คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #2 : พ่อแม่ที่มีลูกเก่ง
พ่อแม่ที่มีลูกเก่ง
ศาสตราจารย์นายแพทย์
ได้สรุปจากงานวิจัยพ่อแม่ที่มีลูกเก่งมักมีลักษณะดังต่อไปนี้คือ
1. พูดคุยและเล่นกับลูกมาก ที่สำคัญคือการปฏิสัมพันธ์แบบสองทาง คือ พูดคุย
และฟังลูก ไม่ใช่พูดกับลูกฝ่ายเดียว การเล่นกับลูกด้วยใจที่เกี่ยวข้องด้วยมิใช่เล่นแบบขอไปที
เด็กก่อนวัยเรียนทันทีที่เริ่มเล่นได้มักจะชวนคุณพ่อคุณแม่มาเล่นด้วย หลายคนมักได้รับคำตอบ
ว่า “เดี๋ยว” “ไปเล่นกับพี่ไป” “พ่อแม่ไม่มีเวลา” “ลูกเล่นคนเดียวไปก่อนนะลูก” ฯลฯ เมื่อลูกขยัน
Ηจิตแพทย์เด็กโรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ถามพ่อแม่ก็ควรขยันตอบ มิใช่ตอบว่า “เด็กอะไรถามซ้ำซากไม่รู้จักจบ หยุดได้แล้ว รำคาญ”
ฯลฯ ผลก็คือ เราเสียโอกาสเด็กเสียโอกาส
2. รู้ใจลูก พ่อแม่ที่มีลูกเก่งมักอ่านใจ อ่านอาการทางกายของลูกออก เช่น รู้สึกว่า
ลูกเบื่อแล้ว ตอนนี้ไม่พร้อมคุยหรือเรียน หรือรู้ว่าลูกอยากได้ประสบการณ์แบบใด เมื่อรู้ใจก็รู้เวลา
จังหวะในการเพิ่มสติปัญญาในการสอนให้u3585 กับเด็ก ปัจจุบันพ่อแม่หลายคนไม่ได้ “รู้ใจ” ลูก แต่
หาก “เดาใจ” ชอบคิดแทนลูกไปเสียทุกเรื่องโดยคิดว่าถ้าเราชอบหรือรู้สึกเช่นนี้ ลูกน่าจะชอบและ
คิดเช่นนี้ด้วย เคล็ดลับของการรู้ใจลูกคือการฟังให้มากและหมั่นสังเกตอารมณ์ของลูกอย่าพูดมาก
แต่ฟังให้มาก บางครั้งไม่รู้ว่าลูกคิดอย่างไร ก็ถามตรง ๆ เช่น “ลูกคิดอะไรอยู่” “เกิดเรื่องแบบนี้
ทำให้ลูกรู้สึกอย่างไร”
3. สนับสนุนลูก พ่อแม่ที่มีลูกเก่งมักสนับสนุนลูกตามกำลังความสามารถของตน เช่น
เด็กกำลังทำงานตัวปะต้องการกรรไกรเพิ่มพ่อแม่ก็จัดหาให้ เด็กเหนื่อยจากการเรียนก็หาอาหาร
ว่างหรือน้ำเย็น ๆ ให้ เด็กต้องการหนังสือประกอบการเรียนบางวิชาก็สนับสนุนลูก เป็นต้น
4. หาประสบการณ์ กิจกรรม ของเล่น ที่หลากหลาย ต่างจากข้อ 3 เล็กน้อย
คือ พ่อแม่ต้องคิดหาประสบการณ์ กิจกรรม ของเล่นที่เหมาะสมกับวัยให้ลูกโดยไม่ต้องให้ลูกขอ
เพราะเราโตกว่า มีประสบการณ์มากกว่าเด็ก เราอาจคิดหรือเห็นบางอย่างที่ลูกคิดไม่ถึง การพา
ไปดูสิ่งแปลกใหม่ การเปิดโอกาสให้เด็กได้เพิ่มพูนประสบการณ์ที่หลากหลาย ย่อมทำให้เด็กได้
พัฒนาแนวคิดอย่างหลากหลาก ทำให้สติปัญญาดีขึ้น สรุปคือเห็นมาก สัมผัสมาก ทำมากก็
ฉลาดขึ้น
5. สอนตรง อยากให้เด็กเก่งอะไรก็สอนสิ่งนั้น เช่น อยากให้อ่านหนังสือเก่งก็สอน
อ่านหนังสือ อยากให้เก่งดนตรีก็สอนดนตรี ฯลฯ การเรียนพิเศษทักษะบางชนิดก็คือ การสอนตรง
นั่นเอง แต่อย่าลืมดูข้อรู้ใจลูกด้วย บางทีการพยายามสอนตรงมากกลับเป็นผลเสีย คือกลายเป็น
การบังคับยัดเยียดให้ลูกจนเกิดปัญหา
ขอสรุปว่า จะเห็นว่า 5 ข้อดังกล่าวข้างต้นเป็นเรื่องของโอกาส หัวใจสำคัญมิใช่การ
“ยัดเยียด” สิ่งต่าง ๆ ให้เด็ก หากเป็นเรื่องปฏิสัมพันธ์โดยที่พ่อแม่เปิดโอกาสและเด็กเป็นผู้ออกแรง
สมองแรงกายในการเรียนรู้ ขณะที่พ่อแม่สนับสนุนเต็มที่ งานวิจัยพบว่าปัจจัย 5 ข้อข้างต้นมีความ
สำคัญอย่างมากในวัยเด็ก 2-5 ปี ในวัยอื่นปัจจัยข้างต้นก็เป็นเรื่องสำคัญ เพียงแต่ว่าวัยทองยังอยู่
ที่อายุ 2-5 ปี ผมอยากยกตัวอย่างการทดลองอันหนึ่งในหนู คือผู้วิจัยศึกษาเปรียบเทียบหนูสอง
กลุ่ม กลุ่มแรกเป็นหนูที่มีโอกาสอยู่อย่างสบายมีเครื่องเล่น กระตุ้นให้แก้ปัญหามากมายหลายทาง
ในกรง ส่วนหนูอีกกลุ่มหนึ่งอยู่ในกรงเปล่า ๆ ค่อนข้างแห้งแล้วในเรื่องกิจกรรมและเครื่องเล่น ผล
การทดลองผ่านไประยะหนึ่งหนูที่มีโอกาสมากกว่าจะฉลาดกว่า แก้ปัญหาเก่งกว่า เมื่อหนูตายผู้
ทดสอบเปรียบเทียบน้ำหนักและขนาดสมองพบว่าหนูที่มีโอกาสมากมีสมองใหญ่กว่า มีรอยหยัก
มากกว่า และเมื่อตัดชิ้นเนื้อสมองมาส่องกล้องจุลทรรศน์ก็พบว่าสมองของหนูที่มีโอกาสมากกว่า
มีสมองเซลล์และใยประสาทต่อกันซับซ้อนกว่า ยังมีการทดลองที่คล้ายกันนี้ในลิงก็พบผลเช่นเดียว
กัน ผมอยากจะเน้นว่าความเก่งนี้ถูกควบคุมด้วยสองปัจจัย ปัจจัยแรกคือกรรมพันธุ์เป็นเรื่องของ
สมองที่ถ่ายทอดมาจากพ่อแม่ ปัจจัยที่สองคือสิ่งแวดล้อม ปัจจัยแรกเราคงควบคุมลำบากเพราะ
ผ่านมาแล้ว ปัจจัยที่สองซึ่งสำคัญไม่แพ้กันคือ สิ่งแวดล้อมทั้ง 5 ข้อตามที่เล่าให้ฟังข้างต้น
คุณอาจเป็นคนที่ให้โอกาสลูก คุณอาจมีลูกที่เก่ง แต่คุณอาจมีลูกที่นิสัยไม่ดี มีคุณธรรม
น้อยก็ได้ เพราะงานวิจัยชี้ให้เห็นชัดว่าการเลี้ยงลูกให้เป็นคนดี มีอารมณ์ที่ดีมีปัจจัยต่างกับการ
เลี้ยงลูกให้เก่ง ลองมาดูกันครับ
ความคิดเห็น