ลำดับตอนที่ #2
คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #2 : 1.วีธีคำนวณคะแนนทั้งคะแนนดิบ,คะแนนGPAและPRเป็นยังไงครับ?
จริง ๆ แล้วการคำนวณคะแนนมีความยุ่งยากพอสมควรเลยนะครับ พี่ก็ไม่แนะนำให้คำนวณด้วยตัวเองนะ แต่จะแนะนำให้ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปมากกว่า แต่พี่จะอธิบายคร่าว ๆ เพื่อให้น้องเห็นภาพและหายสงสัยสักที ว่าเขาคำนวณกันอย่างไร เท่านั้นเองนะครับ
พี่ก็ต้องขอแบ่งการคำนวณคะแนนนี้ออกเป็น 3 ส่วนนะครับ ซึ่งจะมีสัดส่วนคะแนนที่ต่างกันออกไป ขอให้น้องแปลงค่าคะแนนที่ได้ในแต่ละส่วนตามสัดส่วนที่พี่ระบุนะครับ แล้วจะนำคะแนนทั้ง 3 ส่วนมารวมกัน
การคำนวณคะแนนดิบ(ร้อยละ 90)
    ในแต่ละวิชาจะมีคะแนนเต็ม 100 คะแนนใช่ไหมล่ะครับ ก็ให้น้องรวมคะแนนเต็มจากวิชาที่ต้องใช้คัดเลือกนั้น ๆ เข้าด้วยกัน ก็จะได้คะแนนเต็มในส่วนที่เป็นคะแนนดิบ และรวมคะแนนที่ได้จากแต่ละวิชาที่ต้องใช้ในการคัดเลือกเข้าด้วยกัน ก็จะได้คะแนนในส่วนที่เป็นคะแนนดิบนะครับ เช่น
ตัวอย่าง รหัสสาขาวิชา xxxx มีวิชาที่ต้องใช้ในการคัดเลือก คือ 01  02  03  04
คะแนนในแต่ละวิชาที่น้องทำได้ คือ
    01 ภาษาไทย    60
    02 สังคมศึกษา    60
    03 ภาษาอังกฤษ    50
    04 คณิตศาสตร์1    40
    สาขาวิชานี้ใช้วิชาในการคัดเลือก 4 วิชาใช่ไหมครับ ดังนั้นคะแนนเต็มก็จะเป็น 400 (4 x 100) และคะแนนที่ได้ในส่วนของคะแนนดิบ คือ 210 (60+60+50+40)
    แต่ในบางสาขาวิชาที่ใช้วิชาเฉพาะในการคัดเลือกฯด้วย เช่น สาขาวิชาทางสถาปัตยกรรมศาสตร์,ศิลปกรรม ก็จะมีน้ำหนักวิชาเฉพาะที่ต่างกันออกไป ขอให้น้องคำนวณตามน้ำหนักคะแนนที่ระบุไว้ในหนังสือระเบียบการคัดเลือกฯ ซึ่งการคำนวณตามน้ำหนักคะแนนนี้ ก็คิดง่าย ๆ ตามสัดส่วนคะแนนนั้นแหละครับ
การคำนวณคะแนนGPA(ร้อยละ 5)
    หลักในการคำนวณคะแนนในส่วนของGPAนี้ จะใช้หลักของโค้งปกติ(Normal Curve)นะครับ น้องที่เรียนสายวิทย์และศิลป์คำนวณมาก็น่าจะพอคำนวณได้ เพราะเคยเรียนมาแล้วในเรื่องสถิติ (สำหรับน้องที่เรียนศิลป์ภาษามาไม่ต้องกังวลนะครับ พี่จะแนะนำวิธีการคำนวณให้ตรงท้ายหัวข้อนะ) ซึ่งข้อมูลพื้นฐานที่จะต้องมีก็คือ
-    ค่าเฉลี่ยGPAรวมของผู้ที่สมัครคัดเลือกฯทั่วประเทศ หรือ X bar นั้นเอง ซึ่งตอนนี้ก็ยังไม่มีใครทราบค่าตัวนี้นะครับ จนกว่าจะสิ้นสุดการรับสมัครคัดเลือก(ยื่นคะแนนเอนท์)ซึ่งก็คือวันที่11 เมษายน 2548 จึงจะมีการคำนวณค่าตัวนี้ออกมา แต่น้องก็สามารถใช้ข้อมูลจากปีก่อน ๆ หรือปีล่าสุดแทนได้ เพราะค่าจะใกล้เคียงกันในแต่ละปี แต่จากการสังเกตของพี่นั้น พี่พบว่า ในแต่ละปี ค่าตัวนี้จะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ นะครับ แต่จะเพิ่มทีละน้อยเท่านั้น
-    ค่าเฉลี่ยGPAของน้อง ซึ่งทางโรงเรียนจะแจ้งผลให้น้องทราบอยู่แล้วนะครับ
-    ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานรวมของGPAผู้สมัครคัดเลือกฯทั่วประเทศ หรือ SD นั้นเอง ซึ่งตอนนี้ก็ยังไม่มีใครทราบอีกเช่นเดียวกัน ต้องรอให้สิ้นสุดการรับสมัครคัดเลือกฯก่อนจึงจะทราบค่าตัวนี้นะครับ แต่น้องก็สามารถใช้ค่าSDจากปีก่อน ๆ หรือปีล่าสุดคำนวณแทนได้ เพราะในแต่ละปี ค่าSDจะใกล้เคียงกันมาก
-    ตารางเทียบค่ามาตรฐาน(Z-score)กับพื้นที่ใต้โค้ง ซึ่งอันนี้น้องต้องไปเปิดดูในแบบเรียนนะครับ ถ้าเป็นหลักสูตรเก่า ก็จะอยู่ในแบบเรียนวิชาคณิตศาสตร์1 บทสถิติ2 ในระดับ ม.5 เทอม2 ส่วนหลักสูตรใหม่นี้พี่ก็ไม่ทราบว่าเขาจัดให้เรียนในชั้นไหน เพราะแต่ละโรงเรียนจะจัดการเรียนการสอนไม่เหมือนกัน
-    เครื่องคิดเลขและกระดาษทด อันนี้ขาดไม่ได้นะครับ จำเป็นต้องใช้
และน้องก็คิดตามหลักโค้งปกติที่เคยเรียนมาได้เลย (ลืมกันไปแล้วใช่ไหมล่ะ) ซึ่งถ้าน้องคนใดมีความเข้าใจในเรื่องนี้เป็นอย่างดี อ่านมาถึงจุดนี้แล้วจะสามารถคำนวณได้เลยนะครับ ส่วนน้องที่ไม่ค่อยเข้าใจเรื่องนี้, ลืมหลักการคำนวณไปแล้ว หรือเรียนศิลป์ภาษามา เลยไม่ได้เรียนเรื่องนี้ ก็ไม่ต้องกังวลนะครับ เพราะพี่ไม่แนะนำให้คำนวณคะแนนGPAด้วยตัวเองอยู่แล้ว เนื่องจากการคำนวณมีความยุ่งยากละเอียดซับซ้อนมาก ๆ และที่สำคัญน้องก็ต้องมีข้อมูลค่าเฉลี่ยGPA,SDและตารางโค้งปกติอีกด้วย แต่ถ้าน้องมีข้อมูลพร้อมและมีความเข้าใจหลักการคำนวณอยู่แล้ว น้องจะลองคำนวณดูเล่น ๆ เพื่อความชัวร์ก็ได้นะครับ (พี่ก็เคยลองคำนวณเล่น ๆ เหมือนกัน และก็หาข้อมูลมาได้ครบด้วย)
    ถ้าไม่แนะนำให้คำนวณคะแนนGPAด้วยตัวเอง แล้วจะทำยังไงดี? ไม่ต้องห่วงนะครับ พี่แนะนำโปรแกรมสำเร็จรูปไว้แล้วในตอนท้ายของหัวข้อ
การคำนวณคะแนนPR(ร้อยละ 5)
    การคำนวณคะแนนPRจะไม่ยุ่งยากเท่าการคำนวณคะแนนGPAนะครับ เราจะแบ่งPRออกเป็น 20 ช่วงนะครับ เช่น
    ช่วงที่ 20 ตำแหน่งเปอร์เซ็นไทล์(PR) 95.01 - 99.99
(น้องที่เคยเรียนสถิติมาแล้วจะทราบนะครับว่า ทำไมPRถึงไม่เต็ม100 พี่ขอไม่อธิบายจุดนี้นะ)
    ช่วงที่ 19 ตำแหน่งเปอร์เซ็นไทล์    90.01 - 95.00
    ช่วงที่ 18 ตำแหน่งเปอร์เซ็นไทล์    85.01 - 90.00
    ก็จะไล่แบบนี้ไปเรื่อย ๆ จนถึง
    ช่วงที่  1 ตำแหน่งเปอร์เซ็นไทล์      0.01 -  5.00
    ก็จะเห็นว่า PR ในแต่ละช่วงจะมีความกว้างเป็น 5 นี้เอง น้องคงจะพอไล่ได้นะครับ ว่าPRของน้องอยู่ในช่วงไหน แล้วก็แปลงค่าเป็นคะแนนเลยครับ ใครที่ได้PRในช่วงมาก ๆ ก็จะได้คะแนนมาก ใครได้PRในช่วงที่ 20 ก็จะได้คะแนนเต็มไปเลยในส่วนนี้ การแปลงค่าPRไปเป็นคะแนนก็จะเป็นไปตามสัดส่วนนี้
    น้องอาจจะสังเกตได้ว่า ผู้ที่ได้ค่าPRในช่วงเดียวกัน ก็จะได้คะแนนในส่วนนี้เท่ากันนะครับ เช่น ถ้าน้องได้PR=86 และเพื่อนน้องได้PR=89 น้องและเพื่อนก็จะได้คะแนนPRเท่ากันสำหรับสาขาวิชาเดียวกัน
รวมคะแนนทั้ง 3 ส่วนเข้าด้วยกัน
    หลังจากที่น้องเข้าใจวิธีคำนวณคะแนนในแต่ละส่วนแล้ว น้องก็เอามารวมกันเลย น้ำหนักในส่วนคะแนนดิบก็จะเป็น 90% นะครับ ถ้าหากว่ามีวิชาเฉพาะด้วยอีก อาจจะคำนวณยาก แต่โดยทั่วไปที่ไม่มีวิชาเฉพาะจะคำนวณง่ายมาก ๆ เลย
    ส่วนคะแนนจากGPA กับ PR ก็จะมีน้ำหนักอย่างละ 5% นะ รวมกันแล้วก็จะเป็น 10% ไง
ตัวอย่าง รหัสสาขาวิชา XXXX มีวิชาที่ต้องใช้ในการคัดเลือก คือ 01  02  03  04
    น้องก็จะได้คะแนนเต็มในส่วนแรก เป็น 400 คะแนนใช่ไหมครับ ซึ่งคิดเป็นน้ำหนัก 90 % ส่วน 10% ที่เหลือ ก็จะคิดเป็นคะแนนได้ 44.44 คะแนนนี้เอง และคะแนนรวมเต็มก็จะเป็น 444.44
    มันจะไล่ไปแบบนี้เรื่อย ๆ นะ สาขาวิชาที่ใช้ 5 วิชาในการคัดเลือก คะแนนดิบก็จะเต็ม 500 คะแนนส่วนที่เป็นGPA+PR ก็จะเป็น 55.56 และคะแนนรวมเต็มก็จะเป็น 555.56
    สาขาวิชาที่ใช้ 6 วิชาในการคัดเลือก คะแนนดิบก็จะเต็ม 600 คะแนนส่วนที่เป็นGPA+PR ก็จะเป็น 66.67 และคะแนนรวมเต็มก็จะเป็น 666.67
    สาขาวิชาที่ใช้ 7 วิชาในการคัดเลือก คะแนนดิบก็จะเต็ม 700 คะแนนส่วนที่เป็นGPA+PR ก็จะเป็น 77.78 และคะแนนรวมเต็มก็จะเป็น 777.78
    แล้วถ้าน้องอยากรู้ว่า คะแนนที่เป็นGPAเนี้ยมันเต็มเท่าไร ก็หาร2 เอา เพื่อให้มันได้น้ำหนัก 5% ดังตัวอย่างคะแนนGPA+PR เป็น 44.44 ดังนั้น คะแนนGPAก็คือ 22.22 ,คะแนนPR ก็คือ 22.22 นั้นเอง
    แต่ถ้ามีวิชาเฉพาะเข้ามาคำนวณด้วย น้ำหนักของวิชาเฉพาะจะทำให้การคำนวณมันไม่ง่ายแบบนี้อ่านะครับ พี่ขอยึดน้องส่วนใหญ่ไว้ก่อนแล้วกันนะ
    ปล. หากน้องคนใดสนใจจะศึกษาวิธีการคำนวณคะแนนอย่างละเอียด น้องสามารถศึกษาได้ที่หนังสือระเบียบการคัดเลือกฯ ที่น้องจะได้ตอนซื้อใบสมัครคัดเลือกฯนะครับ
โปรแกรมสำเร็จรูป
น้องบางคนอาจจะเข้าใจวิธีการคำนวณคะแนนกันแล้ว แต่เชื่อขนมกินได้เลย อ่านมาจนถึงขนาดนี้แล้ว น้องอีกหลายคนก็ยังงงอยู่อีกนะแหละ เผลอ ๆ จะยิ่งงงเข้าไปใหญ่ ก็อย่างที่พี่บอก พี่ไม่แนะนำให้คำนวณด้วยตัวเองไง เพราะมันยุ่งยากมาก ๆ แนะนำให้ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปดีกว่านะคับ เนื้อความข้างต้นเนี้ย เอาแค่พอเห็นภาพคร่าว ๆ  ก็โอเคแล้วครับ แต่ถ้าน้องคนไหนงงหนักกว่าเดิมอีก ก็พอเลยนะครับ มาดูโปรแกรมสำเร็จรูปกันดีกว่า ซึ่งการใช้งานก็ไม่ยากเลย เพียงแค่น้องกรอกข้อมูลต่าง ๆ ลงไป เช่น คะแนนในแต่ละวิชา, GPA, PR ของน้อง แค่นั้นเอง
    โปรแกรมสำเร็จรูปที่พี่จะแนะนำก็คือ โปรแกรมสำเร็จรูปของเว็บไซต์ สกอ. นะครับ น้องสามารถใช้บริการได้ที่ http://www.entrance.mis.mua.go.th ซึ่งผลคะแนนที่ได้นี้ เชื่อถือได้ครับ
    ข้อควรรู้อย่างหนึ่งที่น้องต้องทราบก็คือ คะแนนที่ได้จากการคำนวณของโปรแกรมสำเร็จรูปนี้ จะไม่ตรงกับคะแนนจริง ๆ นะครับ เพราะว่าค่าGPAเฉลี่ย และ SD ที่นำมาใช้คำนวณนี้เป็นค่าของปีก่อน ๆ เพราะปีล่าสุดนี้ยังไม่มีใครทราบ ต้องรอจนวันสุดท้ายของการรับสมัครคัดเลือกฯอย่างที่พี่บอกนะแหละครับ แต่น้องก็ไม่ต้องตกใจแต่อย่างใดนะจ๊ะ เพราะว่าค่าGPAเฉลี่ย และ SD ในแต่ละปี มันจะใกล้เคียงกันมากอยู่แล้วครับ ดังนั้นคะแนนที่ได้จากการคำนวณของโปรแกรมสำเร็จรูป จะต่างจากคะแนนจริง ๆ ไม่มากนัก พี่เคยแอบลองคำนวณดูแล้ว ต่างกันเป็นแค่หลักทศนิยมเท่านั้น หายห่วงได้เลยนะ
พี่ก็ต้องขอแบ่งการคำนวณคะแนนนี้ออกเป็น 3 ส่วนนะครับ ซึ่งจะมีสัดส่วนคะแนนที่ต่างกันออกไป ขอให้น้องแปลงค่าคะแนนที่ได้ในแต่ละส่วนตามสัดส่วนที่พี่ระบุนะครับ แล้วจะนำคะแนนทั้ง 3 ส่วนมารวมกัน
การคำนวณคะแนนดิบ(ร้อยละ 90)
    ในแต่ละวิชาจะมีคะแนนเต็ม 100 คะแนนใช่ไหมล่ะครับ ก็ให้น้องรวมคะแนนเต็มจากวิชาที่ต้องใช้คัดเลือกนั้น ๆ เข้าด้วยกัน ก็จะได้คะแนนเต็มในส่วนที่เป็นคะแนนดิบ และรวมคะแนนที่ได้จากแต่ละวิชาที่ต้องใช้ในการคัดเลือกเข้าด้วยกัน ก็จะได้คะแนนในส่วนที่เป็นคะแนนดิบนะครับ เช่น
ตัวอย่าง รหัสสาขาวิชา xxxx มีวิชาที่ต้องใช้ในการคัดเลือก คือ 01  02  03  04
คะแนนในแต่ละวิชาที่น้องทำได้ คือ
    01 ภาษาไทย    60
    02 สังคมศึกษา    60
    03 ภาษาอังกฤษ    50
    04 คณิตศาสตร์1    40
    สาขาวิชานี้ใช้วิชาในการคัดเลือก 4 วิชาใช่ไหมครับ ดังนั้นคะแนนเต็มก็จะเป็น 400 (4 x 100) และคะแนนที่ได้ในส่วนของคะแนนดิบ คือ 210 (60+60+50+40)
    แต่ในบางสาขาวิชาที่ใช้วิชาเฉพาะในการคัดเลือกฯด้วย เช่น สาขาวิชาทางสถาปัตยกรรมศาสตร์,ศิลปกรรม ก็จะมีน้ำหนักวิชาเฉพาะที่ต่างกันออกไป ขอให้น้องคำนวณตามน้ำหนักคะแนนที่ระบุไว้ในหนังสือระเบียบการคัดเลือกฯ ซึ่งการคำนวณตามน้ำหนักคะแนนนี้ ก็คิดง่าย ๆ ตามสัดส่วนคะแนนนั้นแหละครับ
การคำนวณคะแนนGPA(ร้อยละ 5)
    หลักในการคำนวณคะแนนในส่วนของGPAนี้ จะใช้หลักของโค้งปกติ(Normal Curve)นะครับ น้องที่เรียนสายวิทย์และศิลป์คำนวณมาก็น่าจะพอคำนวณได้ เพราะเคยเรียนมาแล้วในเรื่องสถิติ (สำหรับน้องที่เรียนศิลป์ภาษามาไม่ต้องกังวลนะครับ พี่จะแนะนำวิธีการคำนวณให้ตรงท้ายหัวข้อนะ) ซึ่งข้อมูลพื้นฐานที่จะต้องมีก็คือ
-    ค่าเฉลี่ยGPAรวมของผู้ที่สมัครคัดเลือกฯทั่วประเทศ หรือ X bar นั้นเอง ซึ่งตอนนี้ก็ยังไม่มีใครทราบค่าตัวนี้นะครับ จนกว่าจะสิ้นสุดการรับสมัครคัดเลือก(ยื่นคะแนนเอนท์)ซึ่งก็คือวันที่11 เมษายน 2548 จึงจะมีการคำนวณค่าตัวนี้ออกมา แต่น้องก็สามารถใช้ข้อมูลจากปีก่อน ๆ หรือปีล่าสุดแทนได้ เพราะค่าจะใกล้เคียงกันในแต่ละปี แต่จากการสังเกตของพี่นั้น พี่พบว่า ในแต่ละปี ค่าตัวนี้จะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ นะครับ แต่จะเพิ่มทีละน้อยเท่านั้น
-    ค่าเฉลี่ยGPAของน้อง ซึ่งทางโรงเรียนจะแจ้งผลให้น้องทราบอยู่แล้วนะครับ
-    ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานรวมของGPAผู้สมัครคัดเลือกฯทั่วประเทศ หรือ SD นั้นเอง ซึ่งตอนนี้ก็ยังไม่มีใครทราบอีกเช่นเดียวกัน ต้องรอให้สิ้นสุดการรับสมัครคัดเลือกฯก่อนจึงจะทราบค่าตัวนี้นะครับ แต่น้องก็สามารถใช้ค่าSDจากปีก่อน ๆ หรือปีล่าสุดคำนวณแทนได้ เพราะในแต่ละปี ค่าSDจะใกล้เคียงกันมาก
-    ตารางเทียบค่ามาตรฐาน(Z-score)กับพื้นที่ใต้โค้ง ซึ่งอันนี้น้องต้องไปเปิดดูในแบบเรียนนะครับ ถ้าเป็นหลักสูตรเก่า ก็จะอยู่ในแบบเรียนวิชาคณิตศาสตร์1 บทสถิติ2 ในระดับ ม.5 เทอม2 ส่วนหลักสูตรใหม่นี้พี่ก็ไม่ทราบว่าเขาจัดให้เรียนในชั้นไหน เพราะแต่ละโรงเรียนจะจัดการเรียนการสอนไม่เหมือนกัน
-    เครื่องคิดเลขและกระดาษทด อันนี้ขาดไม่ได้นะครับ จำเป็นต้องใช้
และน้องก็คิดตามหลักโค้งปกติที่เคยเรียนมาได้เลย (ลืมกันไปแล้วใช่ไหมล่ะ) ซึ่งถ้าน้องคนใดมีความเข้าใจในเรื่องนี้เป็นอย่างดี อ่านมาถึงจุดนี้แล้วจะสามารถคำนวณได้เลยนะครับ ส่วนน้องที่ไม่ค่อยเข้าใจเรื่องนี้, ลืมหลักการคำนวณไปแล้ว หรือเรียนศิลป์ภาษามา เลยไม่ได้เรียนเรื่องนี้ ก็ไม่ต้องกังวลนะครับ เพราะพี่ไม่แนะนำให้คำนวณคะแนนGPAด้วยตัวเองอยู่แล้ว เนื่องจากการคำนวณมีความยุ่งยากละเอียดซับซ้อนมาก ๆ และที่สำคัญน้องก็ต้องมีข้อมูลค่าเฉลี่ยGPA,SDและตารางโค้งปกติอีกด้วย แต่ถ้าน้องมีข้อมูลพร้อมและมีความเข้าใจหลักการคำนวณอยู่แล้ว น้องจะลองคำนวณดูเล่น ๆ เพื่อความชัวร์ก็ได้นะครับ (พี่ก็เคยลองคำนวณเล่น ๆ เหมือนกัน และก็หาข้อมูลมาได้ครบด้วย)
    ถ้าไม่แนะนำให้คำนวณคะแนนGPAด้วยตัวเอง แล้วจะทำยังไงดี? ไม่ต้องห่วงนะครับ พี่แนะนำโปรแกรมสำเร็จรูปไว้แล้วในตอนท้ายของหัวข้อ
การคำนวณคะแนนPR(ร้อยละ 5)
    การคำนวณคะแนนPRจะไม่ยุ่งยากเท่าการคำนวณคะแนนGPAนะครับ เราจะแบ่งPRออกเป็น 20 ช่วงนะครับ เช่น
    ช่วงที่ 20 ตำแหน่งเปอร์เซ็นไทล์(PR) 95.01 - 99.99
(น้องที่เคยเรียนสถิติมาแล้วจะทราบนะครับว่า ทำไมPRถึงไม่เต็ม100 พี่ขอไม่อธิบายจุดนี้นะ)
    ช่วงที่ 19 ตำแหน่งเปอร์เซ็นไทล์    90.01 - 95.00
    ช่วงที่ 18 ตำแหน่งเปอร์เซ็นไทล์    85.01 - 90.00
    ก็จะไล่แบบนี้ไปเรื่อย ๆ จนถึง
    ช่วงที่  1 ตำแหน่งเปอร์เซ็นไทล์      0.01 -  5.00
    ก็จะเห็นว่า PR ในแต่ละช่วงจะมีความกว้างเป็น 5 นี้เอง น้องคงจะพอไล่ได้นะครับ ว่าPRของน้องอยู่ในช่วงไหน แล้วก็แปลงค่าเป็นคะแนนเลยครับ ใครที่ได้PRในช่วงมาก ๆ ก็จะได้คะแนนมาก ใครได้PRในช่วงที่ 20 ก็จะได้คะแนนเต็มไปเลยในส่วนนี้ การแปลงค่าPRไปเป็นคะแนนก็จะเป็นไปตามสัดส่วนนี้
    น้องอาจจะสังเกตได้ว่า ผู้ที่ได้ค่าPRในช่วงเดียวกัน ก็จะได้คะแนนในส่วนนี้เท่ากันนะครับ เช่น ถ้าน้องได้PR=86 และเพื่อนน้องได้PR=89 น้องและเพื่อนก็จะได้คะแนนPRเท่ากันสำหรับสาขาวิชาเดียวกัน
รวมคะแนนทั้ง 3 ส่วนเข้าด้วยกัน
    หลังจากที่น้องเข้าใจวิธีคำนวณคะแนนในแต่ละส่วนแล้ว น้องก็เอามารวมกันเลย น้ำหนักในส่วนคะแนนดิบก็จะเป็น 90% นะครับ ถ้าหากว่ามีวิชาเฉพาะด้วยอีก อาจจะคำนวณยาก แต่โดยทั่วไปที่ไม่มีวิชาเฉพาะจะคำนวณง่ายมาก ๆ เลย
    ส่วนคะแนนจากGPA กับ PR ก็จะมีน้ำหนักอย่างละ 5% นะ รวมกันแล้วก็จะเป็น 10% ไง
ตัวอย่าง รหัสสาขาวิชา XXXX มีวิชาที่ต้องใช้ในการคัดเลือก คือ 01  02  03  04
    น้องก็จะได้คะแนนเต็มในส่วนแรก เป็น 400 คะแนนใช่ไหมครับ ซึ่งคิดเป็นน้ำหนัก 90 % ส่วน 10% ที่เหลือ ก็จะคิดเป็นคะแนนได้ 44.44 คะแนนนี้เอง และคะแนนรวมเต็มก็จะเป็น 444.44
    มันจะไล่ไปแบบนี้เรื่อย ๆ นะ สาขาวิชาที่ใช้ 5 วิชาในการคัดเลือก คะแนนดิบก็จะเต็ม 500 คะแนนส่วนที่เป็นGPA+PR ก็จะเป็น 55.56 และคะแนนรวมเต็มก็จะเป็น 555.56
    สาขาวิชาที่ใช้ 6 วิชาในการคัดเลือก คะแนนดิบก็จะเต็ม 600 คะแนนส่วนที่เป็นGPA+PR ก็จะเป็น 66.67 และคะแนนรวมเต็มก็จะเป็น 666.67
    สาขาวิชาที่ใช้ 7 วิชาในการคัดเลือก คะแนนดิบก็จะเต็ม 700 คะแนนส่วนที่เป็นGPA+PR ก็จะเป็น 77.78 และคะแนนรวมเต็มก็จะเป็น 777.78
    แล้วถ้าน้องอยากรู้ว่า คะแนนที่เป็นGPAเนี้ยมันเต็มเท่าไร ก็หาร2 เอา เพื่อให้มันได้น้ำหนัก 5% ดังตัวอย่างคะแนนGPA+PR เป็น 44.44 ดังนั้น คะแนนGPAก็คือ 22.22 ,คะแนนPR ก็คือ 22.22 นั้นเอง
    แต่ถ้ามีวิชาเฉพาะเข้ามาคำนวณด้วย น้ำหนักของวิชาเฉพาะจะทำให้การคำนวณมันไม่ง่ายแบบนี้อ่านะครับ พี่ขอยึดน้องส่วนใหญ่ไว้ก่อนแล้วกันนะ
    ปล. หากน้องคนใดสนใจจะศึกษาวิธีการคำนวณคะแนนอย่างละเอียด น้องสามารถศึกษาได้ที่หนังสือระเบียบการคัดเลือกฯ ที่น้องจะได้ตอนซื้อใบสมัครคัดเลือกฯนะครับ
โปรแกรมสำเร็จรูป
น้องบางคนอาจจะเข้าใจวิธีการคำนวณคะแนนกันแล้ว แต่เชื่อขนมกินได้เลย อ่านมาจนถึงขนาดนี้แล้ว น้องอีกหลายคนก็ยังงงอยู่อีกนะแหละ เผลอ ๆ จะยิ่งงงเข้าไปใหญ่ ก็อย่างที่พี่บอก พี่ไม่แนะนำให้คำนวณด้วยตัวเองไง เพราะมันยุ่งยากมาก ๆ แนะนำให้ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปดีกว่านะคับ เนื้อความข้างต้นเนี้ย เอาแค่พอเห็นภาพคร่าว ๆ  ก็โอเคแล้วครับ แต่ถ้าน้องคนไหนงงหนักกว่าเดิมอีก ก็พอเลยนะครับ มาดูโปรแกรมสำเร็จรูปกันดีกว่า ซึ่งการใช้งานก็ไม่ยากเลย เพียงแค่น้องกรอกข้อมูลต่าง ๆ ลงไป เช่น คะแนนในแต่ละวิชา, GPA, PR ของน้อง แค่นั้นเอง
    โปรแกรมสำเร็จรูปที่พี่จะแนะนำก็คือ โปรแกรมสำเร็จรูปของเว็บไซต์ สกอ. นะครับ น้องสามารถใช้บริการได้ที่ http://www.entrance.mis.mua.go.th ซึ่งผลคะแนนที่ได้นี้ เชื่อถือได้ครับ
    ข้อควรรู้อย่างหนึ่งที่น้องต้องทราบก็คือ คะแนนที่ได้จากการคำนวณของโปรแกรมสำเร็จรูปนี้ จะไม่ตรงกับคะแนนจริง ๆ นะครับ เพราะว่าค่าGPAเฉลี่ย และ SD ที่นำมาใช้คำนวณนี้เป็นค่าของปีก่อน ๆ เพราะปีล่าสุดนี้ยังไม่มีใครทราบ ต้องรอจนวันสุดท้ายของการรับสมัครคัดเลือกฯอย่างที่พี่บอกนะแหละครับ แต่น้องก็ไม่ต้องตกใจแต่อย่างใดนะจ๊ะ เพราะว่าค่าGPAเฉลี่ย และ SD ในแต่ละปี มันจะใกล้เคียงกันมากอยู่แล้วครับ ดังนั้นคะแนนที่ได้จากการคำนวณของโปรแกรมสำเร็จรูป จะต่างจากคะแนนจริง ๆ ไม่มากนัก พี่เคยแอบลองคำนวณดูแล้ว ต่างกันเป็นแค่หลักทศนิยมเท่านั้น หายห่วงได้เลยนะ
เก็บเข้าคอลเล็กชัน
ความคิดเห็น