ลำดับตอนที่ #3
คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #3 : บุคคลสำคัญสมัยอยุธยา - สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
พระบรมไตรโลกนาถ ทรงเป็นโอรสของเจ้าสามพระยา และมีพระมารดาเป็นเจ้าหญิงจากราชวงศ์สุโขทัย ดังนั้นพระองค์จึงมีเชื้อสายของฝ่ายอยุธยา(ราชวงศ์สุพรรณบุรี) และราชวงศ์สุโขทัย เมื่อพระธรรมราชาที่ 4 แห่งราชวงศ์สุโขทัยเสด็จสวรรคต พระบรมไตรโลกนาถเมื่อยังทรงดำรงตำแหน่ง พระราเมศวร พระชนมายุเพียง 7 พรรษา ได้ถูกส่งขึ้นไปครองเมืองพิษณุโลก (ซึ่งเป็นศูนย์กลางการปกครองของอาณาจักรสุโขทัยสมัยนั้น) แทน และเมื่อพระราชบิดาสวรรคต พระองค์ก็ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์ของอยุธยาเมื่อพระชนม์ 17 พรรษา
ในการรวมอาณาจักรสุโขทัยให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับอยุธยานั้น พระบรมไตรโลกนาถได้เปรียบเนื่องจากมีพระมารดาเป็นเจ้าหญิงจากราชวงศ์สุโขทัย ดังนั้นจึงน่าจะมีพระญาติพระวงศ์นั้นทรงช่วยเหลือและเมื่อเจ้าองค์หนึ่งของสุโขทัยหันไปเข้ากับอาณาจักรล้านนา (เชียงใหม่) พระบรมไตรโลกนาถได้ย้ายเมืองหลวงจากอยุธยามาอยู่ที่พิษณุโลกเป็นการชั่วคราวทำให้สามารถปกครองและป้องกันอาณาจักรสุโขทัยได้ง่ายขึ้น
พระบรมไตรโลกนาถเป็นมหากษัตริย์ที่ทรงมีศรัทธามั่นคงในพระพุทธศาสนา ในช่วงที่ทรงปกครองอยู่ที่พิษณุโลก พระองค์ได้ดำเนินนโยบายเกี่ยวกับศาสนาแบบฉบับของพระเจ้าแผ่นดินสุโขทัยคือตามแบบของพระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไท) ทำให้พระองค์ได้รับการยอมรับและยกย่องจากฝ่ายราชวงศ์สุโขทัย ในปี พ.ศ. 2008 พระองค์ทรงออกผนวชเป็นเวลา 8 เดือน (ตามรอยพระธรรมราชาที่ 1) และทรงให้มีการบูรณะฟื้นฟูวัด เช่น วัดพระศรีมหาธาตุ อันเป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธชินราช อันเป็นพระพุทธรูปสำคัญที่สุดองค์หนึ่งในเมืองพิษณุโลก และทรงให้มีการก่อสร้างปรางค์ที่ วัดจุฬามณี อันเป็นที่ประทับในระหว่างที่ออกผนวช
สมัยพระบรมไตรโลกนาถ ทรงมีการปฏิรูปการปกครองทำให้เป็นระบบราชการ (เจ้าและขุนนาง) มากขึ้น เป็นการปกครองที่เหมาะสมกับการเป็นอาณาจักรใหญ่ อยุธยาเปลี่ยนจากการปกครองที่เรียบง่ายเป็นการปกครองที่มีลักษณะเป็นแว่นแคว้นหรือเมืองในสมัยสุโขทัยหรืออยุธยาตอนต้นๆ มีการแบ่งฝ่ายการปกครองเป็นทหารกับพลเรือน มีตำแหน่งกลาโหม ปกครองฝ่ายทหารและตำแหน่งมหาดไทย ปกครองฝ่ายพลเรือน เป็นการแบ่งและการเพิ่มตำแหน่งขุนนางสูงสุดแต่เดิมมีเพียง 4 ตำแหน่ง (เวียง วัง คลัง นา) ให้กลายเป็น 6 ตำแหน่ง โดย 2 ตำแหน่งใหม่มีฐานะสูงกว่า (เป็นอัครมหาเสนาบดีและเสนาบดีธรรมดา)
อย่างไรก็ตาม บทบาทหน้าที่ของกลาโหมและมหาดไทยอาจจะมิได้หมายความว่าแยกหน้าที่กันอย่างชัดเจน คือ ทหารมีหน้าที่รบ ตรงกันข้ามกับพลเรือนที่ไม่ต้องออกสงครามอย่างที่เราเข้าใจกันในปัจจุบัน ในอดีตนั้นต่างคนต่างมีบทบาททั้งด้านการทหารด้านพลเรือนและด้านอื่นๆ อีกมากมายที่เหมือนกัน หากแต่ต่างกันเฉพาะ “พื้นที่” ที่แบ่งการปกครอง กล่าวคือ กลาโหมผกครองพื้นที่ทางตอนใต้ของเมืองหลวง ส่วนมหาดไทยปกครองพื้นที่ทางตอนเหนือของเมืองหลวง และเมื่อการค้าของอยุธยากับต่างประเทศเจริญรุ่งเรือง “กรมพระคลัง” ที่มีหน้าที่ดูแลทรัพย์สมบัติของกษัตริย์ ก็มีบาบาทหน้าที่เพิ่มเรื่องการค้าและความสัมพันธ์กับต่างชาติ และกลายเป็นกรมที่มีบทบาทหน้าที่เหมือนกับกลาโหมและมหาดไทย คือ มีพื้นที่หัวเมืองชายฝั่งทะเลอยู่ใต้การปกครอง
นอกจากจะจัดการปกครองดังกล่าว พระบรมไตรโลกนาถยังได้ออกกฎมาย ซึ่งเป็นรากฐานระบบศักดินาของอยุธยา ซึ่งได้ใช้มาเรื่อยจนกระทั้งสมัยต้นรัตนโกสินทร์ (และมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองอีกครั้งในสมัยรัชกาลที่ 5) กฎหมายสำคัญที่พระองค์ทรงประกาศใช้ก็คือ กฎมณเฑียรบาล พระไอยการตำแหน่งนาพลเรือน พระไอยการตำแหน่งนาทหารหัวเมือง ซึ่งตามตัวอักษรกฎหมายเหล่านี้กำหนดให้ เจ้า-ขุนนาง-พระสงฆ์-ราษฎร (ไพร่-ทาส) ทุกคนมี “ศักดินา” ประจำตัว ประหนึ่งว่าแต่ละคนมีที่ดินจำนวนหนึ่งตามฐานะสูงต่ำของตน จาก 5-100,000 ไร่
จากกฎหมายของอยุธยาตั้งแต่แรก ถือกันว่าที่ดินนั้นเป็นของพระเจ้าแผ่นดิน และจะทรงแบ่งให้ทุกคนในพระราชอาณาจักรตามฐานะของบุคคล แต่ก็เชื่อกันว่า “ศักดินา” ในสมัยพระบรมไตรโลกนาถนั้นมิได้เป็นกฎหมายว่าด้วยการแบ่งสรรที่ดิน (แม้พระมหากษัตริย์จะยืนยันใช้สิทธิความเป็นเจ้าของอยู่ สามารถจะพระราชทานหรือยึดคืนไดก็ตาม) “ศักดินา” ในสมัยพระบรมไตรโลกนาถ จึงเป็นกฎหมายการกำหนดชนชั้นทางชนชั้นของบุคคลมากกว่า กล่าวคือ “ศักดินา” เป็นเครื่องชี้บ่งบอกฐานะอันสูงส่งต่างกันนั้น กำหนดความสำพันธ์ระหว่างบุคคล กำหนดวิถีทางชีวิตกระทั่งการอยู่กินแม้กระทั่งการแต่งตัว การสร้างบ้านเรือน และ “ศักดินา” ก็ยังใช้เป็นเครื่องมือในการปรับ(ไหม) หรือลงโทษทางกฎหมายอีกด้วย
K a e
K a e
เก็บเข้าคอลเล็กชัน
ความคิดเห็น