คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #4 : การหักเหของคลื่น (แสง เสียง คลื่นน้ำ ฯลฯ)
มันเกิดขึ้นเพราะอะไร? ก่อนจะจำสูตรทั้งหลายแหล่ มาทำความเข้าใจกันนิ๊ดนึง
มันเกิดขึ้น เพราะ ความเร็วในแต่ละตัวกลางไม่เท่ากัน เมื่อคลื่นเคลื่อนที่ผ่านตัวกลางก็จะเกิดการหักเห
ให้จิตนการถึง เกวียน ที่มีสองล้อ (ถ้าเชยไป เอาฮอนด้า แจ๊ส แล้ววกัน) ที่แรกวิ่งบนถนน ต่อมา ล้อซ้ายไปติดโคลน ที่มันหนืดๆ ตอนนี้ความเร็วทั้งสองล้อ มันไม่เท่ากันแล้ว มันจะเกิดไร ถ้านึกดูดีๆ มันจะเลี้ยวใช่มะ มันจะเลี้ยวไปทางไหนมันก็จะ
เลี้ยวไปทางซ้ายไง
ตามที่ให้นึกตามนั่นแหละ เป็นหลักการเลี้ยวเบน
รูปภาพต่อไปนี้ จะเป็นคลื่น แต่ก็ให้นึกเปรียบเที่ยบกับล้อเกวียนแหละ
เส้นสีดำๆ เป็นสันคลื่นนะ กำลังวิ่งขึ้นบน เส้นสีแดงเป็นแนวรอยต่อ สมมุติเป็นน้ำลึกกะตื้นแร้วกัน
ที่น้ำตื้นคลื่นผิวน้ำจะช้ากว่าน้ำลึก (ยังไม่ต้องใส่ใจ)
เห็นส่วนที่ล้ำมามะ มันช้ากว่าส่วนที่ยังอยุ่ในน้ำลึก แน่นอน มันย่อมโดนหน่วง(เหมือนล้อข้างนึงติดโคลน)
เห็งมะ มีอีกส่วนไปรับกรรม ช้าลงไปอีก
เกือบจะช้าเท่ากันทั้งคลื่นและ
อันนี้ก็จบ เพราะหักเหทั้งคลื่นแล้ว เป็นอันเห็นว่าคลื่นเกิดการหักเหได้ยังไง
ที่เราดูจบกันไปก็คือ สันคลื่นมันเลี้ยว แต่เวลาเค้าคำนวณ เค้าจะดูกันที่รังสี ซึ่งตั้งฉากกะสันคลื่นอีกทีนึง
ก็คือรูปนี้
รูปเนี้ย สีเหลืองคือรังสีก่อนหักเห และสีเขียวคือรังสีที่หักเหเสร็จแล้ว
(หนังสือทั่วไปจะแสดงรูปนี้ให้ดู ว่าเป็นการหักเห จากตัวกลางเร็วมาก ไปน้อย แต่จะไม่แสดงรูป 4-5 รูปก่อนหน้าให้ดูว่าหักเหยังไง แล้วก็จะงงกัน ว่ามันหักเหได้ไง มั่วขึ้นมาเป่า)
บทต่อไปจะแสดงการคำนวนเกี่ยวกะการหักเหพวกนี้ครับ
ขอบคุณทุกคนที่อุตสาห์เข้ามาดู และให้กำลังใจครับ(ทำรูปลำบากอ่ะ เขียนขึ้นกระดานสอนตรงๆง่ายกว่าเยอะ)
ความคิดเห็น