ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    109เทคนิค พิชิตเอนทรานซ์

    ลำดับตอนที่ #17 : 16 เทคนิควิเคราะห์การวางช้อยส์...แบบตัวเลข

    • อัปเดตล่าสุด 3 ส.ค. 47


    “เทคนิควิเคราะห์การวางช้อยส์…แบบตัวเลข”



    -ช้อยส์ทั้งหลายแหล่ ที่เขาวางมาอะ เขาวางมาอย่างดีเลยแหละ บางที เราคิดผิด ก็มีคำตอบรอไว้เลย ออกมาจากห้องสอบดีใจ มีคำตอบทุกข้อ ทำได้ทุกข้อเลย แต่คะแนนออกมากลับไม่ใช่ ก็เพราะเหตุนี้แหละ



    -อย่างที่บอกไปแล้ว ข้อสอบเอนท์เป็นข้อสอบที่มาตรฐาน กรรมการออกข้อสอบจะวางช้อยส์มาเป็นอย่างดี ในบางช้อยส์จึงมีรูปแบบที่น่าสังเกต



    -เมื่อเราจนตรอก ให้ลองวิเคราะห์การวางช้อยส์ดี ๆ คิดซะว่า “ถ้าเราเป็นคนออกข้อสอบ จะวางช้อยส์ข้อนี้ยังไง” อันนี้เป็นเพียงตัวอย่างการวิเคราะห์ช้อยส์นะ ถ้าพอจะเป็นแล้ว ก็ลองไปวิเคราะห์ช้อยส์เองตอนจนตรอกในห้องสอบ



    -*ขอย้ำว่าวิชามารไม่สามารถจะนำไปใช้ในการทำข้อสอบได้ทุกข้อนะ เพียงแต่นำไปใช้ในการทำข้อสอบได้หลายข้อเท่านั้น



    -วิชามารแบบนี้ไม่มีรูปแบบที่ตายตัว ควรจะใช้การตัดช้อยส์และการเกลี่ยช้อยส์ประกอบกันไปด้วยนะ เพื่อที่จะได้ข้อที่ควรจะเป็นคำตอบมากที่สุด บางทีอาจจะตัดได้จนเหลือช้อยส์เดียวก็ได้นะ ถ้าวิเคราะห์เก่ง ๆ



    -วิชามารที่ 4 : ช้อยส์ในลักษณะเลขเรียงตามลำดับเลข



    +คณิต ตุลา 46 : เฉลย ข.

    ก.9           ข.10           ค.11           ง.12  



    -เหตุผลและการวิเคราะห์ : โจทย์พวกนี้ มักจะต้องให้เรานับ เช่น นับจำนวนไอโซเมอร์ นับจำนวนลูกคลื่น จำนวนปฏิบัพ ถ้าเขาวางคำตอบไว้ช้อยส์ตรงกลาง  ๆ หากว่าเด็กนับพลาดไป1 ลูก ก็จะมีช้อยส์รอรับหมดเลย แต่ถ้าวางคำตอบไว้ริม ๆ (ก.หรือง.) ถ้าเด็กคิดพลาด แล้วไม่เจอช้อยส์ ก็จะรู้ตัวว่าคิดผิด วัดไม่ได้ว่ารู้จริงแค่ไหน.....พอเข้าใจมะ



    -สรุปเป็นสูตรสำเร็จ : ถ้าเจอการวางช้อยส์ในลักษณะเลขเรียงตามลำดับดังตัวอย่าง ช้อยส์ที่อยู่ตรงกลาง คือ ข. และ ค. ควรจะเป็นคำตอบมากที่สุด



    +เคมี ตุลา 44 : โจทย์ให้หาจำนวนไอโซเมอร์ (เปิดข้อสอบเก่าตรวจสอบได้นะ)

    ก.5         ข.6         ค.7         ง.8  



    อธิบาย : เลขเรียงแบบนี้ ควรตอบช้อยส์กลาง ข. หรือ ค. (เฉลย ค.)



    + วิศวะ ตุลา 46



    ก.5.63        ข.6.63        ค.7.63        ง.8.63



    อธิบาย : อันนี้ก็เป็นเลขเรียงในอีกลักษณะนึง ควรตอบช้อยส์กลาง (เฉลย ค.)



    -วิชามารที่ 5 : ช้อยส์ที่ไล่จากเลขมากไปน้อย



    +คณิต1 ตุลา 46 : เฉลย ข.

    ก.4        ข.3        ค.2        ง.1



    -เหตุผลและการวิเคราะห์ : โดยธรรมชาติมนุษย์ คนออกข้อสอบควรจะวางช้อยส์ไล่จากเลขน้อยไปเลขมากถูกมะ แต่ไหงมันถึงได้ไล่จากเลขมากไปหาเลขน้อยล่ะ น่าสงสัยน่ะ อาจจะเป็นไปได้ว่า มีคำตอบที่ถูกเป็นช้อยส์ ค. และ ง.มากแล้ว คนออกข้อสอบอาจจะต้องการเกลี่ยช้อยส์ ก็เลยกลับช้อยส์เอาเลขมากมาอยู่ข้างหน้า



    -สรุปเป็นสูตรสำเร็จ : ถ้าเจอช้อยส์ที่เรียงเลขจากมากไปน้อย ขอแค่เรียงจากมากไปน้อยก็ผิดสังเกตแล้วอ่ะ ช้อยส์ที่ควรจะเป็นคำตอบมากที่สุดคือ เลขมาก ก. หรือ ข. นั้นเอง



    +วิศวะ มีนา 45

    ก.126            ข.120            ค.114            ง.100

    อธิบาย : เลขเรียงจากมากไปน้อยแบบนี้ควรตอบเลขมาก 126 หรือ 120 (เฉลย 120)



    +คณิต ตุลา 46

    ก.รูท8            ข.รูท7             ค.รูท6             ง.รูท5

    อธิบาย : อันนี้ก็เป็นเลขเรียงจากมากไปน้อยในอีกลักษณะนึง ควรตอบ รูท8 หรือ รูท7 (เฉลย รูท7)



    -วิชามารที่ 6 : ช้อยส์ที่ลวงไว้เผื่อเด็กคิดเลขผิด



    +ฟิสิกส์ มีนา 46 : เฉลย 0.8

    ก.0.4             ข.0.6               ค.0.8               ง.1.3  



    -เหตุผลและการวิเคราะห์ : ช้อยส์แบบนี้มีเยอะเลยแหละ อย่างที่บอก คิดผิดก็มีคำตอบรออยู่ คนออกข้อสอบเขาจะเผื่อคำตอบที่เด็กอาจจะคิดเลขผิดไว้ก็ได้ เช่น ลืมหาร 2 ในข้อที่ให้หาค่าเฉลี่ย, ลืมคูณในข้อที่หารัศมีได้ แต่ถามเป็นเส้นผ่านศูนย์กลาง, คิดเลขทศนิยมพลาด ทำให้ได้ทศนิยมที่ผิดตำแหน่ง, ย้ายข้างสมการพลาด ทำให้ได้เศษส่วนที่ผิด เป็นต้น



    -สรุปเป็นสูตรสำเร็จ : สังเกตช้อยส์ที่อาจจะถูกวางไว้เป็นหลุมให้เด็กที่คิดเลขผิดตกเล่น เพราะช้อยส์นั้น อาจจะเป็นคำตอบที่ถูกก็ได้



    +เคมี ตุลา 45

    ก.2.5             ข.25               ค.75               ง .85

    อธิบาย : ข้อนี้เผื่อว่าคิดเลขทศนิยมพลาด ควรตอบ 2.5 หรือ 25 (เฉลย 25)



    +วิศวะ ตุลา 46

    ก.g                ข.2g             ค.g/2            ง.3g/2

    อธิบาย : ข้อนี้เผื่อว่ากลับสมการพลาด ควรตอบ 2g หรือ g/2 (เฉลย g/2) ถึงแม้จะคิดได้ว่าเผื่อลืมหาร 2 แต่ควรจะสังเกตช้อยส์ที่ให้มาเป็นเศษส่วนอยู่หลายช้อยส์ เราน่าจะคิดไปที่เรื่องของสมการและเศษส่วนมากกว่า



    ***สงวนลิขสิทธิ์ตามกฎหมาย ห้ามมิให้คัดลอกไม่ว่าส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความ***

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน
    นิยายแฟร์ 2024

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×