ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    สำนักพิมพ์ Hidego

    ลำดับตอนที่ #44 : วารสาร ヒデコ ฉบับที่ 43

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 80
      0
      12 ส.ค. 59


    วารสาร Hidego รายสัปดาห์

    วันศุกร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ.2559

    สวัสดีพี่น้องชาวไทย พบกันอีกครั้ง ณ ศุกร์ที่ 12 สิงหาคม 2559  กับวารสารฮิเดโกะฉบับที่ 43

    วารสารฉบับนี้เราจะพาไปดู สรุปคำช่วย 3. คำช่วยเกี่ยวพาหนะ, สรุปคำช่วย 4. คำช่วยเกี่ยวกับอุปกรณ์ เครื่องมือ วัตถุดิบ และสรุปคำช่วย 5. คำช่วยเกี่ยวกับคน คำศัพท์ภาษาญี่ปุ่นวันละ 15 คำศัพท์สุดท้ายของ "อักษร ข" แนะนำโรงเรียนญี่ปุ่น Okayama Institute of Languages สัมผัสวัฒนธรรมญี่ปุ่น นำเสนอ 3 เรื่อง เรื่องที่ 1 ฮินะ – มะสึริ (เทศกาลตุ๊กตาฮินะ) เรื่องที่ 2ฮิงัง (สัปดาห์ที่กลางวันและกลางคืนยาวเท่ากัน) เรื่องที่ 3โอะฮะนะมิ (การชมดอกไม้) พระโพธิสัตว์ในญี่ปุ่น ได้นำเสนอ 2 เทพ เทพโพธิสัตว์ และอมิตา โงไร อาหารประจำสัปดาห์วันนี้คือ มาการองมะลิ Jasmine Macarons (เมนูวันแม่)

    สรุปคำช่วย 3. คำช่วยเกี่ยวพาหนะ

    . (わたし)飛行機(ひこうき)大阪(おおさか)()きます。Watashi wa hikouki de oosaka he ikimasu. ฉันจะไปโอซากาโดยเครื่องบิน

    . (いえ)からバス(ばす)()って、アソ(あそ)()地下鉄(ちかてつ)()()えます。Ie kara basu ni note, asoku de chikatetsu ni nori kae masu. ขึ้นรถประจำทางจากบ้าน แล้วต่อรถไฟใต้ดินที่อโศก

    . 毎朝駅前(まいあさえきまえ)バス(ばす)()りて、(ある)いて会社(かいしゃ)()きます。Maiasa ekimae de bazu o orite, aruite kaisya heikimasu. ทุกเช้า (ฉัน) ลงรถประจำทางหน้าสถานี แล้วเดินไปบริษัท

    อ่านรายละเอียด

     

    สรุปคำช่วย 4. คำช่วยเกี่ยวกับอุปกรณ์ เครื่องมือ วัตถุดิบ

    . 日本人(にほんじん)(はし)ごはんを()べます。Nihon jin wa hashi degohan o tabe masu. คนญี่ปุ่นทานข้าวด้วยตะเกียบ

    . はさみ(かみ)()ります。Hasami de kami o kirimasu. ตัดกระดาษด้วยกรรไกร

    から

    . ぶどうからワイン(わいん)(つく)ります。Budou kara wain o tsuku rimasu. ไวน์ทำจากองุ่น

    . ぶどうからワイン(わいん)(つく)られます。Budou kara wain ga tsukura rimasu. ไวน์ทำจากองุ่น

    อ่านรายละเอียด

    สรุปคำช่วย 5. คำช่วยเกี่ยวกับคน

    เมื่อบอกผู้ทำกริยาร่วมกัน, ผู้ที่เป็นคู่หรืออีกฝ่ายหนึ่งของการทำกริยานั้น ๆ

    . (わたし)(いもうと)()(もの)()きます。Watashi wa imouto to kai mono ni ikimasu. ฉันจะไปซื้อของกับน้องสาว

                    เมื่อบอกลาลำดับเคียงกัน

    . 山田(やまだ)さんは日本人(にほんじん)です。田中(たなか)さん日本人(にほんじん)です。Yamada san wa nihon jin desu. Tanaka san mo nihon jin desu. คุณยะมะดะเป็นคนญี่ปุ่น คุณทะนะกะก็เป็นคนญี่ปุ่น

                    เมื่อเป็นกรรมรอง

    . 課長(かちょう)(おく)さんは(わたし)()(ばな)(おし)えてくれした。Kacyou no oku san wa watashi ni ike bana o oshiete kuremashita. ภรรยาผู้จัดการแผนกสินวิธีจัดดอกไม้อิเคะบะนะแก่ฉัน

    เมื่อใช้กับกริยารูปถูกกระทำ (受身形(うけみけい))

    . 電車(でんしゃ)(なか)で、(ひと)(あし)()まれました。Densya no naka de, hito ni ashi o fumare mashita. ถูกคนเหยียบเท้าในรถไฟ

                    เมื่อเป็นกรรมรอง

    . 先生(せんせい)(わたし)ほめました。Sensei wa watashi o homemashita. คุณครูชมเชยฉัน

    เมื่อใช้กับกริยารูปให้กระทำ (使役形(しえきけい))

    . 課長(かちょう)山田(やまだ)さん大阪(おおさか)出張(しゅっちょう)させました、kacyou wa yamada san o oosaka he syuccyou sasemashita. ผู้จัดการแผนกให้คุณยะมะดะไปทำงานที่โอซากา

                    เมื่อเป็นหัวเรื่อง

    . (わたし)日本料理(にほんりょうり)が好きです。Watashi wa nihonryouri ga suki desu. ฉันชอบอาหารญี่ปุ่น

                    เมื่อเป็นประธานของประโยคย่อยในประโยคใหญ่

    . (ちち)()った写真(しゃしん)(つくえ)(うえ)にあります。Chichi ga yotta syashin wa tsukue no ueni arimasu. รูปที่พ่อถ่ายอยู่บนโต๊ะ

    ในกรณีนี้ใช้ แทนได้

                    เมื่อขยายนามที่มาข้างหลัง หรือแสดงความเป็นเจ้าของ

    . 日本人(にほんじん)友達(ともだち)(わたし)日本語(にほんご)を教えてくれました。Nihon jin no tomodachi wa watashi ni nihongo o oshiete kuremashita. เพื่อนชาวญี่ปุ่นสอนภาษาญี่ปุ่นให้แก่ฉัน

    อ่านรายละเอียด

     

    Okayama Institute of Languages

    ข้อมูลทั่วไปของสถาบัน

                    1. มีการแยกชั้นเรียนพิเศษสำหรับนักเรียนที่มาจากประเทศที่ไม่ได้ใช้ตัวอักษรจีน ชั้นเรียนคันจิของระดับต้นจะแยกระหว่างคนจีนและคนที่มาจากประเทศที่ไม่ได้ใช้คันจิ

                    2. มีอาจารย์ที่ปรึกษาแนะนำด้านการเรียนและการศึกษาต่อเป็นรายบุคคลอย่างเต็มที่

                    3. มีนักเรียนหลากหลายเชื้อชาติและมีนักเรียนไทยไม่มาก ทำให้มีโอกาส

                    4. ตั้งอยู่ใจกลางเมืองโอคะยะมะ เป็นย่านที่สะดวกสบาย แต่ไม่พลุกพล่านเหมาะกับการเรียน

                    5. สถาบันมีสัญญากับมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยอาชีวะที่อยู่ในเมืองโอคะยะมะ หากเข้าเรียนต่อในชั้นระดับสูงสามารถยกเว้นค่าแรกเข้าและเข้าทดลองเรียนในมหาวิทยาลัยก่อนได้

                    ทางโรงเรียนพร้อมที่จะให้การสนับสนุนนักเรียนอย่างเต็มที่ โดยอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญและมากด้วยประสบการณ์ในการสอนพร้อมทั้งเทคนิคต่าง ๆ เพื่อให้คุฯได้เรียนรู้ทักษะภาษาญี่ปุ่น ไม่ว่าจะเป็นการ อ่าน เขียน ฟัง พูด ได้อย่างเข้าใจ และสนุกสนานไปกับการเรียนในแต่ละชั่วโมง ในปีที่มีการสอบเข้ามหาวิทยาลัย อาจารย์ของสถาบันจะให้ความสำคัญกับเนื้อหาที่ตรงเป้าหมาย เน้นเทคนิคการทำข้อสบ วิชาต่าง ๆ และฝึกฝนการสอบสัมภาษณ์ เพื่อให้นักเรียนทุกคนได้บรรลุความฝันและเป้าหมายที่ตั้งไว้

    อ่านรายละเอียด

    ฮินะ – มะสึริ (เทศกาลตุ๊กตาฮินะ)

    วันที่ 3 มีนาคม เป็นวันเทกาลตุ๊กตา (Hina - Matsuri) ในห้องตามบ้านเรือนจะประดับชุดตุ๊กตาฮินะ (Ohanasama) อวยพรให้เด็กผู้หญิงเติบโตมีสุขภาพแข็งแรง เนืองจากตรงกับฤดูกาลที่ดอกท้อ (โมะโมะ[momo]) นาน จึงได้เชื่อมโยงภาพอันงดงามของดอกท้อซึ่งเหมาะสมกับการเฉลิมฉลองให้กับเด็กผู้หญิง เรียกเทศกาบนี้ว่า โมะโมะ – โนะ – เซ็กขุ (Momo – no - sekko)ด้วย ในครอบครัวที่มีเด็กผู้หญิง จะจัดเตรียมอาหารพิเศษสำหรับเทศกาลตุ๊กตานี้ไว้ แล้วเชิญเพื่อนหรือแขกมาร่วมฉลองกัน ที่โรงเรียนอนุบาลโดยทั่วไป เมื่อใกล้ถึงวันเทศกาลตุ๊กตา เด็ก ๆ จะสนุกสนานกับการพับตุ๊กตากระดาษหรือการปั้นตุ๊กตาดินเหนียว วาดภาพ และร้องเพลงของเทศกาลตุ๊กตา ด้วยเหตุนี้ เทศกาลตุ๊กตาจึงช่วยให้เด็ก ๆ ในยุคปัจจุบันได้รับรู้กลิ่นอายของประเพณีดั้งเดิมและช่วยให้ผู้ใหญ่ได้ระลึกถึงความหลังอันสุดซึ้ง

    อ่านรายละเอียด

    ฮิงัง (สัปดาห์ที่กลางวันและกลางคืนยาวเท่ากัน)

    มีคำกล่าวที่ว่า อะทสึสะ สะมุสะ โมะ ฮิงัง มะเดะ (atsusa samosa mo higan made) หมายความว่า “ไม่มีร้อนคิมพันต์ใดจะอยู่ยั้งถึงฮิงังในฤดูใบไม้ร่วงเฉกเช่นความหนาวเหน็บแห่งเหมันต์ที่ไม่อยู่อยู่ยั้งถึงฮิงังในฤดูใบไม้ผลิ” ช่วงที่กลางวันและกลางคืนยาวเท่ากันโดยเฉพาะในราววันที่เรียกว่า ซุมบุง – โนะ – ฮิ (Shunbun no hi = วันที่กลางวันและกลางคืนในฤดูใบไม้ผลิยาวเท่ากัน) และ ซูบุง – โนะ – ฮิ (Shunbun no hi = วันที่กลางวันและกลางคืนในฤดูใบไม้ร่วงยาวเท่ากัน) บ่งบอกถึงจุดเปลี่ยนแปลงของฤดูในท้องถิ่นที่ส่วนใหญ่ของญี่ปุ่น ฮิงัง ซึ่งมีความหมายตามตัวฮักษรว่า “บนฝั่งอีกฟากหนึ่งของแม่น้ำ” ตามความคิดทางพุทธศาสนาเป็นสัญญาณแสดงภาพของซะโตะริ (satori = การรู้แจ้งของจิตวิญญาณ) ของมนุษย์ มนุษย์ได้รับการปลดปล่อยจากความเจ็บปวดหรือความทุกข์ยากทั้งมวลของการมีชีวิตอยู่ในโลกนี้ นั่นก็คือ “อยู่บนฝั่งทางฟากนี้ของแม่น้ำ” ฮิงัง แดนสวรรค์นิรันดรของชาวพุทธนั้น ตามความนึกคิดทางพุทธศาสนาถือว่าอยู่ทางทิศตะวันตก จากความเชื่อเช่นนี้ ชาวพุทธจึงประกอบพิธี “ฮิงัง – เอะ” (higan – e = พิธืฮิงังสำหรับคนตาย) ขึ้นในวัน ซุมบุง – โนะ – ฮิ และ ซูบุง – โนะ – ฮิ  เป็นวันหยุดประจำชาติ ซึ่งหลายครอบครัวจะเซ่นไหว้และสวดภาวนาให้กับดวงวิญญาณของบรรพบุรุษ ตั้งเครื่องเซ่นไหวบยแท่นบูชาพระและไปไหว้แสดงความเคารพบรรพบุรุษที่สุสานประจำตระกูล

    อ่านรายละเอียด

    โอะฮะนะมิ (การชมดอกไม้)

    ประมาณเวลาที่ฤดูหนาวอันหนาวเหน็บสิ้นสุดลงในที่สุดและประชาชนเลิกสวมเสื้อโค้ตอันหนาหนัก ดอกซากุระก็เริ่มบาน ไม่ว่าในเมืองหรือหมู่บ้านใดในญี่ปุ่น เราสามารถพบเห็นต้นซากุระที่ปลูกไว้รอบสวนสาธารณะ วักวาอารามและถนนจำนวนมาก เมื่อดอกซากุระเริ่มผลิบานเราจะพากันไปตามสถานที่ที่มีชื่อเสียงเพื่อชมดอกไม้พร้อมครอบครัว เพื่อนฝูงและเพื่อนร่วมงานโดยนั่งลงบนผ้าพลาสติกสำหรับเที่ยวปิกนิกที่ปูลงบนพื้นใต้ต้นซากุระดื่มกินและชื่นชมดอกไม้อย่างเพลิดเพลิรดอกซากุระจะบานอยู่ประมาณ 1 สัปดาห์เท่านั้น โดยจะเริ่มบานบนเกาะโอกินาวา (ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของญี่ปุ่น) ในราวเดือนกุมภาพันธ์ และบนเกาะฉอกไกโด (ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของญี่ปุ่น) จะบานในราวเดือนพฤษภาคมและมิถุนายน

    อ่านรายละเอียด

    พระโพธิสัตว์ในญี่ปุ่น

    ไดนิชิ โงไร

    “ไดนิชิ โงไร” คือรูปหนึ่งของพระโพธิสัตว์มหาไวโรจนะ เป็นที่รูปจักในญี่ปุ่นเมือตอนเริ่มศัตวรรษที่ 9 พร้อมกับพระโพธิสัตว์อีกหลายองค์ ไม่นานก็กลายเป็นเทพสูงสุดในนิกายบางนิกาย โดยนับถือกันว่าเป็นพระปฐมพุทธะ และเป็นพระผู้รักษาเยียวยา

                    ตามประวัติกล่าวอีกว่าความนิยมในพระไดนิชิ โงไร เสื่อมลงตั้งแต่ราวศตวรรษที่ 18 แต่หลังจากนั้น 50 ปี โคไบไดชิได้นำนิกายนี้เข้ามาในญี่ปุ่น การเผยแพร่ได้ผลสำเร็จ ต่อจากนั้นเขาก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของการบูชาในนิกายชินกอน ภายใต้นามไดนิชิ โงไร

    อ่านรายละเอียด

    พระโพธิสัตว์ในญี่ปุ่น

    ซากา โงไร

     “ซากา โงไร” คือพระศากยมุนี โคตรมะ พระพุทธเจ้าที่แท้จริงในภาคญี่ปุ่น แม้พระซากา โงไร จะเป็นที่นับถือก็จริง แต่ด้วยความที่ญี่ปุ่นได้รับอิทธิผลจากศาสนาพุทธ ผ่ายมหายาน ผู้คนจึงนิยมรอบรับนับถือพระโพธิสัตว์อมิตาภะมากกว่

    อ่านรายละเอียด

    คำศัพท์ภาษาญี่ปุ่นวันละ 15 คำ ตัวสุดท้าย "อักษร ข"

    แขนสั้น

    はんそで

    『半袖』

    Hansode

    แขนเสื้อ

    そで

    『袖』

    Sode

    ไขลาน

    ねじをまく

    『ねじを巻く』

    Neji o maku

    ไข่

    たまご

    『卵』

    Tamago

    ไข่ขาว

    しろみ

    『白身』

    Shiromi

    ไข่เจียว

    オムレツ

     

    Omuretsu

    ไข่ดาว

    めだまやき

    『目玉焼き』

    Medemayaki

    ไข่แดง

    きみ

    『黄身』

    Kimi

    ไข้ต้ม

    ゆでたまご

    『ゆで玉子』

    Yudetamago

    ไข่ตุ๋น

    ちゃわんむし

    『茶碗蒸し』

    Cyawanmushi

    ไข่มุก

    しんじゅ

    『真珠』

    Shinju

    ไข่ลวก

    はんじゅくたまご

    『半熟玉子』

    Hanjukutamago

    ไข้

    ねつ

    『熱』

    Netsu

    ไข้หวัด

    かぜ

    『風邪』

    Kaze

    ไข้หวัดใหญ่

    インフルエンザ

     

    Infuruenza

    อ่านรายละเอียด

     

    อาหารประจำสัปดาห์

    ใคร ๆ ก็เข้าครัว วันนี้คือ

    มาการองมะลิ Jasmine Macarons (เมนูวันแม่)

    มาการองหรือมากาฮองขนมยอดฮิตที่หลายๆ คนชื่นชอบ วันนี้จะถูกตกแต่งให้สวยงามเพื่อเป็นของขวัญในวันแม่ที่ใกล้จะมาถึงนี้ และยังเพิ่มเติมด้วยกลิ่นหอมอ่อนๆ ของบัตเตอร์ครีมกลิ่นมะลิ รสชาติกลมกล่อมเหมาะที่จะเป็นของขวัญสำหรับวันพิเศษมากๆ เลยค่ะ

    วัตถุดิบ

    สำหรับ 12-15 ชิ้น

    เวลา 1 ชั่วโมง 30 นาที

    ส่วนผสมมาการอง

    1.         ไข่ขาวผง 10 กรัม

    2.         น้ำอุ่น 60 กรัม

    3.         น้ำตาลทราย 50 กรัม

    4.         อัลมอนด์ป่น 80 กรัม

    5.         น้ำตาลไอซิ่ง 120 กรัม

    ส่วนผสมบัตเตอร์ครีมกลิ่นมะลิ

    1. เนยเค็ม 65 กรัม

    2. เนยขาว 40 กรัม

    3. น้ำตาลทราย 60 กรัม

    4. นมข้นจืด 20 กรัม

    5. น้ำ 10 กรัม

    6. กลิ่นมะลิ 1/2 ช้อนชา

    7. สีผสมอาหารสีเขียว

    ส่วนผสมสำหรับตกแต่ง

    1. White Chocolate 50 กรัม

    2. ดอกไม้น้ำตาล

     

    วิธีทำ

    วิธีทำมาการอง

    1. ปั่นน้ำตาลไอซิ่งผสมกับอัลมอนด์ป่น ให้ละเอียดแล้วนำไปอบไล่ความชื้น ที่อุณหภูมิ 90 องศาเซลเซียส ไฟบน ล่าง 10-15 นาที พักให้เย็น

    2. จากนั้นใช้กระชอนร่อนส่วนผสมอีกครั้ง เพื่อแยกส่วนที่ยังเป็นชิ้นใหญ่ๆออก

    3. ผสมไข่ขาวผงกับน้ำอุ่น และตีผสมให้เป็นฟองหยาบๆ จากนั้นค่อยๆ ใส่น้ำตาลทรายจนหมด ตีผสมต่อจนตั้งยอดปานกลาง-แข็ง เมอแรงค์จะเป็นเงาสวยงาม

    4. ใส่อัลมอนด์ที่ผสมกับน้ำตาลลงมาผสม (แบ่งใส่2ครั้ง)ในเมอแรงค์

    5. จากนั้นตะล่อมให้เข้ากัน ด้วยความรวดเร็วและเบามือ (ส่วนผสมของสูตรที่ใช่ขาขาวแบบผงจะได้แบทเทอร์ที่หนืดกว่าการใช้ไข่ขาวแบบสดเล็กน้อย)

    6. นำใส่ถุงบีบพร้อมหัวบีบแบบกลม บีบลงบนแผ่นรองอบที่เตรียมไว้ จากนั้นเคาะถาดแรงๆ เพื่อไล่ฟองอากาศ และใช้ไม้จิ้มฟัน จิ้มฟองอากาศบนผิวมาการองออก

    7. พักผิวประมาณ 15-30 นาที หรือจนกระทั่งผิวหน้าแห้งเวลาเอานิ้วแตะแล้วไม่ติดมือ

    8. นำเข้าอบโดยใช้ ไฟบน ล่าง เปิดพัดลม 150 องศาเซลเซียส ประมาณ 10-15 นาที

    9. เมื่อตัวมาการองสุกได้ที่นำออกมาพักให้เย็นบนถาด และแกะออกจากแผ่นรองอบพักบนตระแกรงพกขนมให้เย็นสนิท

    วิธีทำบัตเตอร์ครีม

    1. เทน้ำตาลทราย เกลือ นมข้นจืด และน้ำผสมกันในหม้อ จากนั้นนำไปตั้งไฟอ่อนๆ พักน้ำเชื่อมไว้ให้เย็นสนิท

    2. ตีเนยเค็มด้วยความเร็วปานกลางจนเนื้อเนียน

    3. ใส่เนยขาว ตีผสมต่อด้วยความเร็วปานกลาง จนส่วนผสมเป็นเนื้อเดียวกันประมาณ 5 นาที

    4. ใส่น้ำเชื่อม ค่อยๆเทลงในส่วนผสมเป็นสายเล็กๆ จนหมด พร้อมกับตีผสมต่ออีกประมาณ 5 นาที คอยปาดชามผสมเป็นระยะ

    5. เติมกลิ่นมะลิและสีผสมอาหารสีเขียว จากนั้นตีผสมต่อประมาณ 10-15 นาที นำบัตเตอร์ครีมใส่ถุงบีบเตรียมไว้

    วิธีตกแต่ง

    1. บีบบัตเตอร์ครีมลงบนชิ้นมาการอง และประกบด้วยมาการองอีก 1 ชิ้น

    2. ละลาย White Chocolate ใส่ถุงบีบตัดปลายถุงเล็กน้อย

    3. บีบไวท์ช็อกโกแลตลงบนตัวมาการอง จากนั้นนำดอกไม้น้ำตาลติดลงบนมาการอง

    4. นำเข้าแช่เย็น 2-5 นาที ให้ไวท์ช็อกโกแลตเซ็ตตัว จัดเสิร์ฟคู่กับน้ำหรือจัดใส่กล่องเป็นของขวัญ

    เคดิต ขอขอบคุณ FoodTravel.tv ใครๆ ก็เข้าครัว


    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×