ลำดับตอนที่ #1
คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #1 : Conditional sentences (If-sentence)
ประโยคเงื่อนไข Conditional sentences (If-sentence)
หมายถึงประโยคที่ประกอยด้วย ciause 2 clause (clause คือ อนุประโยค ที่ประกอบด้วย ประธานและกริยา)
คือ If-clause และ Main clause
If-clause ขึ้นต้นด้วย ‘If’ หรือคำอื่นใดที่มีความาหมายเหมือน ‘If’
ความหมายบอกเงื่อนใขว่าถ้าเกิดอะไรขึ้น
(จะมีผลอะไรตามมา)
Main clause แสดงผลของเงื่อนไข จะมีผลอะไรตามมา (ถ้าเกิดอะไรขึ้น)
จะขึ้นต้นประโยคด้วย if-clause หรือ main clause ก็ได้
เช่น If I have time I will help him.
I will help him if I have time
แนจะช่วยเขา (ผลของเงื่อนไข) ถ้าฉันมีเวลา (เงื่อนไข)
Conditional Sentence กล่าวอย่างกว้าง ๆ มี 3 แบบ แตกต่างกันในด้านความหมาย และวิธีการนำไปใช้
แบบที่ 1 Future-Possible condition กล่วถึงเหตุการณ์ที่เป็นไปได้ จะเกิดขึ้นได้ในปัจจุบัน หรืออนาคต
โครงสร้างประโยค
If-clause = if + subject + v1(s)
Main clause = subject + will (shall/can/may) + v1
หรือขึ้นต้นด้วย v1 เป้นประโยค imperative ได้
ตัวอย่าง
If I fail the exam I will cry
Tell ma if you see him somewhere
แบบที่ 2 Present-Unreal condition กล่าวถึงสิ่งที่ไม่ได้เกิดขึ้นจริง ในปัจจุบันคงไม่เกิดขึ้น
โอกาสที่จะเกิดขึ้นได้มีน้อย หรือเรื่องสมมุติที่เป้นไปไม่ได้
โครงสร้างประโยค
If-clause = if + subject + V2
Main clause = subject + would (should/could/might) + V1
ตัวอย่าง
If I failed the exam, I would cry
Verb to be นิยมใช้ were กับประธานทุกตัว
If I were a bird, I would fly around the world.
แบบที่ 3 Past-Unreal Condition กล่าวถึงสิ่งที่ผ่านมาแล้วในอดีต ซึ้งไม่อาจจะเกิดขึ้นได้เลย
เป้การสมมุตถึงสิ่งที่ผ่านมา
โครงสร้างประโยค
If-clause = if + subject + had + V3
Main clause = subject + would (should/could/might) + have + V3
ตัวอย่าง
If I had failed the exam, I would have cried
หมายเหตุ
1. not, never อยู่หลังกริยาช่วยตัวแรก
I would not have gotten a headache if I had not drunk too much last night
If I had known English was so difficult, I would never have taken it up
2. เงื่อนไขแบบที่ 2 และ 3 อาจอยู่ในประโยคเดียวกันได้ ขึ้นอยู่กับความหมายโดย :-
If-clause เป็นเงื่อนไขแบบที่ 3 (เรื่องในอดีต)
Main-clause เป็นเงื่อนไขแบบที่ 2 (เรื่องในปัจจุบัน)
เป็นเหตุการณ์ที่ไม่สามารถเป็นจริงได้เพราะเป็นเรื่องสมมุติถึงสิ่งที่เกิดขึ้นมาแล้ว
If he had taken his father’s advice, he would be a rich man now.
ถ้าเขาเชื่อคำแนะนำของพ่อเขาในอดีต ปัจจุบันเขาก็คงรวยไปแล้ว (ไม่เชื่อ-ไม่รวย)
3. If-clause ที่มีคำ had, should, were ตัด if ออก แต่ให้เอา had, should, were
ไปวางไว้หน้าประธาน
If I had known
= Had I known
If he should come
= Should he come
If he knew
= Were he knew
If he were to come
= Were he to come
If I were
= Were I
4. ‘unless’ มีความหมายเท่ากับ ‘if
not’
We won’t go unless it stops raining.
We won’t go if it doesn’t stops raining.
5. คำเหล่านี้มีความหมายคล้ายกับ if และมีวีธีการเขียนให้เป็นประโยคเงื่อนไขคล้ายกัน
เขียนนำหน้า clause ที่จัดอยู่ในประเภท if-clause
Suppose สมมุติว่า
Supposing สมมุติว่า
Supposing that สมมุติว่า
On condition that ภายใต้เงื่อนไขว่า
Provided (that) ถ้าหากว่า
As long as ตราบเท่าที่ (ประโยคบอกเล่า)
So long as ตราบเท่าที่ (ประโยคปฏิเสธ)
If only ถ้าเพียงแต่ว่า
Only if ถ้าเพียงแต่ว่า
6. but for = if not for หรือ without (ถ้าไม่เป็นเพราะ, ถ้าปราศจากเสียซึ่ง)
เป็น preposition ตามด้วย noun main clause เป็นเงื่อนไขแบบที่ 3
But for your kindness, I would have become discouraged
7. การเขียนประโยคบางประโยคที่มี clause 2 clauses เชื่อมด้วย but, only, except
คล้ายกับการเขียนประโยคเงื่อนไขแบบที่ 2 และแบบที่ 3 แต่ tense หลัง but, only,
Except ให้เขียนตามเหตุการณ์ หรือเวลาที่เกิดขึ้นจริง
แบบที่ 2 พูดถึงเรื่องปัจจุบัน
Subject + would + V1
+ but (only/except) that + subject + v1(s)
ตัวอย่าง
He would come with me but that his wife tells him not to.
แบบที่ 3 พูดถึงเรื่องอดีต
Subject + would have + V3 + but (only / except) that + subject + V2
ตัวอย่าง
She would have does well in the entrance examination only (that) she got
Too nervous.
เก็บเข้าคอลเล็กชัน
ความคิดเห็น