ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    indecentart ศิลปะกับอนาจาร

    ลำดับตอนที่ #2 : ► หลักการพิจารณาศิลปะกับอนาจาร

    • อัปเดตล่าสุด 8 ม.ค. 55



     
              อาจารย์อารี สุทธิพันธ์ ผู้บุกเบิกงานศิลปศึกษาในเมืองไทย ได้เสนอหลักพิจารณาความแตกต่างของศิลปะกับอนาจารซึ่งพอสรุปได้ดังนี้

    1) ให้ ดูที่เจตนาของผู้ทำงานนั้น ๆ ว่ามีเจตนาอะไรแฝงอยู่หรือไม่ เช่น การใช้กิเลสพื้นฐานของสัญชาตญาณเป็นสิ่งกระตุ้นความสนใจแล้วแอบอ้างว่าเป็น "ศิลปะ" เพื่อประโยชน์ทางธุรกิจหรือประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งของตนเอง

    2) ให้ ดูปฏิกิริยาของผู้ชม ถ้าเป็นงานศิลปะผู้ชมจะสามารถดูได้อย่างเปิดเผย แต่งานอนาจารจะดูอย่างลับ ๆ ศิลปะจะส่งเสริมให้มนุษยชาติมีความเจริญงอกงามด้านแนวคิดและสติปัญญามากกว่า การกระตุ้นให้เกิดอารมณ์ใฝ่ต่ำ

    3) งาน ศิลปะยิ่งนานไปยิ่งมีคุณค่ามากขึ้นเรื่อยๆ แต่อนาจารยิ่งนานยิ่งเสื่อมค่าลง ศิลปะเป็นผลงานของมนุษย์ที่แสดงออกให้เห็นถึงความคิดสร้างสรรค์อันแฝงด้วย จิตวิญญาณหรือความรู้สึกที่ต่างไปจากผลงานที่เป็นสัญชาตญาณของสัตว์เดรัจฉาน ทั่วไป

    4) ให้ดูที่ฝีมือหรือความสามารถใน การถ่ายทอดของศิลปินว่าถ่ายทอดได้อารมณ์มาก น้อยเพียงใด ความละเอียดอ่อนที่ไวต่อการรับรู้ของศิลปินผสมผสานกับความคิดสร้างสรรค์และ ความสามารถในการระบายหรือถ่ายทอดความรู้สึกเหล่านี้แตกต่างกัน ทำให้คุณค่าของศิลปะแตกต่างกันด้วย

        ** การพิจารณาเพียง 4 หลักนี้ก็สามารถตัดสินได้แล้วว่า ผลงานชิ้นใดที่เรียกว่าศิลปะหรืออนาจาร **

      




    cinnamon
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×