ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เหตุการณ์สำคัญของโลกในศตวรรษที่ 21

    ลำดับตอนที่ #3 : การก่อการร้าย

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 4.95K
      0
      11 ธ.ค. 55

    การก่อการร้าย


    คำนิยามการก่อการร้าย

    การก่อการร้าย (Terror) หมายถึง บุคคล สิ่งของ พฤติกรรม ที่ก่อให้เกิดความน่ากลัว ส่วนลัทธิการก่อการร้าย (Terrorism) หมายถึง ลัทธิการใช้ความรุนแรงและความน่ากลัวเป็นอาวุธหรือเป็นนโยบายต่อสู้ขู่ขวัญเพื่อหวังจะเอาชนะ และผู้ก่อการร้าย (Terrorist) หมายถึง  บุคคลที่ฝักใฝ่และฝึกหัดพฤติกรรมการก่อการร้าย (Webs ency)


    อาจแบ่งประเภทของการก่อการร้ายได้เป็น 3 ประเภท คือ

          

    1.การก่อการร้ายภายในประเทศ

           หมายถึง การต่อสู้ด้วยวิธีการรุนแรงของขบวนการก่อการร้ายภายในประเทศ  ซึ่งมุ่งต่อต้านรัฐบาลประเทศของตน การปฏิบัติการจะกระทำเฉพาะภายในประเทศตน  ไม่กระทำข้ามประเทศ  และมักจะไม่มีการปฏิบัติการร่วม  (Joint Operations) หรือการร่วมมือประสานงานในการต่อสู้ด้วยกำลังอาวุธกับขบวนการก่อการร้ายภายนอกประเทศ

    2.การก่อการร้ายข้ามประเทศ

           หมายถึง  การก่อการร้ายของขบวนการก่อการร้ายภายในประเทศ  ซึ่งโดยปกติมักกระทำโดยขบวนการเดียว  ไม่มีการเชื่อมโยงหรือปฏิบัติการร่วมกับขบวนการก่อการร้ายภายนอกประเทศ และเป้าหมายของการก่อการร้ายก็มุ่งกระทำการต่อต้านรัฐบาลของตน

    3.การก่อการร้ายระหว่างประเทศ หรือ การก่อการร้ายสากล 

           หมายถึง การก่อการร้ายซึ่งมีการร่วมมือกัน  กระทำการโดยขบวนการหลายขบวนการที่มีอยู่ในประเทศต่าง ๆ ตั้งแต่สองขบวนการขึ้นไป  เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายทางการเมืองของขบวนการใดขบวนการหนึ่ง  หรือเพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายร่วมกันของหลายขบวนการ รัฐบาลที่ตกเป็นเป้าหมายของการก่อการร้าย อาจเป็นรัฐบาลประเทศใดประเทศหนึ่งหรือหลายประเทศที่เป็นปฏิปักษ์กับขบวนการก่อการร้ายต่าง ๆ และการก่อการร้ายมักมีลักษณะเป็นการกระทำแบบข้ามประเทศ

    มูลเหตุจูงใจ (Motivation)

    มูลเหตูจูงใจ ที่ทำให้เกิดพฤติกรรมการก่อการร้าย คือ

    1.การก่อการร้ายเพื่อศาสนา (Religious Terrorism)

           เช่น กลุ่มเจมาห์ อิสลามิยาห์ อินโดนีเซีย(Jemah Islamiah) ต้องการต่อต้านชาติตะวันตก และก่อตั้งรัฐอิสลามเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในชื่อ ดาอูเลาะห์ อิสลามิยาห์ รายา(Daulah Islamiah Raya ) โดยรวมอินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ บรูไน ภาคใต้ฟิลิปปินส์ ภาคใต้กัมพูชา และภาคใต้ของไทย เข้าด้วยกัน ผลงานสำคัญคือการวางระเบิดสถานบันเทิงในบาหลี ทำให้ชาวตะวันตกเสียชีวิต 164 คน หน่วยปฏิบัติการของกลุ่มนี้ชื่อ ลัสการ์ กอห์ส ในภาคใต้ของไทยมีกลุ่ม J.I. ซึ่งอ้างว่าทำงานด้านการศึกษาศาสนา ไม่เกี่ยวกับ J.I. อินโดนีเซียใช้ชื่อว่า วาฮาบี แต่ทางการไทยได้จับกุม นายฮัมบาลี รองหน.กลุ่มJ.I. อินโดนีเซียได้ที่อยุธยาเมื่อ 5 ส.ค.2546ในสถานะปลอมเป็นครูสอนศาสนา

    2.การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (The Ultimate Terrorism)
     

           เพื่อทำลายล้างเผ่าพันธุ์ ที่แตกต่างหรือผู้ที่มีความเชื่อแตกต่างให้หมดไป เช่น การสังหารหมู่ในกัมพูชาโดยเขมรแดงในช่วง ค.ศ.1976–1978 ทำให้ชาวกัมพูชาถูกฆ่าตายประมาณ สองล้านคน

    เป้าหมายผู้ก่อการร้าย

    1.เป้าหมายทางทหาร

           ได้แก่ ทหาร, ที่ตั้งทางทหาร, อาวุธ, กระสุน/วัตถุระเบิด, ศูนย์เครือข่ายคอมพิวเตอร์, สถานที่พักผ่อน รถโรงเรียน เป็นต้น

    2.เป้าหมายทางพลเรือน

           ได้แก่ ระบบพลังงานและวิศวกรรม (เขื่อน, โรงไฟฟ้า, บ่อขุดเจาะน้ำมัน, ท่อส่งน้ำมัน/ก๊าซ,โรงน้ำมัน ฯลฯ) ระบบคมนาคม (เส้นทางรถไฟ, ท่ารถ, ท่าเรือ, สนามบิน ฯลฯ) ระบบการติดต่อสื่อสาร (เครื่องมือ/อุปกรณ์การติดต่อสื่อสาร, ศูนย์คอมพิวเตอร์ ฯลฯ)   และบุคคลสำคัญ (เจ้าหน้าที่รัฐ/สถานทูต, ตำรวจ, เจ้าหน้าที่ติดต่อประสานงาน ฯลฯ)

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×