ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    สำนักพิมพ์ Hidego

    ลำดับตอนที่ #11 : วารสาร รายสัปดาห์ ฉบับที่ 11

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 174
      1
      4 ส.ค. 56

    วารสาร Hidego รายสัปดาห์

    อาทิตย์ที่ 4 สิงหาคม 2556

     

     

     พบกันอีกครั้ง กับอาทิตย์ที่ 4 ส.ค. 56 กับวารสารฉบับที่ 11

    เข้าเดือนสิงหาคมกันแล้ว อีก 7 วันก็จะถึงวันแม่แล้ว บางคนรักแม่เฉพาะวันแม่เท่านั้นเห็นแบบนั้นก็น่าสงสารคุณแม่ เราควรรักแม่ทุกวัน วารสารฉบับที่ 11 กับ ฉบับที่ 12 ทางวารสารจะเน้นวันแม่เป็นหลักเพื่อฉลองวันประสูรของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ แม่ของแผ่นดินไทย พอพูดถึงคำว่า “แม่” คำนี้มีความหมายมากมาย เพราะแม่ทำให้เราเกิดมาแม่เลี้ยงลูก 10 คนได้ ทำไหมลูกเลี้ยงแม่คนเดียวไม่ได้ ประโยคนี้ทุกท่านคงจะเคยได้ไม่มากก็น้อย กราบเท้าแม่ซะวันนี้ก่อนจะไม่มีแม่ให้กราบ ขอให้พระเจ้าคุ้มครองแม่ทุกคน อาเมน!!!!  

     

    พระราชประวัติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ

    ขณะทรงพระเยาว์

    สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ มีพระนามเดิมว่า หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันศุกร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2475 ณ บ้านของพลเอกเจ้าพระยาวงษานุประพัทธ (หม่อมราชวงศ์สท้าน สนิทวงศ์) บ้านเลขที่ 1808 ถนนพระรามที่ 6 ตำบลวังใหม่ อำเภอปทุมวัน จังหวัดพระนคร อันเป็นบ้านของพระอัยกาฝ่ายพระมารดา

    พระองค์เป็นพระธิดาองค์ใหญ่ของหม่อมเจ้านักขัตรมงคล กิติยากร (ภายหลังได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็น พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้านักขัตรมงคล กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ) ประสูติแต่หม่อมหลวงบัว กิติยากร (สกุลเดิม สนิทวงศ์)มีพระพี่น้องคือ หม่อมราชวงศ์กัลยาณกิติ์, หม่อมราชวงศ์อดุลกิติ์และหม่อมราชวงศ์หญิง บุษบา กิติยากร

    สำหรับพระนาม "สิริกิติ์" เป็นชื่อที่ได้รับพระราชทานจากสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7 อันมีความหมายว่า "ผู้เป็นศรีแห่งกิติยากร" มีชื่อเล่นว่า "คุณหญิงสิริ" ส่วนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงเรียกว่า "แม่สิริ"

    เมื่อหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์มีอายุราว 2 ปี ขณะที่พี่เลี้ยงอุ้มอยู่นั้นก็มีแขกเลี้ยงวัวเข้ามาทำนายทายทัก ว่าเด็กผู้หญิงคนนี้จะมีบุญวาสนาได้เป็นราชินีในอนาคต ดังที่ท่านผู้หญิงเกนหลง สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ได้เล่าไว้ ความว่า

    ...วันหนึ่งขณะที่พี่เลี้ยงอุ้ม ม.ร.ว.สิริกิติ์ เดินเล่น พอดีขณะนั้นมีแขกเลี้ยงวัว ซึ่งเป็นเพื่อนของแขกยามประจำบ้านมาหากัน พอแขกที่มาเหลือบเห็น ม.ร.ว.สิริกิติ์ ก็จ้องมองพร้อมทั้งกวักมือเรียกพี่เลี้ยงขอให้เห็นใกล้ ๆ หน่อย เมื่อเข้ามาใกล้มองดูสักครู่ก็พูดว่า "ต่อไปจะเป็นมหารานี" พี่เลี้ยงได้ฟังก็ชอบใจเที่ยวเล่าให้คุณยายและใครต่อใครฟัง ถึงไม่เชื่อแต่ก็ปลื้มใจ ต่อมาเมื่อ ม.ร.ว.สิริกิติ์ เจริญวัยขึ้น เลยเป็นเหตุให้คุณพี่ชายทั้งสองคนเอามาล้อเลียนเป็นที่ขบขันว่าเป็นราชินี แห่งอบิสซีเนีย [เอธิโอเปียในปัจจุบัน] บางครั้งถึงกับทำให้ผู้ถูกล้อต้องนั่งร้องไห้ด้วยความอายและเจ็บใจ แต่พี่ชายทั้งสองก็ยังไม่หยุดล้อ กลับเอาเศษผ้าขาด ๆ มาทำเป็นธงโบกอยู่ไปมา พร้อมทั้งบอกว่าเป็นธงประจำตัวของราชินี... ท่านผู้หญิงเกนหลง สนิทวงศ์ ณ อยุธยา

    สอดคล้องกับหม่อมราชวงศ์กิติวัฒนา ปกมนตรี ที่กล่าวถึงเกี่ยวกับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ได้เล่าเรื่องดังกล่าวให้เพื่อน ๆ จากโรงเรียนเซนต์ฟรังซีสซาเวียร์คอนแวนต์ที่ย้ายมาเรียนต่อที่โรงเรียนมาแตร์เดอีฟัง ว่ามีหมอดูมาที่ตำหนักของท่านพ่อ แล้วทายทักว่าจะได้เป็นราชินี โดยที่หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์เองและเพื่อนฝูงก็มิได้ใส่ใจนัก แต่เพื่อน ๆ ก็ขนานนามว่า "ราชินีสิริกิติ์" มาแต่นั้น

    แม้จะเป็นเรื่องขบขันของราชสกุลกิติยากร แต่ไม่มีใครคาดถึงว่าในอีก 15 ปีต่อมาคำทำนายของแขกเลี้ยงวัวผู้นั้นจะเป็นความจริง

    ในระหว่างยังทรงพระเยาว์ สถานการณ์บ้านเมืองไม่สู้สงบนัก เนื่องจากเพิ่งพ้นจากช่วงของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ไม่นาน หม่อมเจ้านักขัตรมงคลต้องทรงออกจากราชการทหาร โดยรัฐบาลแต่งตั้งให้ไปรับตำแหน่งเลขานุการเอกประจำสถานทูตสยาม ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. สหรัฐอเมริกา ส่วนหม่อมหลวงบัวซึ่งมีครรภ์แก่ยังคงอยู่ในประเทศไทย แต่ได้เดินทางไปสมทบหลังจากให้กำเนิดหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ได้ 3 เดือน โดยมอบหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ให้อยู่ในความดูแลของเจ้าพระยาวงษานุประพัทธ และท้าววนิดาพิจาริณี บิดาและมารดาของหม่อมหลวงบัว ดังนั้นจึงต้องอยู่ไกลจากบิดามารดาตั้งแต่อายุน้อย บางคราวต้องเดินทางไปต่างจังหวัด เช่น พ.ศ. 2476 หม่อมเจ้าอัปษรสมาน กิติยากร พระมารดาของหม่อมเจ้านักขัตรมงคล ได้ทรงรับนัดดาตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ไปอยู่ที่จังหวัดสงขลา

    ปลายปี พ.ศ. 2477 หม่อมเจ้านักขัตรมงคลทรงลาออกจากราชการแล้วกลับมาประเทศไทย จึงทำให้หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ซึ่งขณะนั้นอายุได้ 2 ชันษา 6 เดือน ได้กลับมาอยู่รวมพร้อมหน้ากันทั้งครอบครัว ณ ตำหนักใน วังเทเวศร์ บริเวณถนนกรุงเกษม ปากคลองผดุงกรุงเกษม ริมแม่น้ำเจ้าพระยา

     

    คำศัพท์อาทิตย์ละ 10 คำ

    อักษร ก

    กระดาษชำระ ちりがみ『ちり紙』CHIRIGAMI, トイレットペーパーTOIRETTOPEPA

    ----------------------
    กระดาษห่อของ ほうそうし『包装紙』HOUSOUSHI

    ----------------------
    กระดิ่งベルBERU

    ----------------------
    กระดุม ボタンBOTAN

    ----------------------
    กระดุมหลุด ボタンがとれる『ボタンが取れる』BOTAN GATORERU

    ----------------------

    กระดูก ほね『骨』HONE

    ----------------------
    กระโดด とぶ『跳ぶ』TOBU

    ----------------------
    กระโดดเชือก (น.) なわとび『縄跳び』NAWATOBI

    ----------------------
    กระต๊อบこや『小屋』KOYA  

    ----------------------

    กระต่ายうさぎ『兎』USAGI

    ----------------------

    มารยาทต่าง ๆ ของคนญี่ปุ่น

              การใช้ชีวิตที่ญี่ปุ่น สิ่งแรกที่ควรคำนึงถึงคือมารยาท และธรรมเนียมปฏิบัติของญี่ปุ่น เรื่องเหล่านี้ต้องค่อยๆ เรียนรู้และฝึกจนเป็นนิสัยไปทีละเล็กละน้อย ในการใช้ชีวิตแต่ละ วันที่ญี่ปุ่นเวลานัดกับใครต้องรักษาเวลา เมื่อไปไม่ได้หรือไปไม่ตรงตามนัดต้องแจ้งให้ ทราบล่วงหน้า ถ้าไม่รักษาสัญญาจะทำให้อีกฝ่ายขาดความเชื่อถือ และตอนแรก ๆ คนญี่ปุ่นมักจะไม่ค่อยคุยด้วยเนื่องจายังไม่คุ้นเคยกัน แต่เมื่อสนิทกันแล้วก็จะยอมรับ และเปิดใจมากยิ่งขึ้น คนญี่ปุ่นมักจะมีเพื่อนหลายกลุ่ม ในหนึ่งวันเขาอาจจะพบเพื่อนจากที่โรงเรียน ที่ทำงาน เพื่อนเที่ยวแตกต่างกันไปทั้งวัน ดังนั้นคนญี่ปุ่นจึงดูไม่ค่อยสนิทกันมากนัก และโดยปกติผู้ชายญี่ปุ่นมักจะทำงานหนักไม่ว่าจะก่อน หรือหลังแต่งงาน และมักจะทำงานกันจนดึกจนดื่นจนคล้ายกับว่าไม่ค่อยมีเวลาให้ครอบครัว เพราะเป็นวัฒนธรรมการทำงานของคนญี่ปุ่นก็ว่าได้ที่ทุกคนจะต้องทุ่มเทกับงาน ให้เต็มที่

    1. การใช้ภาษากับระดับความสัมพันธ์

    สังคมของคนญี่ปุ่นเป็นสังคมที่ให้ความ สำคัญต่อกลุ่มและสมาชิกในกลุ่มโดยมีสถานที่เป็นตัวบ่งบอกคนที่อยู่อาศัยใน ที่เดียวกันหรือทำงานในที่เดียวกันนั้นถือว่าเป็นพวกเดียวกันเรียกว่า(อุชิ) และสำหรับคนที่อยู่ต่างสถานที่ต่างบริษัท ต่างประเทศจะถือว่าเป็นคนนอกหรือคนอื่นเรียกว่า(โซโตะ) คนญี่ปุ่นจะใช้ภาษาและการปฎิบัติตนที่แตกต่างไปจากต่อคนที่อยู่ในสังกัด เดียวกัน โดยจะใช้ภาษาที่สุภาพและการถ่อมตนกับผู้ที่เป็นผู้อื่น แม้ว่าตนเองจะไม่รู้สึกยกย่องคนๆนั้นก็ตาม การใช้ภาษาของคนญี่ปุ่นเป็นสิ่งหนึ่งที่ช่วยให้เราเห็นลักษณะความสัมพันธ์ ของคนญี่ปุ่นในสังคมได้ว่าคู่ที่สนทนาอยู่มีความสัมพันธ์กันอย่างไร ใครอาวุโสกว่าใครหรือสนิทสนมกันแค่ไหนเป็นกลุ่มเดียวกันหรือคนละกลุ่มเป็น ผู้หญิงหรือผู้ชาย การใช้ภาษาในการพูดของคนญี่ปุ่นนั้นเมื่อพูดเรื่องของตนเองรวมไปถึงการกล่าว ถึงสิ่งอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับตนเองแล้วคนญี่ปุ่นจะต้องใช้คำถ่อมตนเมื่อพูด กับคนอื่น และคำยกย่องเพื่อยกย่องคู่สนทนาด้วย

    การให้ความสำคัญกับบุคคลอื่นในสังคมเป็น ลักษณะเด่นของคนญี่ปุ่น ทำให้คนญี่ปุ่นเป็นคนระมัดระวังและให้ความสำคัญต่อความรู้สึกของผู้อื่น อย่างมาก ในการใช้ภาษา การแสดงความใส่ใจของคู่สนทนา เช่นการใช้ถ้อยคำและกริยาต่างๆสอดแทรกเพื่อแสดงความสนใจต่อคู่สนทนา หรือพูดประโยคลอยๆค้างไว้เพื่อให้คู่สนทนามีโอกาศได้สอดแทรกสานประโยคให้จบ ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้คู่สนทนามีส่วนร่วมในสิ่งที่ตนพูดด้วย หรือการพูดแบบอ้อมค้อมไม่ชี้บ่งบอกอะไรไปตรงๆ หรือละความเอาไว้ให้ผู้สนทนาด้วยคิดเอาเอง และในการสนทนากับคนญี่ปุ่นจะเป็นการเสียมารยาทมากถ้าเราไม่เอ่ยถึงการกระทำ ของผู้นั้นที่ส่งผลดีต่อเราและต้องใช้สำนวนที่รู้สึกสำนึกบุญคุณต่อการกระทำ นั้นๆด้วย เช่นขอบคุณที่ได้เกื้อหนุนอุ้มชูเราอยู่เสมอ หรือ วันก่อนต้องขอขอบพรคุณมาก (อาจจะไม่ได้ทำอะไรให้) แต่เป็นมารยาทที่ควรจะพูดตามธรรมเนียมของคนญี่ปุ่น

    2. วิธีการตอบปฏิเสธของคนญี่ปุ่นที่มีลักษณะเฉพาะ

    ในการคบหากัน คนญี่ปุ่นจะให้ความสำคัญต่อความสอดประสานกลมกลืนกันในความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับบุคคลเป็นอย่างยิ่ง และด้วยเหตุนี้ คนญี่ปุ่นจึงไม่ชอบที่จะทำให้เกิดรอยร้าวในความสัมพันธ์เพราะการปฏิเสธอย่าง ชัดแจ้ง เช่น เมื่อจะปฏิเสธคำเชิญชวนหรือคำแนะนำ จะเลี่ยงไปตอบด้วยการพูดว่า “chotto…” ซึ่งก็คือ ออกจะ…” แล้วก็ละไว้ในฐานที่เข้าใจว่า ไม่สะดวกคำว่า “chotto”ไม่ได้ใช้เฉพาะในการเรียกความสนใจเท่านั้น แต่ยังใช้ในเวลาที่อยากจะปฏิเสธด้วย เป็นสำนวนที่สะดวกมากแม้แต่ในสถานการณ์เกี่ยวกับธุรกิจ สำนวนอ้อม ๆ ก็ใช้บ่อย เช่น ในกรณีที่จะปฏิเสธข้อเจรจาทางธุรกิจกับคู่เจรจา สำนวนที่ใช้บ่อยคือ “kentô shitemimasu” ซึ่งมีความหมายว่าจะลองพิจารณาดูแต่จริง ๆ แล้ว มีความหมายว่ากรุณาอย่าคาดหวังการตอบรับรวมอยู่ด้วย

    3. การโค้ง

    การโค้งในภาษาญี่ปุ่นเรียก ว่า “Rei” (れい/เร) หรือ “Ojigi” (/おじぎ/โอจิกิ) ชาวญี่ปุ่นไม่นิยมไหว้แบบคนไทย หรือจับมือแบบฝรั่ง แต่จะนิยมโค้งแทนในเวลาที่พบหรือลา ประเพณีการโค้งของคนญี่ปุ่นนับว่าซับซ้อนพอควร เช่น การโค้งควรจะต่ำเพียงไรและโค้งได้นานเท่าไร หรือโค้งเป็นจำนวนกี่ครั้ง และโค้งในโอกาสอะไร เช่น ผู้อาวุโสก้มให้ลึก แต่ถ้าระดับเท่ากันโค้งพองาม นอกจากโค้งเวลาพบกันหรืออำลาจากกันแล้ว สามารถโค้งเมื่อต้องการขอบคุณ

    การโค้งทักทาย (Eshaku/えしゃく/ อิชิคุ) คือ การทักทายกับผู้ที่สนิทแบบเป็นกันเอง วิธีการคือ ก้มตัวทำมุมประมาณ 15 องศา

    การโค้งเคารพแบบธรรมดา (Futsuu Rei/ふつう/ ฟุสึยุ) คือ การทักทายกับผู้ที่เรารู้จัก หรือพนักงานขายกับลูกค้า วิธีการคือ ก้มตัวประมาณ 30 องศา

    การโค้งเคารพแบบนอบน้อม (Saikei Rei/さつうれい/ ซาอิเครอิ เรอิ) คือ การให้ความเคารพกับผู้ใหญ่ ผู้ที่มีอายุมากกว่า หรือเจ้านายที่มีตำแหน่งสูง วิธีการคือ ก้มตัวประมาร 45 องศา กับแนวเส้นตรง

    4. รับเชิญไปบ้านคนญี่ปุ่น

    เมื่อคุณได้รับเชิญไปบ้านคนญี่ปุ่น นับว่าเป็นเกียรติมาก เพราะคนญี่ปุ่นจะคิดว่าบ้านตนเองเล็กคับแคบและไม่ค่อยจะรับแขกที่บ้าน แม้กระทั่งคนญี่ปุ่นด้วยกันเอง ดังนั้นร้านอาหาร กาแฟ จึงเป็นที่นิยมมาก เมื่อคุณได้รับเชิญแล้วอย่าลืมนำของฝากเล็กๆน้อยๆติดมือไปฝากเจ้าของบ้าน ด้วย อาจเป็นผลไม้ ดอกไม้ ขนม เพื่อแสดงถึงน้ำใจ หากเป็นการเชิญรับประทานอาหารคุณอาจซื้อเป็นเหล้าไปฝาก เพราะที่รู้ชายและหญิงมักนิยมดื่มสุรา อย่านำเพื่อนตามไปเยี่ยมบ้านคนญี่ปุ่นโดยไม่ได้รับเชิญ เจ้าของบ้านจะอึดอัดและเป็นการไม่สุภาพ หลังจากไปเยี่ยมบ้านเขาแล้วอย่าลืมโทรศัพท์หรือส่งจดหมายไปขอบคุณ และเมื่อพบกันครั้งต่อไป อย่าลืมขอบคุณที่เขาเคยชวนไปบ้าน

    5. มารยาทเยี่ยมบ้านคนญี่ปุ่น

    เมื่อไปเยี่ยมบ้านคนญี่ปุ่นโดยเฉพาะ ผู้ใหญ่ สิ่งที่ควรระวังก็คือเวลา ไม่ควรจะเยี่ยมบ้านตอนเวลาทานอาหาร นอกจากว่าเจ้าของบ้านชวนให้มาทานอาหารกันที่บ้าน คนญี่ปุ่นถือว่าการเยี่ยมบ้านคนอื่นตอนเวลาทานอาหารเป็นสิ่งที่เสียมารยาท ซึ่งเวลาที่เหมาะสมสำหรับการเยี่ยมก็คือตอนสายๆหรือตอนบ่าย ไม่ควรเป็นตอนเย็นมากด้วย เพราะแม่บ้านเขาคงจะต้องเริ่มเตรียมอาหารเย็น ถ้าโดยบังเอิญไปถึงบ้านเขาในขณะเขาทานอาหารอยู่พอดี เราก็ควรจะบอกว่า Oshokuji chuu ni ojamashite moushiwake arimasen (ขอโทษที่รบกวนเวลาทานอาหาร) และควรจะรอที่ห้องอื่น ตามปกติเจ้าของบ้านก็จะไม่ชวนกินข้าวด้วยกัน (อันนี้ไม่เหมือนกับเมืองไทย) เพราะว่าเจ้าของบ้านไม่ได้เตรียมอาหารอย่างดีสำหรับแขก และตามปกติคนที่จะเยี่ยมก็ต้องทานข้าวให้เสร็จมาก่อนที่จะเยี่ยมอยู่แล้ว

    ตอนไปเยี่ยมบ้านผู้ใหญ่ ควรจะนำของฝากสักอย่างก็ถือว่าเป็นมารยาทดี ตามปกติแล้วของฝากในกรณีเยี่ยมบ้านคนอื่น ควรเป็นขนมแบบที่ใส่ในกล่องสวย(ไม่ใช่ที่ใส่ในถุงพลาสติกธรรมดา) หรือขนมแค้ก ที่ประเทศญี่ปุ่นจะมีร้านขายขนมแบบสวยงามที่ใส่กล่องดีๆเยอะ เพราะว่าในมารยาทญี่ปุ่นก็จะมีโอกาสใช้กันบ่อย ซึ่งขนมแบบนี้ไม่ใช่เป็นขนมสำหรับผู้ซื้อเพื่อกินเอง แต่สำหรับของฝากในการเยี่ยมคนอื่นมากกว่า

    6. รองเท้า

    คนญี่ปุ่นถือเรื่องเท้าคล้ายคลึงกับคนไทย เช่น ห้ามสวมรองเท้าในบ้าน วัด โรงแรมแบบญี่ปุ่น (りょかん/Ryokan ) รวมไปถึงพิพิธภัณฑ์ ร้านหรือห้องอาหารบางแห่ง โดยปรกติแล้วจะมีการเตรียมรองเท้าแตะไว้ให้ก่อนเข้าบริเวณที่ห้ามสวมรองเท้า แต่ถ้าเป็นพื้นที่ปูเสื่อตะตะมิ แม้รองเท้าแตะก็ต้องถอดก่อนขึ้นไปนั่งหรือเดิน ให้ถอดรองเท้าไว้ที่เกงคัง (บริเวณหน้าบ้าน สำหรับไว้ถอดรองเท้าก่อนขึ้นบ้าน) โดยให้ปลายรองเท้าหันไปทางด้านประตูเท่านั้น นอกจากนี้เวลาเข้าห้องน้ำจะมีรองเท้าแตะที่จัดไว้ใช้เฉพาะสำหรับห้องน้ำ

    7. มารยาทบนโต๊ะอาหาร

    การเรียนต่อญี่ปุ่นนั้น นักเรียนอาจมีโอกาสได้เข้าร่วมรับประทานอาหารกับชาวญี่ปุ่น ดังนั้นการเรียนรู้มารยาทบนโต๊ะอาหารนั้น จึงเป็นสิ่งที่ควรศึกษาไว้เป็นความรู้ที่ติดตัวไปด้วย

    ก่อนเริ่มรับประทานอาหารทุกครั้ง   นักเรียนจะต้องพูดคำว่า   いただきます Itadakimasu  และพูดคำว่า  ごちそうさまでした Gochisousama deshita เมื่อรับประทานอาหารอิ่มแล้ว การพูดคำนี้ถือว่าเป็นธรรมเนียมที่ต้องทำและมีความหมายในเชิงขอบคุณ ซึ่งตามปกติชาวญี่ปุ่นถือว่าการเริ่มทานข้าวก่อนคนอื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตจาก เจ้าบ้านเป็นสิ่งที่เสียมารยาท

    ขณะรับประทานอาหาร  คนญี่ปุ่นมักจะพูดคำว่า  Oishii  ซึ่งแปลว่าอร่อย  เพื่อชมผู้ปรุงอาหารและถือเป็นการขอบคุณด้วย

    ตามมารยาทของคนญี่ปุ่นแล้ว  ควรจะทานข้าวให้หมดชาม ถ้าเป็นอาหารชุดก็ควรจะทานทุกอย่าง  ยกเว้นแต่ว่าจะทานไม่ไหวแล้วจริง ๆ  และก่อนเปิดตู้เย็นเพื่อหยิบหรือเก็บอะไร  ควรจะขออนุญาตจากครอบครัวก่อน

    ชาวญี่ปุ่นนั้นแทบทุกบ้านจะใช้ตะเกียบในการรับประทานอาหาร

    การปฎิบัติเหล่านี้บนโต๊ะอาหารเป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงเป็นอย่างยิ่ง

    1. การกำตะเกียบเป็นกิริยาที่ไม่ดี

    2. การจับตะเกียบและถ้วยข้าวด้วยมือเดียวกัน

    3. “ โยเซบาฉิ(よせばし)การเลื่อนชามไปข้างหน้าด้วยตะเกียบ (จะโยกย้ายอะไรก็ใช้มือให้สุภาพเข้าไว้)

     

    4. “ ซึคิบาฉิ(すきばし)การเสียบอาหารด้วยตะเกียบ

     

    5. “ ซากุริบาฉิการเลือกอาหารที่มีรสอร่อย หรือน่ากินในจานอาหาร (อย่าลืมว่าใครๆก็อยากรับประทานของอร่อยในจานเหมือนกัน อย่าเผลอเลือกรับประทานคนเดียวจนหมด)

    6. “ มาโยอิบาฉิ(まよいばし) การถือตะเกียบจดๆจ้องๆไตร่ตรองถึงสิ่งที่จะรับประทานอาหารบนโต๊ะอาหาร (หรือพูดง่ายๆว่าก็เล็งรับประทานอะไรไว้ก็มุ่งหนีบรับประทานซะดีกว่า เลือกไปเลือกมาดูเหมือนจะทิ้งของที่ไม่อร่อยให้คนอื่นรับประทาน ชาวญี่ปุ่นเป็นอะไรที่เก็บความรู้สึก ถึงอยากรับประทานก็ต้องมีมารยาทไว้ก่อน)

     

    7. การเสียบตะเกียบไว้บนข้าวก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ไม่ควรปฎิบัติ

     

    8. ห้ามหยิบตะเกียบจนกว่าผู้อาวุโสคนใดคนหนึ่งจะหยิบขึ้นมาก่อน

    9. ห้ามขูดเม็ดข้าวจากตะเกียบ

    10. ห้ามทานอาหารจากซุปโดยไม่ยกชามซุปขึ้นจากถาด

    11. ห้ามตักอาหารจากจานซึ่งอยู่ไกลออกไปอีกฟากหนึ่งโดยที่ไม่ยกจานขึ้นมา

    12. ห้ามยกจานทางขวามือด้วยมือซ้าย หรือยกจานทางซ้ายมือด้วยมือขวา

    13. ห้ามหยิบอาหารที่มีซอสเหลวๆวางบนข้าว หรือทานข้าวราดน้ำซอส

    14.  ห้ามหยิบและกัดอาหารซึ่งไม่อาจจะทานได้ในคำเดียว ขอให้แบ่งเป็นชิ้นเล็กๆด้วยตะเกียบ

    8. การแชร์กันออกค่าอาหาร

    คนญี่ปุ่นก็จะมีการแชร์กันออกค่าใช้จ่ายในการรับประทาน อาหารเช่นกันเหมือนกับคนอเมริกาเช่นกัน

    9. การส่งเสียงดัง

    ในเมืองใหญ่บางคนมีความรู้สึกไวโดยเฉพาะ ต่อเสียงต่างๆ ที่เกิด ขึ้นในชีวิตประจำวันและไม่ใจกว้างยอมรับแม้แต่เสียงที่เด็กทำขึ้นจึงขอให้ ระมัดระวังเป็นพิเศษ ถ้าอาศัยอยู่ที่บ้านพักรวมอย่างเช่น อพาร์ตเมนท์ โดยทั่วไปหลัง 22:00 น. พยายามอย่าส่งเสียงดังให้คนข้าง บ้านได้ยิน บางคนทำงานตอนกลางคืน และนอนพัก ตอนกลางวัน จึงเป็นเวลาสำคัญสำหรับพวกเขา มีบางครั้งสำหรับตัวเองเสียงอาจไม่ดัง แต่โครงสร้างอาคารอาจทำให้เกิดเสียงดังรบกวนเพื่อนบ้านใกล้เคียงได้ โดยเฉพาะ การ ใช้เครื่องดูดฝุ่น เครื่องซักผ้า การเข้าออก การเปิดปิดประตูในตอนกลางคืน ขอให้ระวังเป็นพิเศษ ถ้ามีปัญหาเรื่องเสียงรบกวน กรณีบ้านพักรวม แจ้งกับ เจ้าหน้าที่อสังหาริมทรัพย์ที่ทำสัญญาเช่า นอกเหนือจากนี้ปรึกษากับเจ้าหน้าที่สมาคม ปกครองตนเอง (จิชิคะอิ)

     

    อาหารประจำสัปดาห์

    ข้าวห่อสาหร่ายรูปกรวย

    วัตถุดิบ

    ข้าวซูชิ  1.5  ถ้วงตวง
    สาหร่ายทะเลชนิดแผ่น 1 แผ่น
    ไข่กุ้ง 1/2 ถ้วยตวง
    หน่อไม้ฝรั่งลวก 20 แท่ง
    หัวไชเท้าดองหั่นแท่ง 20 แท่ง
    ขิงดอง 1/2 ถ้วยตวง
    วาซาบิ  1 ช้อนโต๊ะ
    น้ำจิ้มปลาดิบ 3 ช้อนโต๊ะ

    วิธีทำข้าวห่อสาหร่ายรูปกรวย

    1. ย่างสาหร่ายพอมีกลิ่นหอม ตัดครึ่งวางบนมือ ตักข้าวซูชิใส่ 1/3 ของสาหร่าย
    2. วางหน่อไม้ฝรั่ง หัวไชเท้า ขิงดองและไข่กุ้ง ให้เลยข้างออกมาเล็กน้อย แล้วม้วนให้เป็นรูปกรวย
    3. จัดเสิร์ฟในภาชนะที่สวยงาม พร้อมน้ำจิ้มปลาดิบและวาซาบิ

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×