ยวโจทย์แบบนี้ มันจะต้องถามแบบนี้ต่อแน่เลย” นั้นแหละ แสดงว่า เราทำข้อสอบเก่ามาเยอะพอสมควร
-ถ้าได้ลองทำข้อสอบเก่าบ้างแล้ว ทำต่อไปอีกนะ ทำให้เยอะที่สุดนะแหละ ไม่ต้องกำหนดหรอก ว่าต้องทำย้อนไปกี่ปี แต่แนะนำให้ทำจากปีล่า ๆ ก่อนค่อย ๆ ย้อนไปปีเก่า ๆ นะ
<ตัวอย่างการได้เปรียบเมื่อรู้สั-ดส่วนการออกข้อสอบ>
-คณิต1ออกโค้งปกติ และZ-scoreปีละข้อทุกปีเลย ดัชนีก็ปีละข้อ กำหนดการเชิงเส้นก็ปีละข้อ แคลออกปีละ5ข้อ เป็นข้อที่ให้หาพื้นที่ใต้โค้งข้อนึงทุกปี แค่นี้เราก็รู้แล้ว ว่าควรจะเน้นบทไหนมากกว่ากัน เช่น กำหนดการเชิงเส้นอ่านพอคิดเป็นเข้าใจconceptก็พอ ไปลุยแคลดีกว่า
-สังคมออกแต่ละเทอมพอ ๆ กันเลย เทอมนึงประมาณ13-14ข้อ นับได้ แสดงว่า ต้องอ่านแต่ละเล่มพอ ๆ กัน หรือเน้นบทที่เราถนัดไว้ก่อน ก็แล้วแต่จะวางแผน
-เคมีจะออก ปริมาณสารสัมพันธ์ กรดเบส พันธะเคมี ไฟฟ้าเคมี สารประกอบคาร์บอน เยอะกว่าบทอื่น ก็จะได้เน้นบทพวกนี้มากหน่อย
-ข้อสอบปีไหนที่เคยทำแล้ว ก็ทำซ้ำไปเหอะ ทำเยอะ ๆ แหละ จะได้แม่น ๆ คล่อง ๆ
-เรื่องไหนที่รู้สึกว่าอ่อน แล้วเราต้องการทำวิชานั้นให้ดี ๆ ไปเลย ก็ควรจะฝึกโจทย์เฉพาะบทที่อ่อนนั้นก่อนนะ แล้วค่อยมาฝึกข้อสอบรวม
-คนที่จะสอบพื้นฐานวิศวะ ความถนัดทางสถาปัตย์ วัดแววความเป็นครู ควรศึกษาข้อสอบเก่าวิชาเหล่านี้ให้เยอะ ๆ นะ เพราะจะมีข้อสอบส่วนที่ไม่เคยเรียนมาก่อน จะได้เข้าใจเนื้อหาส่วนนี้ และรู้ว่าข้อสอบจะออกอะไรบ้าง
-สำหรับคนที่จะได้เจอกับระบบการคัดเลือกเข้าอุดมศึกษาแบบใหม่ก็ไม่ต้องกังวลว่าจะหาข้อสอบเก่าได้จากไหน ถ้าหลักสูตรยังคล้ายเดิม แนวข้อสอบก็ไม่ต่างไปจากเดิม อาจจะหาข้อสอบเก่าจากแหล่งอื่น เช่น ข้อสอบเก่าโควต้า หรือการสอบแข่งขันสนามต่าง ๆ มาทำด้วยก็ดี นอกจากจะได้ฝึกฝนแล้ว จะช่วยให้เราเห็นแนวการออกข้อสอบที่หลากหลายด้วย
***สงวนลิขสิทธิ์ตามกฎหมาย ห้ามมิให้มีการคัดลอกไม่ว่าส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความ***
-สิ่งหนึ่งที่จะทำให้คุณได้คะแนนดี ๆ ก็คือการรู้แนวข้อสอบเป็นอย่างดี ซึ่งนั้นก็หมายความว่าคุณควรจะศึกษาข้อสอบเก่า หรือลองทำข้อสอบเก่า ๆ ดูบ้าง
-*อยากจะบอกว่าข้อสอบเก่านะ ดีมาก ๆ ๆ ๆ อ่านเยอะ ๆ ทำโจทย์เยอะ ๆ ไปหามาเลยนะ ประเภทที่รวมข้อสอบเอนท์ 10 พ.ศ. อะไรเงี่ย อาจจะซื้อหรือ อาจจะขอจากรุ่นพี่ก็ได้ แต่ควรจะเลือกซื้อเฉลยที่มันน่าเชื่อถือได้หน่อยนะ (ไว้จะคุยเรื่องการเลือกซื้อคู่มือในหัวข้อถัด ๆ ไปล่ะกัน)
-*ถึงข้อสอบจะไม่ออกซ้ำ แต่ที่แน่ ๆ แนวข้อสอบนะ ซ้ำเดิมทุกปีนะแหละ จะวิชาไหนก็เหอะ ถ้าทำข้อสอบเก่าดูจะรู้ว่า ในแต่ละปี ก็คล้าย ๆ เดิม จะทำให้เรารู้แนวข้อสอบ และรู้สั-ดส่วนการออกข้อสอบในแต่ละบท จะได้เปรียบคนอื่นเขานะ
<ตัวอย่างการได้เปรียบเมื่อรู้แนวข้อสอบ>
-โจทย์แนวที่ให้คำนวณค่าGDPก็ออกบ่อยเหมือนกัน ลองดูน่ะ
+สังคม ตุลา 45 : สมมติในปี พ.ศ.2545 สินค้าและบริการที่ผลิตขึ้นได้ทั้งหมดในประเทศไทยมีมูลค่า 1,000 ล้านบาท ในจำนวนนี้เป็นสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายมูลค่า 900 ล้านบาท ซึ่งต้องโอนให้เจ้าของในต่างประเทศ 100 ล้านบาท แต่คนไทยที่ไปทำงานต่างประเทศโอนรายได้กลับเข้าประเทศ 40 ล้านบาท ข้อใดระบุมูลค่าผลิตภัณฑ์ประชาชาติได้ถูกต้อง / / เดี๋ยวดูอีกข้อนึงน้า
+สังคม ตุลา 46 : ในปี 2545 ผลิตภัณฑ์ประชาชาติเบื้องต้นของประเทศหนึ่งเท่ากับ 500 ล้านบาท ในปีเดียวกันถ้ามีคนต่างชาติเข้ามาลงทุนในประเทศนี้ก่อให้เกิดผลผลิตมูลค่ารวม 50 ล้านบาท และคนของประเทศนี้ไปลงทุนในประเทศอื่นก่อให้เกิดผลผลิตคิดเป็นมูลค่ารวม 30 ล้านบาท ผลิตภัณฑ์ในประเทศเบื้องต้น (GDP) ของประเทศนี้จะเท่ากับเท่าใด / / เห็นมะ ห่างกันปีเดียวเอง แนวข้อสอบเหมือนกันอย่างกะแกะเลย
-ส่วนข้อนี้เห็นครั้งแรกนึกว่าเอาข้อสอบเก่ามาออกซะอีก ก็เล่นคล้ายกันซะปานนั้น ดูเอาล่ะกัน
+ฟิสิกส์ มีนา 46 : ในปฏิกิริยานิวเคลียร์ 73Li (p,a) 42He จะคายหรือดูดกลืนพลังงานเป็นจำนวนเท่าใด (กำหนดให้ มวลของลิเธียม-7เท่ากับ 1.0160u มวลของโปรตอนเท่ากับ 1.0078u มวลอนุภาคแอลฟาเท่ากับ 4.0026u และมวล1u เทียบเท่ากับพลังงาน 930MeV)
ก. คาย 17 MeV                ข. คาย 4 MeV
ค. ดูดกลืน 17 MeV                ง. ดูดกลืน 4 MeV
+ฟิสิกส์ มีนา 47 : ในปฏิกิริยาใน 73Li (p,a) 42He ถ้ามวลของสาร 73Li , 42He และ 11H เป็น 7.01600u , 4.00260u และ 1.00794u ตามลำดับ พลังงานที่เกี่ยวข้อในปฏิกิริยานี้เป็นตามข้อใด
ก. ดูดพลังงาน 8.6 MeV                ข. คายพลังงาน 8.6 MeV
ค. ดูดพลังงาน 17.4 MeV            ง. คายพลังงาน 17.4 MeV
-เห็นมะ แทบจะเหมือนกันเด๊ะเลย ทั้งโจทย์ ช้อยส์ และคำตอบ ถามจริงเหอะ 2 ข้อนี้มันต่างกันตรงไหนอ่ะ เรียกได้ว่า ถ้าใครเคยเจอ จะจำคำตอบได้เลย ทั้ง ๆ ที่เคยออกไปแล้ว ห่างกันปีเดียวเอง อย่างน้อย ๆ ถ้าจำคำตอบไม่ได้ ก็รู้วิธีคิดข้อนี้แหละ คิดเหมือนกันเด๊ะเลย ไม่เชื่อไปเช็กดูได้
-การแทรกสอดของแสง-สลิตก็ออกสอบบ่อย ถ้าไม่ถามความยาวคลื่น ก็ต้องถามระยะห่างจากผนัง หรือไม่ก็ถามอะไรสักอย่าง วนไปวนมาแค่นั้นแหละ เจอปั๊บก็รู้เลย ว่าต้องคิดยังไง เดี๋ยวมันจะถามอะไรต่อ
+ฟิสิกส์ ตุลา 42 : ใช้แสงมีความยาวคลื่น 400 nm ตกตั้งฉากผ่านสลิตเดี่ยวที่มีความกว้างของช่องเท่ากับ 50umจากการสังเกตภาพเลี้ยวเบนบนฉาก พบว่า แถบมืดแถบแรกอยู่ห่างจากกึ่งกลางแถบสว่างกลาง 6.0 mm ระยะห่างระหว่างสลิตเดี่ยวกับฉากเป็นเท่าใด / / / อันนี้ถามระยะห่างระหว่างสลิตกับฉากนะ เดี๋ยวดูอีกตัวอย่าง
+ฟิสิกส์ ตุลา 45 : ถ้าภาพการแทรกสอดจากสลิตคู่ที่ปรากฏบนฉากเป็นดังรูป ฉากอยู่ห่างจากสลิตเท่ากับ 1.20 เมตร ระยะระหว่างช่องสลิตเป็น 0.24 มิลลิเมตร ความยาวคลื่นของแสดงที่ใช้เป็นเท่าใด / / / เห็นไหมละ โจทย์แนวเดียวกันเลย แต่คราวนี้ให้ระยะห่างระหว่างสลิตกับฉากมา แต่กลับถามความยาวคลื่นแทน ถ้าเจอโจทย์แนวนี้อีกที คราวนี้ละ ข้อสอบเสร็จเราแน่
-ถ้าเมื่อไหร่ที่เราลองทำข้อสอบเก่าแล้วเรารู้สึกว่า  “เอ๊ะ คุ้น ๆ  นะ เหมือนปีนั้นเลย” หรือว่า “อ๋อ เดี๋ยวโจทย์แบบนี้ มันจะต้องถามแบบนี้ต่อแน่เลย” นั้นแหละ แสดงว่า เราทำข้อสอบเก่ามาเยอะพอสมควร
-ถ้าได้ลองทำข้อสอบเก่าบ้างแล้ว ทำต่อไปอีกนะ ทำให้เยอะที่สุดนะแหละ ไม่ต้องกำหนดหรอก ว่าต้องทำย้อนไปกี่ปี แต่แนะนำให้ทำจากปีล่า ๆ ก่อนค่อย ๆ ย้อนไปปีเก่า ๆ นะ
<ตัวอย่างการได้เปรียบเมื่อรู้สั-ดส่วนการออกข้อสอบ>
-คณิต1ออกโค้งปกติ และZ-scoreปีละข้อทุกปีเลย ดัชนีก็ปีละข้อ กำหนดการเชิงเส้นก็ปีละข้อ แคลออกปีละ5ข้อ เป็นข้อที่ให้หาพื้นที่ใต้โค้งข้อนึงทุกปี แค่นี้เราก็รู้แล้ว ว่าควรจะเน้นบทไหนมากกว่ากัน เช่น กำหนดการเชิงเส้นอ่านพอคิดเป็นเข้าใจconceptก็พอ ไปลุยแคลดีกว่า
-สังคมออกแต่ละเทอมพอ ๆ กันเลย เทอมนึงประมาณ13-14ข้อ นับได้ แสดงว่า ต้องอ่านแต่ละเล่มพอ ๆ กัน หรือเน้นบทที่เราถนัดไว้ก่อน ก็แล้วแต่จะวางแผน
-เคมีจะออก ปริมาณสารสัมพันธ์ กรดเบส พันธะเคมี ไฟฟ้าเคมี สารประกอบคาร์บอน เยอะกว่าบทอื่น ก็จะได้เน้นบทพวกนี้มากหน่อย
-ข้อสอบปีไหนที่เคยทำแล้ว ก็ทำซ้ำไปเหอะ ทำเยอะ ๆ แหละ จะได้แม่น ๆ คล่อง ๆ
-เรื่องไหนที่รู้สึกว่าอ่อน แล้วเราต้องการทำวิชานั้นให้ดี ๆ ไปเลย ก็ควรจะฝึกโจทย์เฉพาะบทที่อ่อนนั้นก่อนนะ แล้วค่อยมาฝึกข้อสอบรวม
-คนที่จะสอบพื้นฐานวิศวะ ความถนัดทางสถาปัตย์ วัดแววความเป็นครู ควรศึกษาข้อสอบเก่าวิชาเหล่านี้ให้เยอะ ๆ นะ เพราะจะมีข้อสอบส่วนที่ไม่เคยเรียนมาก่อน จะได้เข้าใจเนื้อหาส่วนนี้ และรู้ว่าข้อสอบจะออกอะไรบ้าง
-สำหรับคนที่จะได้เจอกับระบบการคัดเลือกเข้าอุดมศึกษาแบบใหม่ก็ไม่ต้องกังวลว่าจะหาข้อสอบเก่าได้จากไหน ถ้าหลักสูตรยังคล้ายเดิม แนวข้อสอบก็ไม่ต่างไปจากเดิม อาจจะหาข้อสอบเก่าจากแหล่งอื่น เช่น ข้อสอบเก่าโควต้า หรือการสอบแข่งขันสนามต่าง ๆ มาทำด้วยก็ดี นอกจากจะได้ฝึกฝนแล้ว จะช่วยให้เราเห็นแนวการออกข้อสอบที่หลากหลายด้วย
***สงวนลิขสิทธิ์ตามกฎหมาย ห้ามมิให้มีการคัดลอกไม่ว่าส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความ***
เก็บเข้าคอลเล็กชัน
ความคิดเห็น