ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    หนังสือรวม + ความรู้อื่นๆ สำหรับการสอบธรรมะศึกษา

    ลำดับตอนที่ #1 : บทนำ

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 187
      3
      7 พ.ย. 52


     

    บทนำ

                  การเรียงความแก้กระทู้ธรรม เป็นการแสดงออกซึ่งความรู้ ความเข้าใจ    ความคิด      และความรู้สึก  ของผู้เขียนซึ่งได้มาจากการศึกษาวิชาธรรมะ พุทธะ และเบญจศีลเบญจธรรม  ว่าสามารถจะถ่ายทอดความรู้ ความเข้าใจ     ความคิด     และความรู้สึกออกไปสู่ผู้อื่นได้ดีหรือไม่

                  การเรียนรู้วิชาธรรมะ    พุทธะ    และเบญจศีลเบญจธรรม    เปรียบเหมือนนักเรียนไปเก็บเอาดอกไม้ที่ต่างสี     ต่างขนาด     มากองรวมกันไว้      ส่วนการเรียงความแก้กระทู้ธรรม     เปรียบเหมือนนักเรียนคัดเอาดอกไม้เหล่านั้นมาปักแจกัน      จะทำได้สวยงามแค่ไหน      ก็ขึ้นอยู่กับความสามารถของแต่ละคน      ที่จะแต่งอย่างไร

                  ตามหลักธรรมคำสอนในพระพุทธศาสนา  การเขียนหรือการพูดที่จัดว่าดีนั้น     ต้องเกิดประโยชน์แก่ผู้อ่านหรือผู้ฟัง    ประการ  คือ  
    ๑. ได้ความรู้ความเข้าใจ   
    ๒. เกิดความเลื่อมใสใคร่ปฏิบัติตาม   
    ๓. กล้าทำความดี  
    ๔.  มีความบันเทิงใจ     ไม่เบื่อหน่าย

                  ๑.    ผู้อ่านหรือผู้ฟังจะได้รับความรู้  ความเข้าใจนั้น  ผู้เขียนและผู้พูดจะต้องมีความรู้       ความเข้าใจในเรื่องนั้นเป็นอย่างดีเสียก่อน  สรุป สั้น ๆ  คือ  จำได้  เข้าใจชัด  ปฏิบัติถูกต้อง

                  ๒.     ผู้อ่านหรือผู้ฟัง  จะเกิดความเลื่อมใส  ใคร่ปฏิบัติตาม ผู้เขียนหรือผู้พูดจะต้องชี้แจงให้เห็นโทษของการไม่ปฏิบัติอย่างนั้นว่า   ไม่ดีอย่างไร 

                  ๓.    ผู้อ่านหรือผู้ฟังจะกล้าทำความดี  ผู้เขียนหรือผู้พูด  จะต้องชี้แจงให้เห็นคุณค่าหรือประโยชน์ของการปฏิบัติอย่างนั้นว่า     ดีอย่างไร

                  ๔.    ผู้อ่านหรือผู้ฟัง  จะมีความบันเทิงใจ  ไม่เบื่อหน่าย  ก็เพราะได้รับความรู้ความเข้าใจ        เห็นโทษของการไม่ปฏิบัติ           และเห็นคุณประโยชน์ของการปฏิบัตินั้น ๆ  นั่นเอง 

     

                  ฉะนั้น วิชากระทู้ธรรมจึงเป็นวิชาที่สำคัญ น่าศึกษาวิชาหนึ่ง เพราะเป็นการเอาวิชาที่เรียนแล้วมาประติดประต่อให้ได้ใจความสอดคล้องกับกระทู้ธรรมตามที่สนามหลวงออกมา เป็นการแสดงให้เห็นถึงความรู้  ความเข้าใจ  ความคิดและความรู้สึกที่แท้จริงของผู้เขียน   และเป็นเหตุให้เกิดความรู้ความเข้าใจ  ความคิด  และความรู้สึกแก่ผู้อื่นด้วย  นักเรียนจึงควรเอาใจใส่ฝึกคิด  ฝึกเขียน  ฝึกพูดบ่อย ๆ  จะ  ได้เป็นคนดีมีความสามารถ  โปรดนึกถึง พุทธภาษิตบทหนึ่งอยู่เสมอว่า
     ทน
    โต เสฏโฐมนุสเสสุ
      
    ผู้ฝึกฝนตน  (อยู่เสมอ)  เป็นผู้ประเสริฐที่สุดในมวลมนุษย์

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×