ลำดับตอนที่ #16
คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #16 : 15 เทคนิคการเอาตัวรอดในห้องสอบ
“เทคนิคการเอาตัวรอดในห้องสอบ”
-ก็ได้กลยุทธ์ดี ๆ ไปเยอะนะ คราวนี้เราลองมาดูวิชามารกันมั้ง
-อย่างว่า ทุกคะแนนมีค่าเนอะ ยังไง ๆ เราก็ต้องโกยคะแนนให้ได้มากที่สุด ถ้าไม่โกยด้วยเล่ห์ ก็ต้องโกยด้วยกล ถ้าไม่โกยด้วยมนต์ ก็ต้องโกยด้วยคาถา ต่อให้เราจนมุม ก็ต้องใช้ความพยายามกันอีกนิดนึงเนอะ เผื่อว่าจะกอบโกยคะแนนได้อีกหน่อยนึงก็ยังดี
-แน่นอนล่ะ เราคงไม่สามารถจะทำข้อสอบได้ทุกข้อหรอกจริงไหม เวลาอยู่ในห้องสอบก็คงจะต้องมีการมั่วกันมั้ง แต่จะมั่วแบบวัดดวงประเภทหมุนปากกา แล้วดูว่าหัวปากกาหันไปทางช้อยส์ไหนก็กาช้อยส์นั้น อันนี้ก็คงจะดูไม่ค่อยน่ารักซักเท่าไหร่ หรือจะหลับตาจิ้มแล้วกาช้อยส์นั้น อันนี้ก็ไม่ไหวพอกัน เรามาลองมาดูเทคนิคการมั่วแบบน่ารัก ๆ แบบที่มั่วแล้วสมควรจะเอนท์ติดกันจะดีกว่านะ
-*ก่อนที่จะมาดูวิชามาร เรามาตกลงกันก่อนนะ ว่าเราไม่ได้มีเจตนาจะส่งเสริมให้คุณมั่ว เพียงแต่เจตนาจะให้คุณรู้จักมั่วอย่างมีเหตุมีผล เพื่อให้มั่วได้เจอคำตอบที่ถูกมากที่สุด อย่างน้อยก็ดีกว่าวิธีมั่วแบบวัดดวงละกัน
-คำเตือน : โปรดใช้วิจารณญาณในการเลือกใช้วิชามารการมั่ว
-ข้อตกลง “จนตรอก” หมายถึง ทำไม่ได้ หรือทำไม่ทันจริง ๆ กรุณาทำความเข้าใจกับข้อตกลงของคำว่า “จนตรอก” ให้ดีนะ ๆ เพราะวิชามารจะมีประสิทธิภาพก็ต่อเมื่ออยู่ในกรณีจนตรอกเท่านั้น
-*Conceptของวิชามารก็คือ ถ้าจะมั่ว ก็ควรจะมั่วด้วยเหตุผล มั่วเท่าที่ความรู้จะมีอยู่ และมั่วโดยวิเคราะห์การวางช้อยส์ เพื่อให้มีโอกาสถูกมากขึ้น ถึงเราจะจนตรอก ก็ต้องสู้นะ ต้องโกยคะแนนให้ได้มากที่สุด ไม่ควรจะมั่วโดยอาศัยดวง คิดเหรอว่าจะดวงดีเสมอไป
-ขอย้ำว่า วิชามารการมั่วที่นำเสนอนี้ ไม่ได้ใช้ดวงเลยแม้แต่นิดเดียว แต่มีเหตุผลรองรับหมดทุกวิชามารเลยนะ ก่อนที่คุณจะนำวิชามารการมั่วในแบบต่าง ๆ ไปใช้ คุณควรจะทำความเข้าใจถึงเหตุผลในแต่ละวิชามารด้วยนะ
-วิชามารที่ 1 : ข้อสอบอัตนัย อย่าคิดนะว่า เราจะเดาไม่ได้ อย่างน้อย ๆ ก็น่าจะตอบเลขที่สมเหตุสมผลที่สุด ลองดูตัวอย่างเป็นไกด์นำทางก่อนละกัน แล้วค่อยนำไปใช้ในห้องสอบ
+เคมี ตุลา 46 : นำไขมันประเภทไตรกลีเซอไรด์ชนิดหนึ่งหนัก 8.80 g มาต้มกับสารละลาย KOH เข้มข้น 1.00 mol.dm-3 ปริมาตร 50 cm3 จนเกิดปฏิกิริยาอย่างสมบูรณ์ แล้วนำของผสมที่ได้มาไทเทรตกับสารละลาย HCl เข้มข้น 0.50 mol.dm-3 โดยใช้ฟีนอล์ฟทาลีนเป็นอินดิเคเตอร์ พบว่าที่จุดยุติใช้สารละลาย HCl 40 cm3 ถ้ากรดไขมันเป็นชนิดเดียวกันทั้งหมด จงคำนวณความยาวของโซ่คาร์บอนของกรดไขมัน(รวมคาร์บอนในหมู่คาร์บอกซิลด้วยและปัดเศษเป็นเลขจำนวนเต็มในคำตอบสุดท้าย) 
-สมมติว่าทำข้อนี้ไม่ได้ ก็ควรจะตอบC18 เพราะกรดสเตียริก เป็นกรดไขมันที่พบมาก และชอบออกข้อสอบเอนท์บ่อยด้วย (ถ้าตอบผิดก็ไม่เป็นไร เพราะเรามั่วนิ แต่ถ้าเกิดมั่วถูกขึ้นมาละ...4คะแนนเลยนะ แซงคนไป4พันคน...เราไม่ได้มั่วแบบซี้ซั้ว แต่มั่วแบบมีเหตุผลนะ)
+ฟิสิกส์ มีนา 47 : วงกลมโลหะกลวง 2 ใบ มีผิวบางมาก มีรัศมี 2 และ 4 เซนติเมตร มีจุดศูนย์กลางร่วมกัน วงกลมอันนอกต่อกับดิน ซึ่งความต่างศักย์ไฟฟ้าเป็นศูนย์ ทรงกลมอันในมีประจุบวก 0.2 นาโนคูลอมบ์ ถามว่าจุดศูนย์กลางของวงกลมทั้งสองมีศักย์ไฟฟ้ากี่โวลต์ ถ้าระบบทั้งหมดอยู่ในสุญญากาศ
-ถ้าทำไม่ได้ น่าจะเอะใจนิด ๆ ว่า เขากำหนดเลข10-9มา มันจะฝนคำตอบลงไปได้ไง แสดงว่ามันต้องเอาไปคูณกับค่าK (109) ก่อนสิ เลขยกกำลังถึงจะหายไป แล้วรัศมีเขาให้มาทำไม ลองคูณหรือหารดูสิ พอจะเข้าใจไหมว่าคนออกข้อสอบเขาออกเป็นอัตนัยมาใช่ไหม เขาก็ต้องกำหนดตัวเลขให้มันคำนวณแล้วลงตัวฝนในกระดาษคำตอบได้อาไรเงี่ย มั่วแบบมีเหตุผลจะมีโอกาสถูกเพิ่มขึ้น
-ถ้าคำตอบอัตนัยที่คิดได้ ตัวเลขมันแปลก ๆ เช่น เป็นทศนิยมไม่รู้จบเลย ต้องเอะใจหน่อยนะ ลองคิดอีกทีสิ เผื่อคิดผิด
+เคมี มีนา 47 : สารละลายชนิดหนึ่งประกอบด้วยตัวถูกละลาย A หนัก 5 g และตัวทำละลาย B หนัก 235 gสารละลายนี้มีความหนาแน่นเท่ากับ 1.20 g/cm3 ถ้าสารAมีมวลโมเลกุลเท่ากับ 100 สารละลายนี้มีความเข้มข้นกี่โมลต่อลูกบาศก์เดซิเมตร
-ถ้าใครเผลอคิดเป็นแบบโมแลล จะได้คำตอบ 0.255 ก็ต้องฝนเป็น 0.26 มันน่าเอะใจนะ ลองคิดอีกทีแบบโมลาร์ ก็จะได้ 0.25 นี้เอง เกือบผิดแล้วไหมละ พลาดนิดเดียวเสียดายนะ ตั้ง4คะแนน (โดนแซงไป4พันคน)
-วิชามารที่ 2 : การตัดช้อยส์
-ถ้าเราจนตรอกจริง ๆ อย่าเพิ่งฝนไปมั่ว ๆ หรือวัดดวงเอานะ อย่างน้อย ๆ เราควรจะลองตัดช้อยส์ที่มันผิดชัวร์ ๆ ก่อน ตัดออกไปเลย ก็มีโอกาสถูกมากขึ้น
-วิชามารที่ 3 : การเกลี่ยช้อยส์
-ข้อสอบเอนท์ในบางวิชา จะวางคำตอบที่ถูกต้องไว้เท่า ๆ กันทุกช้อยส์ ก็เพราะว่าถ้าเกิดเด็กมั่ว จะได้มีโอกาสถูกพอ ๆ กันทุกช้อยส์ ไม่ใช่ว่ามั่ว ค. แล้วจะถูกมากที่สุด
-การเกลี่ยช้อยส์จะเห็นได้ชัดในวิชาคำนวณนะ เช่น เคมี ฟิสิกส์ และก็อังกฤษด้วย ถ้าเราอ่านมาเยอะ ทำได้เยอะแล้วอะ อาจจะมีไม่กี่ข้อที่เราทำไม่ได้ เรารู้แล้วหนิ ว่าคำตอบมันจะเท่า ๆ กันทุกช้อยส์ ก็พยายามดูช้อยส์ที่เรายังไม่ตอบ เกลี่ยข้อที่เหลือไปช้อยส์นั้น
-ควรจะใช้วิธีการตัดช้อยส์ประกอบด้วยนะ เช่น เราตอบข้อ ก.กับข.น้อย แต่โจทย์ข้อนี้ เรารู้แล้วว่า ไม่ตอบข.แน่ ๆ ก็เลยไปเติมที่ ก.แทน
-เคมี และฟิสิกส์มีจำนวนปรนัยน้อย ถ้าหาร 4 ตามวิธีเกลี่ยช้อยส์ จะได้ช้อยส์ที่ควรจะเป็นคำตอบ 7-10 ข้อต่อ 1 ตัวเลือก ซึ่งก็จะเกลี่ยช้อยส์ได้ไม่ยากนัก และถ้าหากคุณเตรียมตัวในวิชานี้มาดี คุณก็จะเหลือข้อที่จนตรอกอยู่แค่ไม่กี่ข้อเอง การเกลี่ยช้อยส์ก็จะมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
-ถ้าจะต้องมั่วไทยสังคม อย่าพยายามเกลี่ยช้อยส์นะ เพราะช้อยส์มันไม่ได้บาลานซ์(Balance)เหมือนวิชาอื่น
***สงวนลิขสิทธิ์ตามกฎหมาย ห้ามมิให้คัดลอกไม่ว่าส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความ***
-ก็ได้กลยุทธ์ดี ๆ ไปเยอะนะ คราวนี้เราลองมาดูวิชามารกันมั้ง
-อย่างว่า ทุกคะแนนมีค่าเนอะ ยังไง ๆ เราก็ต้องโกยคะแนนให้ได้มากที่สุด ถ้าไม่โกยด้วยเล่ห์ ก็ต้องโกยด้วยกล ถ้าไม่โกยด้วยมนต์ ก็ต้องโกยด้วยคาถา ต่อให้เราจนมุม ก็ต้องใช้ความพยายามกันอีกนิดนึงเนอะ เผื่อว่าจะกอบโกยคะแนนได้อีกหน่อยนึงก็ยังดี
-แน่นอนล่ะ เราคงไม่สามารถจะทำข้อสอบได้ทุกข้อหรอกจริงไหม เวลาอยู่ในห้องสอบก็คงจะต้องมีการมั่วกันมั้ง แต่จะมั่วแบบวัดดวงประเภทหมุนปากกา แล้วดูว่าหัวปากกาหันไปทางช้อยส์ไหนก็กาช้อยส์นั้น อันนี้ก็คงจะดูไม่ค่อยน่ารักซักเท่าไหร่ หรือจะหลับตาจิ้มแล้วกาช้อยส์นั้น อันนี้ก็ไม่ไหวพอกัน เรามาลองมาดูเทคนิคการมั่วแบบน่ารัก ๆ แบบที่มั่วแล้วสมควรจะเอนท์ติดกันจะดีกว่านะ
-*ก่อนที่จะมาดูวิชามาร เรามาตกลงกันก่อนนะ ว่าเราไม่ได้มีเจตนาจะส่งเสริมให้คุณมั่ว เพียงแต่เจตนาจะให้คุณรู้จักมั่วอย่างมีเหตุมีผล เพื่อให้มั่วได้เจอคำตอบที่ถูกมากที่สุด อย่างน้อยก็ดีกว่าวิธีมั่วแบบวัดดวงละกัน
-คำเตือน : โปรดใช้วิจารณญาณในการเลือกใช้วิชามารการมั่ว
-ข้อตกลง “จนตรอก” หมายถึง ทำไม่ได้ หรือทำไม่ทันจริง ๆ กรุณาทำความเข้าใจกับข้อตกลงของคำว่า “จนตรอก” ให้ดีนะ ๆ เพราะวิชามารจะมีประสิทธิภาพก็ต่อเมื่ออยู่ในกรณีจนตรอกเท่านั้น
-*Conceptของวิชามารก็คือ ถ้าจะมั่ว ก็ควรจะมั่วด้วยเหตุผล มั่วเท่าที่ความรู้จะมีอยู่ และมั่วโดยวิเคราะห์การวางช้อยส์ เพื่อให้มีโอกาสถูกมากขึ้น ถึงเราจะจนตรอก ก็ต้องสู้นะ ต้องโกยคะแนนให้ได้มากที่สุด ไม่ควรจะมั่วโดยอาศัยดวง คิดเหรอว่าจะดวงดีเสมอไป
-ขอย้ำว่า วิชามารการมั่วที่นำเสนอนี้ ไม่ได้ใช้ดวงเลยแม้แต่นิดเดียว แต่มีเหตุผลรองรับหมดทุกวิชามารเลยนะ ก่อนที่คุณจะนำวิชามารการมั่วในแบบต่าง ๆ ไปใช้ คุณควรจะทำความเข้าใจถึงเหตุผลในแต่ละวิชามารด้วยนะ
-วิชามารที่ 1 : ข้อสอบอัตนัย อย่าคิดนะว่า เราจะเดาไม่ได้ อย่างน้อย ๆ ก็น่าจะตอบเลขที่สมเหตุสมผลที่สุด ลองดูตัวอย่างเป็นไกด์นำทางก่อนละกัน แล้วค่อยนำไปใช้ในห้องสอบ
+เคมี ตุลา 46 : นำไขมันประเภทไตรกลีเซอไรด์ชนิดหนึ่งหนัก 8.80 g มาต้มกับสารละลาย KOH เข้มข้น 1.00 mol.dm-3 ปริมาตร 50 cm3 จนเกิดปฏิกิริยาอย่างสมบูรณ์ แล้วนำของผสมที่ได้มาไทเทรตกับสารละลาย HCl เข้มข้น 0.50 mol.dm-3 โดยใช้ฟีนอล์ฟทาลีนเป็นอินดิเคเตอร์ พบว่าที่จุดยุติใช้สารละลาย HCl 40 cm3 ถ้ากรดไขมันเป็นชนิดเดียวกันทั้งหมด จงคำนวณความยาวของโซ่คาร์บอนของกรดไขมัน(รวมคาร์บอนในหมู่คาร์บอกซิลด้วยและปัดเศษเป็นเลขจำนวนเต็มในคำตอบสุดท้าย) 
-สมมติว่าทำข้อนี้ไม่ได้ ก็ควรจะตอบC18 เพราะกรดสเตียริก เป็นกรดไขมันที่พบมาก และชอบออกข้อสอบเอนท์บ่อยด้วย (ถ้าตอบผิดก็ไม่เป็นไร เพราะเรามั่วนิ แต่ถ้าเกิดมั่วถูกขึ้นมาละ...4คะแนนเลยนะ แซงคนไป4พันคน...เราไม่ได้มั่วแบบซี้ซั้ว แต่มั่วแบบมีเหตุผลนะ)
+ฟิสิกส์ มีนา 47 : วงกลมโลหะกลวง 2 ใบ มีผิวบางมาก มีรัศมี 2 และ 4 เซนติเมตร มีจุดศูนย์กลางร่วมกัน วงกลมอันนอกต่อกับดิน ซึ่งความต่างศักย์ไฟฟ้าเป็นศูนย์ ทรงกลมอันในมีประจุบวก 0.2 นาโนคูลอมบ์ ถามว่าจุดศูนย์กลางของวงกลมทั้งสองมีศักย์ไฟฟ้ากี่โวลต์ ถ้าระบบทั้งหมดอยู่ในสุญญากาศ
-ถ้าทำไม่ได้ น่าจะเอะใจนิด ๆ ว่า เขากำหนดเลข10-9มา มันจะฝนคำตอบลงไปได้ไง แสดงว่ามันต้องเอาไปคูณกับค่าK (109) ก่อนสิ เลขยกกำลังถึงจะหายไป แล้วรัศมีเขาให้มาทำไม ลองคูณหรือหารดูสิ พอจะเข้าใจไหมว่าคนออกข้อสอบเขาออกเป็นอัตนัยมาใช่ไหม เขาก็ต้องกำหนดตัวเลขให้มันคำนวณแล้วลงตัวฝนในกระดาษคำตอบได้อาไรเงี่ย มั่วแบบมีเหตุผลจะมีโอกาสถูกเพิ่มขึ้น
-ถ้าคำตอบอัตนัยที่คิดได้ ตัวเลขมันแปลก ๆ เช่น เป็นทศนิยมไม่รู้จบเลย ต้องเอะใจหน่อยนะ ลองคิดอีกทีสิ เผื่อคิดผิด
+เคมี มีนา 47 : สารละลายชนิดหนึ่งประกอบด้วยตัวถูกละลาย A หนัก 5 g และตัวทำละลาย B หนัก 235 gสารละลายนี้มีความหนาแน่นเท่ากับ 1.20 g/cm3 ถ้าสารAมีมวลโมเลกุลเท่ากับ 100 สารละลายนี้มีความเข้มข้นกี่โมลต่อลูกบาศก์เดซิเมตร
-ถ้าใครเผลอคิดเป็นแบบโมแลล จะได้คำตอบ 0.255 ก็ต้องฝนเป็น 0.26 มันน่าเอะใจนะ ลองคิดอีกทีแบบโมลาร์ ก็จะได้ 0.25 นี้เอง เกือบผิดแล้วไหมละ พลาดนิดเดียวเสียดายนะ ตั้ง4คะแนน (โดนแซงไป4พันคน)
-วิชามารที่ 2 : การตัดช้อยส์
-ถ้าเราจนตรอกจริง ๆ อย่าเพิ่งฝนไปมั่ว ๆ หรือวัดดวงเอานะ อย่างน้อย ๆ เราควรจะลองตัดช้อยส์ที่มันผิดชัวร์ ๆ ก่อน ตัดออกไปเลย ก็มีโอกาสถูกมากขึ้น
-วิชามารที่ 3 : การเกลี่ยช้อยส์
-ข้อสอบเอนท์ในบางวิชา จะวางคำตอบที่ถูกต้องไว้เท่า ๆ กันทุกช้อยส์ ก็เพราะว่าถ้าเกิดเด็กมั่ว จะได้มีโอกาสถูกพอ ๆ กันทุกช้อยส์ ไม่ใช่ว่ามั่ว ค. แล้วจะถูกมากที่สุด
-การเกลี่ยช้อยส์จะเห็นได้ชัดในวิชาคำนวณนะ เช่น เคมี ฟิสิกส์ และก็อังกฤษด้วย ถ้าเราอ่านมาเยอะ ทำได้เยอะแล้วอะ อาจจะมีไม่กี่ข้อที่เราทำไม่ได้ เรารู้แล้วหนิ ว่าคำตอบมันจะเท่า ๆ กันทุกช้อยส์ ก็พยายามดูช้อยส์ที่เรายังไม่ตอบ เกลี่ยข้อที่เหลือไปช้อยส์นั้น
-ควรจะใช้วิธีการตัดช้อยส์ประกอบด้วยนะ เช่น เราตอบข้อ ก.กับข.น้อย แต่โจทย์ข้อนี้ เรารู้แล้วว่า ไม่ตอบข.แน่ ๆ ก็เลยไปเติมที่ ก.แทน
-เคมี และฟิสิกส์มีจำนวนปรนัยน้อย ถ้าหาร 4 ตามวิธีเกลี่ยช้อยส์ จะได้ช้อยส์ที่ควรจะเป็นคำตอบ 7-10 ข้อต่อ 1 ตัวเลือก ซึ่งก็จะเกลี่ยช้อยส์ได้ไม่ยากนัก และถ้าหากคุณเตรียมตัวในวิชานี้มาดี คุณก็จะเหลือข้อที่จนตรอกอยู่แค่ไม่กี่ข้อเอง การเกลี่ยช้อยส์ก็จะมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
-ถ้าจะต้องมั่วไทยสังคม อย่าพยายามเกลี่ยช้อยส์นะ เพราะช้อยส์มันไม่ได้บาลานซ์(Balance)เหมือนวิชาอื่น
***สงวนลิขสิทธิ์ตามกฎหมาย ห้ามมิให้คัดลอกไม่ว่าส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความ***
เก็บเข้าคอลเล็กชัน
ความคิดเห็น