โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียน - โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียน นิยาย โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียน : Dek-D.com - Writer

    โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียน

    โดย papadot

    เสี่ยวเออ

    ผู้เข้าชมรวม

    2,744

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    1

    ผู้เข้าชมรวม


    2.74K

    ความคิดเห็น


    0

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  24 ก.พ. 50 / 16:01 น.


    ข้อมูลเบื้องต้นของเรื่องนี้
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

      กรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย (Bangkok Christian College, B.C.C.) เป็นโรงเรียนเอกชนเก่าแก่ที่สุดของประเทศไทย ปัจจุบันมีอายุ 154 ปี ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1852 โดยมิชชั่นนารีคณะเพรสไบทีเรียน ถือเป็นโรงเรียนเอกชนแห่งแรกในประเทศ เป็นโรงเรียนในกลุ่มจตุรมิตร ซึ่งได้แก่ โรงเรียนอัสสัมชัญ โรงเรียนเทพศิรินทร์ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย และกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย

      กรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย


      ชื่อ กรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย

      (ก.ท)

      ชื่อ (อังกฤษ) BANGKOK CHRISTIAN COLLEGE

      (B.C.C.)

      ก่อตั้ง ค.ศ. 1852
      ประเภทโรงเรียน เอกชน
      คำขวัญ Do not be overcome by evil, but overcome evil with good (Romans 12:21)
      เพลงประจำสถาบัน เพลงโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย
      ต้นไม้ประจำสถาบัน ต้นชงโค
      สีประจำสถาบัน ม่วง-ทอง
      ที่อยู่ เลขที่ 35 ถนนประมวญ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
      เว็บไซต์ www.bcc.ac.th

      สารบัญ

      [แสดงสารบัญ]

      [แก้] ประวัติ

      • ค.ศ. 1852 คณะอเมริกันเพรสไบทีเรียน (American Presbiterian) ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงมีพระบรมราชานุญาตให้คณะมิชชันซื้อที่ดิน 2 แปลงคือที่ตำบลกุฎีจีน หลังวัดแจ้ง และตำบลสำเหร่ และได้ตั้งโรงเรียนเป็นแห่งแรก ณ ตำบลกุฎีจีน โดยจ้างเด็กมาเรียนวันละเฟื้อง (12 สตางค์) มีซินแสกีเอ็ง ก๊วยเซียนเป็นผู้สอน ในตอนนั้นมีเยาวชนจีนเพียง 8 คนเท่านั้นที่สมัครเป็นนักเรียน
      • ค.ศ. 1856 มีนักเรียนไทยกลุ่มแรกเข้ามาสมัครเป็นนักเรียนที่นี่ ต่อไปนี้เป็นชื่อนักเรียนเท่าที่มีบันทึกเอาไว้
        • นร. เลขประจำตัว 1 พระยาอุตรกิจฯ
        • นร. เลขประจำตัว 2 หลวงวิจิตรฯ
        • นร. เลขประจำตัว 8 หลวงขบวนฯ
        • นร. เลขประจำตัว 29 ครูยวญ เตียงหยก
        • นร. เลขประจำตัว 31 นายเทียนสู่ กีระนันท์
      • ค.ศ. 1862 คณะอเมริกันเพรสไบธีเรียน เล็งเห็นว่ากิจการด้านการศึกษาก้าวไกลไปข้างหน้าด้วยดี จึงย้ายโรงเรียนจากเดิมที่ตำบลวัดแจ้งมาเปิดที่ตำบลสำเหร่ ซึ่งอยู่ทางใต้ลงมาและมอบให้ศาสนทูต เอล แมตตูน เป็นผู้อำนวยการ ปรากฏว่าผลงานเป็นที่พอใจ อนึ่งในระยะเวลานั้นทางรัฐบาลไทยได้เปิดโรงเรียนของรัฐบาลแห่งหนึ่งที่ตำบลสวนอนันต์ ได้เชิญท่าน เอส.จี.แมคฟาแลนด์ หรือคุณพระอาจวิทยาคมเป็นผู้อำนวยการ โดยมีวัตถุประสงค์หรือนโยบายเพียงให้การศึกษาเฉพาะบุคคลชั้นเจ้านาย ลูกท่านหลานเธอและบุตรข้าราชการผู้ใหญ่ในราชสำนักเท่านั้น ท่านผู้อำนวยการเห็นว่าภารกิจที่ได้รับมอบหมายนั้น ลำพังท่านเพียงผู้เดียวนั้นยากที่จะดำเนินไปสู่จุดมุ่งหมายได้ ดังนั้นท่านจึงได้ออกปากชวน ท่านอาจารย์เจ.เอ.เอกิ้น เข้ามาร่วมงานอีกท่านหนึ่ง และแล้วกิจการของโรงเรียนราษฎร์แห่งแรกก็ได้ก้าวหน้าไปด้วยดี
      • ค.ศ. 1888 เมื่อท่านอาจารย์เจ.เอ.เอกิ้นได้เข้าร่วมงานกับท่านอาจารย์เอส.จี.แมคฟาแลนด์ได้ระยะหนึ่งและเมื่อพ้นพันธะใดๆแล้ว ท่านก็ลาออกจากตำแหน่งครูรัฐบาลแต่ด้วยใจรักการศึกษา ท่านก็ได้จัดตั้งโรงเรียนส่วนตัวขึ้น ณ ตำบลวัดกระดี่จีน(กุฏีจีน) ชื่อว่าโรงเรียนบางกอกคริสเตียนไฮสกูล(B.C.H.) และได้เชิญอาจารย์และแหม่มเจ.บี.ดันแลป พร้อมด้วยน้องสาวของท่าน เข้าร่วมงาน

      และในปีเดียวกันนั้นเอง อาจารย์เจ.เอ.เอกิ้น และคณะทั้งสามของท่านได้สมัครเข้าสังกัดของคณะเพรสไบธิเรียนแล้ว และในเวลาเดียวกันท่านศาสนทูตเอส.อาร์เฮ้าส์ ท่านศาสนทูตเจ.เอม.คัลเบริ์ทซัน ท่านศาสนทูตเอน.เจ.แมคโดนัล และท่านศาสนทูต เจ.แวนได๊ก์ ได้เดินทางกลับไปเยี่ยมบ้านเกิดของท่าน ณ สหรัฐอเมริกา ทำให้ทางฝ่ายมิชชันในกรุงเทพฯ ขาดผู้บริหารด้านการศึกษาไปที่ประชุมจึงได้มีมติให้อาจารย์เจ.เอ.เอกิ้น เป็นผู้ที่เหมาะสมที่จะบริหารงานด้านการศึกษาของมิชชันต่อไป ดังนั้นท่านต้องแบกภารกิจเป็น 2 เท่าคือทั้งงานส่วนตัวที่"บางกอกคริสเตียนไฮสกูล"ที่กุฎีจีน และโรงเรียนของคณะมิชชันที่สำเหร่

      • ค.ศ. 1892 ท่านอาจารย์เจ.เอ.เอกิ้น เห็นว่าการที่ต้องบริหารงานเป็นสองฝักสองฝั่งเช่นนี้ย่อมสิ้นเปลืองแรงงาน และไม่ประสบความสำเร็จในที่สุด ท่านจึงตัดสินใจยกเลิกกิจการที่กุฎีจีนเสีย และมุ่งหน้าปรับปรุงกิจการส่วนรวมของหมู่คณะ คือดำเนินการบริหารที่สำเหร่แต่เพียงด้านเดียวท่านได้แสดงถึงความเสียสละอย่างยิ่ง โดยทุ่มเททุนส่วนตัวของท่านที่สะสมไว้เพื่อ "บากกอกคริสเตียนไฮสกูล" ที่กุฎีจีนทั้งหมด เพื่อสร้างงานใหม่ที่ตำบลสำเหร่ โดยได้สร้างอาคารใหม่ใช้เป็นสถานศึกษาสำหรับนักเรียนชาย ขนานามใหม่ว่า"สำเหร่บอยสกูล"
      • ค.ศ. 1900 ทางคณะมิชชันนารีเล็งเห็นว่า หากจะขยายการศึกษาให้กว้างไกลออกไปแล้ว ที่ดินตรงตำบลสำเหร่ไม่เหมาะสม จึงมุ่งหมายไปยังที่ดินแปลงใหม่ ณ ฝั่งชายแม่น้ำเจ้าพระยาอันเป็นฝั่งกรุงเทพฯ ปัจจุบันและในที่สุดก็ได้ซื้อที่ดินแปลงหนึ่งที่บริเวณ ถนนประมวญ ตำบลสีลม อำเภอบางรัก และสร้างสถาบันการศึกษาขึ้นใหม่เรียกนามว่า "กรุงเทพคริสเตียนไฮสกูล" เปิดทำการสอนเป็นปฐมฤกษ์เมื่อ
      • ค.ศ. 1913 กรุงเทพคริสเตียนไฮสกูล รุ่งโรจน์เรื่อยมาเป็นลำดับ กิจการงานศึกษาแผ่กว้างยิ่งขึ้น มติจากบอร์ดนอก จึงได้สั่งให้เปลี่ยนจากไฮสกูล เป็นคอลเล็จ(COLLEGE)ดังนั้นเองนามของสถาบันการศึกษาแห่งนี้จึงได้เปลี่ยนเป็น "กรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย" เรียกชื่อและเขียนตามอักษรโรมันว่า BANGKOK CHRISTIAN COLLEGE มักเรียกย่อๆว่า B.C.C.
      • ค.ศ. 1920 กรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัยก็ประกาศก้องในฐานะเป็นโรงเรียนแรกที่ได้รับเกียรติรับรองวิทยฐานะเทียบเท่าโรงเรียนรัฐบาล

      โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย สังกัดสำนักงานพันธกิจการศึกษามูลนิธิสภาคริสตจักรในประเทศไทย บนเนื้อที่ 15 ไร่ 2 งาน 31 ตารางวา ประกอบไปด้วยหอธรรม อาคารอารีย์ เสมประสาท อาคาร1 และ 2 อาคารสิรินาถ อาคารบีซีซี 150 ปี สระว่ายน้ำ สนามฟุตบอล สนามบาสเกตบอล เปิดการเรียนการสอน ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

      [แก้] บรมราชวงจักรีวงศ์ กับ B.C.C.

      บูรพกษัตริยาธิราชและราชกุลแห่งบรมราชจักรีวงศ์ทรงมีคุณอันใหญ่หลวงต่อ B.C.C. มาโดยตลอด พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่4)มีพระบรมราชานุญาตให้คณะมิชชันนารีคณะอเมริกันเพรสไบธีเรียนมิชชั่นซื้อที่ดินในประเทศสยามไว้ 2 แห่ง และสร้าง โรงเรียนแห่งแรกที่ตำบลกุฎีจีน ฝั่งธนบุรี (อันเป็นต้นกำเนิดของ B.C.C.ในปัจจุบัน)เปิดทำการสอนครั้งแรกเมื่อ 30 กันยายน พ.ศ. 2395 ต่อมาได้เปิดดำเนินการสอนอีกแห่งที่ตำบลสำเหร่ ฝั่งธนบุรีเช่นกัน

      ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชการลที่ 5) ทรงสนับสนุนโครงการขยายการศึกษาของคณะอเมริกันเพรสไบธีเรียนมิชชั่นมายังฝั่งกรุงเทพฯ พระองค์พระราชทานเงินจำนวน 20 ชั่งเพื่อสมทบในกองทุนที่จัดซื้อที่ดินที่ ตำบลสีลม อำเภอบางรัก กรุงเทพฯ เมื่อ พ.ศ. 2443 เพื่อสร้างโรงเรียนขนาดใหญ่ขึ้นใหม่ มีอาคารเรียน ห้องรียน ห้องปฏิบัติการที่ทันสมัย เริ่มทำการสอนเมื่อ พ.ศ. 2445 นอกจากนั้นพระองค์พระราชทานนาฬิกาประดับพระปรมาภิไธยย่อ"จ.ป.ร."ไว้ที่สถาบันการศึกษาแห่งนี้

      กรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัยในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการสอนทั้งภาษาอังกฤษและภาษาไทย จะเน้นหนักที่ภาษาอังกฤษโดยจะใช้ภาษาอังกฤษสอนในทุกรายวิชา (ยกเว้นวิชาภาษาไทย) นักเรียนจะต้องพูดภาษาอังกฤษทั้งในเวลาเรียนและเวลาที่อยู่ในโรงเรียน ที่เป็นเช่นนี้เพราะการปลูกฝังทักษะด้านภาษาอังกฤษให้แก่นักเรียน หากนัเรียนคนใดพูดภาษาไทยในเวลาดังกล่าวจะต้องถูกทำโทษโดยการให้อยู่เย็นและท่องงานตามที่อาจารย์มอบหมาย

      พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่6) มีพระบรมราชานุญาตให้ B.C.C. มีวิทยฐานเทียบเท่าโรงเรียนรัฐบาลเมื่อ พ.ศ. 2463 นับเป็นโรงเรียนแห่งแรกที่ได้รับเกียรตินี้ และแตรวง(วงดุริยางค์)ของ B.C.C. เป็นตัวแทนของเขตพระนครใต้ เป็นกองเกียรติยศบรรเลงร่วมกับแตรวงโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยและวงดุริยางค์กองทัพบก บรรเลงนำขบวนพระบรมศพของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อพ.ศ. 2469

      พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่7)ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อ B.C.C.โดยพระราชทานโต๊ะทรงพระอักษรประดับตราพระลัญจกร "วิชิราวุธ" (โต๊ะทรงพระอักษรชุดนี้เป็นโต๊ะทรงพระอักษรในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวให้เป็นเกียรติแก่ B.C.C.

      ราชสกุล"มหิดล"นับว่ามีความใกล้ชิดกับ B.C.C. อย่างยิ่ง ด้วยเหตุที่สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก เมื่อครั้งดำริพระอสสริยยศเป็นกรมหลวงสงขลานครินทร์ พระองค์เสด็จเยี่ยม B.C.C. เป็นประจำ ด้วยเหตุที่ทรงสนิทสนมกับมิชชันนารีที่บริหาร B.C.C. ในสมัยอาจารย์ เอ็ม.บี.ปาล์มเมอร์(M.B.Palmer) และ ดร.อี.เอ็ม.เท็ตต์(E.M.Tate)ทรงสนพระทัยโครงการขยายการศึกษาของคณะมิชชันนารีและได้พระราชทานแนวพระราชดำริเกี่ยวกับแผนพัฒนาการศึกษาของ B.C.C. ไว้เป็นลายลักษณ์อักษร เอกสารแนวพระราชดำริปัจจุบันเก็บไว้ ณ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ

      ทุกครั้งที่สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร์อดุลยเดชวิกรม บรมราชชนก เสด็จเยี่ยม B.C.C. สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีจะโดยเสด็จด้วยทุกครั้งและทรงเป็นกันเองกับมิชชันนารี ทรงยินดีรับคำเชิญในการร่วมกิจกรรมของ B.C.C. มาโดยตลอด ครั้งหนึ่งเมื่อสมเด็จพระศรีนครินทรา บรมราชชนนีเสด็จเยี่ยม B.C.C. ทรงทอดพระเนตรเห็นความทรุดโทรมของสนามฟุตบอล B.C.C. จึงได้พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวน 3,000 บาท เพื่อปรับปรุงสนามฟุตบอล B.C.C. ให้เป็นสนามฟุตบอลที่ทันสมัย ต่อมาเมื่อคณะศิษย์เก่า B.C.C. ซึ่งเป็นลูกศิษย์ท่านอาจารย์ ปาล์มเมอร์ ได้ร่วมกันสร้าง "อนุสรณ์ปาล์มเมอร์" ขึ้น และกราบทูลเชิญพระองค์เป็นองค์ประธานในการเปิดอนุสรณ์ปาล์มเมอร์ และทรงยินดีรับคำเชิญนี ภายหลังจากการเปิดอนุสรณ์ปาล์เมอร์แล้ว พระองค์เสวยพระกระยาหารและทรงซักถามถึงความเป็นไปของ B.C.C. และทรงมีพระราชดำรัสขอให้ B.C.C. อย่าหยุดยั้งในการพัฒนาการศึกษาแก่เยาวชนของชาติ

      ต่อมาคณะผู้ริหาร B.C.C.นำโดยอาจารย์อารีย์ เสมประสาท ได้นำคณะครูและนักเรียนเข้าเฝ้าสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ณ วังสระปทุม เมื่อวันศุกร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2513 เพื่อถวายเงินโดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัยและพระองค์โปรดให้คณะครูและนักเรียน B.C.C. ถ่ายภาพร่วมกับพระองค์ด้วย ยังความปิติเป็นล้นพ้นแก่ชาว B.C.C. ทุกคน และเมื่อคราวที่พระองค์เจริญพระชนมายุครบ 93 พรรษา โปรดให้วงดุริยางค์ B.C.C. บรรเลงเพลงถวาย ณ วังสระปทุมในวันศุกร์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2535 ด้วย

      B.C.C.ได้พัฒนาอย่างยยิ่งทั้งด้านการศึกษาและเทคโนโลยี ด้วยพระมหากรุณาธิคุณยิ่งแต่พระราชาองค์นั้น คือพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริเสนอแนวทางในการพัฒนาการศึกษาของโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัยแก่อาจารย์อารย์ เสมประสาท ว่า

      "ควรจะจัดโรงเรียนในลักษณะเดียวกันกับ B.C.C. ในชนบทเพื่อขยายการศึกษาไปสู่ส่วนภูมิภาค"

      อาจารย์อารีย์ เสมประสาท ได้รับใส่เกล้าใส่กระหม่อมเพื่อจะได้ดำเนินการต่อไป

      ในพระราชวโรกาสที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถทรงมีพระชนมายุ 60 พรรษา โรงเรียนกุรงเทพคริสเตียนวิทยาลัยได้สร้างอาคารศูนย์วิทยบริการซึ่งเป็นอาคารสูง 16 ชั้น อันเป็นอาคารที่มีความทันสมัยทั้งด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีก้าวล้ำไปสู่ศตวรรษที่ 21 ดังนั้นสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ จึงพระราชทานนามอาคารนี้ว่า "อาคารสิรินาถ"

      B.C.C.ไม่หยุดยั้งโครงการพัฒนาการศึกษา ด้วยำนึกในพระมหากรุณาธิคุณแห่งพระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลมหาราชาที่พระราชทานแนวพะราชดำริแก่คณะผู้บริหาร B.C.C.จึงได้วางแผนการศึกษาและดำเนินการโครงการต่างๆอันเป็นการก้าวล้ำไปสู่ศตวรรษหน้า

      สมดังพระราชดำรัสของสมเด็จพระบรมวงศ์เธอฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ(พระบิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย) ที่ทรงประทานให้แก่นักเรียน B.C.C.ที่สำเร็จการศึกษาเมื่อ พ.ศ. 2468 ว่า

      "โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัยมีแต่จะพัฒนาสืบไป"

      [แก้] ผู้อำนวยการโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย

      1.ท่านอาจารย์ เจ.เอ. เอกิ้น ดี.ดี.(J.A.EAKIN) นับได้ว่าท่านเป็นผู้เสียสละทั้งตำแหน่งหน้าที่ทางราชการ ทุนทรัพย์ส่วนตัว กำลังกาย และจิตใจเพื่อบริหารและพัฒนาโรงเรียนตั้งแต่สำเหร่จนก่อตั้งโรงเรียนสำเร็จตามเจตนารมย์ของท่าน

      2.ท่านอาจารย์ ดับบริว ยี. แม๊คครัว (W.G. McClure)เป็นผู้ที่มีศีลธรรมสูง พูดน้อยแต่กินความลึก มุ่งมั่นและตั้งใจประกาศกิตติคุณของพระผู้เป็นเจ้า

      3.ท่านอาจารย์ อาร์.โอ. แฟรงกลิ้น (R.O.FRANKLIN)ท่านสนใจกีฬาและดนตรีเป็นพิเศษ

      4.ท่านอาจารย์ เอ็ม.บี.ปาล์มเมอร์ (M.B. PALMER) ท่านเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนนานถึง 19 ปี และพัฒนาโรงเรียนอย่างมาก กิจกรรมของโรงเรียน เช่น วงดุริยางค์ กองลูกเสือ กรีฑา ฟุตบอล ด้านศาสนา และทางด้านวิชาการ ได้รับการเอาใจใส่ดูแล ทำให้ชื่อเสียงของโรงเรียนเป็นที่รู้จักแพร่หลาย ท่านเป็นผู้ให้กำเนิดสีประจำโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย "สีม่วง และสีทอง" กำหนดเครื่องแต่งกายนักเรียน เดิมเพลงประจำโรงเรียนคือ Soldier's Chorus ต่อมา อาจารย์กำชัย ทองหล่อ ได้แต่งเพลง กรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย ร่วมกับอาจารย์เจริญ วิชัย ที่ร้องกันอยู่ทุกวันนี้ ท่านเป็นผูคิดคติพจน์ของ B.C.C. ว่า "Honesty is the best policy" อีกทั้งท่านมีโครงการพัฒนาบุคคลากร โดยส่งครูไปศึกษาต่อต่างประเทศเพื่อบริหารงานของโรงเรียนต่อไป คือ อาจารย์เจริญ วิชัย และอาจารย์อารีย์ เสมประสาท คณะมิชชันนารีมีโครงการจะสร้างมหาวิทยาลัยคริสเตียนในอนาคต ท่านได้รับมอบหมายให้จัดซื้อที่ดินเพื่อการกล่าว ท่านได้ตกลงซื้อที่ดินตำบลบ้านกล้วย จากท่านเจ้าคุณภักดีนรเศรษฐ (นายเลิศ เศรษฐบุตร) เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2469 เนื้อที่ 80 ไร่ 2 งาน 25 ตารางวา ในราคา 60,000 บาท(ตารางวาละ 2 บาท) เดิมเป็นป่ารก ต่อมาภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ทางการได้ตัดถนนสุขุมวิทผ่านที่ดินของโรงเรียน จึงทำให้ที่ดินเจริญขึ้น แต่ในระหว่างนั้น รัฐบาลไม่มีนโยบายให้เอกชนจัดการศึกษาในระดับอุดมศึกษา โครงการตั้งมหาวิทยาลัย B.C.C. จึงไม่อาจกระทำได้ คณะมิชชันนารีจึงตกลงขายที่ดินที่บ้านกล้วยแก่กระทรวงศึกษาธิการเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2504 ในราคา 22 ล้านบาทเพื่อนำมาพัฒนาโรงเรียนท่ถนนประมวญต่อไปทั้งนี้ไดทำการปรับปรุงเป็นอาคารเรียนทันสมัยและสวยงามเสร็จเรียบร้อยในปี พ.ศ. 2508

      5.ท่านอาจารย์ มิส เอ.กอล์ท(Miss ANNABEL GALT)ท่านดำรงตำแหน่งครูใหญ๋หลายครั้ง ฝึกนักเรียนขับร้อง และอ่านโน๊ตเพลง อีกทั้งชอบจดสถิติคะแนนสอบไล่ของนักเรียน

      6.ท่านอาจารย์ ดร.อี.เอ็ม.เท็ตต์(E.M.TATE) ท่านเน้นหนักในการพัฒนาด้านวิชาการของโรงเรียน

      7.ท่านอาจารย์ เจริญ วิชัย ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 คณะมิชชันนารีถูกควบคุมตัวในฐานะนักโทษสงคราม ญี่ปุ่นส่งกองทหารมาประจำโรงเรียน 1 กองร้อย ท่านอาจารย์และคณะครูไทย คือ อาจารย์อารีย์ เสมประสาท อาจารย์ทองสุก มังกรพันธุ์ อาจารย์สวัสดิ์ พฤกษาพงศ์ อาจารย์สุรเดช เผ่าศรีทองคำ และอาจารย์ประยูร คลังนุช ได้เปิดโรงเรียนชั่วคราวที่ซอยพร้อมพงษ์ นอกจากนี้ ท่านยังสนใจการกีฬา ดนตรี และวิชาการต่างๆ

      8.อาจารย์ เล็ก ไทยง ท่านเป็นผู้วางระเบียบปฏิบัติหน้าที่ภายใน B.C.C. จนอาจกล่าวได้ว่าเป็นระบบกิ่งราชการ

      9.อาจารย์ อารีย์ เสมประสาท ท่านเข้าเรียนที่ B.C.C. ชั้นม.3 ตั้งแต่ปี 2463 สมัยอาจารย์ปาล์มเมอร์ จนจบชั้นมัธยมปีที่ 8 ด้วยคะแนนที่ 1 ตลอด 4 ปีสุดท้าย ภายหลังจากนั้นท่านสอนหนังสือกับ B.C.C. ต่อมาได้รับทุนของคณะ "อินเตอร์เนชั่นแนลเชิร์ช" เพื่อศึกษาวิชาครูที่ ฟิลิปปินส์ คอลเลจ และปริญญาโท สาขาบริหารการศึกษาวิทยาลัยเซาท์เทิร์น แคลิฟอร์เนีย กลับมาสอน B.C.C. ตั้งแต่จบการศึกษาปี 2494 จนเกษียณอายุ ท่านอุทิศตนเพื่อพัฒนา B.C.C. ด้วยชีวิตและจิตใจ เป็นอาจารย์ที่ศิษย์ B.C.C.รักและยกย่องให้เป็นปูชนียบุคคล สมดังที่ศิษย์และครู B.C.C.เรียกท่านว่า "ป๋า"

      10.ดร. สิงห์โต จ่างตระกูล ท่านได้พัฒนาด้านการศึกษาของ B.C.C.สู่การบริหารระบบแบบใหม่ ท่านควบคุมดูแลและรับผิดชอบอาคารเรียนในปัจจุบัน หอธรรม และอื่นๆ จนกล่าวได้ว่า อาคารเรียนของ B.C.C.ทันสมัยที่สุดในภาคพื้นเอเซียก็ว่าได้

      11.อาจารย์ บุญเกียรติ นิลมาลย์ การพัฒนาการศึกษาอย่างไม่หยุดยั้งของระบบการศึกษาไทย ท่านอาจารย์มีส่วนร่วมเป็นอย่างมาก งนก่อสร้างอาคารศูนย์วิทยบริการสูง 16 ชั้น หรือช่อพระราชทานว่า "สิรินาถ" มูลค่ากว่า 240 ล้านบาท สำเร็จจากความสามารถของท่านโครงการ B.C.C.I. อันเป็นโรงเรียนนานาชาติ ตั้งอยู่ที่ตำบลเขาไม้แก้ว อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี เนื้อที่กว่า 100 ไร่ โดยการริเริ่มของสมาคมศิษย์เก่า และโรงเรียน ท่านเป็นผู้มีส่วนผลักดันให้เกิดโครงการดังกล่าวในอนาคตข้างหน้า เพื่อ "เป็นศักดิ์เป็นศรีประเทศชาติไทย"

      12.อาจารย์ ประกอบ พรหมบุตร

      13.ดร.จารีต องคะสุวรรณ

      14.ดร.วรนุช ตรีวิจิตรเกษม

      [แก้] ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง

      • สมาชิกวุฒิสภา
        • พล.ต.อ.ประทิน สันติประภพ
        • พล.ต.ท.อิสระพันธ์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
        • นาย ยศ เอื้อชูเกียรติ
        • พล.อ.จรัล กุลละวณิชย์
        • นาย อมเรศ ศิลาอ่อน
        • นาย สุประดิษฐ์ หุตะสิงห์
        • นาย วิทย์ รายนานนท์

      [แก้] ความหมายของสีประจำโรงเรียน

      โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัยมีสีประจำโรงเรียนคือ สีม่วงและสีทองซึ่งท่านอาจารย์ เอ็ม.บี.ปาล์มเมอร์ เป็นผู้ที่ได้สถาปนาสีประจำโรงเรียน
      ความหมายของสีนั้นเเบ่งออกเป็น 2 ประเด็นคือ

      1. สีม่วงหมายถึง สีเเห่งกษัตริย์ หรือราชสำนัก สีทองหมายถึงความมีค่า

      2. สีม่วงมาจากสีน้ำเงิน(พระมหากษัตริย์)ผสมกับสีเเดง(ชาติ) สีทองคล้ายกับสีเหลืองอันหมายถึง ศาสนา

      [แก้] งานครบรอบวันก่อตั้งโรงเรียน

      โรงเรียนได้ทำการเปิดสอนเป็นปฐมฤกษ์เมื่อวันที่ 30 กันยายน ค.ศ. 1852 เพื่อสอนให้เยาวชนไทยรู้หนังสือ ดังนั้นในทุกๆปีทางโรงเรียนได้จัดงานฉลองครบรอบวันเกิดโรงเรียนหรือเรียกกันโดยทั่วไปกันว่า งานโรงเรียน เป็นประเพณีที่ทำกันต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี ซึ่งจะเป็นการบริหารงานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ซึ่งถือเป็นเกียรติและภารกิจอันสูงสุดที่นักเรียนในแต่ละรุ่นต้องรับผิดชอบ ก่อนก้าวออกจากรั้วโรงเรียนไป งานโรงเรียนถือเป็นสีสันประจำปีที่ทั้งศิษย์เก่า ศิษย์ปัจจุบัน ครูอาจารย์ และผู้ปกครองต่างให้ความร่วมมือกันในงานอย่างเต็มที่

      โดยปกติ งานจะจัดในวันเสาร์ของเดือนสิงหาคม (หรือบางครั้งในเดือนกันยายน) ของแต่ละปี จุดเด่นนึงที่เป็นเอกลักษณ์ของงานคือชื่อประจำงาน ดังนี้

      • งานครบรอบ 154 ปี (5 สิงหาคม พ.ศ. 2549) คริสเตียนไม่เปลี่ยนผัน แม้นานวันไม่ลืมเลือน
      • งานครบรอบ 153 ปี (20 สิงหาคม พ.ศ. 2548) เปิดบ้านหลังเล็กของเด็กก.ท
      • งานครบรอบ 152 ปี (14 สิงหาคม พ.ศ. 2547) เก็บดอกชงโค ใส่ในโหลแห่งความทรงจำ
      • งานครบรอบ 151 ปี (23 สิงหาคม พ.ศ. 2546) ตอนที่หนึ่งห้าหนึ่ง เรื่องเล่ากล่าวถึง กาลครั้งหนึ่งในรั้วม่วงทอง
      • งานครบรอบ 150 ปี (17 สิงหาคม พ.ศ. 2545) วันวานที่ผันผ่าน กับตำนานที่ยิ่งใหญ่ คริสเตียนเลื่องลือไกล ม่วงทองภูมิใจ 150 ปี
      • งานครบรอบ 149 ปี (25 สิงหาคม พ.ศ. 2544) ก้าวที่ยิ่งใหญ่ ก้าวที่เรืองรอง ก้าวสีม่วงทอง ร่วมฉลอง 149 ปี
      • งานครบรอบ 148 ปี (19 สิงหาคม พ.ศ. 2543) ชงโคงาม เริ่มบานอีกครั้ง เพื่อความทรงจำ 148 ปี
      • งานครบรอบ 147 ปี (21 สิงหาคม พ.ศ. 2542) จากถิ่นสีม่วง ขอบรั้วสีทอง เปิดบ้านฉลอง 147 ปี
      • งานครบรอบ 146 ปี (8 สิงหาคม พ.ศ. 2541) เสาร์ที่ 8 เดือนสิงหา ณ ใต้ฟ้า หลังคาชงโค
      • งานครบรอบ 145 ปี (6 กันยายน พ.ศ. 2540) กท. หอธรรม ความทรงจำของคริสเตียน
      • งานครบรอบ 144 ปี (พ.ศ. 2539) 144 ปีที่เติบโต 12 โหลแห่งความทรงจำ
      • งานครบรอบ 143 ปี (พ.ศ. 2538) เก็บดอกไม้ใบม่วง ที่ร่วงบนลานทอง
      • งานครบรอบ 142 ปี (พ.ศ. 2537) วันเกิดเด็กชาย และนายคริสเตียน
      • งานครบรอบ 141 ปี (พ.ศ. 2536) 1.41 x 10 ยกกำลังสอง เปิดบ้านม่วงทอง ฉลอง 141 ปี
      • งานครบรอบ 140 ปี (พ.ศ. 2535) บนถนนนี้ 14 ทศวรรษ
      • งานครบรอบ 139 ปี (พ.ศ. 2534) ชงโคบานที่ ลานประมวญ
      • งานครบรอบ 138 ปี (พ.ศ. 2533) farewell to the old party
      • งานครบรอบ 137 ปี (พ.ศ. 2532) เบิร์ธเดย์ อารมณ์ดี 137 ปี ... ไม่มีชื่องาน
      • งานครบรอบ 136 ปี (พ.ศ. 2531) 136 ปี บีซีซี ที่เก่ากับคนใหม่ แปลกใจทำไมอยู่นาน
      • งานครบรอบ 135 ปี (พ.ศ. 2530) ร้อยมะพร้าว สามหาว ที่ห้าวหาญ (ร้อยสามห้า)
      • งานครบรอบ 133 ปี (พ.ศ. 2528) 133 ปี ที่ประมวญ
      • งานครบรอบ 132 ปี (พ.ศ. 2527) 132 ปี กรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย"

      [แก้] สปิริตโรงเรียน

      1. Loyalty ความจงรักภักดี
      2. Honesty ความซื่อสัตย์สุจริต
      3. Responsibility ความรับผิดชอบ
      4. Unity ความสามัคคี

      [แก้] ดูเพิ่ม

       แหล่งข้อมูลอื่น

      วิกิคำคม มีคำคมที่กล่าวโดยหรือเกี่ยวกับ

      นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      คำนิยม Top

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      คำนิยมล่าสุด

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      ความคิดเห็น

      ×