ประวัติการเต้นฮิพฮอพ - ประวัติการเต้นฮิพฮอพ นิยาย ประวัติการเต้นฮิพฮอพ : Dek-D.com - Writer

    ประวัติการเต้นฮิพฮอพ

    มาดูประวัติการเต้นฮิพฮอพอันดุดัน

    ผู้เข้าชมรวม

    7,463

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    2

    ผู้เข้าชมรวม


    7.46K

    ความคิดเห็น


    9

    คนติดตาม


    1
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  4 ธ.ค. 50 / 12:47 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ










      การเต้น Hip Hop เป็นการเต้นตามจังหวะของดนตรี Hip Hop ซึ่งลักษณะที่สำคัญของดนตรีประเภทนี้จะเป็นการร้อง การพูด การแร็ป (Rap)  ประกอบกับดนตรีอีเล็คโทรนิก และเครื่องเคาะจังหวะประเภทต่างๆ (Percussions)  ซึ่งเป็นเพลงที่มีจังหวะที่เร็วปานกลางถึงเร็วมาก   ดังนั้นท่าทางของการเคลื่อนไหวจึงเป็นการเต้นที่เร็ว  มีการหยุด  การกระตุกของร่างกายในแต่ละส่วน (Isolation) หรือการ locking การย่อขาและโยกตัวตัวขึ้น-ลง (Bouncing) และการกระโดด (Hop) ไปตามจังหวะเพลง โดยผู้เต้นจะเต้นเน้นจังหวะตามจังหวะของกลองและเสียงกีตาร์เบส  มีการเลียนแบบการเคลื่อนไหวของหุ่นยนต์  และกิริยาอาการต่างๆในชีวิตประจำวันของคนเราแล้วนำมาปรับเปลี่ยนเป็นท่าเต้นท่าต่างๆเพื่อความหลากหลายมากขึ้น  นอกจากนี้แล้วนักเต้น Hip Hop ยังมักนิยมนำเอาการเต้นเบรคแดนซ์ (Break Dance) มาเต้นประกอบการเต้น Hip Hop อีกด้วย

      การที่การเต้นประเภท Hip Hop กลายเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายอย่างรวดเร็วในกลุ่มวัยรุ่นของไทย จึงทำให้สถาบันสอนเต้นรำหลายสถาบันในประเทศเพิ่มการเต้น Hip Hop เข้าไว้เป็นหนึ่งในวิชาที่เปิดสอนของสถาบันนั้นๆ จึงยิ่งเป็นการทำให้การเต้นประเภทนี้แพร่ขยายไปเร็วขึ้นอีก

      ถึงแม้ว่าการเรียน Hip Hop จะเริ่มได้ตั้งแต่อายุประมาณ 8-9 ปี แต่กลุ่มนักเรียน Hip Hop ในประเทศไทยมักจะเริ่มตั้งแต่เด็กวัยรุ่นอายุตั้งแต่ประมาณ 12-13 ปีเป็นต้นไปจนถึงวัยคนทำงาน โดยมีจุดประสงค์เพื่อต้องการแสดงในงานกิจกรรมต่างๆที่โรงเรียนจัดขึ้น เพื่อต้องการเป็นที่ยอมรับในกลุ่มเพื่อน  เพื่อการแข่งขันหรือการประกวดเต้นรำต่างๆ  และเพื่อความสนุกสนาน รวมไปทั้งถือว่าเป็นการออกกำลังกายอีกประเภทหนึ่งด้วยเช่นกัน 

      ครูสอนเต้นรำที่ดีควรมีประสบการณ์ทั้งทางด้านการสอนและการแสดงค่อนข้างมาก เช่น เดียวกับการสอนการเต้น Hip -Hop ซึ่งผู้สอนควรที่จะต้องมีประสบการณ์จึงจะสามารถสอนให้นักเรียนได้รับทั้งความรู้ ความสนุกสนาน และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ การเต้น Hip Hop นอกจากจะเป็นการเต้นที่เป็นการนำท่าเต้นต่างๆที่มีผู้คิดค้นเอาไว้แล้ว และเป็นที่นิยมเต้นกันอย่างแพร่หลายมาสอนในชั้นเรียนแล้ว  ยังสามารถเกิดจากการคิดท่าเต้นขึ้นมาใหม่เพื่อการสอนและการแสดงอีกด้วย   ลักษณะการเรียนการสอนการเต้น  Hip Hop จึงมักจะขึ้นอยู่กับหลักการและประสบการณ์ของครูผู้สอนเป็นสำคัญ  แต่ในบางสถาบันยังจะขึ้นอยู่กับนโยบายของผู้บริหารสถาบันอีกประการหนึ่งด้วย

      ดังที่กล่าวไปแล้วว่าวิธีการเรียนการสอน Hip Hop นั้นไม่ได้มีหลักการที่แน่นอนและตายตัว และมักจะขึ้นอยู่กับประสบการณ์  ความสามารถและความถนัดของครูผู้สอนเป็นสำคัญ  เช่นถ้าครูผู้สอนไม่สามารถเต้นท่าเบรคแดนซ์ได้ ก็มักจะสอนในท่าที่ง่ายๆหรือคิดออกแบบท่าเต้นที่ตนเองถนัดขึ้นมา ครูที่มีความสามารถในการเต้นหลายๆด้านก็จะมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และสามารถสอนได้มีประสิทธิภาพมากกว่า  


      อาชีพที่ได้ชื่อว่าเป็นนักเต้นหรือภาษาอังกฤษเรียกว่า Dancer เป็นทั้งผู้ออกแบบท่าเต้นและเต้นให้กับศิลปินต่างๆ
                     

      หลักและวิธีการการเต้น Hip Hop  จะแบ่งออกเป็น 6 ขั้นตอน   ได้แก่

      • การอบอุ่นร่างกาย (Warm Up) โดยครูผู้สอนจะนำการอบอุ่นร่างกายในทุกส่วนตั้งแต่ศรีษะจรดเท้า ได้แก่ คอ ไหล่ ลำตัวช่วงบน (Rips) ช่วงกลางลำตัว สะโพก เข่า ขา  และเท้า โดยจะป็นการเคลื่อนไหวแบบแยกส่วน (Isolate)ไปในทิศทางต่างๆที่ร่างกายมนุษย์สามารถทำได้  เช่น ด้านหน้า ด้านข้างทั้งสองข้าง ด้านหลัง และการเคลื่อนร่างกายส่วนต่างๆเป็นวงกลม  เป็นต้น ท่าที่ใช้ในการอบอุ่นร่างร่างกายจะเป็นการฝึกท่าเต้นและการเคลื่อนไหวร่างกายในสไตล์ Hip Hop ขั้นพื้นฐานอีกด้วย โดยการนำท่าฝึกหัดต่างๆมาเต้นต่อเนื่องกัน

      • การโยกตัว (Hop) เป็นการฝึกที่เริ่มจากการงอลำตัวมาทางด้านหน้า แล้วยืดตัวขึ้น โดยทำซ้ำๆกันหลายๆครั้ง แล้วเริ่มงอเข่า (ย่อเข่า) แล้วยืดเข่า(ไม่จำเป็นต้องยืดเข่าสุด) ทำซ้ำหลายๆครั้งต่อเนื่องกันไปตามจังหวะ เมื่อคล่องแล้วจึงโยกตัวและย่อเข่าไปพร้อมๆกัน แล้วจึงเริ่มก้าวเท้าไปยังทิศทางต่างๆ เช่น ด้านข้างซ้าย ด้านขวา ด้านหน้า และด้านหลัง เป็นต้น ต่อมาจึงเริ่มใช้ข้อศอกและแขนงอและตึงไปตามจังหวะของขา

      • การเดิน (Walking) ประกอบด้วยการก้าวสไลด์เท้า ก้าวขา และหันตัวไปในทิศทางต่างๆโดยใช้เทคนิคการย่อขา  การถ่ายน้ำหนักจากขาหนึ่งไปยังอีกขาหนึ่ง และยืดขาเพื่อให้ลำตัวเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง

      • การล็อกตัว (Locking) คือการเคลื่อนไหวร่างกายแบบกระตุกแล้วหยุด  สามารถฝึกได้ทั้งการกระตุกเฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย และการรวมกันของส่วนของร่างกายมากกว่าหนึ่งส่วนขึ้นไปประกอบกันเป็นท่าต่างๆ

      • การเต้นแบบหุ่นยนต์ (Robot) เป็นการเต้นเลียนแบบการคลื่อนไหวของหุ่นยนต์ โดยการเริ่มฝึกจะเป็นการเคลื่อนไหวร่างกายไปทีละส่วน เช่นการใช้แขนยกขึ้น กระตุกเล็กน้อยแล้วหยุด สามารถทำได้ทั้งแขนเดียวขึ้นลงสลับกัน และทั้งสองแขนเคลื่อนไปพร้อมๆกัน เป็นต้น โดยสามารถเคลื่อนไหวได้ทุกส่วนของร่างกายเช่นเดียวกัน ท่าทางการเคลื่อนไหวแบบหุ่นยนต์มักใช้ประกอบในการเต้นเพื่อโชว์ถึงความสามารถพิเศษของผู้เต้น  เพื่อเป็นการเพิ่มความน่าสนใจและความหลากหลายในการแสดง เป็นต้น

      • การเต้นระบำ (Routine) เป็นการนำท่าเต้นต่างๆที่ฝึกมาเต้นประกอบดนตรีแบบต่อเนื่องกัน โดยผู้สอนจะค่อยๆเริ่มต่อท่าซึ่งมักเรียกกันว่าเป็นการต่อท่าเซ็ท (Set) ทีละน้อย การเต้นระบำจะเป็นกลุ่มท่าที่ครูผู้สอนได้ออกแบบและเรียบเรียงขึ้นเพื่อเป็นการฝึกทักษะขั้นสูงขึ้นและไม่นิยมใช้ท่าเดียวกันเต้นซ้ำไปมาเหมือนกับการฝึก exercise ต่างๆ  ครูผู้สอนมักออกแบบท่าทางให้เหมาะสมกับความสามารถของนักเรียนส่วนใหญ่ในชั้นเรียน โดยมีการพัฒนาโดยการเพิ่มจำนวนท่าเต้นให้ยาวขึ้นในแต่ละครั้งที่มีการเรียนการสอน และอาจมีการปรับเปลี่ยน ท่าให้มีความยากขึ้นโดยใช้ท่าที่ต้องใช้ทักษะและความแข็งแรงของร่างกายมากขึ้น ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับความสามารถของนักเรียนในชั้นเป็นสำคัญ



      อ้างอิงจาก www.le-studio-dance.com

      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×