ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เล็ก ๆ น้อย ๆจาก สามเกลอ

    ลำดับตอนที่ #12 : สามเกลอยุคภาษาวิบัติ

    • อัปเดตล่าสุด 12 ก.ค. 50


     




    จากหนังสือ "ป. อินทรปาลิต ชีวิตของคนขายฝัน" คุณเริงไชยได้เขียนไว้ว่า ในยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 ปัญหาการขาดแคลนกระดาษ ทำให้กิจการหนังสือต้องซบเซาลงเป็นอย่างมาก และยิ่งหลังจากที่ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ออกกฏเกณฑ์ต่างอีกมากมาย โดยหนังสือทุกเรื่องจะต้องผ่านการตรวจสอบ ว่าข้อเขียนได้สอดคล้องกับ "วัฒนธรรม" ที่รัฐบาลตั้งขึ้นเท่านั้น วงการหนังสือของเมืองไทยจึงตกต่ำที่สุดในขณะนั้น

    วัฒนธรรมที่เลวร้ายที่สุด คือการที่รัฐบาลในขณะนั้นเปลี่ยนแปลงภาษาไทยใหม่ โดยตัดสระและพยัญชนะบางตัวออก ทำให้ภาษาไทยที่เคยใช้อยู่ 44 ตัว เหลือเพียง 31 ตัว บางคนเรียกยุคนั้นว่า "ยุคภาษาวิบัติ" และคุณเริงไชยได้บันทึกไว้ว่า ด้วยเหตุการณ์หลายอย่างในขณะนั้นประกอบกัน ป. อินทรปาลิต จึงหยุดการเขียนสามเกลอชั่วคราว และหันไปพากย์หนังแทน

    นี่เอง ทำให้ผมฝังใจมาตั้งแต่เด็กๆ ว่า คงจะไม่มีสามเกลอในยุคภาษาวิบัติ จนกระทั่ง "ชมรมคนรักการ์ตูน" แจ้งให้ผมทราบว่า ได้ค้นพบสามเกลอตอน "พ่อแสนกล" ซึ่งตีพิมพ์ด้วยภาษาวิบัติทั้งเล่ม นับเป็นสามเกลอตอนที่สำคัญที่สุดในกว่า 1000 ตอน ที่ได้ผ่านหูผ่านตาผมมา

    คุณบุ๊ค(00003) นายทะเบียนสมาชิกของชมรม ซึ่งได้อ่านสามเกลอตอนนี้จนจบแล้ว ได้สรุปความสำคัญไว้ว่า

    • จากบทนำ-คำนำของคุณ ป.อินทรปาลิต และ สำนักพิมพ์ ค่อนข้างจะชี้ให้เห็นว่าคุณ ป.อินทรปาลิต ในช่วงนั้นเลิกเขียนหนังสือนานมาก แล้วก็กลับมาเขียน โดยเรื่องนี้เป็นเล่มแรก หลังจากหยุดไปนาน

    • เนื้อเรื่องจะกล่าวถึงช่วงที่น้ำท่วมใหญ่กรุงเทพฯ (คาดว่าปี 2486 ซึ่งเป็นปีที่พิมพ์หนังสือเล่มนี้) อ่านแล้วรู้เลยว่าน้ำท่วมมากทีเดียว การโดยสารในกรุงเทพต้องใช้เรือพายเป็นพาหนะหลักเลย มีการโก่งราคาเรือพายขึ้นหลายเท่า น้ำท่วมถึงในบ้านพัชราภรณ์ เลย ห้างร้านค้าต้องปิดไปเยอะ สามเกลอไม่ได้ไปเที่ยว หรือ ไปทำงานเลย ต้องอยู่บ้านตลอด

    • คำพูดระหว่างตัวละครในเรื่อง สุภาพมาก เช่น ปกติทุกคนจะเรียกเจ้าแห้ว ว่า "ไอ้แห้ว" หรือ แต่ในหนังสือเล่มนี้จะเรียกว่า "เทอ" ตลอด ซึ่งเป็นสรรพนามที่ใช้เรียกตัวละครเกือบทุกคนในเรื่อง แล้วจะไม่มีคำว่า มึง กู เอ็ง ข้า ไอ้ แก หรือเรียกว่าไม่มีคำหยาบปรากฎให้เห็นเลย ภาษาที่ใช้จะสุภาพมากๆ ซึ่งแปลก อย่างเวลาคุณหญิงวาดโกรธจะด่าแรงๆ แต่ในเรื่องนี้มีโกรธแต่ใช้คำว่าซึ่งสุภาพมาก ไม่แน่ใจว่าจะเป็นหนึ่งในกฎหมายที่ออกในตอนนี้ ที่ห้ามเขียนภาษาที่หยาบเลยหรือเปล่า (ตอนหนึ่งในคำนำ ที่คุณ ป.อินทรปาลิต เขียนนำหน้าหนังสือเล่มนี้ แกบอกให้สังเกตว่าสามเกลอในเล่านี้จะเป็นคนที่สุภาพมาก ซึ่งพออ่านแล้วเหมือนกับว่าแกเขียนหนังสือ เหมือนประชดประชันอะไรสักอยากหนึ่ง ผมจับความหมายได้อย่างนั้น) นอกจากนี้คำที่ปิดท้ายประโยคที่ตัวละครทุกคนพูดจะต้องลงท้ายด้วย "จ๊ะ" ตลอด แล้วก็เรียกว่าเป็นตอนแรกที่นิกร กับ กิมหงวน ไม่มีการล้อเรื่องหัวล้านเลย แปลก!

    • ในหนังสือเล่มนี้มีตอนที่สำคัญคือ เป็นตอนที่ประภาคลอดลูก (ส่วนตอนที่สามสาวคลอดลูกพร้อมกันก็คือ "พ่อลูกอ่อน" ในชุดวัยหนุ่ม) อยู่ใน topic ที่ 5

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน
    นิยายแฟร์ 2024

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×