ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เด็กเอนท์ควรรู้

    ลำดับตอนที่ #5 : Start for Admission(น้อง ม.6)

    • อัปเดตล่าสุด 7 ส.ค. 48


                   ในแต่ละปี หลาย ๆ มหาวิทยาลัยก็จะมีการเปิดรับสมัครคัดเลือกโดยวิธีรับตรงนะครับ นั้นก็หมายความว่า น้องอยากจะเรียนคณะอะไร อยากจะเข้าที่ไหน ก็ไปสมัครสอบที่คณะ/มหาวิทยาลัยนั้น ๆ เลย ซึ่งก็จะเริ่มรับสมัครกันตั้งแต่ เปิดภาคการศึกษาต้น(เทอม1)ไปแล้ว พอสมควร ไปจนถึง กลางภาคการศึกษาปลาย(เทอม2)กันเลยทีเดียว แต่ส่วนใหญ่ จะเปิดรับสมัครและจัดสอบคัดเลือก ราว ๆ เดือนตุลาคม-เดือนมกราคมของทุกปีนะครับ ดังนั้น ช่วงเวลานี้ น้องจำเป็นต้องติดตามข่าวสารการรับสมัครรับตรงและเตรียมความพร้อมที่จะสอบคัดเลือกอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการจะเตรียมตัวสอบทั้งโดยวิธีรับตรงและรับผ่านระบบแอดมิชชั่นนั้น คงจะมาเตรียมตัวกันแค่อาทิตย์-2อาทิตย์เหมือนสอบประจำภาคเรียน ม.ปลาย ไม่ได้หรอกครับ ถ้าอยากจะได้ผลดี ประสบความสำเร็จในการสอบ ก็ต้องเตรียมตัวกันพอสมควรเลย คงจะเคยได้ยินนะครับ สำหรับคำกล่าวที่ว่า \"เริ่มต้นดี มีชัย ไปกว่าครึ่ง\"



                   ช่วงเวลาในการเตรียมตัวนั้นก็ต้องมีความเหมาะสมด้วย ถ้าหากน้องเตรียมตัวเร็วเกินไป กว่าจะสอบก็ลืมกันพอดี หรือฝีมือตกนั้นเอง แต่ถ้าหากเตรียมตัวช้าเกินไป เตรียมตัวอย่างกระชั้นชิด ก็จะไม่ได้อะไรขึ้นมาเลย ดังนั้น น้องควรจะหาช่วงเวลาที่เหมาะสมในการเตรียมตัว เพื่อไม่ให้เตรียมตัวเร็วเกินไป หรือช้าเกินไปนั้นเอง ซึ่งพี่มีคำแนะนำเพิ่มเติมให้ดังนี้



    1.น้องต้องทราบก่อนว่า คณะเป้าหมายที่น้องต้องการจะเข้านั้น กำหนดให้มีการสอบวิชาอะไรบ้าง ซึ่งหลาย ๆ คณะก็ยังไม่ประกาศออกมาว่า การสอบคัดเลือกผ่านระบบแอดมิชชั่นปีนี้ ต้องสอบวิชาอะไรบ้าง พี่ก็ขอแนะนำให้น้องติดตามประกาศของคณะเป้าหมายให้ดี ๆ ทั้งจากเว็บไซต์ คณะ หรือประกาศจากทางอื่น เพราะเมื่อเราทราบวิชาที่จะต้องสอบแล้ว เราก็สามารถวางแผนเตรียมตัวสอบให้สอดคล้องกันได้



                   ถ้าน้องยังไม่ทราบเรื่องระบบแอดมิชชั่นมากนัก พี่ก็ขอแนะนำให้น้องลองหาความรู้เรื่องระบบแอดมิชชั่นจากเว็บไซต์ สกอ. หรือบทความ วารสาร เว็บไซต์การศึกษาทั่ว ๆ ไปนะครับ ถ้าหากเราเข้าใจระบบการคัดเลือกเข้าอุดมศึกษาเป็นอย่างดี เราก็จะสามารถวางแผนเพื่อเตรียมตัวสำหรับการสอบได้เป็นอย่างดีเช่นกัน และก็จะประสบความสำเร็จในที่สุด



                   แต่ถึงกระนั้น การรอคอยประกาศวิชาสอบดังกล่าวอย่างเดียว อาจจะทำให้เสียเวลาเปล่า หรือเตรียมตัวช้าไป ไม่ทันการณ์ พี่ก็ขอแนะนำให้น้องเริ่มวางแผนเลยนะครับ โดยคำนึงถึงวิชาที่น้องจะต้องใช้สอบแน่ ๆ สำหรับคณะเป้าหมาย เช่น หากน้องสนใจจะเรียนคณะวิศวกรรมศาสตร์ วิชาที่คาดว่าจะใช้สอบก็คือ คณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี , หากน้องสนใจจะเรียนคณะบริหารธุรกิจ วิชาที่คาดว่าจะใช้สอบก็คือ คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ เป็นต้น น้องสามารถเริ่มอ่านจากวิชาดังกล่าวได้เลย โดยไม่ต้องปล่อยให้เวลาผ่านไปอย่างเปล่าประโยชน์



    2.วางแผนการอ่านหนังสือให้สอดคล้องกับความถนัด ความสามารถของตนเองและรูปแบบการคัดเลือก ถ้าน้องวางแผนให้สอดคล้องกับความถนัดของตนเอง เลือกเน้นวิชาที่ตัวเองถนัด น้องก็จะทำได้ดี และทำให้ผลการสอบออกมาอย่างน่าชื่นใจจริงไหมล่ะครับ



    3.เลือกอ่านจากบทที่ชอบ เรื่องที่ถนัดก่อน เป็นการเรียกกำลังใจยังไงล่ะครับ



    4.ถึงแม้ว่าน้องจะยังไม่ได้เรียนเนื้อหา ม.6 แต่น้องก็สามารถทบทวน เนื้อหา ม.4-5ได้จริงไหมครับ เนื้อหาที่เรียนกันมาตอน ม.4 ลืมกันไปหมดแล้วแหละ หรือถ้ายังไม่ลืม ก็คงจะไม่คล่องแคลวชำนาญเหมือนกับตอนที่อยู่ ม.4แน่ ๆ ไม่เชื่อลองทดสอบตัวเองดูสักนิดสิ แล้วจะรู้ว่าที่พี่พูดมันจริงรึเปล่า



    5.การเตรียมตัวมันเป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้นนะครับ วางแผนดี ก็จะทำให้แนวทางในการปฏิบัติมีความชัดเจนขึ้น แต่สิ่งที่สำคัญอีกอย่างนึงก็คือ ความต่อเนื่องนะ อุตส่าวางแผนไว้อย่างดี แต่ทำไมสำเร็จก็เท่านั้น อุปสรรคสำคัญคือความขี้เกียจ เอาชนะมันให้ได้นะครับ ถ้าน้องเอาชนะความขี้เกียจของตัวเองไม่ได้ ก็คือ เอาชนะใจตัวเองไม่ได้ น้องก็อย่าหวังว่า จะไปแข่งขันกับใครเลยครับ ตัวเองยังไม่ชนะ แล้วจะไปแข่งขันให้ชนะคนอื่นได้อย่างไร จริงป่าว



              ขอให้น้องที่มีความพยายามและตั้งใจจริง ประสบความสำเร็จในการสอบเข้าสถาบันอุดมศึกษาล่ะกัน จำไว้นะว่า \"ผู้ชนะไม่เคยท้อ ผู้ที่ท้อไม่เคยชนะ\" ว่าแต่น้องจะเลือกเป็นผู้ที่ท้อ หรือผู้ที่ชนะดีล่ะ?











                  



              
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×