ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เทคนิคช่วยจำฟิสิกส์

    ลำดับตอนที่ #13 : กฏการเคลื่อนที่ของนิวตัน

    • อัปเดตล่าสุด 9 เม.ย. 49


    กฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน

    กฏของนิวตันมี 3 ข้ออ่ะนะ ขออธิบายแบบละเอียดก่อนแล้วกัน แล้วจะสรุปให้ทีหลัง
    1. กฎของความเฉื่อย หมายถึง วัตถุจะพยายามรักษาสภาพที่มันเป็นอยู่ไว้ ให้นานที่สุด ก็คือ
    ถ้าวัตถุเดิมอยู่นิ่งก็จะอยู่นิ่งต่อไป หรือคงสภาพการเคลื่อนที่อย่างสม่ำเสมอเป็นเส้นตรง นอกเสียจากจะมีแรง
    ลัพธ์ที่มีค่าไม่เป็นศูนย์มากระทำ

    2. กฎการเคลื่อนที่ข้อที่ 2 ของนิวตัน
     ความเร่งของวัตถุแปรผันโดยตรงกับแรงลัพธ์ มีทิศทางเดียวกันกับ แรงลัพธ์ที่กระทำต่อวัตถุ และเป็นแปรผกผันกับมวลของวัตถุ สรุปก็คือ a จะแปรผันตาม F และแปรผกผันตาม m ตามสมการ F= ma ก็คือ ถ้าผลักแรงมาก วัตถุก็จะมีความเร่งเร็วมากอ่ะ ง่ายๆ ไม่ต้องคิดมาก
    ข้อสังเกตุ เมื่อมีแรงลัพธ์กระทำต่อวัตถุ(หมายถึงแรงทั้งหมดที่รวมกันนะ) จะทำให้วัตถุนั้นเคลื่อนที่ไปด้วยความเร่งเสมอ

    3. ทุกแรงกิริยาจะต้องมีแรงปฏิกิริยาขนาดเท่ากันมากระทำในทิศตรงกันข้ามกันเสมอ อันนี้เป็นเรื่องของการมองต่างมุมอ่ะ เช่น ถ้าเรากดสปริง เราก็จะรุ้สึกว่าสปริงดันเราด้วยแรงขนาดหนึ่ง และสปริงก็จะรุ้สึกว่าถูกเรากดด้วยแรงขนาดเท่ากัน

     แรงกิริยา (action) = แรงปฏิกิริยา (reaction)

    หลักการพิจารณาแรง
    1. แรงทั้ง 2ต้องกระทำกับวัตถุคนละก้อน
    2. มีทิศทางตรงกันข้าม
    3. ขนาดแรงเท่ากัน
    4. เกิดขึ้นพร้อมกัน

    เน้นกฏข้อสองหน่อยแล้วกัน เพราะจะพบเจอเยอะสุดอ่ะ
    สังเกตุว่าถ้าแรงที่ผลักมาก(F) ก็จะส่งผลให้วัตถุมีการเพิ่มความเร็ว(a)ที่มากขึ้นด้วย ผลักแรงยิ่งเร็ว
    สรุปว่าขึ้นกับ F
    แล้วก็ ถ้าออกแรงผลักวัตถุก้อนใหญ่ๆ กับก้อนเล็กๆ อย่างไหนน่าจะทำให้เกิดการเพิ่มความเร็วมากว่า (a) กัน
    ก็ต้องเป็น ก้อนเล็ก นี่ก็ใช้เซ้นตอบได้เพราะงั้น เมื่อแรงผลัก(F)เท่าเดิม แต่ถ้ามวลน้อย ก็จะทำให้มีความเร่งที่มากได้(a)
    สรุปได้ว่า F = ma โดย F คือแรงทั้งหมดที่ทำกับเฉพาะวัตถุนั้น  a คือความเร่งของวัตถุนั้น(ไม่ว่าจะรวมแบบเดี่ยวหรือแบบมองเป้นระบบ และ m คือค่าต้านแรงที่จะส่งผลให้ a มีค่าน้อยต่อไป
    บทหน้าจะขึ้นเกี่ยวกะการคำนวน และ เรื่องการแตกแรงต่างๆ

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×