ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    99วิธี สวัสดีแอดมิชชั่น

    ลำดับตอนที่ #3 : เทคนิคเฉพาะวิชา

    • อัปเดตล่าสุด 20 ต.ค. 48


    เทคนิคเฉพาะวิชา

    17. ถ้าหากคุณอ่านหนังสือจนเข้าใจเป็นอย่างดี หรือทำโจทย์จนรู้แนวข้อสอบ คุณก็จะค้นพบเทคนิคด้วยตัวเองอีกเยอะเลยแหละ ต่อไปนี้เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งเท่านั้นนะ เทคนิคเหล่านี้เจ้าของเทคนิคก็ต่างค้นพบด้วยตัวเองทั้งนั้นแหละ ดูเอาไว้เผื่อเป็นไอเดียในการสร้างเทคนิคให้กับตัวเอง และเทคนิคนั้น ๆ ก็จะมีความเหมาะสมกับคุณมากด้วย



    18. ตอนที่ซ้อมทำข้อสอบเก่าภาษาไทย พวกข้อสอบที่ต้องวิเคราะห์ เช่น ใจความสำคัญของข้อความนี้, ผู้เขียนต้องการสื่อถึงอะไร, น้ำเสียงของบทความ เป็นต้น ควรจะฝึกโดยการปิดช้อยส์ก่อนนะ แล้วนึกคำตอบออกมาให้ได้ แล้วค่อยเปิดช้อยส์ดู ถ้าเราเจอช้อยส์ที่ใกล้เคียงกับที่เราคิด ก็นั้นแหละน่าจะเป็นคำตอบที่ถูก แต่ถ้าเราอ่านโจทย์แล้วดูช้อยส์เลยก็จะถูกช้อยส์นำความคิดไป คือ โดนหลอกโดยไม่รู้ตัว ประมาณว่าข้อนี้ก็น่าจะใช้ ข้อนั้นก็น่าจะถูก ตอนออกจากห้องสอบก็คิดว่าทำได้ แต่จริง ๆ แล้วโดนช้อยส์หลอกโดยไม่รู้ตัว ตอนทำข้อสอบภาษาไทยจริง ๆ ข้อสอบส่วนที่ต้องวิเคราะห์ก็ให้คิดคำตอบก่อนเช่นกัน แล้วค่อยดูช้อยส์ จะได้ไม่โดนช้อยส์นำความคิด



    19. หัดฟังเพลงหรือดูหนังฝรั่งไว้บ้างก็ดีนะ เพราะเราจะได้สำนวนหรือวัฒนธรรมทางภาษามาใช้ทำข้อสอบสวนที่เป็นภาษาอังกฤษในชีวิตประจันได้ดีเลยทีเดียว

    ภาษาอังกฤษ มีนา47 A police officer is chasing a robber and wants into stops. He shouts “..............”.

    ถ้าใครเคยดูหนังฝรั่งบ่อย ๆ จะรู้เลยว่า ควรจะตอบ Freeze เวลาตำรวจฝรั่งวิ่งไล่จับคนร้ายทีไรก็จะพูดว่า Freeze! มีความหมายว่า “หยุดนะ อย่าขยับ” เหมือนกับตำรวจไทยนั้นแหละ



    20. ในวิชาคำนวณ ต้องเข้าใจconceptในแต่ละเรื่องให้ดี ๆ วิชาคำนวณขืนจำสูตรอย่างเดียวแต่ไม่เข้าใจอะไรเลยก็ทำข้อสอบไม่ได้หรอก ต้องใช้ความเข้าใจเป็นหลัก



    21. ถ้าหากคิดว่าสูตรมันเยอะจนขี้เกียจจะจำละก็ ลองเทคนิคการจำสูตรให้ติดมือนี้ดูนะ เราต้องจำสูตร แต่ให้จำด้วยความเข้าใจ(เข้าใจที่มาของสูตร หรือวิธีการใช้สูตร)  ฝึกทำโจทย์เยอะ ๆ เราก็จะเปลี่ยนจากความจำกลายเป็นความเคยชิน ถ้าได้เขียนสูตรอยู่บ่อย ๆ เราก็จะไม่รู้สึกว่าเราจำสูตร แต่จะรู้สึกว่าคุ้นเคย หรือจำจนติดมือนั้นเอง วิชาคำนวณทุกวิชาสามารถใช้เทคนิคนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพนะ



    22. สูตรบางสูตรมันก็มีที่มา ถ้าหากเราเข้าใจที่มาของแต่ละสูตรดี มันก็ช่วยให้เราจำสูตรนั้นได้แม่นยำ หรือช่วยให้เราพลิกแพลงสูตรเพื่อทำข้อสอบบางข้อได้ด้วย



    23. เรื่องสมการlog หรือเรื่องตรีโกณมิติก็ตาม สูตรมันเยอะก็จริง ในช่วงแรกเราอาจจะจำเป็นต้องจำสูตรเขาหน่อย แต่ถ้าหากเราทำโจทย์เยอะ ๆ ทำโจทย์บ่อย ๆ ตัวเราเองก็จะเปลี่ยนจากความจำเป็นความเคยชินไปโดยปริยาย เมื่อเราทำโจทย์จนคล่อง เราก็จะรู้สึกว่าเหมือนไม่ต้องจำสูตรเลย แค่เห็นโจทย์ก็ทำได้ เพราะมันกลายเป็นความเคยชินไปแล้วยังไงล่ะ



    24. เรื่องวิธีเรียงสับเปลี่ยนและการจัดหมู่ โจทย์มันจะหลากหลายแนวมาก ๆ เลย ไม่ค่อยตายตัว คือแนวโจทย์มันจะดิ้นได้อยู่เรื่อย ๆ ต้องหัดทำโจทย์ให้เยอะ ๆ นะ ถ้าหากว่ามีสถาบันกวดวิชาใด หรือหนังสือคู่มือเล่มใดที่เขาแบ่งประเภทโจทย์ของเรื่องนี้ไว้ เช่น แบ่งเป็นกรณีการจัดของในลักษณะแถวหน้ากระดาน, กรณีการจัดที่นั่งเป็นวงกลม เป็นต้น ก็จะดีมาก ๆ เลยแหละ เพราะเราจะได้ไม่สับสน ง่ายต่อการทำความเข้าใจ อย่าลืมทำโจทย์เรื่องนี้ให้เยอะ ๆ ละกัน เพื่อที่จะกอบโกยประสบการณ์ของโจทย์เรื่องนี้ให้มากที่สุด ไปเจอโจทย์แบบไหนในข้อสอบก็เสร็จเราหมด



    25. นอกจากนี้ เมื่อเราคล่องเรื่องวิธีเรียงสับเปลี่ยนและการจัดหมู่แล้ว เราก็จะพลอยคล่องเรื่องความน่าจะเป็นไปด้วย เพราะมันเป็นบทที่ต่อเนื่องกัน และการทำข้อสอบเรื่องความน่าจะเป็นก็ต้องอาศัยความรู้จากเรื่องวิธีเรียงสับเปลี่ยนและการจัดหมู่เยอะเหมือนกัน เท่ากับว่า ยิงกระสุนนัดเดียว ได้นกสองตัว



    26. ตอนซ้อมทำโจทย์เก่าวิชาคำนวณ ฝึกปิดช้อยส์หรือฝึกจากอัตนัยก็ดีนะ จะได้ฝึกคิดตัวเลขให้แม่น ๆ เพื่อจะได้ตอบข้อสอบอัตนัยได้แม่น ๆ ถ้าข้อสอบปรนัยคิดแล้วไม่เจอช้อยส์ก็ยังพอรู้ว่าคิดผิด แต่ถ้าเป็นข้อสอบอัตนัยคิดเลขออกมาแล้ว ไม่มีทางรู้เลยนะว่าจะถูกหรือผิด ถ้าไม่มั่นใจจริง ๆ



    27. สำหรับวิชาฟิสิกส์ ต้องใช้ความเข้าใจเยอะมาก ๆ อย่าคิดว่าจำสูตรอย่างเดียวจะทำข้อสอบได้เสมอไป มันไม่ทุกข้อหรอก



    28. เมื่อจำสูตรได้ ควรจะรู้ด้วยนะว่าตัวแปรแต่ละตัวคืออะไร เช่น V ในบางสูตรก็คือความเร็ว ในบางสูตรก็คือความต่างศักย์ไฟฟ้า, P ในบางสูตรก็คือโมเมนตัม ในบางสูตรก็คือกำลัง



    29. สูตรฟิสิกส์มันเยอะก็จริง แต่ถ้าหากเราหาวิธีจำดี ๆ มันก็จะจำได้ง่ายและแม่นนะ ลองดูตัวอย่างละกัน แล้วเดียวไปหาวิธีจำสูตรอื่น ๆ เอาเองนะ

    สูตรแรงดึงดูดระหว่างดวงดาว ถ้าจำเป็น F = GMm / R^2 หรือ แกรมมี่ / อาร์เอส (R Square) ก็จะจำได้ง่ายและนานกว่าใช่เปล่า



    30. ทฤษฎีบางอย่างอาจจะจำเยอะซะหน่อยหรือสับสนได้ง่าย ก็ลองหาวิธีจำดี ๆ ขึ้นมาสิ ดูตัวอย่างแล้วลองไปหาวิธีจำทฤษฎีอื่นเอาเองล่ะกัน

    ย่านความถี่ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ต้องจำเยอะมาก ๆ เลย อาจจะจำเป็น G-XU-LI-MR (อ่านว่า จี-ซู-ไล-เมอร์) ซึ่งก็มาจาก แกรมม่า เอ็กซ์ อัลตราไวโอเลต แสง(Light) ไมโครเวฟ คลื่นวิทยุ(Radio)นั้นเอง จำแค่ G-XU-LI-MR คำเดียวสั้น ๆ ง่ายจะตาย



    31. สำหรับเรื่องฟิสิกส์อะตอม จำพวกการทดลองของทอมสัน การทดลองของมิลิแกน มันจะใช้สูตรของกลศาสตร์และไฟฟ้าเข้ามาประยุกต์กันใช่ไหมล่ะ สูตรหลัก ๆ ที่ใช้ทำเรื่องนี้มันก็มีอยู่ไม่กี่สูตรหรอกนะ แต่จุดยากก็คือเราต้องแปลงสูตรให้เก่ง ๆ ซึ่งสถาบันกวดวิชาบางแห่งก็ชอบให้จำสูตรสำเร็จไปเลย และก็ต้องจำอยู่มากทีเดียว แบบนี้เรามาจำด้วยความเข้าใจจะดีกว่าไหม จำเฉพาะสูตรหลัก ๆ ซึ่งก็ต้องจำไปใช้ในการสอบกลศาสตร์และไฟฟ้าอยู่แล้ว และหัดแปลงสูตรให้เก่ง ๆ เชื่อมโยงแต่ละสูตรให้ได้ ซึ่งการที่คุณจะทำแบบนี้ได้ก็คือ คุณต้องฝึกทำข้อสอบเก่าเรื่องฟิสิกส์อะตอมมาแล้วอย่างโชกโชนนั้นเอง



    32.โจทย์ประเภทที่กำหนดสถานการณ์มาแล้วถามความเข้าใจโดยไม่ต้องคำนวณ โจทย์แบบนี้จะมีทุกปีเลยนะ ศึกษาโจทย์ประเภทนี้ให้ดีล่ะ ซึ่งการที่จะทำโจทย์ประเภทนี้ได้มันก็ต้องเข้าใจทฤษฎีนั้นเอง ถ้าหากคุณเข้าใจก็จะทำได้เลย แต่ถ้าไม่เข้าใจทฤษฎี คิดให้ตายก็ทำไม่ได้หรอก ถ้าหากนึกโจทย์ประเภทนี้ไม่ออก ลองดูตัวอย่างนะ

    ฟิสิกส์ ตุลา44 ดวงจันทร์โคจรรอบโลกโดยหันด้านเดียวเข้าหาโลกตลอด เมื่อดวงจันทร์โคจรรอบโลกครบ 1 รอบ จะหมุนรอบจุดศูนย์กลางตัวเองกี่รอบ

    ข้อนี้ไม่ต้องใช้ความรู้อะไรเลย ถ้าทำความเข้าใจกับโจทย์ดี ๆ ก็ตอบได้นะ มันเน้นที่ความเข้าใจมากกว่า ลองวาดรูปดูสิ แล้วจะรู้ว่า “ดวงจันทร์หมุนรอบจุดศูนย์กลางตัวเองกี่รอบ”



    33. สำหรับวิชาเคมี ในส่วนที่เป็นเนื้อหาบรรยายหรือทฤษฎี เราอาจจะต้องจำเยอะซะหน่อย ถ้าจะให้ดี เราควรจะจำด้วยความเข้าใจนะ เพราะวิทยาศาสตร์มันจะมีเหตุมีผล มีที่มาของทฤษฎีนั้น ๆ ถ้าหากว่าเราเข้าใจที่มาหรือเหตุผลของทฤษฎีนั้น มันก็จะช่วยให้เราจำหลักการของทฤษฎีนั้นได้อย่างแม่นยำ และก็ไม่ลืมกันง่าย ๆ ซะด้วยสิ ลองดูตัวอย่างต่อไปนี้ แล้วไปหัดจำด้วยความเข้าใจเอาเองนะ

    - พอลิเมอร์แบบกิ่ง สายพอลิเมอร์มันจะมีกิ่งก้านสาขาใช่ไหมละ ทำให้โมเลกุลมันไม่สามารถจัดเรียงตัวชิดกันได้มากยังไงล่ะ ความหนาแน่นมันก็เลยน้อย จุดเดือดจุดหลอมเหลวก็เลยต่ำกว่าพวกพอลิเมอร์แบบเส้น ถ้าเรารู้เหตุผลที่มาขอทฤษฎีแบบนี้ เราก็จะจำได้แม่นยำว่า “พอลิเมอร์แบบกิ่งมันมีจุดเดือดจุดหลอมเหลวต่ำกว่าแบบเส้น” นั้นเอง พอเจอข้อสอบที่ถามเกี่ยวกับจุดเดือดจุดหลอมเหลวของพอลิเมอร์แบบกิ่งและเส้น เราก็จะตอบได้ด้วยความมั่นใจ

    - ระบบคายความร้อน มันไม่ชอบความร้อนมันถึงได้คายออก ถ้าเราเพิ่มอุณหภูมิ สมดุลก็จะย้อนกลับ เพราะมันไม่ชอบความร้อนนี้นา ถ้าเราใช้ความรู้สึกของเราที่สมเหตุสมผลแบบนี้ เมื่อเราเจอข้อสอบที่ถามว่า “ระบบคายความร้อน ถ้าเพิ่มอุณหภูมิ สมดุลจะไปทางไหน” เราก็จะทำข้อสอบข้อนี้ด้วยความมั่นใจเช่นกัน

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×