Witch & Rym มหัศจรรย์มนตราอลเวง
นิยายเเฟนตาซีเบาสมอง ที่จะทำให้คุณอมยิ้มไปกับชีวิตของเขามนุษย์ธรรมดาเเต่ไม่ธรรมดาเเละเธอผู้มีตัวตนอยู่เหนือธรรมชาติ จะเป็นเช่นไรเชิญผ่อนคลายเเล้วรับชมกันได้เลยครับ... ปล.จะอัพต่อเนื่องไม่หายไปนานๆอีกเเล้วครับ สาบาน - - 3 นิ้ว
ผู้เข้าชมรวม
2,720
ผู้เข้าชมเดือนนี้
8
ผู้เข้าชมรวม
ข้อมูลเบื้องต้น
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
***************************************************************
เขา มนุษย์ผู้มี เศษเวทมนต์ลับเเห่งโนอาอยู่ภายในร่าง รีม...
เธอ ผู้ที่ใช้พลังมนตราเเละอยู่เหนือธรรมชาติ วิช หรือ เเม่มด...
????????????????????????????????????????
????????????????????????????????????????
????????????????????????????????????????
เรื่องราวทั้งหมดเรื่องต้นจากจุดนั้น...
WITCH & RYM
-----------------------------------------------------------------------------------
ข้อมูลเล็กน้อย
1.วิช/เเม่มด---ผู้ที่ใช้พลังลึกลับเหนือธรรมชาติเเละมีตัวตนเพื่อกำจัดเชสทั้งหลายที่คุ้มคลั่งเพราะการกัดกินสิ่งพิเศษมากเกินไป โดยที่เเม่มดเเต่ละตนนั้นจะมีธาตุประจำตัวต่างกันไปเเละเเต่ละธาตุจะไม่สามารถใช้เวทมนต์ธาตุอื่นที่ไม่ใช่ธาตุของตนได้ เเต่ก็มีกรณียกเว้นเช่นกันที่เเม่มดบางตจะสามารถใช้เวทมนต์ได้หลากหลายมากกว่า 1 ธาตุ เช่น อีล นางเอกของเรื่องนั่นเอง (ธาตุจะสังเกตได้จากสีของเวทที่ร่าย)
2.เชส----สิ่งที่มีตัวตนอยู่เพื่อกำจัดสิ่งพิเศษที่ยังไม่สมควรจะเกิดขึ้นมาในช่วงเวลานั้น โดยจะมีเชสบางกลุ่มที่ไม่กำจัดตามหน้าที่เเต่กลับกำจัดเพื่อสร้างเสริมให้ตนเองมีพลังเเข็งเเกร่งยิ่งขึ้น โดยเชสเองก็มีจัดระดับในกลุ่มของพวกมันเองด้วยเช่นกัน
3.รีม --- มนุษย์ที่มีเศษมนตราลับเเห่งโนอาอยู่ภายในร่าง เนื่องจากสิ่งที่ว่านี้ทำให้ตกเป็นเป้าหมายของเชสเพราะถ้าหากเชสได้พลังตัวนี้มาจะทำให้เชสยิ่งเเข็งเเกร่งมากยิ่งขึ้น เเต่กลับกันถ้าหากเเม่มดทำพันธะสัญญาด้วยก็จะกลายเป็น การ์ท ออฟ วิช ผู้ช่วยที่เเข็งเเกร่งของเเม่มดได้ โดยเศษมนตราลับเเห่งโนอานี้จะมีความสามารถพิเศษอยู่ภายในเเตกต่างกันไป
4. การ์ท ออฟ วิช---- องครักษ์ หรือ อัศวินที่จะอยู่ต่อสู้เคียงข้างไปกับเเม่มดนั่นเอง โดยผู้ที่จะเป็นได้นั้น จะต้องเป็นรีมด้วยเช่นกัน
5. เซโร่ โซน ---- อาณาเขตทีจะปรากฏออกมาเองโดยอัตโนมัติเมื่อเเม่มดอยู่ใกล้กับเชสที่กำจัดสิ่งพิเศษมากเกินควร เเม่มดหรือเชสอาจจะสร้างขึ้นเองก็ได้
ข้อมูลเบื้องต้นยังไม่จบเพียงเเค่นี้ มันยังสามารถเพิ่มขึ้นได้อีกเมื่อเรื่องดำเนินไปสักพัก หวังว่าข้อมูลนี้จะทำให้ผู้อ่านทั้งหลายสามารถเข้าใจเนื้อเรื่องได้มากขึ้น
-------------------------------------------------------
คราวนี้เเน่นอนเตรียมพบกันอาทิตย์ละตอนถึงสองตอนเเน่นอนครับผ้ม
ผลงานอื่นๆ ของ Keyblade ดูทั้งหมด
ผลงานอื่นๆ ของ Keyblade
"แฟนตาซีบุ๊คคริติก"
(แจ้งลบ)ผู้วิจารณ์ : ผู้สร้าง ภาษาที่ใช้ : 13/25 คะแนน - เอกลักษณ์ ภาษาที่ใช้นี้ยังไม่มีความเป็นเอกลักษณ์นะครับ กล่าวคือไม่ให้ความรู้สึกว่า จัมพ์ ออฟ เดอะ เพจ หรือนอกกรอบภาษาที่ใช้ของนักเขียนนิยายเด็กดีส่วนมาก - ง่ายกว่าที่จะนำคำเอฟเฟ็คต์มาใช้แทนการบรรยาย มีการใช้คำ เอฟเฟ็คต์ เยอะมาก, นิยายนั้น หลัก ... อ่านเพิ่มเติม
ผู้วิจารณ์ : ผู้สร้าง ภาษาที่ใช้ : 13/25 คะแนน - เอกลักษณ์ ภาษาที่ใช้นี้ยังไม่มีความเป็นเอกลักษณ์นะครับ กล่าวคือไม่ให้ความรู้สึกว่า จัมพ์ ออฟ เดอะ เพจ หรือนอกกรอบภาษาที่ใช้ของนักเขียนนิยายเด็กดีส่วนมาก - ง่ายกว่าที่จะนำคำเอฟเฟ็คต์มาใช้แทนการบรรยาย มีการใช้คำ เอฟเฟ็คต์ เยอะมาก, นิยายนั้น หลักอยู่ที่การบรรยายทุกอย่างให้ออกมาเป็นตัวอักษรให้ได้ การใช้คำเอ็ฟเฟ็คต์นั้นควรจะใช้ในกรณีที่สิ่งนั้น ๆ ไม่สามารถบรรยายออกมาเป็นตัวอักษรได้เลยจริง ๆ (ซึ่งอันที่จริงแล้วนักเขียนควรจะสามารถบรรยายทุกอย่างให้ออกมาเป็นคำพูด หรือตัวอักษรได้) - ทับศัพท์ภาษาอังกฤษ หลายคำสามารถแปลเป็นภาษาไทยได้ ก็ควรจะแปลเป็นภาษาไทยมากกว่า แต่ถ้ากรณีเป็นชื่อเฉพาะแล้วอยากใช้ทำศัพท์เพื่อให้ฟังดูดี ก็ควรจะตรวจสอบไวยากรณ์ก่อน เช่น การ์ท ออฟ วิช (Guard of Witch) อันนี้น่าจะเป็น การ์เดี้ยน ออฟ เดอะ วิช หรือเปล่า? (Guardian of the witch) เพราะ จริงอยู่ที่คำว่า การ์ด สามารถทำหน้าที่เป็นคำนามได้ แต่มันจะเป็นลักษณะของทหารยาม ฯลฯ สรุปก็คือการนำชื่อทับศัพท์มาใช้ ไวยากรณ์ควรจะมีการตรวจสอบนิดหนึ่ง ความน่าสนใจ หรือความน่าติดตาม : 11/20 คะแนน - ความน่าสนใจ ความน่าติดตาม บทนำคือส่วนสำคัญที่สุด สำคัญมากพอ ๆ กับบทสุดท้ายของนิยายเลยทีเดียว เพราะฉะนั้นบทนำควรจะมีความดึงดูดมากถึงมากที่สุด ในที่นี้ยังถือว่ามีความน่าสนใจในระดับหนึ่ง และในเมื่อบทนำมีความน่าสนใจในระดับหนึ่ง ไม่ใช่ น่าสนใจมาก ตัวที่จะช่วยก็คือบท ต่อ ๆ ไป ในที่นี้ยังไม่มีความน่าติดตามเท่าไรนัก - การนำเสนอสิ่งใหม่ มีการนำเสนอสิ่งใหม่ คือ แนวคิดของ ผู้ปกป้องแม่มด ความมีมิติของตัวละคร ความมีลักษณะเฉพาะของตัวละครแต่ละตัว : 8/15 คะแนน - คำพูดของตัวละครแต่ละตัว ตัวละครแต่ละตัวมีลักษณะการพูดต่างกันในระดับหนึ่ง แต่แค่ระดับหนึ่งก็เพียงพอ เพราะชีวิตจริงลักษณะการพูดของคนก็ไม่ได้มีหลายรูปแบบอะไรมากมาย - อุปนิสัย อุปนิสัยของตัวละครถูกนำเสนอผ่านวิธีที่ง่าย ๆ ความสมจริงของฉาก ความเป็นเหตุเป็นผล ความน่าเชื่อถือ การตัดสินใจของตัวละคร ความเป็นมนุษย์ ฯลฯ : 8/15 คะแนน - ฉาก ในส่วนของฉากนี้หมายถึงเรื่องของ ความเป็นเหตุเป็นผลทางสภาพภูมิศาสตร์ เช่น สภาพอากาศร้อน ร้อนจัด หนาว หนาวจัด ควรจะมีพืชประเภทนี้หรือไม่ ฯลฯ ในที่นี้ไม่ค่อยมีการบรรยายถึงฉากมากพอที่จะตัดสินเรื่องภูมิศาสตร์ที่เป็นไปได้ - ตัวละคร ที่เห็นชัดสุดคือ คำอุทาน ของตัวละคร ในการแต่งผู้เขียนควรนึกภาพตามว่าถ้าผู้เขียนไปอยู่ในสถานการณ์เช่นนั้น แล้วจะทำแบบเดียวกับตัวละครหรือไม่ และคำบางคำมีใช้ในหนังสือการ์ตูน แต่ไม่มีในชีวิตจริง เช่น คำว่า "ว้าก" การที่จะมีคนตะโกนคำว่า "ว้าก" ไม่ว่าในสถานการณ์ใดก็ไม่สมเหตุสมผล - การตัดสินใจ ไม่เป็นเหตุเป็นผล ที่เห็นได้ชัดคือ ในตอนสุดท้ายที่ตัวเอกตัดสินใจวิ่งฝ่าดงอสูรกาย ในตรงนี้ส่วนที่เห็นได้ชัดคือขาดอารมณ์กลัวของมนุษย์ ความสามารถในการสื่ออารมณ์ถึงผู้อ่าน ผู้อ่านเข้าถึงตัวละครได้แค่ไหน เข้าใจความรู้สึกที่ต้องการสื่อออกมาจาก ตัวอักษร หรือไม่ : 7/15 คะแนน - อารมณ์ มีส่วนของการบรรยายความรู้สึกของตัวละครบ้าง แต่น้อย และส่วนคำบรรยายความรู้สึกก็สั้น ๆ ไม่มีการเน้นย้ำหรือเปรียบเทียบ การค้นคว้าของผู้เขียน / ผู้อ่านได้ความรู้บางอย่างเพิ่มเติมในการอ่านนิยายเรื่องนั้น ๆ หรือไม่ เพียงใด : 0/5 คะแนน และ คะแนนพิเศษ (ขึ้นอยู่กับผู้วิจารณ์) : 3/5 คะแนน - อารมณ์ดี นิยายแบบนี้สำหรับผู้ชื่นชอบ ก็จะชอบไปเลย อ่านแล้วเบาสมอง รวม : 50/100 คะแนน เหรียญที่ได้รับ : เหรียญทองแดง กรุณาไปกรอกเอกสารเพื่อขอรับเหรียญรางวัลต่อไป อ่านน้อยลง
FantasyBookCritic | 4 มี.ค. 53
13
0
"แฟนตาซีบุ๊คคริติก"
(แจ้งลบ)ผู้วิจารณ์ : ผู้สร้าง ภาษาที่ใช้ : 13/25 คะแนน - เอกลักษณ์ ภาษาที่ใช้นี้ยังไม่มีความเป็นเอกลักษณ์นะครับ กล่าวคือไม่ให้ความรู้สึกว่า จัมพ์ ออฟ เดอะ เพจ หรือนอกกรอบภาษาที่ใช้ของนักเขียนนิยายเด็กดีส่วนมาก - ง่ายกว่าที่จะนำคำเอฟเฟ็คต์มาใช้แทนการบรรยาย มีการใช้คำ เอฟเฟ็คต์ เยอะมาก, นิยายนั้น หลัก ... อ่านเพิ่มเติม
ผู้วิจารณ์ : ผู้สร้าง ภาษาที่ใช้ : 13/25 คะแนน - เอกลักษณ์ ภาษาที่ใช้นี้ยังไม่มีความเป็นเอกลักษณ์นะครับ กล่าวคือไม่ให้ความรู้สึกว่า จัมพ์ ออฟ เดอะ เพจ หรือนอกกรอบภาษาที่ใช้ของนักเขียนนิยายเด็กดีส่วนมาก - ง่ายกว่าที่จะนำคำเอฟเฟ็คต์มาใช้แทนการบรรยาย มีการใช้คำ เอฟเฟ็คต์ เยอะมาก, นิยายนั้น หลักอยู่ที่การบรรยายทุกอย่างให้ออกมาเป็นตัวอักษรให้ได้ การใช้คำเอ็ฟเฟ็คต์นั้นควรจะใช้ในกรณีที่สิ่งนั้น ๆ ไม่สามารถบรรยายออกมาเป็นตัวอักษรได้เลยจริง ๆ (ซึ่งอันที่จริงแล้วนักเขียนควรจะสามารถบรรยายทุกอย่างให้ออกมาเป็นคำพูด หรือตัวอักษรได้) - ทับศัพท์ภาษาอังกฤษ หลายคำสามารถแปลเป็นภาษาไทยได้ ก็ควรจะแปลเป็นภาษาไทยมากกว่า แต่ถ้ากรณีเป็นชื่อเฉพาะแล้วอยากใช้ทำศัพท์เพื่อให้ฟังดูดี ก็ควรจะตรวจสอบไวยากรณ์ก่อน เช่น การ์ท ออฟ วิช (Guard of Witch) อันนี้น่าจะเป็น การ์เดี้ยน ออฟ เดอะ วิช หรือเปล่า? (Guardian of the witch) เพราะ จริงอยู่ที่คำว่า การ์ด สามารถทำหน้าที่เป็นคำนามได้ แต่มันจะเป็นลักษณะของทหารยาม ฯลฯ สรุปก็คือการนำชื่อทับศัพท์มาใช้ ไวยากรณ์ควรจะมีการตรวจสอบนิดหนึ่ง ความน่าสนใจ หรือความน่าติดตาม : 11/20 คะแนน - ความน่าสนใจ ความน่าติดตาม บทนำคือส่วนสำคัญที่สุด สำคัญมากพอ ๆ กับบทสุดท้ายของนิยายเลยทีเดียว เพราะฉะนั้นบทนำควรจะมีความดึงดูดมากถึงมากที่สุด ในที่นี้ยังถือว่ามีความน่าสนใจในระดับหนึ่ง และในเมื่อบทนำมีความน่าสนใจในระดับหนึ่ง ไม่ใช่ น่าสนใจมาก ตัวที่จะช่วยก็คือบท ต่อ ๆ ไป ในที่นี้ยังไม่มีความน่าติดตามเท่าไรนัก - การนำเสนอสิ่งใหม่ มีการนำเสนอสิ่งใหม่ คือ แนวคิดของ ผู้ปกป้องแม่มด ความมีมิติของตัวละคร ความมีลักษณะเฉพาะของตัวละครแต่ละตัว : 8/15 คะแนน - คำพูดของตัวละครแต่ละตัว ตัวละครแต่ละตัวมีลักษณะการพูดต่างกันในระดับหนึ่ง แต่แค่ระดับหนึ่งก็เพียงพอ เพราะชีวิตจริงลักษณะการพูดของคนก็ไม่ได้มีหลายรูปแบบอะไรมากมาย - อุปนิสัย อุปนิสัยของตัวละครถูกนำเสนอผ่านวิธีที่ง่าย ๆ ความสมจริงของฉาก ความเป็นเหตุเป็นผล ความน่าเชื่อถือ การตัดสินใจของตัวละคร ความเป็นมนุษย์ ฯลฯ : 8/15 คะแนน - ฉาก ในส่วนของฉากนี้หมายถึงเรื่องของ ความเป็นเหตุเป็นผลทางสภาพภูมิศาสตร์ เช่น สภาพอากาศร้อน ร้อนจัด หนาว หนาวจัด ควรจะมีพืชประเภทนี้หรือไม่ ฯลฯ ในที่นี้ไม่ค่อยมีการบรรยายถึงฉากมากพอที่จะตัดสินเรื่องภูมิศาสตร์ที่เป็นไปได้ - ตัวละคร ที่เห็นชัดสุดคือ คำอุทาน ของตัวละคร ในการแต่งผู้เขียนควรนึกภาพตามว่าถ้าผู้เขียนไปอยู่ในสถานการณ์เช่นนั้น แล้วจะทำแบบเดียวกับตัวละครหรือไม่ และคำบางคำมีใช้ในหนังสือการ์ตูน แต่ไม่มีในชีวิตจริง เช่น คำว่า "ว้าก" การที่จะมีคนตะโกนคำว่า "ว้าก" ไม่ว่าในสถานการณ์ใดก็ไม่สมเหตุสมผล - การตัดสินใจ ไม่เป็นเหตุเป็นผล ที่เห็นได้ชัดคือ ในตอนสุดท้ายที่ตัวเอกตัดสินใจวิ่งฝ่าดงอสูรกาย ในตรงนี้ส่วนที่เห็นได้ชัดคือขาดอารมณ์กลัวของมนุษย์ ความสามารถในการสื่ออารมณ์ถึงผู้อ่าน ผู้อ่านเข้าถึงตัวละครได้แค่ไหน เข้าใจความรู้สึกที่ต้องการสื่อออกมาจาก ตัวอักษร หรือไม่ : 7/15 คะแนน - อารมณ์ มีส่วนของการบรรยายความรู้สึกของตัวละครบ้าง แต่น้อย และส่วนคำบรรยายความรู้สึกก็สั้น ๆ ไม่มีการเน้นย้ำหรือเปรียบเทียบ การค้นคว้าของผู้เขียน / ผู้อ่านได้ความรู้บางอย่างเพิ่มเติมในการอ่านนิยายเรื่องนั้น ๆ หรือไม่ เพียงใด : 0/5 คะแนน และ คะแนนพิเศษ (ขึ้นอยู่กับผู้วิจารณ์) : 3/5 คะแนน - อารมณ์ดี นิยายแบบนี้สำหรับผู้ชื่นชอบ ก็จะชอบไปเลย อ่านแล้วเบาสมอง รวม : 50/100 คะแนน เหรียญที่ได้รับ : เหรียญทองแดง กรุณาไปกรอกเอกสารเพื่อขอรับเหรียญรางวัลต่อไป อ่านน้อยลง
FantasyBookCritic | 4 มี.ค. 53
13
0
ความคิดเห็น