คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #8 : สาแหรกสี่สหาย
มา: | หนังสือพิมพ์ข่าวสด ฉบับวันเสาร์ที่ 16 ตุลาคม 2536 |
สนับสนุนข้อมูลโดย: | คุณ Newcomer (ขอบคุณมากๆ ครับ) |
ตีพิมพ์บน Internet โดยไม่ได้รับอนุญาติ เพื่อการศึกษา | |
พิมพ์โดย: | คุณหมอดิเรก สมาชิกหมายเลข 00004 |
ข้อสังเขปของตัวละคร (นอกเหนือจากพล นิกร กิมหงวน)
1) พระยาวิจิตรบรรณาการ ข้าราชการบำนาญ(น่าจะเป็นกระทรวงเศรษฐการหรือกระทรวงพาณิชย์) อาวุโสสุดในหมู่ตัวละครที่ปรากฎบ่อยๆ เจ้าคุณฯมีพี่สาวชื่อ "คุณท้าวใหญ่" ถวายตัวเป็นฝ่ายในวังย่านบางขุนพรหม คุณท้าวท่านนี้บ เจ้าระเบียบ ลูกหลานกลัวมากที่สุด มีน้องสาวชื่อ "ช้อย" ต่อมาเป็นคุณหญิงของเจ้าคุณประสิทธิ์ฯ และเปลี่ยนชื่อเป็น "คุณหญิงวาด"
2) พระยาประสิทธิ์นิติศาสตร์ ข้าราชการบำนาญกระทรวงยุติธรรม อดีตผู้พิพากษา มีพี่ชายชื่อ "ลุงเชย" เป็นเศรษฐีอยู่ที่ อ.โกรกพระ นครสวรรค์ มักทำตัวเป็นแบบบ้านนอกเข้ากรุงจนกลายเป็นสำนวนว่า "เชย" มาจนทุกวันนี้ นอกจากนั้นลุงเชยยังขี้เหนียววายร้าย เจ้าคุณประสิทธิ์ฯยังมีข้าเก่าเต่าเลี้ยงชื่อว่า "แห้ว" ติดสำนวนคำว่า "รับประทาน---" ก่อนจะพูดอะไร มีนิสัยทะลึ่งไม่ผิดกับสามเกลอ
3) พระยาปัจจนึกพินาศ ข้าราชการบำนาญกระทรวงกลาโหม เป็นนายทหารสัญยาบัตรยศพันโท นามเดิม "อู๊ด ศิริสวัสดิ์" มีน้องชายชื่อ "อี๊ด ศิริสวัสดิ์" เป็นพ่อค้าอยู่เวียงจันทน์ เจ้าคุณปัจจนึกฯ นายอี๊ด และเจ้าคุณประสิทธิ์บุคลิกที่สอดคล้องกันคือหัวล้าน
4) พระยานพรัตนไมตรี ข้าราชการบำนาญกระทรวงการต่างประเทศ เป็นพ่อของดิเรกไม่มีบทบาทมากนัก
5) เจ้าสัวกิมเบ๊ มหาเศรษฐีร่ำรวยอันดับ 1 ของประเทศ มีพี่ชายชื่อเจ้าสัวกิมไซ ทั้งคู่พี่น้องพูดไทยไม่ชัดและติดฝิ่นงอมแงม เป็นต้นตระกูล "ไทยเทียม" หลังจากเจ้าสัวกิมเบ๊ตาย กิมหงวน ไทยเทียม บุตรชายเปลี่ยนชื่อเปลี่ยนนามสกุลเป็น "สงวน ไทยแท้"
6) นางลิ้นจี่ มารดาของนวลละออ เป็นแม่ม่ายสวยพริ้ง และเป็นที่หมายปองของพ่อม่ายอย่างเจ้าคุณปัจจนึกฯ ลุงเชย เจ้าคุณวิจิตรฯ
หมายเหตุสามเกลอ
ปริญญา อินทรปาลิต หลานชายของ ป.อินทรปาลิต เขียนเอาไว้ใน "โลกส่วนตัวของ ป.อินทรปาลิต" ว่า เกี่ยวกับบุคลิกของสามเกลอ เคยถามท่าน (ป.อินทรปาลิต) ว่าสร้างขึ้นจากคนที่มีอยู่จริงหรือจินตนาการเอง ได้รับคำอธิบายว่า ส่วนใหญ่คิดขึ้นตามกำหนดไว้ อาทิ พล พัชราภรณ์ รูปหล่อ พูดน้อย และจริงจัง ส่วนนิกร การุณวงศ์ ทะเล้นทะลึ่งตลอดเวลาเพื่อเป็นตัวเปิดมุขตลกต่างๆ เนื่องจากบทประพันธ์ชุดนี้ในตอนแรกมีตัวชูโรงเพียง 2 คน คือ พลกับนิกร ต่อมาจึงกล่าวถึงกิมหงวน ซึ่ง ป.อินทรปาลิต แนะนำให้ผู้อ่านรู้จักครั้งแรกว่า "สงวน ไทยเทียม" แต่ภายหลังเปลี่ยนเป็น "กิมหงวน ไทยแท้" สำหรับกิมหงวนหรือสงวน ท่านสร้างขึ้นตามบุคลิกและอุปนิสัยของเพื่อนคนหนึ่งซึ่งเป็นคนจีนมีนามว่า "เพ่งอัน" หรือ "เผ่งอัน" บุคคลผู้นี้รักใคร่ชอบพอกับท่านมานานแล้ว เพ่งอันรูปร่างสูงชะลูด ชอบสวมแว่นตาสีชาขอบกระ นิสัยฟุ่มเฟือยสุรุ่ยสุร่ายเพราะเป็นลูกเจ้าสัว แต่ไม่กล้าแสดงความร่ำรวยถึงกับฉีกแบงก์เล่นเหมือนอาเสี่ยกิมหงวน
ส่วนตัวละครอื่นๆ ได้แก่ ดร.ดิเรก ณรงค์ฤทธิ์, เจ้าคุณปัจจนึกพินาศ, เจ้าคุณประสิทธิ์นิติศาสตร์, คุณหญิงวาด, เจ้าคุณวิจิตรบรรณาการ, ลุงเชย, เจ้าสัวกิมเบ๊, เจ้าสัวกิมไซ, สี่นางประกอบด้วย นันทา, ประไพ, นวลละออ และประภา ตลอดจนเจ้าแห้วนั้น ท่านนำบุคลิกของผู้ที่ได้รู้จักพบเห็นมาเป็นตัวละครหนึ่งๆ แต่ให้มีอุปนิสัยตามที่จินตนาการไว้
เมื่อเรื่องราวของหัสนิยายชุดนี้ดำเนินติดต่อกันนับเป็นปีๆ ป.อินทรปาลิต ได้ยุติบทบาทตัวละครลงเสียหลายตัวด้วยการให้เสียชีวิตไปตามอายุขัย เช่น ลุงเชย, เจ้าคุณประสิทธิ์ฯ, เจ้าคุณวิจิตรฯ, เจ้าสัวกิมเบ๊ และเจ้าสัวกิมไซ ปรากฎว่าผู้ประพันธ์ได้รับจดหมายทักท้วงจากแฟนหนังสือจำนวนมาก ซึ่งข้อความในจดหมายคล้ายคลึงกันคือ ไม่มีใครต้องการให้ตัวละครเหล่านั้นเสียชีวิต เพราะกำลังสนุกสนานอยู่กับบทบาทต่างๆ
ป.อินทรปาลิต เคยกล่าวว่า "ตนเองรู้สึกเสียดายเช่นเดียวกันที่เขียนให้ตัวละครเหล่านี้จบบทบาท แต่ตามเนื้อเรื่องทุกคนอายุมากแล้ว จำเป็นต้องถึงคราวเสียชีวิตอันเป็นสิ่งที่มนุษย์เราหนีไม่พ้น" อย่างไรก็ตามสามเกลอหลายตอนได้นำตัวละครที่กล่าวนี้กลับมามีบทบาทอีก เช่น สามเกลอถอดวิญญาณ และสามเกลอไหว้เจ้า
กล่าวสำหรับนิยายชุดสามเกลอ หากจะถือเอากาลเวลาเป็นส่วนสำคัญในการดำเนินเรื่อง นับว่า ป.อินทรปาลิต ทำถูกต้องตามความเป็นจริง สามเกลอกับคณะมีพฤติการณ์จี้เส้นติดต่อกันนานนับสิบๆปี อายุของตัวละครย่อมเปลี่ยนไปจากวัยหนุ่มเข้าสู่วัยกลางคน ผู้ที่อยู่ในวัยชราย่อมเจ็บไข้ได้ป่วยถึงแก่กรรม
หัสนิยายสามเกลอยุคหลังจึงเหลือตัวละครเด่นๆเพียง 11 คน ได้แก่ พล, นิกร, กิมหงวน, ดร.ดิเรก, นันทา, ประไพ, นวลละออ, ประภา, เจ้าคุณปัจจนึกฯ, คุณหญิงวาด และเจ้าแห้ว ต่อมา ป.อินทรปาลิต กำหนดให้ลูกของสี่สหายคือ พนัส, นพ, สมนึก และดำรง เข้ามามีบทบาทด้วย
ความคิดเห็น