เกี่ยวกับ รฟม. - เกี่ยวกับ รฟม. นิยาย เกี่ยวกับ รฟม. : Dek-D.com - Writer

    เกี่ยวกับ รฟม.

    โดย papadot

    ผู้เข้าชมรวม

    358

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    0

    ผู้เข้าชมรวม


    358

    ความคิดเห็น


    0

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  10 ก.พ. 50 / 13:21 น.


    ข้อมูลเบื้องต้นของเรื่องนี้
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ
      โครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล

      การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย และบริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ได้กำหนดชื่อสามัญโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ดังนี้
      ภาษาไทย คือ รถไฟฟ้ามหานคร
      ภาษาอังกฤษ คือ MRT
      ตราสัญลักษณ์ เป็นตัวอักษร M ภายในวงกลมฐานตัด


      โครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล เป็นโครงการรถไฟฟ้าใต้ดินทั้งหมดตลอดเส้นทาง

      ภายในสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินทั้ง 18 สถานี ได้ติดเครื่องปรับอากาศทุกชั้น

      ภายในสถานียังมีระบบความปลอดภัยให้กับผู้โดยสารอีกด้วย เพราะได้ติดตั้งระบบทีวีวงจรปิด และมีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย ตลอด 24 ชั่วโมง มีลิฟท์และบันไดเลื่อนไว้อำนวยความสะดวกสำหรับผู้โดยสารทุกท่าน

      ขบวนรถไฟฟ้าที่ให้บริการสามารถบรรจุผู้โดยสารได้ประมาณ 900 คน ในแต่ละขบวนนั้นมี 3 ตู้โดยสาร มีที่นั่งตู้ละ 42 ที่นั่ง  และมีห้องพนักงานควบคุมรถอยู่ที่ปลายหัวและท้ายขบวน โดยมีทางออกฉุกเฉิน อยู่ทางด้านหน้าห้องพนักงานควบคุมรถ

      นอกจากนี้แล้วแต่ละตู้โดยสาร จะมีที่สำหรับจอดรถเข็นคนพิการถึง 2 ที่ เพื่ออำนวยความสะดวกในการโดยสารรถไฟฟ้า

      มีระบบสื่อสารบนรถไฟสำหรับให้พนักงานควบคุมรถประกาศข้อมูลข่าวสารแก่ผู้โดยสาร หรือให้ผู้โดยสารแจ้งเหตุฉุกเฉินมายังพนักงานควบคุมรถได้

      ภายในขบวนรถมีอุปกรณ์ปลดล็อกประตูรถไฟฉุกเฉิน สำหรับให้ผู้โดยสารปลดล็อกด้วยมือก่อนเปิดประตูรถไฟ


      ในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน มีอุปกรณ์ดับเพลิง 2 ชุด ในแต่ละตู้ขบวน และ 1 ชุดในแต่ละห้องพนักงานควบคุมรถ ทำความรู้จักกับชั้นและห้องสำคัญๆ ในสถานี

      ชั้นร้านค้า จากทางเข้าสถานีลงสู่ชั้นแรกของสถานีจะเป็นชั้นร้านค้า เป็นที่ตั้งของร้านค้าปลีก ผู้โดยสารสามารถลงมาชั้นนี้ได้โดยไม่ต้องเสียค่าโดยสาร

      ชั้นออกบัตรโดยสาร จะเป็นชั้นที่ 2  มีห้องออกบัตรโดยสาร เครื่องออกบัตรโดยสารอัตโนมัติ และแผนที่แสดงเส้นทาง เป็นชั้นแรกสำหรับสถานีที่ไม่มีชั้นร้านค้า ซึ่งผู้โดยสารสามารถออกเหรียญโดยสาร ใช้สำหรับการเดินทางเที่ยวเดียวได้จากเครื่องออกบัตรโดยสารอัตโนมัติ หรือที่ห้องออกบัตรโดยสาร แต่หากต้องการออกบัตรเติมเงิน จะต้องติดต่อที่ห้องออกบัตรโดยสารเท่านั้น ซึ่งห้องนี้จะตั้งอยู่หลัง เครื่องออกบัตรโดยสารอัตโนมัติเสมอ ห้องออกบัตรโดยสารนี้สามารถออกบัตรโดยสารได้ทั้งเหรียญโดยสาร และบัตรเติมเงิน
      ห้องควบคุมสถานีตั้งอยู่ที่ชั้นออกบัตรโดยสาร ภายในห้องนี้จะติดตั้งอุปกรณ์ควบคุมการปฏิบัติการสถานีซึ่งมีทั้งระบบควบคุม และติดตาม ตรวจสอบความผิดปกติภายในสถานี และจะมีเจ้าหน้าที่ประจำอยู่ตลอด 24 ชม. คอยดูแลรักษาความปลอดภัย บริการ ช่วยเหลือ ให้ข้อมูล ข่าวสารต่างๆ แก่ผู้มาใช้บริการ

      ชั้นชานชาลา เป็นชั้นที่ 3 หรือ 4  มี 2 แบบคือแบบชานชาลาแบบอยู่กลาง ชานชาลาอยู่ด้านข้าง และชานชาลาแบบซ้อนกัน
      เป็นชั้นที่รถไฟฟ้าจอดเทียบเพื่อรับ-ส่งผู้โดยสาร ระหว่างชานชาลากับรางรถไฟฟ้าจะมีประตูกั้นชานชาลา มีลักษณะเป็นกำแพงกระจกตลอดความยาวของชานชาลา โดยเมื่อรถไฟฟ้าจอดเทียบสถานี ประตูจะเปิดโดยอัตโนมัติ ซึ่งเป็นระบบป้องกันความปลอดภัยของผู้โดยสารไม่ให้พลัดตกจากชานชาลา

      เป็นระบบอุโมงค์คู่รางเดี่ยว คือ มีอุโมงค์ 2 อุโมงค์ขนานกัน และแต่ละ อุโมงค์จะเดินรถทางเดียว ระบบโครงสร้างอุโมงค์เป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ที่ถูกออกแบบให้มีลักษณะยืดหยุ่น และมีระบบกันน้ำซึมเข้าในอุโมงค์ ภายในอุโมงค์มีการติดตั้งรางวิ่งรถไฟ รางจ่ายกระแสไฟฟ้า ทางเดินซ่อมบำรุง อุปกรณ์ระบบระบายอากาศ ระบบดูดอากาศใต้ชานชาลา และระบบตรวจจับความร้อน เพื่อความปลอดภัยสูงสุดของ การเดินรถไฟภายศูนย์ซ่อมบำรุงตั้งอยู่บนพื้นที่ 300 ไร่ บริเวณเขตห้วยขวางใช้เป็นที่จอดพักรถไฟนอกเวลาบริการ เป็นสถานที่ล้างทำความสะอาดรถไฟ และเป็นอู่ซ่อมบำรุงรถไฟฟ้า เพื่อให้เครื่องจักรและอุปกรณ์ต่างๆ อยู่ในสภาพ พร้อมใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ




      นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      คำนิยม Top

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      คำนิยมล่าสุด

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      ความคิดเห็น

      ×