ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    109เทคนิค พิชิตเอนทรานซ์

    ลำดับตอนที่ #10 : 9 ซื้อหนังสือคู่มือ...เล่มไหนดี

    • อัปเดตล่าสุด 1 ส.ค. 47


    “ซื้อหนังสือคู่มือ...เล่มไหนดี”



    -หนังสือแต่ละเล่มก็จะมีจุดเด่นจุดด้อยแตกต่างกันออกไป บางคนก็อาจจะบอกว่า เล่มนี้ดี อ่านแล้วรู้เรื่อง แต่บางคนก็อาจจะบอกว่าไม่ดี อ่านแล้วไม่รู้เรื่อง ทั้ง ๆ ที่ก็หนังสือเล่มเดียวกันนะแหละ  นั้นเป็นเพราะแต่ละคนจะมีพื้นฐานและความสามารถทางการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน



    -*ดังนั้น คุณควรจะเลือกเล่มที่อธิบายได้เหมาะกับตัวคุณนะ อย่าเลือกซื้อหนังสือตามคนอื่นโดยที่ไม่ดูก่อนว่าเหมาะกับตัวเองรึเปล่า ตอนที่จะซื้อหนังสือ ก็ลองเปิดอ่านดูสักหน่อยว่า



    +หนังสือเล่มนี้ อธิบายแล้วเข้าใจไหม

    +มีโจทย์เยอะพอตามที่คุณต้องการรึเปล่า

    +รูปประกอบดีไหม ทำให้คุณเข้าใจเนื้อหาได้มากขึ้นรึเปล่า โดยเฉพาะฟิสิกส์ เรื่องรูปประกอบโจทย์นี่สำคัญมากนะ



    -หนังสือที่รวมข้อสอบเก่าในแต่ละวิชา ควรเลือกเฉลยที่มันเชื่อถือได้หน่อยนะ (เคยเจอเฉลยเคมีของบางสำนักพิมพ์ เฉลยไม่น่าเชื่อถือสักเท่าไหร่ อาจจะทำให้เราหมดศรัทธาได้) อาจจะขอคำแนะนำจากเพื่อนหรือรุ่นพี่ก็ได้



    -เคยเจอหนังสือรวมข้อสอบเก่าฟิสิกส์ ของENO (นามสมมติ) เล่มสีแดง เฉลยดีมากเลย



    +ข้อไหนคิดได้หลายแบบ เขาจะแสดงวิธีคิดให้ทุกแบบเลย (เฉลยส่วนใหญ่ จะเฉลยวิธีคิดให้แบบเดียว พอเราคิดอีกวิธีนึง แต่คำตอบตรง ก็ไม่มั่นใจว่า ถูกเพราะฟลุครึเปล่า)

    +นอกจากนี้ เขายังแทรกเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับข้อนั้นให้ด้วย (ไม่ต้องเสียเวลาไปเปิดจากหนังสือเล่มอื่น ถ้าเราอ่านเฉลยไม่เข้าใจ)

    +เฉลยก็ดีมาก ๆ เชื่อถือได้



    -แต่ไม่รู้ว่าเดี๋ยวนี้ยังมีขายอยู่รึเปล่า เพราะเก่ามาก ถ้าสำนักพิมพ์ หรือคนเขียนหนังสือเฉลยข้อสอบเก่า เขียนออกมาในลักษณะนี้ ก็นับว่าเป็นเล่มที่น่าซื้อเหมือนกันนะ



    -เฉลยข้อสอบเก่าของไทย สังคม จะรู้ ๆ กันอยู่ว่า หลาย ๆ สำนักมันจะไม่ค่อยตรงกันใช่มะ เราก็ยึดถือสักสำนักนึงไปเลยนะ เลือกสำนักที่มันเชื่อถือได้มากที่สุด ข้อไหนที่คิดว่า สำนักที่เราเลือกจะเฉลยผิด ก็ต้องทำใจยอมรับให้ได้ เรียกว่ายอมเสียส่วนน้อยเพื่อรักษาส่วนใหญ่นั้นเอง (ขอขอบคุณเจ้าของคำแนะนำดี ๆ แบบนี้มา ณ ที่นี้ด้วย)



    -*สรุป เลือกคู่มือที่มันเฉลยดี ๆ น่าเชื่อถือได้ละกันนะ



    ***สงวนลิขสิทธิ์ตามกฎหมาย ห้ามมิให้คัดลอกไม่ว่าส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความ***

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×