บีทีเอส - บีทีเอส นิยาย บีทีเอส : Dek-D.com - Writer

    บีทีเอส

    โดย papadot

    ผู้เข้าชมรวม

    599

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    2

    ผู้เข้าชมรวม


    599

    ความคิดเห็น


    0

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  10 ก.พ. 50 / 13:05 น.


    ข้อมูลเบื้องต้นของเรื่องนี้
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ
      สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส ได้รับการออกแบบให้หลบเลี่ยงสาธารณูปโภคทั้งใต้ดิน และบนดิน โดยที่ยังคงรักษาผิวการจราจรบนถนนไว้มากที่สุด ตัวสถานีได้รับการออก แบบให้มีโครงสร้างแบบเสาเดียว มีความยาวประมาณ 150 เมตร มี 2 ลักษณะ คือ

      1. มีชานชาลาอยู่ 2 ข้าง (Side Platform Station) โดยรถไฟฟ้าวิ่งอยู่ตรงกลาง ซึ่งสถานีทั่วไปจะมีลักษณะดังกล่าวเนื่องจากก่อสร้างได้รวดเร็ว และใช้เนื้อที่น้อย
      2. มีชานชาลาอยู่ตรงกลาง (Center Platform Station) รถไฟฟ้าจะวิ่งอยู่ 2 ข้าง สถานีแบบนี้มีประสิทธิภาพสูง แต่มีความยุ่งยากในการก่อสร้าง เหมาะสำหรับการเปลี่ยนขบวนรถระหว่าง 2 สาย

      นอกจากนี้รถไฟฟ้า บีทีเอส ยังได้แบ่งโครงสร้างของสถานีออกเป็น 3 ชั้น ด้วยกันคือ

      1. ชั้นพื้นถนน เป็นชั้นล่างสุดของสถานีอยู่ระดับเดียวกับพื้นถนน เป็นที่ตั้งของอุปกรณ์ ต่างๆ ได้แก่ เครื่องกำเนิดไฟฟ้า ถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิง ปั๊มการส่งจ่ายน้ำ และถังเก็บน้ำ เป็นต้น
      2. ชั้นจำหน่ายบัตรโดยสาร พื้นที่ส่วนนี้จะมีเครื่องจำหน่ายบัตรโดยสารอัตโนมัติ ร้านค้า ตู้เอทีเอ็ม และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ให้บริการอยู่ สำหรับสถานีทั่วไป ชั้นจำหน่ายบัตรโดยสารจะแบ่งพื้นที่ออกเป็น 2 ส่วน คือ พื้นที่สาธารณะ เป็นพื้นที่สำหรับผู้โดยสารที่ยังไม่ได้ชำระค่าโดยสาร (รถไฟฟ้า บีทีเอส ถือว่าผู้โดยสารที่ยังไม่ได้ผ่านเครื่องตรวจสอบบัตรโดยสารอัตโนมัติ คือผู้โดยสารที่ยังไม่ได้ชำระค่าโดยสาร) และพื้นที่บริษัทฯ ในส่วนนี้จะเป็นพื้นที่สำหรับผู้โดยสารที่ชำระค่าโดยสารแล้ว รวมถึงพื้นที่ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานด้านเทคนิคของบริษัทฯ เช่นห้องควบคุมสถานี
      3. ชั้นชานชาลา สถานีทั่วไปจะมีชานชาลาอยู่ด้านข้าง และมีทางวิ่งของรถไฟฟ้าอยู่ตรงกลาง ยกเว้นสถานีสยาม (สถานีร่วม) จะมีชานชาลา 2 ชั้น ชานชาลาแต่ละชั้นจะอยู่ตรงกลางระหว่างทางวิ่งทั้งสองชั้น

      นอกจากการให้บริการที่รวดเร็ว และตรงเวลาแล้ว ความสะดวกสบายของผู้โดยสาร เมื่อมาใช้บริการ เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่เราให้ความสำคัญ และมีการพัฒนามาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็น สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ที่จะนำพาท่านผู้โดยสาร เข้าสู่ระบบรถไฟฟ้า หรือแม้แต่ นำพาท่านไปยังอาคารใกล้เคียงสถานี


      สิ่งอำนวยความสะดวกในปัจจุบัน

         
         
      1. ลิฟต์โดยสารสำหรับผู้พิการ หรือผู้ที่มีปัญหาในการขึ้น-ลงบันไดของสถานี หากท่านมีความประสงค์จะใช้ลิฟต์ กรุณากดปุ่มสัญญาณเพื่อขอความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่ประจำสถานี โดยท่านสามารถใช้บริการลิฟต์โดยสารได้ที่สถานีหมอชิต สถานีสยาม สถานีอโศก สถานีอ่อนนุชและสถานีช่องนนทรี
      2.

      ทางเดินเชื่อม จากสถานีรถไฟฟ้า บีทีเอส เข้าสู่อาคาร หรือห้างสรรพสินค้า ข้างเคียง ให้บริการแล้วที่
      สถานีอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ - แฟชั่น มอลล์, อาคารอุทุมพร, เซ็นจูรี่ เดอะ มูฟวี่ พลาซ่า
      สถานีราชเทวี - โรงแรมเอเซีย
      สถานีสยาม - สยาม เซ็นเตอร์, สยามพารากอน, ดิออฟฟิศเซส แอท เซ็นทรัลเวิลด์, เซ็นทรัล เวิลด์, เกษร,
      โรงแรมแกรนด์ไฮแอท เอราวัณ, เอราวัณ บางกอก, อาคารอัมรินทร์ พลาซ่า, อาคารมณียา เซ็นเตอร์
      สถานีชิดลม - เซ็นทรัล ชิดลม, เกษร , อาคารมณียา เซ็นเตอร์, อาคารอัมรินทร์ พลาซ่า,
      เอราวัณ บางกอก, โรงแรมแกรนด์ ไฮแอท เอราวัณ, เซ็นทรัล เวิลด์, ดิออฟฟิศเซส แอท เซ็นทรัลเวิลด์,
      สถานีเพลินจิต - อาคารเวฟเพลส (โฮม โปร)
      สถานีอโศก - โรงแรมเชอราตัน แกรนด์ สุขุมวิท, อาคารไทม์สแควร์, ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน สุขุมวิท
      สถานีพร้อมพงษ์ - ดิ เอ็มโพเรี่ยม ช้อปปิ้ง คอมเพล็กซ์
      สถานีอ่อนนุช - เทสโก้ โลตัส
      สถานีศาลาแดง - อาคารสีลมคอมเพล็กซ์, อาคารธนิยะ, เจ-ซิตี้
      สถานีสนามกีฬาแห่งชาติ - เอ็ม.บี.เค เซ็นเตอร์, ห้างสรรพสินค้าโตคิว, สยาม ดิสคัฟเวอรี่ เซ็นเตอร์


      สิ่งอำนวยความสะดวกในอนาคต

      1. รถไฟฟ้า บีทีเอส มีแผนจะนำบัตรโดยสารแบบสมาร์ทการ์ด ซึ่งเป็นบัตรที่สามารถใช้ร่วมกับระบบขนส่งมวลชนอื่นๆ หรือบริการต่างๆ ของภาครัฐ และเอกชนต่อไป
      2. ทางเดินเชื่อมระหว่างสถานีรถไฟฟ้าสู่อาคารข้างเคียง ขณะนี้กำลังอยู่ในระหว่างดำเนินการเพิ่มเติม
      สถานีเอกมัย - ณุศาสิริ คอนโด (กำลังก่อสร้าง)
      สถานีศาลาแดง - อาคารสีลม 64 (กำลังก่อสร้าง)

      ขบวนรถไฟฟ้า 1 ขบวน ประกอบด้วยตู้โดยสาร จำนวน 3 ตู้ หรือ 3 ตู้ พ่วงต่อกัน 2 ขบวน สามารถวิ่งกลับทิศทางได้ โดยรถที่ใช้มีอยู่ 2 ประเภทหลักคือ รถชนิดที่มีห้องคนขับ และมีระบบขับเคลื่อน กับรถที่ไม่มีห้องคนขับ หรือรถพ่วง ซึ่งมีทั้งชนิดที่มี และไม่มีระบบขับเคลื่อน ตัวถังของรถไฟฟ้า บีทีเอส ผลิตจากเหล็กปลอดสนิม ติดตั้งระบบปรับอากาศ พร้อมหน้าต่างชนิดกันแสง รถแต่ละขบวนมีความกว้างประมาณ 3.20 เมตร ยาวประมาณ 21.8 เมตร จุผู้โดยสารได้กว่า 1,000 คน ในปัจจุบันมีขบวนรถอยู่ในระบบทั้งหมด 35 ขบวน และได้จัดให้มีการตรวจสอบ และบำรุงรักษาตามกำหนดทั้งตัวรถ อุปกรณ์ต่างๆ รวมถึงรางรถไฟฟ้า อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้อยู่ในสภาพที่ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพสูงสุด ในขณะให้บริการแก่ผู้โดยสาร และเพื่อให้การซ่อมบำรุงมีประสิทธิภาพ รถไฟฟ้า บีทีเอส ได้ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ช่วยในการบริหารงานซ่อมบำรุง โดยระบบดังกล่าวใช้สำหรับการแจ้งข้อบกพร่องของระบบรถไฟฟ้า ออกใบสั่งซ่อมตามกำหนดระยะเวลา หรือเมื่อมีเหตุขัดข้อง เก็บข้อมูลการซ่อมบำรุง เก็บรายการอะไหล่สำรอง และคอยตรวจสอบระดับของอะไหล่สำรอง


      ตัวอย่างภารกิจการซ่อมบำรุง

      ระบบรางรถไฟฟ้า (Track Work)

      รางของรถไฟฟ้ามีความยาวทั้งสิ้น 55 กิโลเมตร
      (ณ ปัจจุบัน) รองรับการให้บริการรถไฟฟ้า 480 เที่ยว คิดเป็นระยะทาง 1,100 กิโลเมตรต่อวัน โดยตัวรางรถไฟฟ้า มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความปลอดภัย และความต่อเนื่องของการให้บริการ การตรวจสอบต้องทำ อย่างสม่ำเสมอโดยจะมีการตรวจสอบรางทุกคืนหลังการให้บริการ ในกรณีเกิดความบกพร่องขึ้นที่รางรถไฟฟ้า หน่วยงานซ่อมบำรุงจะต้องดำเนินการซ่อมให้เสร็จสิ้นภายใน 3 ชั่วโมง (01.00-04.00 น.) หลังจากชั่วโมงการให้บริการปกติเพื่อให้ทันเวลาเปิดให้ บริการปกติ (06.00 น.) ในวันรุ่งขึ้น

      ระบบตัวรถไฟฟ้า (Rolling Stock)

      รถไฟฟ้า บีทีเอส มีรถไฟฟ้าอยู่ในระบบทั้งสิ้น 35 ขบวน ในการซ่อมบำรุงรถไฟฟ้าเหล่านี้จะถูกเรียกเข้าตรวจสอบ และซ่อมบำรุงตามระยะเวลาที่กำหนด และจะทำการซ่อมบำรุงครั้งใหญ่ ทุกๆ 6 ปี นอกจากนี้บริษัทฯ ยังได้เลือกใช้เทคโนโลยี และระบบรถไฟฟ้าที่ทันสมัยมาใช้ในระบบ และได้มีการพิสูจน์ และทดสอบแล้วว่าไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
      1.

      ระบบรางปราศจากรอยต่อ โดยใช้วิธีเชื่อมแล้วปรับแต่งรางให้เรียบทำให้ไม่เกิดเสียงเมื่อรถไฟฟ้าวิ่งผ่าน

      2. ระบบรองรับราง ใช้วัสดุซับเสียง และแรงสั่นสะเทือน
      3. ระบบล้อ ใช้ล้อชนิดที่มีอุปกรณ์ช่วยลดเสียงอันเกิดจากการเสียดสีระหว่างล้อกับรางได้
      4. ช่วงทางโค้ง มีการออกแบบให้รางถ่างออกเล็กน้อยเพื่อลดการเสียดสีระหว่างรางกับล้อเหล็ก และที่ล้อมีระบบหล่อลื่นช่วยไม่ให้เกิดเสียงดัง
      5. ระบบเบรค ใช้เบรคไฟฟ้าในการหยุดรถ ใช้หลักการ เปลี่ยนสภาพมอเตอร์เป็นเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ซึ่งนอกจากจะช่วยหยุดรถไฟฟ้าแล้ว ยังเป็นการนำพลังงานกลับมาใช้ใหม่ โดยไฟฟ้าจะถูกป้อนกลับเข้าสู่ระบบ และเมื่อรถไฟฟ้ามีความเร็วต่ำกว่า 8 กม./ชม. จึงจะใช้เบรคกล เพื่อให้รถหยุดสนิทตามตำแหน่งที่ต้องการ ซึ่งเบรคกลนี้จะเป็นเบรคชนิดจาน ที่มีประสิทธิภาพสูงและเงียบ รวมทั้งมีระบบป้องกันล้อลื่นไถล และยังได้จัดให้มีกำแพงกันเสียง (Noise Barrier) เพื่อลดเสียงด้านข้าง และเพิ่มความสวยงามตลอดเส้นทางที่รถวิ่งอีกด้วย

      นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      คำนิยม Top

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      คำนิยมล่าสุด

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      ความคิดเห็น

      ×