ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    109เทคนิค พิชิตเอนทรานซ์

    ลำดับตอนที่ #5 : 4 เทคนิคเฉพาะวิชา...คณิต,วิทย์กาย

    • อัปเดตล่าสุด 1 ส.ค. 47


    “เทคนิคเฉพาะวิชา...คณิต,วิทย์กาย”



    # คณิต #



    -แน่นอนละ วิชาคำนวณแบบนี้ ก็ต้องอาศัยทักษะจากการทำโจทย์เยอะ ๆ ล่ะ



    -เข้าใจ Concept ในแต่ละเรื่องให้ดี ๆ นะ วิชาคำนวณขืนจำสูตรได้อย่างเดียว แต่ไม่เข้าใจอะไรเลย ก็ทำข้อสอบไม่ได้หรอก วิชาคำนวณทุกวิชา (คณิต เคมีและฟิสิกส์) ต้องใช้ความเข้าใจเป็นหลักนะ ไม่ใช่ใช้ความจำ(สูตร)เป็นหลัก ไม่งั้นน็อกแน่ ๆ



    -ถ้าหากคิดว่าสูตรมันเยอะจนขี้เกียจจำละก็ ลองเทคนิคการจำสูตรให้ติดมือนี้ดูนะ เราต้องจำสูตร แต่ให้จำด้วยความเข้าใจ ฝึกทำโจทย์เยอะ ๆ เราก็จะเปลี่ยนจากความจำกลายเป็นความเคยชิน ถ้าได้เขียนสูตรอยู่บ่อย ๆ เราก็จะไม่รู้สึกว่าเราจำสูตร แต่จะรู้สึกว่าคุ้นเคย หรือจำจนติดมือนั้นเอง วิชาคำนวณทั้งหลาย(คณิต เคมีและฟิสิกส์)ก็ใช้เทคนิคนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพนะ



    -สูตรบางสูตรมันก็มีที่มานะ ถ้าหากเราเข้าใจที่มาของแต่ละสูตรดี มันก็ช่วยให้เราจำสูตรนั้นได้แม่นยำ หรือช่วยให้เราพลิกแพลงสูตรเพื่อทำข้อสอบบางข้อได้ด้วยนะ



    -เรื่องสมการlog หรือ เรื่องตรีโกณก็เหอะ สูตรมันเยอะก็จริง ในช่วงแรกเราอาจจะจำเป็นต้องจำสูตรเขาหน่อย แต่ถ้าหากเราทำโจทย์เยอะ ๆ ทำโจทย์บ่อย ๆ ตัวเราเองจะเปลี่ยนจากความจำให้กลายเป็นความเคยชินโดยอัตโนมัตินะ เมื่อเราทำโจทย์จนคล่อง เราจะรู้สึกว่าเหมือนไม่ต้องจำสูตรเลย แค่เห็นโจทย์ก็ทำได้ เพราะมันกลายเป็นความเคยชินไปแล้วไง



    -เรื่องวิธีเรียงสับเปลี่ยนและการจัดหมู่ โจทย์มันจะหลากหลายแนวมาก ๆ เลย ไม่ค่อยตายตัว คือแนวโจทย์มันจะดิ้นได้อยู่เรื่อย ๆ ต้องหัดทำโจทย์ให้เยอะ ๆ นะ ถ้าหากว่ามีสถาบันกวดวิชาใด หรือหนังสือคู่มือเล่มไหนที่เขาแบ่งประเภทโจทย์ของเรื่องนี้ไว้ (เช่น แบ่งเป็นกรณีการจัดของในลักษณะแถวหน้ากระดาน, กรณีการจัดที่นั่งเป็นวงกลม เป็นต้น) ก็จะดีมาก ๆ เลยแหละ เพราะเราจะไม่สับสน ง่ายต่อการทำความเข้าใจ อย่าลืมทำโจทย์เรื่องนี้ให้เยอะ ๆ ละกัน เพื่อที่จะกอบโกยประสบการณ์ของโจทย์เรื่องนี้ให้มากที่สุด ที่นี้ละ ไปเจอโจทย์แบบไหนในข้อสอบ ก็เสร็จเราหมด...อิอิ



    -และถ้าเราคล่องเรื่องวิธีเรียงสับเปลี่ยนและการจัดหมู่ เราก็จะพลอยคล่องเรื่องความน่าจะเป็นไปด้วย เพราะมันเป็นบทที่ต่อเนื่องกัน และวิธีการทำข้อสอบเรื่องความน่าจะเป็น ก็ต้องอาศัยความรู้จากเรื่องวิธีเรียงสับเปลี่ยนฯเยอะเหมือนกัน...เท่ากับว่า ยิงกระสุนนัดเดียว ได้นกสองตัว



    -ตอนซ้อมทำโจทย์เก่าวิชาคำนวณ(คณิต เคมีและฟิสิกส์) ฝึกปิดช้อยส์ หรือฝึกจากอัตนัยก็ดีนะ จะได้ฝึกคิดตัวเลขให้มันแม่น ๆ เพื่อจะได้ตอบข้อสอบอัตนัยได้แม่น ๆ  ถ้าข้อสอบปรนัยคิดแล้วไม่เจอช้อยส์ ก็ยังพอรู้ว่าคิดผิด แต่ถ้าอัตนัยคิดเลขออกมาแล้ว ไม่มีทางรู้เลยนะ ว่าจะถูกหรือผิด ถ้าไม่มั่นใจจริง ๆ



    # วิทย์กาย #



    -ข้อสอบวิทย์กายเขาจะให้เลือกบททำแค่8บทใช่ไหมละ เราก็เลือกบทที่ถนัดสิ เตรียมตัวอ่านมาแต่เฉพาะบทที่เราถนัดแค่8บทก็พอ หรือจะกันเหนียวเตรียมมา9บทก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเตรียมมาทุกบทที่ออกข้อสอบหรอก เตรียมมาให้พอดีกับที่เขาให้เลือกทำแต่อ่านให้ทะลุปรุโปร่ง เตรียมตัวมาให้แน่นปึ้กไปเลย เราก็จะได้คะแนนวิชานี้ดี ขืนอ่านแบบเหวี่ยงแห มันก็ไม่ได้ดีเลยสักบทนะสิ



    -สำหรับเด็กวิทย์ หัวใจศิลป์ ถ้าจะสอบวิทย์กายเผื่อว่าจะเข้าคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี หรือคณะจิตวิทยา ก็ควรจะอ่านเฉพาะบทที่เราถนัดนะ บางบทที่วิทย์กายเขามีเรียนมา แต่สายวิทย์ไม่มีเรียนก็มีนะ เช่น “โลกและดวงดาว” หรือ “ยากับชีวิต” ซึ่งเราไม่เคยเรียนมาในสายวิทย์ เลี่ยงบทแบบนี้จะดีกว่านะ



    ***สงวนลิขสิทธิ์ตามกฎหมาย ห้ามมิให้มีการคัดลอกไม่ว่าส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความ***

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×