ลำดับตอนที่ #15
คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #15 : 14 เมื่อวันนั้นมาถึง
“เมื่อวันนั้นมาถึง”
-ดูหัวข้อแล้วอาจจะงง วันนั้นที่ว่าก็วันสอบนะแหละ ว่าแต่คุณพร้อมที่จะสอบรึยังล่ะ
-ช่วงก่อนถึงวันสอบ อย่างน้อยสักอาทิตย์-2อาทิตย์ ก็น่าจะทำข้อสอบเก่า ๆ  ได้แล้วนะ เพราะเราอ่านรายละเอียดมาทั้งเทอมแล้วหนิ ต้องลองลับฝีมือซะมั้ง จะได้รู้ว่า เราตกหล่นตรงไหน ต้องปรับความเร็วอีกเท่าไหร่ (อย่าลืมว่าการสอบจำกัดด้วยเวลา)
-*อย่างน้อยก่อนวันสอบสัก1-2วัน เราต้องเริ่มผ่อนคลายแล้วนะ อย่าคิดมาก ทำใจดี ๆ สู้ให้ถึงที่สุด นอนให้ครบ8ชม/วัน กินข้าวให้ครบทุกมื้อ (ก่อนหน้านั้น ใกล้สอบ จะนอนวันละ4-6ชม ก็ไม่ว่ากัน) มาอ่านเพิ่มเอาอีก2วันที่เหลือมันช่วยอาไรไม่ได้มากหรอก ยกเว้นจะทำโจทย์ซ้ำตรงส่วนที่เราแม่นอยู่แล้ว เพื่อตอกย้ำความแม่นและเรียกกำลังใจว่าเราก็ทำได้เยอะเหมือนกันนะ
-เอาเป็นว่า ก่อนวันสอบอย่างน้อย2วัน ต้องพักผ่อนมาก ๆ ใส่ใจสุขภาพตัวเองให้มากหน่อย ถ้าสมองพร้อมแต่กายไม่พร้อม มันจะไหวไหมล่ะ เกิดเป็นลมในห้องสอบขึ้นมาแย่เลย ทำเป็นเล่นไป เรื่องจริงนะ...เห็นมากับตา เจอมากับตัว
-ควรจะไปสำรวจสถานที่สอบก่อนนะ วางแผนการเดินทางให้ดี ๆ จะได้ไม่เจอรถติด เตรียมอุปกรณ์การสอบให้พร้อม ดินสอ2Bนะ เอาไปเผื่อเยอะ ๆ เผื่อเหลา เผื่อหัก เผื่อทู่ เผื่อเพื่อนยืม ฯลฯ ขอหลาย ๆ แท่งหน่อย สอบทั้งตุลา มีนา สอบหลายวิชา ได้ใช้คุ้มแน่ ยางลบเอาแบบลบแล้วสะอาดชัวร์ ๆ เลยนะ
-พอถึงวันสอบจริง ๆ แล้วรู้สึกมั่นใจ พร้อมเต็มร้อย ก็ดีแล้วนะ แต่ถ้ารู้สึกว่ายังไม่พร้อม หรือพร้อมนิดหน่อย ก็ต้องสู้นะ เอาเป็นว่า ทำให้สุดฝีมือก็แล้วกัน
-*ตอนสอบน่ะ อย่าลน มั่นใจในตัวเอง ฝนรหัสวิชา ชุดสอบ รหัสประจำตัวสอบให้ดี ๆ ถ้าพลาดตัวเลขไปแค่ตัวเดียว คะแนนเราจะพลาดไปร้อยคะแนนเลยนะ เจอมาเยอะแล้ว สอบอังกฤษรหัส03 เป็นวิชาที่2ของวัน แต่ดันไปกรอกเป็นรหัส02 พอเจอสังคมรหัส02 สอบเป็นวิชาที่3 ก็เลยเพิ่งรู้ว่าเมื่อกี้ฝนรหัสอังกฤษผิด กรรมการคุมสอบบางครั้งเขาก็ดูให้เราไม่ละเอียดหรอก เราต้องดูของตัวเองให้ดี ๆ นะ
-ควรใส่นาฬิกาไปด้วย ดูเวลาเป็นระยะ จะได้กะเวลาทำข้อสอบถูก (ขอขอบคุณเจ้าของเทคนิคดี ๆ แบบนี้มา ณ ที่นี้ด้วย)
-วิชาคำนวณ ควรจะทำข้อสอบอัตนัยก่อนนะ บางทีมันก็ไม่ยากอย่างที่เราคิดหรอก บางข้อง่ายกว่าปรนัยด้วยซ้ำ ถ้าเราทำปรนัยไม่ทัน ก็ยังพอมั่วได้ แต่ถ้าทำอัตนัยไม่ทันนี้สิ ไม่รู้จะมั่วยังไง (แต่ก็ไม่แน่นะ ต้องติดตามหัวข้อต่อ ๆ ไปเอาเอง)
-ข้อไหนทำไม่ได้ก็ข้ามไปก่อน แล้วค่อยย้อนมาทำใหม่ อันนี้คงรู้กันอยู่แล้ว ย้ำเฉย ๆ
-ถ้าเราทำเสร็จแล้วยังพอมีเวลาเหลือ อย่างน้อย ๆ ควรจะตรวจทานกระดาษคำตอบว่าเราฝนตัวเลขถูกไหม ลืมฝนอะไรไปรึเปล่า ใช้เวลาให้คุ้มค่ามากที่สุดนะ โดยเฉพาะคนที่จะเข้าคณะเศรษฐศาสตร์ ควรจะรู้จักใช้ทรัพยากรเวลาให้เกิดประโยชน์มากที่สุด...เกี่ยวกันไหมอะ...อิอิ
-*อย่าทุจริตเลย อย่าแม้แต่จะคิด มันไม่คุ้มหรอกนะกับผลที่ได้นะ ห้องสอบนึงจะจัดที่นั่งสอบไม่เกิน30ที่ กรรมการคุมสอบสองคน และข้อสอบก็มี2ชุด เรากับคนข้าง ๆ จะได้กันคนละชุด (โจทย์เหมือนกัน แต่ลำดับข้อต่างกัน) เราไม่รู้หรอกว่า ข้อที่1ของเรา จะไปตรงกับข้อที่เท่าไหร่ของคนข้าง ๆ
-ก้าวเข้าห้องสอบด้วยความมั่นใจ และทำมันให้ดีที่สุด เรารู้ว่าคุณทำได้ และทำได้ดีด้วย ขนาดเรายังเชื่อมั่นในตัวคุณเลย แล้วทำไมคุณจะไม่เชื่อมั่นในตัวเองล่ะ
***สงวนลิขสิทธิ์ตามกฎหมาย ห้ามมิให้คัดลอกไม่ว่าส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความ***
-ดูหัวข้อแล้วอาจจะงง วันนั้นที่ว่าก็วันสอบนะแหละ ว่าแต่คุณพร้อมที่จะสอบรึยังล่ะ
-ช่วงก่อนถึงวันสอบ อย่างน้อยสักอาทิตย์-2อาทิตย์ ก็น่าจะทำข้อสอบเก่า ๆ  ได้แล้วนะ เพราะเราอ่านรายละเอียดมาทั้งเทอมแล้วหนิ ต้องลองลับฝีมือซะมั้ง จะได้รู้ว่า เราตกหล่นตรงไหน ต้องปรับความเร็วอีกเท่าไหร่ (อย่าลืมว่าการสอบจำกัดด้วยเวลา)
-*อย่างน้อยก่อนวันสอบสัก1-2วัน เราต้องเริ่มผ่อนคลายแล้วนะ อย่าคิดมาก ทำใจดี ๆ สู้ให้ถึงที่สุด นอนให้ครบ8ชม/วัน กินข้าวให้ครบทุกมื้อ (ก่อนหน้านั้น ใกล้สอบ จะนอนวันละ4-6ชม ก็ไม่ว่ากัน) มาอ่านเพิ่มเอาอีก2วันที่เหลือมันช่วยอาไรไม่ได้มากหรอก ยกเว้นจะทำโจทย์ซ้ำตรงส่วนที่เราแม่นอยู่แล้ว เพื่อตอกย้ำความแม่นและเรียกกำลังใจว่าเราก็ทำได้เยอะเหมือนกันนะ
-เอาเป็นว่า ก่อนวันสอบอย่างน้อย2วัน ต้องพักผ่อนมาก ๆ ใส่ใจสุขภาพตัวเองให้มากหน่อย ถ้าสมองพร้อมแต่กายไม่พร้อม มันจะไหวไหมล่ะ เกิดเป็นลมในห้องสอบขึ้นมาแย่เลย ทำเป็นเล่นไป เรื่องจริงนะ...เห็นมากับตา เจอมากับตัว
-ควรจะไปสำรวจสถานที่สอบก่อนนะ วางแผนการเดินทางให้ดี ๆ จะได้ไม่เจอรถติด เตรียมอุปกรณ์การสอบให้พร้อม ดินสอ2Bนะ เอาไปเผื่อเยอะ ๆ เผื่อเหลา เผื่อหัก เผื่อทู่ เผื่อเพื่อนยืม ฯลฯ ขอหลาย ๆ แท่งหน่อย สอบทั้งตุลา มีนา สอบหลายวิชา ได้ใช้คุ้มแน่ ยางลบเอาแบบลบแล้วสะอาดชัวร์ ๆ เลยนะ
-พอถึงวันสอบจริง ๆ แล้วรู้สึกมั่นใจ พร้อมเต็มร้อย ก็ดีแล้วนะ แต่ถ้ารู้สึกว่ายังไม่พร้อม หรือพร้อมนิดหน่อย ก็ต้องสู้นะ เอาเป็นว่า ทำให้สุดฝีมือก็แล้วกัน
-*ตอนสอบน่ะ อย่าลน มั่นใจในตัวเอง ฝนรหัสวิชา ชุดสอบ รหัสประจำตัวสอบให้ดี ๆ ถ้าพลาดตัวเลขไปแค่ตัวเดียว คะแนนเราจะพลาดไปร้อยคะแนนเลยนะ เจอมาเยอะแล้ว สอบอังกฤษรหัส03 เป็นวิชาที่2ของวัน แต่ดันไปกรอกเป็นรหัส02 พอเจอสังคมรหัส02 สอบเป็นวิชาที่3 ก็เลยเพิ่งรู้ว่าเมื่อกี้ฝนรหัสอังกฤษผิด กรรมการคุมสอบบางครั้งเขาก็ดูให้เราไม่ละเอียดหรอก เราต้องดูของตัวเองให้ดี ๆ นะ
-ควรใส่นาฬิกาไปด้วย ดูเวลาเป็นระยะ จะได้กะเวลาทำข้อสอบถูก (ขอขอบคุณเจ้าของเทคนิคดี ๆ แบบนี้มา ณ ที่นี้ด้วย)
-วิชาคำนวณ ควรจะทำข้อสอบอัตนัยก่อนนะ บางทีมันก็ไม่ยากอย่างที่เราคิดหรอก บางข้อง่ายกว่าปรนัยด้วยซ้ำ ถ้าเราทำปรนัยไม่ทัน ก็ยังพอมั่วได้ แต่ถ้าทำอัตนัยไม่ทันนี้สิ ไม่รู้จะมั่วยังไง (แต่ก็ไม่แน่นะ ต้องติดตามหัวข้อต่อ ๆ ไปเอาเอง)
-ข้อไหนทำไม่ได้ก็ข้ามไปก่อน แล้วค่อยย้อนมาทำใหม่ อันนี้คงรู้กันอยู่แล้ว ย้ำเฉย ๆ
-ถ้าเราทำเสร็จแล้วยังพอมีเวลาเหลือ อย่างน้อย ๆ ควรจะตรวจทานกระดาษคำตอบว่าเราฝนตัวเลขถูกไหม ลืมฝนอะไรไปรึเปล่า ใช้เวลาให้คุ้มค่ามากที่สุดนะ โดยเฉพาะคนที่จะเข้าคณะเศรษฐศาสตร์ ควรจะรู้จักใช้ทรัพยากรเวลาให้เกิดประโยชน์มากที่สุด...เกี่ยวกันไหมอะ...อิอิ
-*อย่าทุจริตเลย อย่าแม้แต่จะคิด มันไม่คุ้มหรอกนะกับผลที่ได้นะ ห้องสอบนึงจะจัดที่นั่งสอบไม่เกิน30ที่ กรรมการคุมสอบสองคน และข้อสอบก็มี2ชุด เรากับคนข้าง ๆ จะได้กันคนละชุด (โจทย์เหมือนกัน แต่ลำดับข้อต่างกัน) เราไม่รู้หรอกว่า ข้อที่1ของเรา จะไปตรงกับข้อที่เท่าไหร่ของคนข้าง ๆ
-ก้าวเข้าห้องสอบด้วยความมั่นใจ และทำมันให้ดีที่สุด เรารู้ว่าคุณทำได้ และทำได้ดีด้วย ขนาดเรายังเชื่อมั่นในตัวคุณเลย แล้วทำไมคุณจะไม่เชื่อมั่นในตัวเองล่ะ
***สงวนลิขสิทธิ์ตามกฎหมาย ห้ามมิให้คัดลอกไม่ว่าส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความ***
เก็บเข้าคอลเล็กชัน
ความคิดเห็น