ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    L'Horloge เรื่องเล่าของเข็มนาฬิกา

    ลำดับตอนที่ #1 : ภาคผนวก และ ตัวละคร

    • อัปเดตล่าสุด 8 ส.ค. 56






    ภาคผนวก

     


     

    ภูมิศาสตร์

     

    ดินแดนที่ดำเนินเรื่องคืออาณาจักรวาลินอร์ เป็นแผ่นดินผืนใหญ่ยื่นออกไปในมหาสมุทร มีลักษณะภูมิประเทศตอนกลางแบบกึ่งทะเลทราย เป็นที่ตั้งของเมืองหลวงวาลินอร์ สูงกว่าระดับน้ำทะเล 40 เมตร

    แดนเหนือ เป็นแหล่งเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ที่สำคัญ แดนเหนือตอนบนอยู่ติดกับทิวเขาขนาดใหญ่ที่ปกคลุมด้วยหิมะ ในปัจจุบันยังไม่พบว่ามีใครสามารถข้ามทิวเขานั้นไปสูงอีกฝั่งได้ เนื่องจากอากาศค่อนข้างหนาว จึงมีแค่คนเหนือดั้งเดิมอาศัยอยู่ คนแดนกลางอาจมีย้ายถิ่นฐานมาบ้าง แต่คนแดนใต้มักจะไม่เข้ามายุ่ง สูงกว่าระดับน้ำทะเล 300 เมตร

     เลยไปทางฝั่งตะวันตกจะเป็นแนวป่า ลึกเข้าไปเป็นป่าทึบกั้นระหว่างวาลินอร์และออเดอร์ไฮน์ จุดแบ่งเขตระหว่างแดนตะวันตกและแดนเหนือคือหุบเขาอนธการซึ่งมีหุบเหวลึกลงไปก่อนจะขึ้นเป็นภูเขาของแดนเหนือ จะพบป่าไม้ค่อนข้างมากในแดนตะวันตกแต่การเพาะปลูกพืชล้มลุกค่อนข้างเป็นไปได้ยากเนื่องจากสภาพอากาศแปรปรวน เหมาะแก่การปลูกไม้ยืนต้นที่มีความแข็งแรงและอดทน

    แดนใต้อยู่ติดชายฝั่งทะเล เป็นเมืองท่าที่สำคัญต่อการติดต่อค้าขายกับต่างแดน หลายร้อยปีก่อนเคยมีปัญหาเรื่องของคนต่างถิ่นทำให้คัดกรองผู้คนต่างถิ่นที่มาค้าขายอย่างเข้มงวด มีภูมิประเทศแบบกึ่งทะเลทราย น้ำจืดที่มาจากแม่น้ำของแดนเหนือลงมาที่ปากอ่าวผมกับน้ำทะเลจึงกลายเป็นน้ำกร่อย ไม่เหมาะแก่การเพาะปลูก

    แดนตะวันออก ไม่นับเป็นเขตการปกครองของวาลินอร์ แต่มีอยู่ในแผนที่ อดีตเคยเป็นส่วนหนึ่งของดินแดน แต่ในช่วงปฐมราชวงศ์เกิดการออกกฎหมายที่ไม่เป็นธรรมต่อผู้คนบนเขตนี้ซึ่งก็คือพ่อมด ทำให้เกิดการรังเกียจจากผู้คนธรรมดาทั่วไป ไม่มีการเข้าไปทำมาค้าขาย เส้นทางรกชัฏ ภูมิประเทศไม่ปรากฏแน่ชัด ภายหลังจึงขาดการติดต่อและแยกออกไปเป็นเอกเทศโดยสิ้นเชิง เส้นแบ่งเขตคือป่ารกชัฏที่ไม่น่าเป็นไปได้กลางภูมิประเทศแบบกึ่งทะเลทรายโดยรอบ ว่ากันว่าเกิดจากเวทมนต์จึงไม่มีใครกล้าเข้าใกล้ ปัจจุบันไม่ปรากฏหลักฐานว่ามีพ่อมดอาศัยอยู่

     

     

    การเมือง การปกครอง

     

    วาลินอร์ถูกปกครองโดยระบอบกษัตริย์กึ่งประชาธิปไตย โดยกษัตริย์มีอำนาจที่จะสั่งการตามใจชอบทว่าต้องผ่านสภาสูงที่ถูกเลือกเข้ามาโดยประชาชนหรือหากมีเชื้อสายขุนนางเก่าก็สามารถเป็นได้ ในสภาจะมีสมาชิกทั้งหมด 150 คน ส่วนสภาสูง 10 คนจะมาจากการคัดเลือกจากสภาโดยยึดหลักคุณวุฒิเป็นสำคัญ เรียกได้ว่าหากมีความสามารถ ต่อให้อายุมากหรือน้อยแค่ไหนก็สามารถเป็นได้

    จากพงศาวดารของอาณาจักรช่วงเวลากว่า 1 พัน 3 ร้อยปีที่ผ่านมากล่าวได้ว่ามีการเปลี่ยนราชวงศ์ที่ปกครองวาลินอร์มาแล้ว 6 ราชวงศ์ด้วยกัน อันได้แก่

    ราชวงศ์วาลินัส (1-158) ปฐมราชวงศ์ของวาลินอร์ ออกกฎหมายต่อต้านพ่อมด จัดเป็นยุคมืด ภายหลังถูกล้มล้างโดยคนต่างแดน

    ราชวงศ์เอเธอร์นัส (158-563) คนต่างแดนที่ยึดอำนาจจากอดีตกษัตริย์ ถูกปกครองโดยคนผู้เดียว ถึง 405 ปี แล้วหายสาบสูญไป เชื่อกันว่าแท้จริงแล้วผู้นี้เป็นอมตะ บ้างก็ว่ามีการสับเปลี่ยนคนขึ้นมาปกครองอย่างลับๆ

    ราชวงศ์ออเรย์ (563-742) ก่อนหน้านั้นเป็นคนสนิทของอดีตกษัตริย์ เพราะรู้อะไรหลายๆอย่างดีจึงสามารถยึดอำนาจหลังจากที่ป่าวประกาศออกไปแล้วว่ากษัตริย์หายสาบสูญ ราชวงศ์นี้สูญสิ้นไประหว่างสงครามกลางน่านน้ำ

    ราชวงศ์บอริเนียร์ (742-1069) เป็นสตรีคนแรกที่ก้าวขึ้นมาเป็นกษัตริย์ มีความสัมพันธ์ทางสายเลือดกับกษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์ออเรย์

    ราชวงศ์วอร์เลส (1069-ปัจจุบัน) เป็นราชวงศ์ที่มีปฐมกษัตริย์เป็นสามัญชน ขึ้นมาอยู่ในตำแหน่งนี้ได้เพราะสามารถพิชิตมังกรดำมอร์เรียนได้ ทว่าในปัจจุบันไม่ปรากฏหลักฐานว่ามังกรมอร์เรียนถูกปราบจริง จึงยังคงเป็นตำนานเล่าต่อกันมา ยุคนี้ถือเป็นยุคทองของวาลินอร์ มีการเปิดค้าขายกับต่างแดน มีการลดกระแสต่อต้านคนต่างถิ่น ชนชั้นล่าง ทาส และพ่อมด ทว่ายังมีกลุ่มที่ไม่เห็นด้วยอยู่ไม่น้อย

    **สำหรับยุคก่อนหน้าที่จะเกิดราชวงศ์วาลินัสพบหลักฐานว่ามีการปกครองแบบหัวเมือง ต่างเมืองต่างปกครองกันเอง ในบางพื้นที่ไม่มีการปกครองแน่ชัด

     

     

    การค้า / หน่วยเงินตรา

     

    วาลินอร์มีการทำการค้ากับต่างแดน สินค้าที่ส่งออกเป็นของจำพวกผ้าไหม ขนสัตว์ พืชผลต่างๆจากแดนเหนือ อาวุธ สินแร่ และงานฝีมือต่างๆ ในขณะที่สินค้าที่นำเข้ามาจะเป็นวิทยาการต่างๆที่ไม่มีในดินแดน อาทิเช่น นาฬิกา ปืน หนังสือ และวิทยาการความรู้ใหม่ๆหลายแขนง

    หน่วยเงินตราของวาลินอร์เริ่มด้วย เหรียญทองแดง เหรียญเงิน และเหรียญทอง เรียงจากค่าน้อยไปมากตามลำดับ 10 เหรียญทองแดงมีค่าเท่ากับ 1 เหรียญเงิน และ 10 เหรียญเงินมีค่าเท่ากับ 1 เหรียญทอง สำหรับครอบครัวธรรมดา 3 คนพ่อแม่ลูกหากอยู่อย่างมัธยัสถ์ 1 เหรียญทองสามารถอยู่ได้ราวๆ 1 อาทิตย์

    นอกจากใช้เงินตราแล้ววาลินอร์ยังมีระบบแลกเปลี่ยนสินค้าแทนเงินอยู่ด้วยเช่นกัน สิ่งของที่นำมาแลกจะขึ้นอยู่กับสิ่งของที่ต้องการแลก โดยจะยึดเอาความพอใจของทั้งสองฝ่ายเป็นหลัก

     

    การคมนาคม

    ด้วยเพราะวาลินอร์มีพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นแบบกึ่งทะเลทรายจึงนิยมการใช้ม้า อูฐ ลา รถเทียมม้า ลา และเกวียนสำหรับการเดินทางภายในประเทศ หากมีเงินจะสามารล่องเรือตามแม่น้ำสายหลักได้ หากต้องการออกนอกประเทศจะมีเรือขนาดใหญ่สำหรับขนส่งสินค้าที่พร้อมจะนำส่งหากจ่ายหนักพอ

     

     

    ประชากรและชีวิตความเป็นอยู่

     

    วาลินอร์ยังไม่มีการทำสำมะโนครัวและสำรวจประชากรแน่ชัด อีกทั้งดินแดนตะวันออกที่แยกออกไปยังไม่มีใครกล้าเข้าไปสำรวจจังยังระบุไม่ได้ว่าแท้จริงแล้วมีประชากรเท่าไหร่

    โดยส่วนของเมืองหลวงมีประชากรประมาณ 3 แสนคน นอกนั้นจะกระจายตามเมืองใหญ่หลายเมืองลดหลั่นกันไป ในหมู่บ้านขนาดใหญ่มีมากกว่าร้อยคนในขณะที่หมู่บ้านขนาดเล็กเฉลี่ยแล้วจะมี 60-70 คนโดยประมาณ

    ประชาชนของวาลินอร์ส่วนใหญ่ทำการเกษตรและเลี้ยงสัตว์เป็นหลัก มีช่างฝีมือเป็นจำนวนมากในเมืองใหญ่ และจะมีอยู่ทุกๆหมู่บ้านอย่างน้อย 1 คน ไม่มีปัญหาด้านการอยู่อาศัย จะมีก็ต่อเมื่อเกิดสงครามและการขึ้นภาษีที่จะทำให้ต้องส่งเสบียงไปที่ทัพหน้าและการขึ้นภาษีของวาลินอร์คือการเก็บผลผลิตให้มากกว่าเดิม

    โดยหลักแล้วสิ่งที่สำคัญที่สุดและเป็นหัวใจหลักของวาลินอร์ก็คือเสบียงนั่นเอง

     

    ศาสนาและความเชื่อ

    ประชาชนของวาลินอร์มีความเชื่อฝังหัวในเรื่องของพ่อมดว่าเป็นสิ่งที่โหดร้าย ไม่ใช่มนุษย์ มีตำนานเล่าขานถึงความร้ายกาจของพ่อมดมากมายหลายเรื่องจนปลูกฝังเป็นจิตใต้สำนึก แม้ในปัจจุบันที่มีการลดกระแสต่อต้านพ่อมดโดยราชวงศ์วอร์เลสแล้วก็ยังคงมีความฝังใจและหวาดกลัวอยู่ลึกๆ

    ในวาลินอร์ไม่มีศาสนาแน่ชัด ส่วนใหญ่แล้วผู้คนเชื่อมั่นและศรัทธาในอำนาจของกษัตริย์ แต่ถ้าเป็นเรื่องของตำนานผู้คนจะเชื่อกันค่อนข้างมาก ยิ่งหากเป็นตำนานที่เก่าแก่เช่นเรื่องของมังกรดำมอร์เรียนแห่งหุบเขาอนธการ หรือตำนานของผู้เป็นนิรันดร์ผู้ข้ามผ่านกาลเวลานับร้อยปีจะยิ่งเชื่อกันเข้าไปใหญ่

     

     

    การพัฒนา

     

    การพัฒนาของวาลินอร์จะเป็นไปได้ช้าเพราะเป็นดินแดนปิดตั้งแต่ต้น การคบค้าสมาคมเริ่มมีในช่วงหลัง วิทยาการต่างๆจึงไม่ก้าวหน้า อีกทั้งการสงครามกับต่างแดนก็น้อยจึงไม่มีการพัฒนาด้านเทคโนโลยีมากนัก หากคิดเปรียบเทียบเป็นยูนิเวิร์สคงเปรียบได้ว่า ยูนิเวิร์สของโลกเรากับยูนิเวิร์สของวาลินอร์ เป็น 3 : 2 เช่นหากเราพัฒนาไปยูนิเวิร์สของวาลินอร์จะพัฒนาไปได้แค่ 2 เช่น การพัฒนาของเราผ่านไป 1200 ปี วาลินอร์ผ่านไปแค่ 800 ปี เช่นในปัจจุบันปีค.ศ.2013 (ประเทศไทยเพิ่งจะ)มี 3G มีเทคโนโลยีตามที่เห็นในปัจจุบัน วาลินอร์จะยังคงอยู่ที่ปีค.ศ.1342 เทียบประมาณสมัยสุโขทัย

    เพราะเหตุที่วาลินอร์เป็นเมืองที่ไม่ค่อยผ่านสงครามและเป็นดินแดนปิดจึงพัฒนาไปได้ช้ากว่าดินแดนอื่น ในดินแดนอื่นไม่ปฏิเสธเวทมนต์แบบวาลินอร์ อีกทั้งยังใช้ให้เป็นประโยชน์แก่การดำรงชีวิตและการพัฒนาในด้านต่างๆอาทิเช่น นาฬิกา นาฬิกาในยูนิเวิร์สนี้ไม่เหมือนกับยูนิเวิร์สของเรา ที่นี่มีการใช้เวทมนต์ช่วยให้มันเดินได้อย่างถูกต้อง และใช้เวทมนต์ในการประกอบเพื่อความคงทนและป้องกันอุบัติเหตุต่างๆ ไม่ใช่แค่นาฬิกาที่ใช้เวทมนต์ช่วยในการผลิต แต่สิ่งของอื่นที่ใช้นั้นวาลินอร์ไม่มีการนำเข้า และดินแดนที่ผลิตไม่มีการส่งออก สำหรับเหตุผลที่ว่าทำไมวาลินอร์ถึงนำเข้านาฬิกามาทั้งๆที่มันผลิตขึ้นจากเวทมนต์นั้น เป็นเพราะวาลินอร์ไม่เคยรู้ว่ามันใช้เวทมนต์ในการผลิตนั่นเอง และเมื่อใช้เวทมนต์ในการผลิต การซ่อมย่อมไม่ใช่วิธีการแบบทั่วไป จำเป็นต้องให้ผู้มีเวทมนต์หรือมีองค์ความรู้มาซ่อม แต่เพราะวาลินอร์เป็นประเทศที่รังเกียจพ่อมดแม่มดจึงทำให้ไม่มีผู้ใช้เวทมนต์จากต่างแดนมาเยือนมากนัก ส่วนพวกที่มีองค์ความรู้นั้นมีอยู่น้อยเพราะคนต่างถิ่นมักไม่ค่อยถ่ายทอดความรู้ให้แก่ใครง่ายๆ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ช่างซ่อมนาฬิกาเป็นสิ่งที่หายากมากในวาลินอร์

     

     

    ตัวละคร

     

    ซ้าย : เฮล์ม คาร์ลาน

    ขวา : น็อคซ์

    (ขอขอบคุณ ebenzsheep สำหรับภาพประกอบ)







     

    น็อคซ์ (แบบชัดๆ)

    //อนันต์เอง //เพราะงั้นไม่ขอบคุณใคร //พร่องส์


















    เฮล์ม (เหมือนเมื่อกี๊)












     

    เต็มตัว (เหมือนทั้งคู่เมื่อกี๊)















    น่าจะแค่นี้ ไว้มีอะไรเพิ่มเติมอนันต์จะเพิ่มที่นี่ เจอกันอีกทีหลังอนันต์เลิกติดซีรี่ส์ //ซึ่งคงจะไม่มีวันนั้น



    อนันต์เอง









    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×