ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เทคนิคช่วยจำฟิสิกส์

    ลำดับตอนที่ #14 : เทคนิคการคำนวนเรื่องกฏของนิวตัน

    • อัปเดตล่าสุด 17 เม.ย. 49


    การนำไปใช้ มันก็คือการทำโจทย์อะแหละ แต่การนำไปใช้ นี่หมายถึงว่า เราต้องเข้าใจมันก่อนแล้วค่อยทำโจทย์
    จากบทที่แล้ว แน่นอนว่า คงจะพอเข้าใจกันแล้ว ว่ากฏนิวตันหมายถึงอะไร
    แรง มวล และ ความเร่ง สัมพันธ์กันอย่างไร(ใครไม่เก็ท อ่านใหม่ก่อนนะครับ)
    ทีนี้ เรื่องกฎนิวตันเนี่ย เค้าถือเป็นเรื่องใหญ่เรื่องนึง เพราะเด็กนักเรียนจะมองเห็นภาพได้ง่าย

    เอาวัตถุมาแสดงให้ดูได้ไม่ยาก ดังนั้น โจทย์แต่ละข้อ จะลงลึกมากๆ

    แบบเจาะรายละเอียดกฎ ทั้ง 3 ข้อของนิวตันเลย ดังนั้นเวลาศึกษาก็ต้องเจาะลงเช่นกัน
    ทั่วๆไปเค้าก็จะเริ่มกันที่กฏข้อ 2 ก่อน เพราะมันง่ายสุด ไม่ต้องใช้เรื่องอื่นช่วยมากนัก
    สูตรง่ายๆ ว่า
    F = ma แต่ระวังให้ดี สูตรง่ายๆอย่างนี้แหละ ทำคนดับมาเยอะแล้ว
    ซึ่งเวลาคิดเรื่องนี้นะ ไม่มีอะไรเท่าไหร่เลย มันใช้หลักการคิดแบบเดียวกับไฟฟ้า
    V = IR อ่ะ
    ที่มันเหมือนกันก็คือ เรื่องการคิดแบบทั้งระบบกะแยกคิดแต่ละระบบ
    พูดงี้ งง ใช่มะ งั้นเดี๋ยวเอาตัวอย่างไปดูแล้วกันนะครับ
    มวล 8 ก้อน มีขนาดมวลเป็น 1
    ,2,3,4…,8 kg ตามลำดับ จาก A ไป H มวลทั้งหมดวางชิดกันและอยู่บนพื้นลื่น โยระบบทั้งหมดถูกแรง F = 108 N กระทำทางด้าน A ขนานกับพื้น จงหาแรงที่มวล E กระทำต่อมวล F

     

    เวลาคิดแบบนี้ก็ให้มองว่าเรารู้อะไร จากโจทย์ เรารู้แรงที่กระทำทั้งระบบ ก็คือ 108 N   มวลทั้งระบบเราก็รู้ ก็คือ  1+2+3+4+5+6+7+8 = 36 kg เมื่อรู้แรงทั้งระบบ กับ มวลทั้งระบบแล้วก็จะหาความเร่งทั้งระบบได้ไม่ยาก(หลักการนี้จะเหมือนกับ V=IR ที่จะคิดคร่อม แต่ละจุด ซึ่ง F = Ma ก็จะมองที่มวลแต่ละก้อนเช่นกัน)

    จาก F = Ma แทนค่าจะได้ 108 = 36*a แก้สมการจะได้ a = 3 ซึ่งจะได้ว่า ทั้งระบบ มีความเร่งเท่ากับ 3

    ทีนี้เราก็คิด เฉพาะที่เราสนใจ นั่นก็คือ แรงที่มวล F ถูกกระทำ ซึ่ง เวลาแรงกระทำนั้น มันก็จะทำก้อนข้างหน้าไปด้วยเพราะงั้นเราจึงต้องคิดมวลทั้งสามก้อน นั่นก็คือ F+G+H เป็นอีกหนึ่งระบบ

    M รวมสามก้อน = 21 kg
    A ของสามก้อน = 3 m/s2
    แรงที่จะผลักมวล 21 kg ให้มีความเร่ง 3 m/s2 จะต้องมีขนาด F = Ma = 21*3 = 63 N ครับ

    เพราะงั้นแรงที่ E ทำกับ F คือ 63 N ครับ
    โจทย์มันทำให้งงอ่ะนะ ที่แยกออกมาเป็นหลายๆก้อน แต่เวลาคิดให้คิดแบบนี้อ่ะ

    แบบมวลเรียงกัน แต่เราสนใจแค่ สองช่วง เพราะงั้นนอกเหนือจากนั้นก็เอา รวมกันได้เลย
    สรุปแล้วมันก็เหลืออยู่สองก้อน โดยแบ่งระหว่าง E กับ F นั่นเอง แล้วก็คิด แต่โจทย์ทั่วๆไปมันจะแยกก้อนมาให้เรางง แค่นั้นเอง

    ถึงตรงนี้ก็อยากจะบอกว่าไอ้สูตร F = ma เนี่ยคนส่วนใหญ่ชอบมองว่า ไอ้เจ้าตัว เนี่ยไม่มีความหมาย แต่แท้จริงแล้ว มันค่อนข้างมีความสำคัญเลยนะ (ที่บอกว่าค่อนข้างเพราะถ้าเข้าใจลึกซึ้งพอแล้ว จะเขียนไม่เขียนก็มีค่าเท่ากัน)
    ไอ้เจ้าตัว เนี่ย มันเป็นตัวบอกว่า เราต้องเอาแรงทั้งหมดที่ทำกับวัตถุที่เราพิจารณามารวมกันให้หมดก่อน แล้วเอาไปหารด้วยมวล จึงจะได้ความเร่งออกมา ซึ่งแรงจะเป็นเวกเตอร์ เพราะฉะนั้น เราต้องใส่เครื่องหมายเวลาคำนวณด้วย แต่เพื่อความสะดวก เราจะให้ตั้งสมการเอาแรงที่มากกว่าเป็น + แรงที่น้อยกว่าเป็น -
    เพื่อให้ผลลัพธ์เป็น + นั่นเอง ลองมาดูตัวอย่างกันอีกข้อแล้วกันนะครับ
    อันนี้เป็นเรื่องลิฟต์นะครับ

    กำหนดค่าตัวแปรแล้วกัน เผื่อใครเกลียดพวกตัวแปร(แต่ความจริงตัวแปรง่ายกว่านะ)
    a = 2m/s 2   m= 50 kg  g = 10m/s 2 N = ให้หา
    เวลาคิดก็ไม่มีอะไรมาก ตั้งสมการมันไปเลยว่า

    F = ma
    แล้วก็ใส่แรงรวมทั้งหมดเข้าไป ตรงนี้จะขออธิบายนิดนึงนะ
    เวลาจะใส่แรงรวม ก็ให้มองที่สิ่งที่เรากำลังจะคิด ในที่นี้ เรากำลังจะคิดที่คน ว่ามีแรงไรกระทำกับคนมั่ง
     แรงที่กระทำกับคนก็คือ แรงดึงดูดของโลก และ แรงที่พื้นดันขึ้น แต่แรงที่พื้นดันขึ้นมีมากกว่า
    คนเลยขึ้นด้วยความเร่ง 2
    m/s 2
    ตั้งสมการว่า
    N - mg = ma  ดูจากสมการ จะเห็นว่า คนถูกแรงดันขึ้นจากพื้น แต่ถูกดึงลงด้วย mg
    แทนค่าลงไป
    N - 500 = 50*2 แก้สมการจะได้ N มีค่า 600 N ครับ
    เห็นไม๊ว่า เวลาเราโดนยกขึ้นด้วยความเร่งอ่ะพื้นจะดันเราแรงขึ้น
    ในทางกลับกัน ถ้าเราลงด้วยความเร่ง พื้นจะดันเราเบาลงๆ
    ลองนึกถึงรถวิ่ง ตอนลงสะพานเร็วๆ มันจะมีความรู้สึก แบบ วูบๆอ่ะ
    นั่นคือก้นเราไม่ติดเบาะ หรือ
    N มันจะน้อยลงนั่นเอง

    บทหน้า เล่นเรื่องรอก ต่อด้วย แรงเสียดทาน แรงดึงดูดระหว่างมวล แรงสปริง แล้วค่อยสมดุล
    นิวตันนี่อีกยาวเลยแหละครับ กว่าจะได้ขึ้นเรื่องอื่น

    บทหน้า เล่นเรื่องรอก ต่อด้วย แรงเสียดทาน แรงดึงดูดระหว่างมวล แรงสปริง แล้วค่อยสมดุล
    นิวตันนี่อีกยาวเลยแหละครับ กว่าจะได้ขึ้นเรื่องอื่น

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×