ลำดับตอนที่ #1
คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #1 : ประโยชน์ของการเขียนบทความลงเว็บ
              เทคโนโลยีการสื่อสารในปัจจุบันนั้น ทันสมัยมาก ๆ ทำให้เกิดการเผยแพร่ความรู้ได้อย่างรวดเร็วและทั่วถึง ดังนั้น ประโยชน์ที่จะได้รับจากการเขียนบทความลงเว็บไซต์ก็คือ การเผยแพร่ความรู้ ไม่ว่าจะเป็นเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย ความรู้ทั่วไป หรือความรู้เฉพาะทางก็ตามแต่ รวมทั้งยังสร้างความบันเทิงและก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเรื่องนั้น ๆ กันอย่างกว้างขวางอีกด้วย นี้ก็เป็นประโยชน์ที่ผู้อ่านบทความนั้นจะได้รับนะครับ
    ส่วนประโยชน์ที่ผู้เขียนบทความลงเว็บไซต์จะได้รับไปอย่างเต็ม ๆ สามารถแยกเป็นข้อ ๆ ได้ดังนี้ครับ
1.เปิดโอกาสให้นักเขียนสมัครเล่น ก้าวสู่เวทีอาชีพ
                การที่จะเป็นนักเขียนอาชีพที่มีผลงานตามสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ นั้น ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยใช่ไหมครับ แต่ก็ไม่ใช่เรื่องยากเลยทีเดียว เพราะเรามีเว็บไซต์ที่เป็นบันไดขั้นแรกนำเราไปสู่เวทีนักเขียนอาชีพนั้นเอง เริ่มโดยการใช้เวทีสมัครเล่นนี้ เป็นที่ฝึกฝน ลับฝีมือ สร้างผลงานสมัครเล่นชิ้นเล็กชิ้นน้อย ซึ่งนักเขียนอาชีพหลาย ๆ ท่านที่เป็นที่รู้จักกัน ก็เริ่มมาจากการเขียนบทความ นิยาย เรื่องสั้น ลงเว็บไซต์นั้นเองครับ เช่น “ดร.ป๊อป” เจ้าของผลงานวรรณกรรมเยาวชนอันเลืองชื่อ “เดอะ ไวท์โรด”, นักเขียนสมัครเล่นในเว็บเด็กดีท่านอื่น ๆ ที่มีงานเขียนเป็นหนังสือของตัวเอง หรือแม้กระทั่งผมเอง ก่อนที่จะมีผลงานเขียนที่เป็นหนังสือ ผมก็ผ่านงานเขียนสมัครเล่นโดยการเขียนบทความลงเว็บมาก่อนนั้นเองครับ
2.ฝึกฝนศิลปะการเขียน
              “ศิลปะการเขียนสอนกันไม่ได้ แต่เรียนรู้ได้ครับ” การเขียนนั้น จะว่า เป็นเรื่องง่ายก็ตรงที่ แค่มีเรื่องที่จะเขียน ใคร ๆ ก็สามารถจะเขียนได้ แต่จะยากก็ตรงที่ เขียนอย่างไรให้เป็นที่น่าสนใจนั้นเองครับ ซึ่งเทคนิคตรงนี้นั้น ไม่สามารถสอนกันได้ตรง ๆ ใช่ไหมล่ะครับ เพราะแต่ละคนก็จะมีรูปแบบ (Style) การเขียนที่แตกต่างกันออกไป เป็นเอกลักษณ์เฉพาะบุคคล นักเขียนไม่ว่าจะมืออาชีพหรือสมัครเล่นน่าจะเข้าใจความจริงข้อนี้ดี
                อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่า เทคนิคการเขียนจะไม่สามารถสอนกันได้ตรง ๆ แต่เราสามารถจะพัฒนาศิลปะการเขียนให้เกิดขึ้นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะเราได้ก็ตรงที่เขียนบทความลงเว็บไซต์นั้นแหละครับ เหตุผลก็คือ การเขียนบทความลงเว็บไซต์นั้น จะแตกต่างจากการเขียนบทความในหนังสือหรือวารสารต่าง ๆ เพราะว่า เมื่อเราเขียนบทความลงเว็บไซต์ เราจะสามารถสังเกตถึงพฤติกรรมของผู้อ่านที่มีต่อบทความของเรา รวมทั้งได้รับความคิดเห็นจากผู้อื่นถึงคุณภาพงานเขียนของเราด้วย สิ่งนี้เองครับที่ทำให้เราสามารถนำมาเป็นบทเรียนในการพัฒนาฝีมือการเขียนของเรา รวมทั้งเป็นการสำรวจความนิยมทางการตลาดด้วยว่า ผู้อ่านนิยมอ่านเรื่องในแนวไหน หรือลักษณะงานเขียนในรูปแบบใด ซึ่งถ้าคุณเขียนบทความลงหนังสือหรือนิตยสาร คุณจะไม่สามารถเข้าถึงผู้อ่านได้ขนาดนี้
3.แลกเปลี่ยนความคิดเห็น
              สำหรับบทความที่เป็นประเด็นปัจจุบัน(Talk of the Town) นะครับ ผู้เขียนและผู้อ่านสามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่นกันและกันได้อย่างเสรี นอกจากที่เราจะได้แสดงความคิดเห็นแล้ว เรายังจะได้ทราบความคิดเห็นของผู้อื่นต่อประเด็นนั้น ๆ เปิดการเปิดมุมมองทางความคิดของเรานั้นไงล่ะครับ
              อนึ่ง คำว่า “บทความ” ในที่นี้จะมุ่งเน้นไปที่ “บทความเชิงวิชาการ (Scholar Article)” โดยเฉพาะ
    ส่วนประโยชน์ที่ผู้เขียนบทความลงเว็บไซต์จะได้รับไปอย่างเต็ม ๆ สามารถแยกเป็นข้อ ๆ ได้ดังนี้ครับ
1.เปิดโอกาสให้นักเขียนสมัครเล่น ก้าวสู่เวทีอาชีพ
                การที่จะเป็นนักเขียนอาชีพที่มีผลงานตามสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ นั้น ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยใช่ไหมครับ แต่ก็ไม่ใช่เรื่องยากเลยทีเดียว เพราะเรามีเว็บไซต์ที่เป็นบันไดขั้นแรกนำเราไปสู่เวทีนักเขียนอาชีพนั้นเอง เริ่มโดยการใช้เวทีสมัครเล่นนี้ เป็นที่ฝึกฝน ลับฝีมือ สร้างผลงานสมัครเล่นชิ้นเล็กชิ้นน้อย ซึ่งนักเขียนอาชีพหลาย ๆ ท่านที่เป็นที่รู้จักกัน ก็เริ่มมาจากการเขียนบทความ นิยาย เรื่องสั้น ลงเว็บไซต์นั้นเองครับ เช่น “ดร.ป๊อป” เจ้าของผลงานวรรณกรรมเยาวชนอันเลืองชื่อ “เดอะ ไวท์โรด”, นักเขียนสมัครเล่นในเว็บเด็กดีท่านอื่น ๆ ที่มีงานเขียนเป็นหนังสือของตัวเอง หรือแม้กระทั่งผมเอง ก่อนที่จะมีผลงานเขียนที่เป็นหนังสือ ผมก็ผ่านงานเขียนสมัครเล่นโดยการเขียนบทความลงเว็บมาก่อนนั้นเองครับ
2.ฝึกฝนศิลปะการเขียน
              “ศิลปะการเขียนสอนกันไม่ได้ แต่เรียนรู้ได้ครับ” การเขียนนั้น จะว่า เป็นเรื่องง่ายก็ตรงที่ แค่มีเรื่องที่จะเขียน ใคร ๆ ก็สามารถจะเขียนได้ แต่จะยากก็ตรงที่ เขียนอย่างไรให้เป็นที่น่าสนใจนั้นเองครับ ซึ่งเทคนิคตรงนี้นั้น ไม่สามารถสอนกันได้ตรง ๆ ใช่ไหมล่ะครับ เพราะแต่ละคนก็จะมีรูปแบบ (Style) การเขียนที่แตกต่างกันออกไป เป็นเอกลักษณ์เฉพาะบุคคล นักเขียนไม่ว่าจะมืออาชีพหรือสมัครเล่นน่าจะเข้าใจความจริงข้อนี้ดี
                อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่า เทคนิคการเขียนจะไม่สามารถสอนกันได้ตรง ๆ แต่เราสามารถจะพัฒนาศิลปะการเขียนให้เกิดขึ้นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะเราได้ก็ตรงที่เขียนบทความลงเว็บไซต์นั้นแหละครับ เหตุผลก็คือ การเขียนบทความลงเว็บไซต์นั้น จะแตกต่างจากการเขียนบทความในหนังสือหรือวารสารต่าง ๆ เพราะว่า เมื่อเราเขียนบทความลงเว็บไซต์ เราจะสามารถสังเกตถึงพฤติกรรมของผู้อ่านที่มีต่อบทความของเรา รวมทั้งได้รับความคิดเห็นจากผู้อื่นถึงคุณภาพงานเขียนของเราด้วย สิ่งนี้เองครับที่ทำให้เราสามารถนำมาเป็นบทเรียนในการพัฒนาฝีมือการเขียนของเรา รวมทั้งเป็นการสำรวจความนิยมทางการตลาดด้วยว่า ผู้อ่านนิยมอ่านเรื่องในแนวไหน หรือลักษณะงานเขียนในรูปแบบใด ซึ่งถ้าคุณเขียนบทความลงหนังสือหรือนิตยสาร คุณจะไม่สามารถเข้าถึงผู้อ่านได้ขนาดนี้
3.แลกเปลี่ยนความคิดเห็น
              สำหรับบทความที่เป็นประเด็นปัจจุบัน(Talk of the Town) นะครับ ผู้เขียนและผู้อ่านสามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่นกันและกันได้อย่างเสรี นอกจากที่เราจะได้แสดงความคิดเห็นแล้ว เรายังจะได้ทราบความคิดเห็นของผู้อื่นต่อประเด็นนั้น ๆ เปิดการเปิดมุมมองทางความคิดของเรานั้นไงล่ะครับ
              อนึ่ง คำว่า “บทความ” ในที่นี้จะมุ่งเน้นไปที่ “บทความเชิงวิชาการ (Scholar Article)” โดยเฉพาะ
เก็บเข้าคอลเล็กชัน
ความคิดเห็น