ลำดับตอนที่ #4
คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #4 : อ่านอย่างไรไม่ให้ละเมิดลิขสิทธิ์(สำหรับผู้อ่าน)
    มาตรา ๒๗ การกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ โดยไม่ ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ ให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้กระทำดังต่อไปนี้
(๑) ทำซ้ำหรือดัดแปลง
(๒) เผยแพร่ต่อสาธารณชน
                คุณทราบไหมครับว่า การก้อปปี้ (Copy) บทความต่าง ๆ จากเวบ หรือการซีล็อก (X-rox) จากหนังสือใด ๆ ก็ตาม อาจจะเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ได้นะครับ ถือเป็นการ “ทำซ้ำ” ครับ อั๋นแน่...คุณคงจะเคยก้อปปี้บทความจากทางเวบมาบ้างใช่ไหมล่ะ ยิ่งถ้ามีการเผยแพร่ด้วยแล้ว ยิ่งเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์เข้าไปกันใหญ่
    บทความทุกบทความที่ปรากฏอยู่ในเวบนะครับ จะได้รับการคุ้มครองทางกฎหมายอยู่แล้ว แต่โดยปกติแล้วนั้น บทความในเวบทั่วไป เจ้าของมักจะยินดีที่จะเผยแพร่ โดยไม่สงวนลิขสิทธิ์ใด ๆ จึงไม่มีการฟ้องร้องใด ๆ ในทางกฎหมายลิขสิทธิ์นั้นไงล่ะครับ
                แต่ถ้าหากว่า มีบทความไหนหรือเวบไซต์ใด ที่ขึ้นคำสงวนลิขสิทธิ์เอาไว้ อันนี้ก็เป็นการชี้แจงให้ทราบจากเจ้าของลิขสิทธิ์แล้วว่า เขาขอสงวนลิขสิทธิ์ในบทความของเขา หากคุณต้องการจะก้อปปี้เพื่อเก็บไว้ว่า หรือจะนำไปเผยแพร่ด้วยความบริสุทธิ์ใจแต่ประการใด คุณควรจะขออนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์นั้นก่อนนะครับ ถ้าหากว่า คุณไม่ได้นำผลงานของเขาไปทำให้เกิดความเสียหาย หากแต่จะนำไปเผยแพร่ให้เกิดประโยชน์ เจ้าของลิขสิทธิ์น่าจะยินยอมให้คุณนำไปเผยแพร่แน่นอนครับ
                “ถ้าก้อปเก็บไว้อ่านคนเดียว ใครจะไปรู้?” รู้สิครับ อย่างน้อยก็คุณคนนึงล่ะ ที่รู้อยู่แก่ใจ ของแบบนี้ก็พูดยากนะครับ เพราะมันเป็นเรื่องของจริยธรรมส่วนบุคคล ความคิดเช่นนี้ บั่นทอนกำลังใจในการสร้างสรรค์ผลงานดี ๆ กับนักเขียนหลายท่านมาก จากประสบการณ์การเขียนบทความของผมนะครับ บางทีผู้เขียนเขาก็ทราบนะครับว่าคุณก้อปบทความของเขามาโดยไม่ได้รับอนุญาต มันเป็นเรื่องของโลกกลม ๆ ครับ อย่างไรก็ตามหากคุณต้องการจะก้อปบทความจากเวบจริง ๆ โดยไม่มีเจตนาร้ายใด ๆ แนะนำให้คุณลองขออนุญาตจากเจ้าของบทความจะเป็นการดีที่สุดครับ
                ในกรณีของหนังสือนะครับ โดยปกติหนังสือทุกเล่มละครับ จะมีคำสงวนลิขสิทธิ์เอาไว้อยู่แล้ว กรณีนี้ค่อนข้างชัดเจนครับ
(๑) ทำซ้ำหรือดัดแปลง
(๒) เผยแพร่ต่อสาธารณชน
                คุณทราบไหมครับว่า การก้อปปี้ (Copy) บทความต่าง ๆ จากเวบ หรือการซีล็อก (X-rox) จากหนังสือใด ๆ ก็ตาม อาจจะเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ได้นะครับ ถือเป็นการ “ทำซ้ำ” ครับ อั๋นแน่...คุณคงจะเคยก้อปปี้บทความจากทางเวบมาบ้างใช่ไหมล่ะ ยิ่งถ้ามีการเผยแพร่ด้วยแล้ว ยิ่งเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์เข้าไปกันใหญ่
    บทความทุกบทความที่ปรากฏอยู่ในเวบนะครับ จะได้รับการคุ้มครองทางกฎหมายอยู่แล้ว แต่โดยปกติแล้วนั้น บทความในเวบทั่วไป เจ้าของมักจะยินดีที่จะเผยแพร่ โดยไม่สงวนลิขสิทธิ์ใด ๆ จึงไม่มีการฟ้องร้องใด ๆ ในทางกฎหมายลิขสิทธิ์นั้นไงล่ะครับ
                แต่ถ้าหากว่า มีบทความไหนหรือเวบไซต์ใด ที่ขึ้นคำสงวนลิขสิทธิ์เอาไว้ อันนี้ก็เป็นการชี้แจงให้ทราบจากเจ้าของลิขสิทธิ์แล้วว่า เขาขอสงวนลิขสิทธิ์ในบทความของเขา หากคุณต้องการจะก้อปปี้เพื่อเก็บไว้ว่า หรือจะนำไปเผยแพร่ด้วยความบริสุทธิ์ใจแต่ประการใด คุณควรจะขออนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์นั้นก่อนนะครับ ถ้าหากว่า คุณไม่ได้นำผลงานของเขาไปทำให้เกิดความเสียหาย หากแต่จะนำไปเผยแพร่ให้เกิดประโยชน์ เจ้าของลิขสิทธิ์น่าจะยินยอมให้คุณนำไปเผยแพร่แน่นอนครับ
                “ถ้าก้อปเก็บไว้อ่านคนเดียว ใครจะไปรู้?” รู้สิครับ อย่างน้อยก็คุณคนนึงล่ะ ที่รู้อยู่แก่ใจ ของแบบนี้ก็พูดยากนะครับ เพราะมันเป็นเรื่องของจริยธรรมส่วนบุคคล ความคิดเช่นนี้ บั่นทอนกำลังใจในการสร้างสรรค์ผลงานดี ๆ กับนักเขียนหลายท่านมาก จากประสบการณ์การเขียนบทความของผมนะครับ บางทีผู้เขียนเขาก็ทราบนะครับว่าคุณก้อปบทความของเขามาโดยไม่ได้รับอนุญาต มันเป็นเรื่องของโลกกลม ๆ ครับ อย่างไรก็ตามหากคุณต้องการจะก้อปบทความจากเวบจริง ๆ โดยไม่มีเจตนาร้ายใด ๆ แนะนำให้คุณลองขออนุญาตจากเจ้าของบทความจะเป็นการดีที่สุดครับ
                ในกรณีของหนังสือนะครับ โดยปกติหนังสือทุกเล่มละครับ จะมีคำสงวนลิขสิทธิ์เอาไว้อยู่แล้ว กรณีนี้ค่อนข้างชัดเจนครับ
เก็บเข้าคอลเล็กชัน
ความคิดเห็น