ลำดับตอนที่ #4
คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #4 : ข้อสอบเก่า...เอาไว้ลับฝีมือ
ข้อสอบเก่า...เอาไว้ลับฝีมือ
34. ข้อสอบเก่าเนี่ย ถือเป็นหินลับมีดชั้นดีเลยนะ เพราะมันจะช่วยลับฝีมือของเรา เอาไว้สู้ศึกในสนามสอบไง อยากจะบอกว่าข้อสอบเก่านะ ดีมากกก...ก ทำโจทย์เยอะ ๆ ไปหามาเลยนะ ประเภทที่รวมข้อสอบเอนท์ 10 พ.ศ. อะไรแบบนี้ อาจจะซื้อหรือขอจากรุ่นพี่ก็ได้ แต่ควรจะเลือกซื้อเฉลยที่มันน่าเชื่อถือหน่อยนะ
35. ถึงแม่ว่าข้อสอบจะไม่ออกซ้ำ แต่ที่แน่ ๆ แนวข้อสอบก็ซ้ำ ๆ เดิมนะแหละ ถึงแม้ว่าจะเปลี่ยนระบบการสอบเข้ามหาวิทยาลัยแล้วก็ตาม เนื้อหาวิชาก็ยังคงเดิมซะส่วนใหญ่ โดยธรรมชาติเนื้อหาก็คงจะทำให้การออกข้อสอบออกไม่ต่างจากแนวเดิมมากนัก ถ้าเรารู้แนวข้อสอบเป็นอย่างดีก็จะได้เปรียบคนอื่นเขานะ ถึงแม้ว่าข้อสอบจะไม่ตรงกับแนวเดิม แต่เราก็ได้ลับฝีมือไม่ใช่เหรอ
36. ถ้าเมื่อไรที่เราลองทำข้อสอบเก่าแล้วรู้สึกว่า “เอ๊ะ คุ้น ๆ นะ เหมือนปีนั้นเลย” หรือว่า “อ๋อ เดี๋ยวโจทย์แบบนี้ มันจะต้องถามแบบนี้ต่อแน่เลย” นั้นแหละ แสดงว่า เราทำข้อสอบเก่ามาเยอะพอสมควร ทำต่อไปอีกนะ ทำให้เยอะที่สุดนะแหละ ไม่ต้องกำหนดหรอกว่าต้องทำย้อนไปกี่ปี ยิ่งทำมากก็ยิ่งชำนาญมาก
37. ข้อสอบปีไหนที่เคยทำแล้ว ก็ทำซ้ำไปเถอะ ทำเยอะ ๆ แหละ จะได้แม่น ๆ คล่อง ๆ
38. แนะนำให้ทำข้อสอบเก่าจากปีล่า ๆ ก่อน ค่อย ๆ ย้อนไปปีเก่า ๆ ล่ะกันนะ
39. เรื่องไหนที่รู้สึกว่าอ่อน แล้วเราต้องการทำวิชานั้นให้ดี ๆ ไปเลย ก็ควรจะฝึกโจทย์เฉพาะบทที่อ่อนนั้นก่อนนะ แล้วค่อยมาฝึกข้อสอบรวมทุกบท
40. ถ้าเราอ่านวิชาไหนไม่ทันจริง ๆ (ย้ำ!ไม่ทันจริง ๆ) ก็ลุยข้อสอบเก่าไปเลย เพราะเราจะได้แต่เนื้อล้วน ๆ ถ้าอ่านรายละเอียดก็จะได้น้ำติดมาด้วย ถ้าติดข้อไหน ก็ไปเปิดหนังสือประกอบเลย ลุยเจาะวิเคราะห์ทีละข้อไปเลย มันเป็นกลยุทธ์ที่เรียกว่า เสียส่วนน้อยเพื่อรักษาส่วนใหญ่
41. ลองจับเวลาทำข้อสอบเก่าดูด้วยก็ดีนะ แรก ๆ อาจจะทำไปเรื่อย ๆ ก่อน ดูสิว่าเราใช้เวลาเยอะขนาดไหน แล้วเริ่มจับเวลาจริง ๆ จัดสภาพแวดล้อมให้เหมือนกับทำข้อสอบเอนท์จริง ๆ อย่าลืมนะว่า ในสนามสอบจริงถูกจำกัดด้วยเวลา ทำได้แต่ทำไม่ทันก็เท่านั้น
42. ถ้าหากทำคะแนนตอนซ้อมได้เยอะ ก็อย่าเพิ่งชะล่าใจล่ะ เพราะคุณอาจจะเป็น หมูสนามจริง สิงห์สนามซ้อม ก็เป็นได้ ส่วนใหญ่แล้วเอนท์จริง ๆ มักจะได้คะแนนน้อยกว่าตอนซ้อม เพราะสภาพกดดันมันต่างกัน และบางข้อเราอาจจะเจอที่เรียนพิเศษ ข้อสอบที่โรงเรียน หนังสือคู่มือ หรือแม้กระทั่งบทความ99วิธี สวัสดีแอดมิชชั่นก็ตาม ก็เลยทำข้อสอบเก่าตอนที่ซ้อมข้อนั้นได้นะสิ
43. เวลาดูเฉลย อย่าดูแต่เฉพาะข้อถูกนะ เราควรจะดูช้อยส์อื่นด้วยว่าผิดตรงไหน ทำไมถึงผิด โดยเฉพาะข้อสอบวิชาบรรยาย จะได้ฝึกเลี่ยงช้อยส์หลอกไง วิเคราะห์มันทีละช้อยส์ไปเลย
34. ข้อสอบเก่าเนี่ย ถือเป็นหินลับมีดชั้นดีเลยนะ เพราะมันจะช่วยลับฝีมือของเรา เอาไว้สู้ศึกในสนามสอบไง อยากจะบอกว่าข้อสอบเก่านะ ดีมากกก...ก ทำโจทย์เยอะ ๆ ไปหามาเลยนะ ประเภทที่รวมข้อสอบเอนท์ 10 พ.ศ. อะไรแบบนี้ อาจจะซื้อหรือขอจากรุ่นพี่ก็ได้ แต่ควรจะเลือกซื้อเฉลยที่มันน่าเชื่อถือหน่อยนะ
35. ถึงแม่ว่าข้อสอบจะไม่ออกซ้ำ แต่ที่แน่ ๆ แนวข้อสอบก็ซ้ำ ๆ เดิมนะแหละ ถึงแม้ว่าจะเปลี่ยนระบบการสอบเข้ามหาวิทยาลัยแล้วก็ตาม เนื้อหาวิชาก็ยังคงเดิมซะส่วนใหญ่ โดยธรรมชาติเนื้อหาก็คงจะทำให้การออกข้อสอบออกไม่ต่างจากแนวเดิมมากนัก ถ้าเรารู้แนวข้อสอบเป็นอย่างดีก็จะได้เปรียบคนอื่นเขานะ ถึงแม้ว่าข้อสอบจะไม่ตรงกับแนวเดิม แต่เราก็ได้ลับฝีมือไม่ใช่เหรอ
36. ถ้าเมื่อไรที่เราลองทำข้อสอบเก่าแล้วรู้สึกว่า “เอ๊ะ คุ้น ๆ นะ เหมือนปีนั้นเลย” หรือว่า “อ๋อ เดี๋ยวโจทย์แบบนี้ มันจะต้องถามแบบนี้ต่อแน่เลย” นั้นแหละ แสดงว่า เราทำข้อสอบเก่ามาเยอะพอสมควร ทำต่อไปอีกนะ ทำให้เยอะที่สุดนะแหละ ไม่ต้องกำหนดหรอกว่าต้องทำย้อนไปกี่ปี ยิ่งทำมากก็ยิ่งชำนาญมาก
37. ข้อสอบปีไหนที่เคยทำแล้ว ก็ทำซ้ำไปเถอะ ทำเยอะ ๆ แหละ จะได้แม่น ๆ คล่อง ๆ
38. แนะนำให้ทำข้อสอบเก่าจากปีล่า ๆ ก่อน ค่อย ๆ ย้อนไปปีเก่า ๆ ล่ะกันนะ
39. เรื่องไหนที่รู้สึกว่าอ่อน แล้วเราต้องการทำวิชานั้นให้ดี ๆ ไปเลย ก็ควรจะฝึกโจทย์เฉพาะบทที่อ่อนนั้นก่อนนะ แล้วค่อยมาฝึกข้อสอบรวมทุกบท
40. ถ้าเราอ่านวิชาไหนไม่ทันจริง ๆ (ย้ำ!ไม่ทันจริง ๆ) ก็ลุยข้อสอบเก่าไปเลย เพราะเราจะได้แต่เนื้อล้วน ๆ ถ้าอ่านรายละเอียดก็จะได้น้ำติดมาด้วย ถ้าติดข้อไหน ก็ไปเปิดหนังสือประกอบเลย ลุยเจาะวิเคราะห์ทีละข้อไปเลย มันเป็นกลยุทธ์ที่เรียกว่า เสียส่วนน้อยเพื่อรักษาส่วนใหญ่
41. ลองจับเวลาทำข้อสอบเก่าดูด้วยก็ดีนะ แรก ๆ อาจจะทำไปเรื่อย ๆ ก่อน ดูสิว่าเราใช้เวลาเยอะขนาดไหน แล้วเริ่มจับเวลาจริง ๆ จัดสภาพแวดล้อมให้เหมือนกับทำข้อสอบเอนท์จริง ๆ อย่าลืมนะว่า ในสนามสอบจริงถูกจำกัดด้วยเวลา ทำได้แต่ทำไม่ทันก็เท่านั้น
42. ถ้าหากทำคะแนนตอนซ้อมได้เยอะ ก็อย่าเพิ่งชะล่าใจล่ะ เพราะคุณอาจจะเป็น หมูสนามจริง สิงห์สนามซ้อม ก็เป็นได้ ส่วนใหญ่แล้วเอนท์จริง ๆ มักจะได้คะแนนน้อยกว่าตอนซ้อม เพราะสภาพกดดันมันต่างกัน และบางข้อเราอาจจะเจอที่เรียนพิเศษ ข้อสอบที่โรงเรียน หนังสือคู่มือ หรือแม้กระทั่งบทความ99วิธี สวัสดีแอดมิชชั่นก็ตาม ก็เลยทำข้อสอบเก่าตอนที่ซ้อมข้อนั้นได้นะสิ
43. เวลาดูเฉลย อย่าดูแต่เฉพาะข้อถูกนะ เราควรจะดูช้อยส์อื่นด้วยว่าผิดตรงไหน ทำไมถึงผิด โดยเฉพาะข้อสอบวิชาบรรยาย จะได้ฝึกเลี่ยงช้อยส์หลอกไง วิเคราะห์มันทีละช้อยส์ไปเลย
เก็บเข้าคอลเล็กชัน
ความคิดเห็น