ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ภัยอันตรายในชีวิตประจำวัน.

    ลำดับตอนที่ #6 : อันตรายจากเส้นก๋วยเตี๋ยว

    • อัปเดตล่าสุด 1 เม.ย. 52


    เส้นใหญ่ อันตรายที่สุด

    แฉโรงงานผลิตกว่าร้อยละ 50 ไม่ได้มาตรฐาน ชี้กระบวนการผลิตมีวัตถุกันเสียปนเปื้อนอื้อ     แถมใช้น้ำมันเก่าผสมน้ำมันพืชมีสารก่อมะเร็ง สารส้มก่อให้เกิดโรคประสาท ไตอักเสบ ระบบกระดูกและโรคมะเร็ง

    เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม ที่อาคารเอสเอ็ม ทาวเวอร์ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)  แถลงข่าว "แกะซอง มองเส้น มหันตภัยร้ายแฝงเร้นในก๋วยเตี๋ยว" โดยมี ผศ.ดร.บัณฑิต อินณวงศ์    ผู้ประสานงานชุดโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ฝ่ายอุตสาหกรรม กล่าวว่า

    ได้ออกสำรวจโรงงานอุตสาหกรรมเกี่ยวกับเส้นก๋วยเตี๋ยว ตั้งแต่ปี 2549-2551 พบว่า โรงงานส่วนใหญ่มีปัญหาตั้งแต่วัตถุดิบ กระบวนการผลิต การจัดการ ตัวผลิตภัณฑ์ การขนส่ง     ตัวแทนจำหน่าย และร้านค้าที่ผลิตเมนูก๋วยเตี๋ยว เกี่ยวกับการผลิตเส้นก๋วยเตี๋ยวอย่างถูกวิธี

    รวมไปถึงผู้บริโภค ที่ยังขาดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริโภคก๋วยเตี๋ยวอย่างถูกต้อง เพราะคนซื้อไม่ได้มีความรู้ในการเลือกซื้อเส้นก๋วยเตี๋ยวที่ถูกสุขลักษณะ  อีกทั้งคนกินก็ไม่เคยทราบว่า เส้นก๋วยเตี๋ยวที่กินเข้าไปนั้น ผลิตอย่างไร จึงทำให้ผู้บริโภคได้รับอันตรายจากการรับประทานเส้นก๋วยเตี๋ยวโดยไม่รู้ตัว

    ผศ.ดร.บัณฑิตกล่าวอีกว่า จากการสำรวจโรงงาน 10 แห่ง ปี 2551 พบว่า โรงงานทั้ง 10 แห่ง เกิน 50% ใช้สารที่ยังไม่สามารถตรวจสอบได้ว่าปลอดภัยต่อร่างกายหรือไม่

    เนื่องจากทุกโรงงาน ต่างใช้น้ำมันหัวเชื้อ ที่ยังไม่มีผลวิจัยสรุปได้ว่าน้ำมันหัวเชื้อ ซึ่งเมื่อผสมกับน้ำ มีลักษณะคล้ายน้ำนมนั้น มีสารเคมีชนิดใดผสมอยู่บ้าง  เพราะ 80% จากการตรวจยังไม่พบสารเคมีที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย แต่ 20% ที่เหลือยังไม่สามารถระบุได้ว่ามีอันตรายหรือไม่

    ทั้งนี้ การผลิตเส้นก๋วยเตี๋ยวยังเติมสารวัตถุกันเสียหลายชนิด เพื่อให้เส้นก๋วยเตี๋ยว เหนียว นุ่ม อยู่ได้นานตามความต้องการของผู้บริโภค หรือพ่อค้า แม่ค้า แต่ในความเป็นจริง   เส้นก๋วยเตี๋ยวหากไม่ใส่วัตถุกันเสีย

    โดยเฉพาะเส้นใหญ่ที่มีสารวัตถุกันเสียมากปนเปื้อนมากกว่าเส้นเล็ก เส้นบะหมี่ หรือเส้นหมี่ เพราะเป็นเส้นที่เสียเร็วที่สุด เก็บไว้ได้เพียง 2-3 วันเท่านั้น ดังนั้น เส้นก๋วยเตี๋ยวที่โรงงานผลิต เพื่อจัดจำหน่ายอยู่ในขณะนี้เก็บได้ถึง 7 วัน แสดงว่าใช้วัตถุกันเสียเยอะมาก

    ส่วนวัตถุกันเสียที่ใช้มาก ได้แก่ สารส้ม หรือแอมโอเนียม อะลูมินัม ซัลเฟต ที่พบมาก และปริมาณที่ใช้เกินกว่าที่กำหนดไว้ตามมาตรฐานน้ำดื่มบรรจุขวดไม่เกิน 0.2 มิลลิกรัมต่อลิตร    แต่ในเส้นก๋วยเตี๋ยวมีปริมาณอะลูมินัม อยู่ 620 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม

    หมายความว่า หากรับประทานก๋วยเตี๋ยว 1 ชามต่อวัน มีเส้นก๋วยเตี๋ยวในชามประมาณ 100 กรัม แสดงว่าได้รับอะลูมินัม ประมาณ 64 มิลลิกรัมต่อ 1 ชาม หากรับประทานตลอดทั้งวัน     คือ 3 มื้อจะได้รับอะลูมินัม 184 มิลลิกรัม

    และหากรับประทานก๋วยเตี๋ยวสัปดาห์ละ 7 มื้อ ก็จะได้รับ 22.32 กรัมต่อปี ซึ่งจากงานวิจัยในต่างประเทศ หากคนเราได้รับอะลูมินัมต่ำกว่า 5 มิลลิกรัมต่อวันจะไม่ส่งผลต่อสุขภาพ   แต่เมื่อร่างกายได้รับตั้งแต่ 50-200 ไมโครกรัมต่อลิตร
    จะทำให้เกิดผลต่อระบบการทำงานของระบบประสาท การทำงานของไต และกรวยไตต้องทำงานหนักมากกว่าปกติก่อให้เกิดการอักเสบ และมีผลต่อระบบกระดูก รวมทั้งเป็นสารที่ก่อให้เกิด   โรคมะเร็งอีกด้วย

    "อันตราย จากเส้นก๋วยเตี๋ยวนั้นมีสูงมาก โดยเฉพาะเส้นก๋วยเตี๋ยวสด อย่างเส้นใหญ่ ที่ผ่านกระบวนการผลิตที่มีการเติมวัตถุกันเสียหลายชนิด เช่น กรดเบนโซอิค ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ฯลฯ     เพื่อยับยั้งเชื่อรา และจุลินทรีย์ ไม่ให้เจริญเติบโต

    ซึ่งตามเกณฑ์มาตรฐานกำหนดไว้ คือ 1,000 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม แต่จากการตรวจพบวัตถุกันเสียในเส้นก๋วยเตี๋ยวเกินกว่าเกณฑ์ที่มาตรฐานกำหนด ทั้งสิ้น" ผศ.ดร.บัณฑิตกล่าว

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×