โรงเรียนเทพศิรินทร์ - โรงเรียนเทพศิรินทร์ นิยาย โรงเรียนเทพศิรินทร์ : Dek-D.com - Writer

    โรงเรียนเทพศิรินทร์

    โดย papadot

    เสี่ยวเออ

    ผู้เข้าชมรวม

    1,914

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    1

    ผู้เข้าชมรวม


    1.91K

    ความคิดเห็น


    2

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  24 ก.พ. 50 / 15:55 น.


    ข้อมูลเบื้องต้นของเรื่องนี้
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

      โรงเรียนเทพศิรินทร์
      (ชื่อภาษาอังกฤษ: Debsirin School) เป็นโรงเรียนรัฐบาลสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งอยู่เลขที่ 1466 ถนนกรุงเกษม แขวงวัดเทพศิรินทราวาส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร โรงเรียนเทพศิรินทร์เป็นโรงเรียนมัธยมชาย ซึ่งได้ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2428 ตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5. ปัจจุบันนี้ได้เป็นหนี่งในโรงเรียนในเครือจตุรมิตรซึ่งประกอบด้วย โรงเรียนอัสสัมชัญ โรงเรียนเทพศิรินทร์ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย และกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย

       

       ประวัติโรงเรียน

      ในปี พ.ศ. 2419 องค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระชนมายุครบเบญจเพส จึงทรงมีพระราชดำริที่จะสร้างพระอารามเพื่อทรงอุทิศพระราชกุศลถวายสนองพระเดชคุณแด่องค์พระราชชนนี คือ สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาวัดเทพศิรินทราวาสขึ้น

      โรงเรียนเทพศิรินทร์ ได้รับการสถาปนาจาก องค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2428 ด้วยพระราชปรารภที่จะทำนุบำรุงการศึกษาเล่าเรียนให้เจริญแพร่หลายขึ้นโดยรวดเร็วจึงทรงมีพระบรมราชโองการให้จัดการศึกษาสำหรับราษฎรขึ้น โดยพระเจ้าน้องยาเธอพระองค์เจ้าดิศวรกุมาร(กรมพระยาดำรงราชานุภาพ) ได้จัดตั้งโรงเรียนปริยัติธรรมบาลี ขึ้นภายใน วัดเทพศิรินทราวาส โดย ในช่วงแรกของการจัดตั้งโรงเรียนนั้น โรงเรียนเทพศิรินทร์ได้อาศัยศาลาการเปรียญภายในวัดเทพศิรินทราวาสเป็นที่ทำการเรียนการสอน

      ครั้นถึง พ.ศ. 2438 สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ ได้ทรงดำริที่จะสร้างตึกเรียนสำหรับวัดเทพศิรินทราวาสขึ้น เพื่ออุทิศพระกุศล สนองพระเดชพระคุณแห่งองค์สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี พระชนนี และเพื่ออุทิศพระกุศลแก่ หม่อมแม้น ภาณุพันธุ์ ณ อยุธยา ชายาของพระองค์ ตึกเรียนหลังแรกนี้ได้รับการออกแบบให้มีศิลปะเป็นแบบโกธิคซึ่งถือว่าเป็นอาคารศิลปะโกธิคยุคแรกในประเทศไทยโดยสมเด็จพระเจ้าวรวงศ์เธอเจ้าฟ้านริศรานุวัดติวงศ์เป็นผู้ออกแบบ และในการนี้ พระยาโชฏึกราชเศรษฐี ได้บริจาคทุนทรัพย์เพื่อสร้างตึกเรียนขึ้นด้านข้างของตึกเรียนหลังแรกอีกด้วย

       ประวัติการสร้างตึกและอาคารเรียน

      ปี พ.ศ. 2445 ตึกเรียนหลังแรกของโรงเรียนได้สร้างเสร็จและได้ทำพิธีเปิดการเรียนการสอนในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2445 ด้วยพระมหากรุณาธิคุณแห่งองค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานนามตึกเรียนหลังนี้ว่า ตึกแม้นนฤมิตร์ และ ได้พระราชทานนามโรงเรียนว่า "เทพศิรินทร์" อีกทั้งยังทรงมีพระราชดำริให้ย้ายโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย มายังตึกแม้นนฤมิตรอีกด้วย เพื่อรอการก่อสร้างตึกเรียนที่โรงเรียนนั้น

      ตึกเรียนหลังที่สามของโรงเรียนเทพศิรินทร์นั้นเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2453 องค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชทานทรัพย์ซึ่งเป็นมรดกของสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าหญิงเยาวมาลย์นฤมล กรมขุนสวรรคโลกลักษณวดี ให้กระทรวงศึกษาธิการทำการจัดสร้างตึกขึ้นด้านตรงกันข้ามของตึกแม้นนฤมิตร โดยตึกเรียนหลังนี้ยังคงศิลปะโกธิค ซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของโรงเรียนเทพศิรินทร์ อาคารเรียนหลังนี้สร้างเสร็จในปีถัดมา พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงพระราชทานนามว่าเยาวมาลย์อุทิศ สำหรับเครื่องครุภัณฑ์ต่างๆในอาคารนั้น สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ ทรงเป็นผู้ติดต่อให้พระเจ้าน้องนางเธอเจ้าฟ้ามาลินีนพดาราและพระเจ้าน้องนางเธอเจ้าฟ้านิภานภดล ได้ทรงร่วมกันบริจาค

      ปี พ.ศ. 2474 โรงเรียนเทพศิรินทร์ได้เปิดใช้อาคารเรียนอีกหลังหนึ่งคือตึกปิยราชบพิตรปดิวรัดา ตึกนี้เกิดขึ้นจากที่นายพลเอกสมเด็จพระเจ้าวรวงศ์เธอเจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ ได้ทรงให้สร้างขึ้น เพื่อเป็นการอุทิศพระกุศลถวาย แด่พระอรรคชายาเธอพระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ พระวิมาดาเธอ กรมพระสุทธาสินีนาฎปิยมหาราชปดิวรัดา พระมารดาของ พระองค์ ตึกเรียนอยู่ติดกันกับตึกเยาวมาลย์อุทิศ โดยตึกหลังนี้ก็ยังคงไว้ซึ่งศิลปะโกธิค ในปี พ.ศ. 2475 โรงเรียนเทพศิรินทร์ ได้รับเกียรติยศอันสูงสุดที่มีพระองค์เจ้าเล็กๆ พระองค์หนึ่งมาทรงเข้ารับการศึกษา หลังจากนั้นอีกเพียง 2 ปี พระองค์เจ้าอานันทมหิดลก็ได้เสด็จเถลิงถวัลย์ครองสิริราชสมบัติ เป็นพระมหากษัตริย์ องค์ที่ 8 แห่งราชวงศ์จักรี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ทรงมีความผูกพันกับ โรงเรียนเทพศิรินทร์มาโดยตลอด ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อมแก่ โรงเรียนเทพศิรินทร์ สมาคมนักเรียนเก่าฯ ตลอดจนมวลหมู่ลูกแม่รำเพยทุกคน

      ด้วยเหตุที่โรงเรียนเทพศิรินทร์ตั้งอยู่ใกล้สถานีรถไฟนั้น เป็นเหตุให้โรงเรียนไม่สามารถหนีจากหายนะของสงครามนี้ได้ โดยเมื่อวันที่ 10 กรกฏาคม พ.ศ. 2488 ตึกแม้นนฤมิตร์ และ ตึกโชฎึกเลาหเศรษฐี ตึกเรียนสองหลังแรกของโรงเรียนได้รับภัยทางอากาศจากการทิ้งระเบิดทำให้ไม่สามารถใช้ทำการเรียนการสอนได้อีกตลอดทั้งอาคารเรียนอีกหลายๆหลังก็ได้รับความเสียหายพอสมควร จากการที่แหล่งรวมจิตใจของชาวเทพศิรินทร์ได้ถูกภัยสงคราม ทางกระทรวงศึกษาธิการ วัดเทพศิรินทราวาส ตลอดถึงสมาคมนักเรียนเก่าฯ ได้ร่วมกันสร้างอาคารหลังใหม่ขึ้นมาทดแทนโดยคงศิลปะโกธิคอยู่เช่นเดิม อาคารหลังใหม่นี้ได้รับการขนานนามว่า ตึกแม้นศึกษาสถาน

      โรงเรียนเทพศิรินทร์ ได้มีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว จึงเป็นเหตุให้ต้องมีการขยายห้องเรียนขึ้น จนในปี พ.ศ. 2513 ทางโรงเรียนได้ร่วมกับสมาคมนักเรียนเก่าฯ ขออนุญาตทางวัดเทพศิรินทราวาส ใช้อาคารของทางวัดหลังหนึ่งเพื่อเป็นที่ทำการเรียนการสอนอาคารนั้นมีชื่อว่า ตึกนิภานภดล โดยอาคารนี้สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าหญิงนิภานภดล กรมขุนอู่ทองเขตรขัตติยนารี ได้สร้างขึ้นถวายแก่วัดเทพศิรินทราวาส เพื่อเป็นโรงเรียนพระปริยัติธรรม สำหรับพระภิกษุสามเณร

      แต่ด้วยการพัฒนาโรงเรียนไปอย่างรวดเร็วมาก ทำให้จำนวนห้องเรียนไม่เพียงพอ จึงทำให้ต้องมีการสร้างตึกเรียนขึ้นมาใหม่ ทำให้ทางโรงเรียนต้องมีการรื้อถอนตึกเรียนเดิม 2 หลังคือ ตึกเยาวมาลย์อุทิศ และ ตึกปิยราชบพิตรปดิวรัดา สำหรับตึกใหม่ที่สร้างขึ้นทดแทนเป็นอาคารเรียน 6 ชั้น และได้ใช้ชื่อว่า ตึกเยาวมาลย์อุทิศปิยราชบพิตรปดิวรัดา ตามตึกเรียนสองหลังเดิม

      โรงเรียนเทพศิรินทร์ ได้เติบโตขึ้นเป็นลำดับจำนวนนักเรียนมากขึ้นทุกปี จึงได้มีการสร้างอาคารเรียนเพิ่มเติมอีกคือ อาคาร ๑๐๐ ปี เทพศิรินทร์ อาคารรัชมังคลาภิเษก 2531 และ อาคารเทิดพระเกียรติ

       นักเรียนเก่าที่มีชื่อเสียง

       โรงเรียนในเครือเทพศิรินทร์

      1. เทพศิรินทร์ ร่มเกล้า (กรุงเทพมหานคร)
      2. เทพศิรินทร์ นนทบุรี (นนทบุรี)
      3. เทพศิรินทร์ คลองสิบสาม (ปทุมธานี)
      4. เทพศิรินทร์ พุแค (สระบุรี)
      5. เทพศิรินทร์ ลาดหญ้า (กาญจนบุรี)
      6. เทพศิรินทร์ ขอนแก่น (ขอนแก่น)

       แหล่งข้อมูลอื่น

      นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      คำนิยม Top

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      คำนิยมล่าสุด

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      ความคิดเห็น

      ×