ลำดับตอนที่ #6
คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #6 : 5 เทคนิคเฉพาะวิชา...เคมี,ฟิสิกส์,ชีวะ
“เทคนิคเฉพาะวิชา...เคมี,ฟิสิกส์,ชีวะ”
# เคมี #
-ในส่วนที่เป็นเนื้อหาบรรยายหรือทฤษฎี เราอาจจะต้องจำเยอะซะหน่อย ถ้าจะให้ดี เราควรจะจำด้วยความเข้าใจนะ เพราะวิทยาศาสตร์มันจะมีเหตุมีผล มีที่มาของทฤษฎีนั้น ๆ ใช่มะละ ถ้าหากว่าเราเข้าใจที่มาหรือเหตุผลของทฤษฎีนั้น มันก็จะช่วยให้เราจำหลักการของทฤษฎีนั้นได้อย่างแม่นยำ และก็ไม่ลืมกันง่าย ๆ ซะด้วยสิ ลองดูตัวอย่างแล้วไปหัดจำด้วยความเข้าใจเอาเองนะ
+พอลิเมอร์แบบกิ่ง สายพอลิเมอร์มันจะมีกิ่งก้านสาขาใช่ไหมละ ทำให้โมเลกุลมันไม่สามารถจัดเรียงตัวชิดกันได้มากไงล่ะ ความหนาแน่นมันก็เลยน้อย จุดเดือดจุดหลอมเหลวก็เลยต่ำกว่าพอลิเมอร์แบบเส้น
-ถ้าเรารู้เหตุผลที่มาของทฤษฎีแบบนี้ เราก็จะจำได้แม่นว่า “พอลิเมอร์แบบกิ่งมันมีจุดเดือดจุดหลอมเหลวต่ำกว่าแบบเส้น” นั้นเอง พอเจอข้อสอบที่ถามเกี่ยวกับจุดเดือดจุดหลอมเหลวของพอลิเมอร์แบบกิ่งและเส้น เราก็จะตอบได้ด้วยความมั่นใจ
+ระบบคายความร้อน มันไม่ชอบความร้อนมันถึงได้คายออก ถ้าเราเพิ่มอุณหภูมิ สมดุลก็จะย้อนกลับ เพราะมันไม่ชอบความร้อนนิ 
-ถ้าเราใช้ความรู้สึกของเราที่สมเหตุสมผลแบบนี้ เมื่อเราเจอข้อสอบที่ถามว่า “ระบบคายความร้อน ถ้าเพิ่มอุณหภูมิ สมดุลจะไปทางไหน?” เราก็จะทำข้อสอบข้อนี้ด้วยความมั่นใจเช่นกัน
-บทธาตุและสารประกอบในอุตสาหกรรม เนื้อหาจะเยอะมาก ๆ เลย แต่ออกปีละ1-2ข้อเอง มันก็ไม่ค่อยคุมค่าที่จะอ่านเนอะ แต่เวลาทำข้อสอบ เราก็ต้องโกยคะแนนให้ได้เยอะที่สุดนะ พยายามใช้หลักการของเรื่อง กรดเบส สมการเคมี หรือเรื่องอื่น ๆ เข้ามาช่วย มันก็จะทำให้เราพอจะเดาคำตอบได้บ้าง
# ฟิสิกส์ #
-ต้องใช้ความเข้าใจเยอะมาก ๆ เลยนะ อย่าคิดว่าจำสูตรอย่างเดียวแล้วจะทำข้อสอบได้เสมอไป มันไม่ทุกข้อหรอก -เมื่อจำสูตรได้ ควรจะรู้ด้วยนะ ว่าตัวแปรแต่ละตัวคืออะไร เช่น V ในบางสูตรก็คือความเร็ว ในบางสูตร ก็คือความต่างศักย์ไฟฟ้า, Pในบางสูตรก็คือโมเมนตัม ในบางสูตรก็คือกำลัง
-สูตรฟิสิกส์มันเยอะก็จิง แต่ถ้าเราหาวิธีจำดี ๆ มันก็จำได้ง่ายและแม่นนะ ลองดูตัวอย่างละกัน แล้วเดียวไปหาวิธีจำสูตรอื่นเอาเองนะ
+สูตรแรงดึงดูดระหว่างดวงดาวอะ ถ้าจำเป็น F= GMm/R^2 หรือ แกรมมี่/อาร์เอส(R Square)
-หรือทฤษฎีบางอย่างอาจจะจำเยอะซะหน่อย หรือสับสนง่าย ก็ลองหาวิธีจำดี ๆ ขึ้นมาซะสิ ดูตัวอย่างแล้วลองไปหาวิธีจำทฤษฎีอื่นเอาเองนะ
+ย่านความถี่ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ต้องจำเยอะมาก ๆ เลย อาจจะจำเป็น “G-XU-LI-MR” (อ่านว่า จี-ซู-ไล-เมอร์) ซึ่งก็มาจาก แกรมม่า เอ็กซ์ อัลตราไวโอเลต(uv) แสง(light) อินฟราเรด ไมโครเวฟ คลื่นวิทยุ(radio)นั้นเอง จำแค่ G-XU-LI-MR คำเดียวสั้น ๆ ง่ายจะตาย
-สำหรับเรื่องฟิสิกส์อะตอม จำพวกการทดลองของทอมสัน การทดลองของมิลิแกน มันจะใช้สูตรของกลศาสตร์และไฟฟ้าเข้ามาประยุกต์กันใช่มะ สูตรหลัก ๆ ที่ใช้ทำเรื่องนี้มันก็มีอยู่ไม่กี่สูตรหรอกนะ แต่จุดยากก็คือเราต้องแปลงสูตรให้เก่ง ๆ อะ ซึ่งสถาบันกวดวิชาบางแห่งก็ชอบให้จำสูตรสำเร็จไปเลย และก็ต้องจำอยู่มากโขเลยด้วย แบบนี้เรามาจำด้วยความเข้าใจจะดีกว่านะ จำเฉพาะสูตรหลัก ๆ ซึ่งก็ต้องจำไปใช้สอบกลศาสตร์กับไฟฟ้าอยู่แล้ว และหัดแปลงสูตรให้เก่ง ๆ เชื่อมโยงแต่ละสูตรให้ได้ ซึ่งการที่คุณจะทำแบบนี้ได้ก็คือ คุณต้องฝึกทำข้อสอบเก่าเรื่องฟิสิกส์อะตอมมาอย่างโชกโชนแล้วนั้นเอง
-โจทย์ข้อที่กำหนดสถานการณ์มา แล้วถามความเข้าใจโดยไม่ต้องคำนวณ โจทย์แบบนี้จะมีทุกปีเลยนะ ศึกษาโจทย์ประเภทนี้ให้ดีล่ะ ซึ่งการที่จะทำโจทย์ประเภทนี้ได้ มันก็ต้องเข้าใจทฤษฎีนั้นเอง ถ้าหากคุณเข้าใจก็จะทำได้เลย แต่ถ้าไม่เข้าใจทฤษฎี คิดให้ตายก็ทำไม่ได้หรอก ถ้านึกโจทย์ประเภทนี้ไม่ออก ลองดูตัวอย่างนะ
+ฟิสิกส์ ตุลา 44 : ดวงจันทร์โคจรรอบโลกโดยหันด้านเดียวเข้าหาโลกตลอด เมื่อดวงจันทร์โคจรรอบโลกครบ 1 รอบ จะหมุนรอบจุดศูนย์กลางตัวเองกี่รอบ
-ข้อนี้ไม่ต้องใช้ความรู้อะไรเลย ถ้าทำความเข้าใจกับโจทย์ดี ๆ ก็ตอบได้นะ มันเน้นที่ความเข้าใจมากกว่า
# ชีวะ #
-ชีวะควรจะทำข้อสอบเก่าให้เยอะ ๆ นะ ข้อสอบทุกปีมันจะเจาะอยู่ที่เรื่องใดเรื่องหนึ่งของหลักสูตรซ้ำ ๆ กันอ่ะ ทำข้อสอบไปด้วยแล้วก็ทบทวนเนื้อหาของเรื่องนั้น ๆ ไปด้วย ช่วยได้เยอะเหมือนกัน (ขอขอบคุณเจ้าของเทคนิคมา ณ ที่นี้ด้วย)
***สงวนลิขสิทธิ์ตามกฎหมาย ห้ามมิให้มีการคัดลอกไม่ว่าส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความ***
# เคมี #
-ในส่วนที่เป็นเนื้อหาบรรยายหรือทฤษฎี เราอาจจะต้องจำเยอะซะหน่อย ถ้าจะให้ดี เราควรจะจำด้วยความเข้าใจนะ เพราะวิทยาศาสตร์มันจะมีเหตุมีผล มีที่มาของทฤษฎีนั้น ๆ ใช่มะละ ถ้าหากว่าเราเข้าใจที่มาหรือเหตุผลของทฤษฎีนั้น มันก็จะช่วยให้เราจำหลักการของทฤษฎีนั้นได้อย่างแม่นยำ และก็ไม่ลืมกันง่าย ๆ ซะด้วยสิ ลองดูตัวอย่างแล้วไปหัดจำด้วยความเข้าใจเอาเองนะ
+พอลิเมอร์แบบกิ่ง สายพอลิเมอร์มันจะมีกิ่งก้านสาขาใช่ไหมละ ทำให้โมเลกุลมันไม่สามารถจัดเรียงตัวชิดกันได้มากไงล่ะ ความหนาแน่นมันก็เลยน้อย จุดเดือดจุดหลอมเหลวก็เลยต่ำกว่าพอลิเมอร์แบบเส้น
-ถ้าเรารู้เหตุผลที่มาของทฤษฎีแบบนี้ เราก็จะจำได้แม่นว่า “พอลิเมอร์แบบกิ่งมันมีจุดเดือดจุดหลอมเหลวต่ำกว่าแบบเส้น” นั้นเอง พอเจอข้อสอบที่ถามเกี่ยวกับจุดเดือดจุดหลอมเหลวของพอลิเมอร์แบบกิ่งและเส้น เราก็จะตอบได้ด้วยความมั่นใจ
+ระบบคายความร้อน มันไม่ชอบความร้อนมันถึงได้คายออก ถ้าเราเพิ่มอุณหภูมิ สมดุลก็จะย้อนกลับ เพราะมันไม่ชอบความร้อนนิ 
-ถ้าเราใช้ความรู้สึกของเราที่สมเหตุสมผลแบบนี้ เมื่อเราเจอข้อสอบที่ถามว่า “ระบบคายความร้อน ถ้าเพิ่มอุณหภูมิ สมดุลจะไปทางไหน?” เราก็จะทำข้อสอบข้อนี้ด้วยความมั่นใจเช่นกัน
-บทธาตุและสารประกอบในอุตสาหกรรม เนื้อหาจะเยอะมาก ๆ เลย แต่ออกปีละ1-2ข้อเอง มันก็ไม่ค่อยคุมค่าที่จะอ่านเนอะ แต่เวลาทำข้อสอบ เราก็ต้องโกยคะแนนให้ได้เยอะที่สุดนะ พยายามใช้หลักการของเรื่อง กรดเบส สมการเคมี หรือเรื่องอื่น ๆ เข้ามาช่วย มันก็จะทำให้เราพอจะเดาคำตอบได้บ้าง
# ฟิสิกส์ #
-ต้องใช้ความเข้าใจเยอะมาก ๆ เลยนะ อย่าคิดว่าจำสูตรอย่างเดียวแล้วจะทำข้อสอบได้เสมอไป มันไม่ทุกข้อหรอก -เมื่อจำสูตรได้ ควรจะรู้ด้วยนะ ว่าตัวแปรแต่ละตัวคืออะไร เช่น V ในบางสูตรก็คือความเร็ว ในบางสูตร ก็คือความต่างศักย์ไฟฟ้า, Pในบางสูตรก็คือโมเมนตัม ในบางสูตรก็คือกำลัง
-สูตรฟิสิกส์มันเยอะก็จิง แต่ถ้าเราหาวิธีจำดี ๆ มันก็จำได้ง่ายและแม่นนะ ลองดูตัวอย่างละกัน แล้วเดียวไปหาวิธีจำสูตรอื่นเอาเองนะ
+สูตรแรงดึงดูดระหว่างดวงดาวอะ ถ้าจำเป็น F= GMm/R^2 หรือ แกรมมี่/อาร์เอส(R Square)
-หรือทฤษฎีบางอย่างอาจจะจำเยอะซะหน่อย หรือสับสนง่าย ก็ลองหาวิธีจำดี ๆ ขึ้นมาซะสิ ดูตัวอย่างแล้วลองไปหาวิธีจำทฤษฎีอื่นเอาเองนะ
+ย่านความถี่ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ต้องจำเยอะมาก ๆ เลย อาจจะจำเป็น “G-XU-LI-MR” (อ่านว่า จี-ซู-ไล-เมอร์) ซึ่งก็มาจาก แกรมม่า เอ็กซ์ อัลตราไวโอเลต(uv) แสง(light) อินฟราเรด ไมโครเวฟ คลื่นวิทยุ(radio)นั้นเอง จำแค่ G-XU-LI-MR คำเดียวสั้น ๆ ง่ายจะตาย
-สำหรับเรื่องฟิสิกส์อะตอม จำพวกการทดลองของทอมสัน การทดลองของมิลิแกน มันจะใช้สูตรของกลศาสตร์และไฟฟ้าเข้ามาประยุกต์กันใช่มะ สูตรหลัก ๆ ที่ใช้ทำเรื่องนี้มันก็มีอยู่ไม่กี่สูตรหรอกนะ แต่จุดยากก็คือเราต้องแปลงสูตรให้เก่ง ๆ อะ ซึ่งสถาบันกวดวิชาบางแห่งก็ชอบให้จำสูตรสำเร็จไปเลย และก็ต้องจำอยู่มากโขเลยด้วย แบบนี้เรามาจำด้วยความเข้าใจจะดีกว่านะ จำเฉพาะสูตรหลัก ๆ ซึ่งก็ต้องจำไปใช้สอบกลศาสตร์กับไฟฟ้าอยู่แล้ว และหัดแปลงสูตรให้เก่ง ๆ เชื่อมโยงแต่ละสูตรให้ได้ ซึ่งการที่คุณจะทำแบบนี้ได้ก็คือ คุณต้องฝึกทำข้อสอบเก่าเรื่องฟิสิกส์อะตอมมาอย่างโชกโชนแล้วนั้นเอง
-โจทย์ข้อที่กำหนดสถานการณ์มา แล้วถามความเข้าใจโดยไม่ต้องคำนวณ โจทย์แบบนี้จะมีทุกปีเลยนะ ศึกษาโจทย์ประเภทนี้ให้ดีล่ะ ซึ่งการที่จะทำโจทย์ประเภทนี้ได้ มันก็ต้องเข้าใจทฤษฎีนั้นเอง ถ้าหากคุณเข้าใจก็จะทำได้เลย แต่ถ้าไม่เข้าใจทฤษฎี คิดให้ตายก็ทำไม่ได้หรอก ถ้านึกโจทย์ประเภทนี้ไม่ออก ลองดูตัวอย่างนะ
+ฟิสิกส์ ตุลา 44 : ดวงจันทร์โคจรรอบโลกโดยหันด้านเดียวเข้าหาโลกตลอด เมื่อดวงจันทร์โคจรรอบโลกครบ 1 รอบ จะหมุนรอบจุดศูนย์กลางตัวเองกี่รอบ
-ข้อนี้ไม่ต้องใช้ความรู้อะไรเลย ถ้าทำความเข้าใจกับโจทย์ดี ๆ ก็ตอบได้นะ มันเน้นที่ความเข้าใจมากกว่า
# ชีวะ #
-ชีวะควรจะทำข้อสอบเก่าให้เยอะ ๆ นะ ข้อสอบทุกปีมันจะเจาะอยู่ที่เรื่องใดเรื่องหนึ่งของหลักสูตรซ้ำ ๆ กันอ่ะ ทำข้อสอบไปด้วยแล้วก็ทบทวนเนื้อหาของเรื่องนั้น ๆ ไปด้วย ช่วยได้เยอะเหมือนกัน (ขอขอบคุณเจ้าของเทคนิคมา ณ ที่นี้ด้วย)
***สงวนลิขสิทธิ์ตามกฎหมาย ห้ามมิให้มีการคัดลอกไม่ว่าส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความ***
เก็บเข้าคอลเล็กชัน
ความคิดเห็น