ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    109เทคนิค พิชิตเอนทรานซ์

    ลำดับตอนที่ #4 : 3 เทคนิคเฉพาะวิชา...ไทย,สังคม,อังกฤษ

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 772
      1
      1 ส.ค. 47

    “เทคนิคเฉพาะวิชา...ไทย,สังคม,อังกฤษ”



    -นี้เป็นเพียงตัวอย่างนึงเท่านั้นนะ เทคนิคเหล่านี้ เจ้าของเทคนิคเขาก็ค้นพบด้วยตัวเขาเองทั้งนั้นแหละ ถ้าหากคุณอ่านหนังสือจนเข้าใจเป็นอย่างดี หรือทำโจทย์จนรู้แนวของข้อสอบ คุณก็จะพบเทคนิคพวกนี้ด้วยตัวเองอีกเยอะเลยล่ะ  



    # ภาษาไทย #



    -เวลาทำข้อสอบภาษาไทย ไม่จำเป็นต้องกำหนดตายตัวหรอกว่าต้องทำเรียงข้อ จะทำให้มึน เพราะข้อสอบภาษาไทยมันจะไม่ค่อยเรียงลำดับ

    ตามเรื่องหรือบทสักเท่าไหร่ ข้อไหนทำได้ก็ทำ เจอข้อที่ทำไม่ได้ก็ข้ามไปก่อนแล้วกลับมาทำใหม่แค่นี้เอง



    -ตอนที่ซ้อมทำข้อสอบเก่าภาษาไทย พวกข้อที่ต้องวิเคราะห์ เช่น ใจความสำคัญของข้อความนี้, ผู้เขียนต้องการสื่ออะไร, น้ำเสียงของบทความ เป็นต้น ควรจะฝึกโดยปิดช้อยส์ก่อนนะ แล้วนึกคำตอบออกมาให้ได้ แล้วค่อยเปิดช้อยส์ดู ถ้าเราเจอช้อยส์ที่ใกล้เคียงกับที่เราคิดก็นั้นแหละ น่าจะเป็นคำตอบ แต่ถ้าเราอ่านโจทย์แล้วดูช้อยส์เลย ก็จะโดนช้อยส์นำความคิดไป คือโดนหลอกไปโดยไม่รู้ตัว ประมาณว่าข้อนี้ก็น่าจะใช่ ข้อนั้นก็น่าจะถูก ตอนออกจากห้องสอบก็คิดว่าทำได้ แต่จริง ๆ แล้วโดนช้อยส์หลอกไม่รู้ตัว คะแนนออกมาก็เลยได้แค่นั้น



    -ตอนทำข้อสอบภาษาไทยจริง ๆ ข้อสอบส่วนที่ต้องวิเคราะห์ ก็ให้คิดคำตอบก่อนเหมือนกัน แล้วค่อยดูช้อยส์ จะได้ไม่โดนช้อยส์นำความคิด อย่าคิดให้มันมากนักนะ เพราะเราจะกังวล รักพี่เสียดายน้อง คืออยากจะเลือกทั้งสองช้อยส์ คือช้อยส์นั้นก็ดี ช้อยส์นี้ก็น่าจะถูก ให้ใช้จิตสำนึกตอบเอา สวมวิญญาณคนออกข้อสอบไว้ เหมือนกับว่าคุณนั่งอยู่ในใจคนออกข้อสอบเลย ซึ่งคุณจะทำตามคำแนะนำนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพก็ต้องเมื่อ คุณฝึกทำข้อสอบเก่าภาษาไทยมาอย่างโชกโชนแล้ว (ขอขอบคุณเจ้าของเทคนิคมา ณ ที่นี้ด้วย)



    -หัดอ่านวรรณคดีแปลกๆที่ไม่เคยเจอ (Unseen) เยอะๆ เอาพวกโคลงกลอนดังๆ อย่างปี 47 สุภาษิตของสุนทรภู่เพียบ อ่านแล้วหัดแปลเองในระยะเวลาอันสั้นดูบ้าง (ขอขอบคุณเจ้าของเทคนิคมา ณ ที่นี้ด้วย)



    -มีแนวข้อสอบอยู่แนวนึงที่ชอบออกมาก ออกทุกปีเลย ก็คือแนวที่ให้ร้อยกรองติด ๆ กันมายาว ๆ แล้วให้เราแบ่งวรรคตอนเอาเอง พร้อมทั้งตอบด้วยว่าเป็นคำประพันธ์ประเภทใด ข้อสอบแนวนี้อาจจะดูว่ายาก แต่ถ้าเรามีเทคนิคในการทำ ก็จะง่ายทันตาเห็นเลยล่ะ ถ้านึกข้อสอบแนวนี้ไม่ออกละก็ ลองดูตัวอย่างนะ



    +ไทย ตุลา 46 : ข้อความต่อไปนี้ถ้าจัดเรียงวรรคใหม่ให้ถูกต้องจะได้คำประพันธ์ตามข้อใด “สถานการณ์บ้านเมืองวุ่นวาย มีเรื่องร้อนไม่หยุดหย่อน ผู้คนทั้งผู้บริหารราษฎร ต่างก็เหนื่อยอ่อนหมดกำลังใจ”



    +ไทย ตุลา 44 : ข้อความต่อไปนี้ถ้าเขียนแยกวรรคให้ถูกต้องจะเป็นคำประพันธ์ชนิดใด “เบื้องหน้าชีวิตมนุษย์นั้นคิดเปรียบได้ดุจดังสถานรกเรียวหนามหรือความมืดฟังดูเถิดเรายังต้องไต่เต้าไป”



    -สังเกตช่วงห่างของคำสัมผัสให้ดี ๆ ระยะห่างของคำสัมผัสที่ห่างกันเพียง 1-2 คำ อันนี้ไม่นับ เพราะเป็นสัมผัสใน แต่ถ้าห่างกันหลาย ๆ คำและเป็นระยะ ๆ ที่เหมาะสม อันนี้ก็จะจับได้ว่าเป็นสัมผัสบังคับ ซึ่งจะแตกต่างกันในแต่ละชนิดของคำประพันธ์ เราก็จะรู้ว่าที่ข้อสอบให้มา เป็นคำประพันธ์ชนิดใด



    -ถ้าหากว่าเจอคำเอกคำโทติดกันเป็นคู่ ๆ ถึง 3 คู่ อันนี้ก็รู้เลยว่าต้องเป็นโคลงสี่สุภาพแหง่ ๆ ซึ่งก็อย่าลืมสังเกตคำเอกโทษและโทโทษด้วยนะ



    -ถ้าหากว่าเจอคำสร้อย เช่น เฮย แฮ นะพี่ นะพ่อ ฯลฯ อันนี้ก็จะเป็นโคลงหรือร่าย เพราะมันจะไม่ค่อยโผล่ในกาพย์หรือกลอน



    -ถ้าเจอครุลหุเป็นจังหวะจะโคลน อันนี้ก็จะเป็นฉันท์ ดูตัวอย่างนะ

    +       \"ความรักเหมือนโรคา               บันดาลตาให้มืดมน

    ไม่ยินและไม่ยล                                  อุปะสัคคะใดใด\"

    สังเกตไหมละ ว่ามันอ่านว่า อุ-ปะ-สัค-คะ หยั่งงี้มันก็ฉันท์นะสิ



    -ถ้าเจออะไรที่แปลก ๆ ยาก ๆ สัมผัสเว่อร์ ๆ ก็มักจะเป็นกลบทนะ ไปดูให้ดี ๆ ก็แล้วกันว่าเราเรียนกลบทอะไรกันมาบ้าง และแต่ละกลบทมันเกี่ยวกับอะไรบ้าง (ขอขอบคุณเจ้าของเทคนิคมา ณ ที่นี้ด้วย) เช่น



    +ไทย ตุลา 46 (ช้อยส์) : เสื้อแดงก่ำสีดำแกม หมากสุกแปมม่วงแซมปน หมู่พหลพลม้าหาญ / / / จะเห็นได้ว่าสัมผัสมันเว่อร์จริง ๆ อันนี้เป็นร่ายกลบทการชมม้านะ



    # สังคม #



    - บทที่น่าจะทำได้แน่ ๆ น่าจะเป็นเรื่องศาสนา เศรษฐศาสตร์ และก็การเมือง เพราะบทพวกนี้มีคำตอบที่ตายตัวไม่ค่อยดิ้นได้เหมือนพวกภูมิศาสตร์ที่จะมีตัวหลอกเยอะ



    -ส่วนพวกสังคมวิทยา (ม.4 เทอม 1) ควรจะทำข้อสอบเยอะ ๆ เพราะข้อสอบบทนี้ส่วนใหญ่จะออกแบบเดิม ๆ แนวเดิม ๆ ไม่ค่อยเปลี่ยนเท่าไหร่ เพราะถ้าจับทางได้ก็จะทำได้อย่างง่าย ๆ เลย



    -ฉะนั้นผู้ที่ไม่จำเป็นต้องใช้คะแนนสังคม(คณะทางวิทย์บางคณะ)เอาแค่ผ่านเกณฑ์ ก็ให้เน้นเฉพาะบทดังกล่าวเลยก็ได้ จะได้เอาเวลาไปอ่านวิชาอื่น ๆ แทน (ขอขอบคุณเจ้าของเทคนิคมา ณ ที่นี้ด้วย)



    -สังคมในแต่ละปีมันเรียงลำดับข้อสอบเป็นสั-ดเป็นส่วน หรือเนื้อหาตามที่เรียนมาเป็นเทอม ๆ ยกเว้นแต่ สังคม มีนา 47 ที่ผ่านมาเนี่ยแหละ ที่ไม่ได้เรียงลำดับข้อสอบตามเนื้อหาเป็นเทอม ๆ



    -ถ้าหากว่าเปิดข้อสอบมาแล้วเขาเรียงลำดับข้อสอบตามเนื้อหาเป็นเทอม ๆ ให้ ก็ถือว่าโชคดีนะ ให้เริ่มจากเรื่องที่เราเตรียมตัวมาอย่างดี หรือมีความรู้ความเข้าใจมากที่สุดก่อน เป็นการเรียกขวัญและกำลังใจไงละ



    -แต่ถ้าหากไม่ได้เรียงลำดับเนื้อหาเป็นเทอม ๆ เหมือน สังคม มีนา 47 ก็ไม่ต้องกังวลใจอะไรนะ เราก็ทำข้อที่เราทำได้ก่อน ข้อไหนที่เราทำไม่ได้ ก็ข้ามไปแล้วกลับมาทำที่หลัง ไม่มีปัญหาอะไรนิ เพียงแต่ว่า ถ้าข้อสอบเรียงตามเนื้อหาเป็นเทอม ๆ เราก็จะจำแนกได้ว่า ต้องทำข้อสอบส่วนไหนก่อนดี เริ่มทำจากข้อไหนถึงข้อไหน แล้วเว้นจากข้อไหนถึงข้อไหนก่อนดี ก็เท่านั้นเอง ต่างกันที่ความสะดวกเฉย ๆ



    -สังคมควรจะติดตามข่าวสารไว้ด้วยก็ดีนะ ข่าวดัง ๆ ที่เป็นที่สนใจและสอดคล้องกับบทเรียนหนะ เพราะข้อสอบเอนท์อาจจะมีถามเกี่ยวกับข่าวพวกนี้บ้าง ยิ่งสอบตรงจะออกข่าวพวกนี้เยอะอยู่เหมือนกัน (ขอขอบคุณเจ้าของเทคนิคมา ณ ที่นี้ด้วย) ตัวอย่างเช่น



    +สังคม มีนา 45 : ไทยส่งทหารไปร่วมรักษาความสงบในดินแดนติมอร์ตะวันออกด้วยเหตุผลใด / / / ซึ่งก็เป็นข่าวที่เป็นที่สนใจในช่วงนั้น และถูกนำมาออกข้อสอบ



    +สังคม ตุลา 44 : เมื่อกลางปี พ.ศ.2544 กลุ่มวัยรุ่นผิวขาวชาวอังกฤษยกพวกต่อสู้กับวัยรุ่นชาวอังกฤษเชื้อสายอินเดียและปากีสถานหลายครั้ง เหตุการณ์นี้แสดงออกถึงอิทธิพลความเชื่อใดมากที่สุด / / / จะเห็นได้ว่าข่าวนี้เกิดขึ้นเมื่อกลางปี 44 และถูกนำมาออกข้อสอบตุลา 44เลย



    # ภาษาอังกฤษ #



    -หัดฟังเพลง หรือดูหนังฝรั่งไว้บ้างก็ดีนะ เพราะเราจะได้สำนวนหรือวัฒนธรรมทางภาษา มาใช้ทำข้อสอบส่วนที่เป็นภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวันได้ดีเลยแหละ ตัวอย่างเช่น



    +อังกฤษ มีนา 47 : A police officer is chasing a robber and wants into stop. He shouts “        “.



    -ถ้าใครเคยดูหนังฝรั่งบ่อย ๆ จะรู้เลยว่า ควรจะตอบ Freeze (นอกจากจะแปลว่าแข็ง ยังแปลว่า “หยุดนะ” ได้ด้วย) ไม่ใช่ตอบ Sit down หรือตอบช้อยส์อื่นอย่างที่หลาย ๆ คนตอบนะ



    -บทความ หรือ Passage ก็ไม่จำเป็นต้องรู้ศัพท์ หรือแปลได้ทุกคำหรอกนะ แค่เข้าใจเรื่องคราว ๆ ก็พอจะทำได้แล้วล่ะ คำไหนแปลไม่ออกก็เว้นไปเหอะ ดีไม่ดี อ่านไปอ่านมาอาจจะเข้าใจความหมายของคำที่เราเว้นไว้ได้เองโดยอัตโนมัติ ซึ่งข้อสอบที่ถามคำศัพท์ยาก (ที่ชอบพิมพ์เป็นตัวหนาไว้อ่ะ) มันก็จะใช้วิธีนี้แหละ คือ ให้เราเดาศัพท์คำนี้โดยอาศัย context จากบทความเข้าช่วยอ่ะ



    ***สงวนลิขสิทธิ์ตามกฎหมาย ห้ามมิให้มีการคัดลอกไม่ว่าส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความ***

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×